ความหมายของคำศัพท์ที่เกี่ยวกับเพศศึกษา


 

เพศภาวะ (อังกฤษ: gender) คือสิ่งที่แสดงลักษณะความแตกต่างระหว่างเพศชายและเพศหญิง โดยองค์การอนามัยโลก ให้ความหมายไว้ว่า "คุณลักษณะของผู้หญิงและผู้ชายในบทบาทประกอบสร้างทางสังคม พฤติกรรม กิจกรรมและคุณลักษณะที่ให้สังคมพิจารณาว่าเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง"[1] ในขณะที่คำว่า เพศ (Sex) มีความหมายในลักษณะทางชีววิทยาของบุคคล ที่แบ่งเป็นเพศหญิง และเพศชาย  เพศภาวะมิใช่เป็นเพียงการแบ่งเพศชาย เพศหญิง ทางกายวิภาคและสรีรวิทยาเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงการถูกกำหนดโดยสังคมและวัฒนธรรมที่กำหนดความเป็นหญิง-ชาย ความความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทหญิงชาย ลักษณะเฉพาะประจำเพศ (gender stereotype) และความเป็นตัวตนของหญิงชายที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลาhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A8%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0

เพศภาวะ (Gender) หมายถึง ภาวะความเป็นหญิง เป็นชาย ที่ไม่ได้ถูกกำหนดโดยระบบชีววิทยา แต่ถูกกำหนดโดยปัจจัยทางวัฒนธรรม สังคม และอื่นๆ ทำให้สังคมเกิดความคาดหวังต่อความเป็นหญิงและชายในแง่มุมเฉพาะต่างๆ และมีส่วนกำหนดความเชื่อ ทัศนคติ มายาคติ (myth) รวมทั้งประเพณีปฏิบัติต่างๆ ที่ถูกทำให้กลายเป็นบรรทัดฐานของสังคมในเรื่องของความเป็นหญิงเป็นชาย เพศภาวะเป็นสิ่งที่แตกต่างกันไปในแต่ละวัฒนธรรม เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา เช่น ผู้หญิงไทยในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นนิยมแต่งกายโดยนุ่งโจงกระเบนและไว้ผมสั้น เหมือนกับผู้ชาย จนชาวต่างชาติไม่สามารถแยกแยะคนไทยเพศหญิงและชายออกจากกันได้ ปัญหาของการทำความเข้าใจเพศภาวะ คือ ความเข้าใจผิดที่ว่า เพศสรีระเป็นตัวกำหนดเพศภาวะของบุคคล

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A8

 

เพศภาวะ  หมายความว่า ภาวะความเป็นหญิงความเป็นชายที่ถูกกำหนด โดยปัจจัยแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรมในช่วงเวลาหนึ่งๆ

ภาคประชาสังคมมองว่า ในความหมายของเพศภาวะ ที่หมายความว่า ภาวะความเป็นหญิงความเป็นชาย นั้น เห็นว่า ไม่ควรมีคำว่า ความเป็นหญิงความเป็นชาย แต่ให้บัญญัติเพียง ความเป็นเพศ ไว้ เพราะเป็นการมองถึงบุคคลที่เป็นเพศที่สามด้วย

ส่วนทางภาควิชาการ เห็นควรคงความหมายที่ว่า ความเป็นหญิงความเป็นชายไว้ แต่ให้เพิ่มคำว่า ที่ถูกกำหนดทางกายภาพของบุคคล

http://ilaw.or.th/node/537

 

บทบาททางเพศ หมายถึงลักษณะบุคลิกภาพของบุคคลที่แสดงถึงความเป็นชายหรือ ความเป็นหญิงซึ่งเกิดจากการเรียนรู้จากการสังเกตบุคคลรอบ ๆ ข้าง รวมทั้งการอบรมสั่งสอนโดยตรงของพ่อแม่และตัวแทนต่าง ๆ ในสังคมตั้งแต่วัยเด็ก ท้ายสุดบุคคลจึงมีเอกลักษณ์บทบาททางเพศ (Sex role identity) ที่เหมาะสมเป็นของตนเอง และเป็นที่ยอมรับจากคนในสังคม โดยที่จะแสดงออกทั้งลักษณะความเป็นเพศหญิงและความเป็นเพศชายกลายเป็นลักษณะ ร่วมกัน

        ความเป็นชายจะเน้นพฤติกรรมที่แสดงถึงความสามารถของบุคคลใน การที่จะผลักดันตนเองไปสู่ความสำเร็จในชีวิต เน้นบทบาทผู้นำ ในขณะที่ความเป็นหญิงจะเน้นพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความสามารถในการปฏิ สัมพันธ์กับบุคคลอื่น

        ในขณะที่บทบาททางเพศมุ่งเน้นที่พฤติกรรมที่แสดงออกมา เช่น บทบาทในการดูแลลูกของผู้หญิง และบทบาทการหาเลี้ยงครอบครัวของผู้ชาย ความเป็นเพศสนใจพฤติกรรมที่ซ่อนอยู่ภายในด้วย เช่น อารมณ์ ความรู้สึก ดังนั้นการทำความเข้าใจความเป็นเพศจึงไม่ควรถูกลดมาเป็นเพียงการเข้าใจบทบาท ทางเพศเท่านั้น

http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A8

บทบาททางเพศ (Gender Role) หมายถึงการสร้างเอกลักษณ์ทางเพศที่เหมาะสม ความเสมอภาคทางเพศ และบทบาททางเพศที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในสังคมอย่างสมดุล

 

http://gold.rajabhat.edu/Academic/documents/RIP/09-2/006.pdf

 

บทบาททางเพศ หมายถึง บทบาทที่สังคมเป็นตัวกำหนดให้เพศนั้น ๆ ต้องปฏิบัติภาระกิจหน้าที่การงานไปตามอวัยวะเพศที่ปรากฏ  เช่น  มีอวัยวะเพศแบบหนึ่งก็มีหน้าที่แบบหนึ่ง  มีอวัยวะเพศแบบหนึ่งก็ให้เล่นของเล่นแบบหนึ่ง  มีอวัยวะเพศแบบหนึ่งให้แต่งกายแบบหนึ่ง  มีอวัยวะเพศแบบหนึ่งสามารถเข้าไปในสถานที่บางแห่งได้ในขณะที่อวัยวะเพศอีกแบบหนึ่งไม่สามารถเข้าไปได้   เป็นต้น

http://gotoknow.org/blog/storykhienkhao/22474

 

มิติทางเพศ หมายถึง มุมมองที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความเท่าเทียมกันในโอกาสและความเสมอภาคระหว่างหญิง ชาย ที่อยู่ในเรื่องต่างๆโดยปรับความสัมพันธ์ที่แตกต่างให้เกิดความเท่าเทียมและบรรลุความเสมอภาค

 

webhost.cpd.go.th/saraburi/download/plan2.pps

 

ความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ หมายถึง การที่หญิงและชายมีความเท่าเทียมกันในสังคม โดยที่เงื่อนไขทางสังคมจะเอื้อต่อการมีและการใช้สิทธิความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกันทั้งสองเพศ รวมถึงการเอื้อต่อการมีส่วนร่วมในการสร้างประโยชน์ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่ไม่แตกต่างกัน คือการปรับความคิดในการพัฒนาหรือในการทำงานโดยนำความต้องการและมุมมองของทั้งหญิงและชายอย่างเท่าเทียมมาเป็นกรอบความคิด โดยมีหลักความเสมอภาคระหว่างผู้หญิงและผู้ชายเป็นเป้าหมาย

http://www.fai-dee.com/data-youth/data-youth4.htm

 

ความเท่าเทียมกันในระหว่างเพศ หมายถึง การยอมรับและเห็นคุณค่าในความแตกต่างระหว่างชายหญิง รวมทั้งบทบาทที่แตกต่างกันในสังคม โดยหาทางปรับโครงสร้างทางสังคมให้เกิดความสมดุลทางอำนาจระหว่างชายและหญิง

webhost.cpd.go.th/saraburi/download/plan2.pps

ความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ หมายถึง มิได้หมายถึงว่าชายหญิงจะต้องเหมือนกัน โดยต้องคำนึงถึงข้อแตกต่างทางสรีระ วิถีชีวิตต้องไม่เลือกปฏิบัติ ต้องให้ความเป็นธรรมในการแบ่งสรรในส่วนที่เป็นธรรมระหว่างชายหญิง

webhost.cpd.go.th/saraburi/download/plan2.pps

 

มิติทางสังคมเรื่องเพศ หมายถึงข้อกำหนดทางสังคมที่บ่งชี้ว่าอะไรคือสิ่งที่ “ควร” และ “ไม่ควร” ปฏิบัติในเรื่องเพศ  เช่น ผู้หญิงต้องรักษาพรหมจารีก่อนการแต่งงาน  เป็นต้น   ในแต่ละวัฒนธรรมจะมีขนบธรรมเนียมทางเพศที่แตกต่างกัน จึงทำให้ความเชื่อและค่านิยมทางเพศของมนุษย์ในแต่ละสังคมมีความหลากหลาย

http://www.sac.or.th/main/article_detail.php?article_id=184&category_id=27

บทบาทชายหญิง หมายถึง บทบาทที่กำหนดโดยสังคมเป็นตัวกำหนดสำคัญในการที่ผู้หญิงหรือผู้ชายจะแสดงออกอย่างไรในสังคมที่สามารถปรับเปลี่ยนได้

http://guru.sanook.com/answer/question/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%9A%E0%B8%

 

บทบาทชายหญิง หมายถึง ความเป็นหญิงความเป็นชายที่ถูกกำหนดขึ้นโดยสังคมและวัฒนธรรม 

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=409012

 

 

สิทธิทางเพศ หรือ sexual rights คือสิทธิของบุคคลที่ถูกระบุไว้แล้วในกฎหมายและข้อตกลงต่างๆทั้งในระดับ ประเทศและนานาชาติ เป็นสิทธิของคนทุกคนที่ต้องได้รับโดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ ไม่มีการบังคับ และไม่มีความรุนแรง

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8

 

สิทธิทางเพศ เป็นสิทธิมูลฐานและเป็นรากฐานของสิทธิมนุษยชน

http://www.doctor.or.th/node/2145

 

พฤติกรรมาทางเพศ หมาย ถึง การกระทำ หรือ การปฏิบัติตนที่เกี่ยงข้องกับเรื่องเพศ โดยครอบคลุมทั้งพฤติกรรมที่แสดงออกภายนอก คือ พฤติกรรมที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

http://www.thainame.net/project/dinar_za/index1.html

 

พฤติกรรมาทางเพศ หมายถึงการปฏิบัติที่มนุษย์ได้พบและปลดปล่อยเรื่องทางเพศ มีหลากหลายกิจกรรมแตกต่างกันไป อย่างเช่นแผนการในการหาคู่ (จับคู่และแสดงพฤติกรรม) การปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล, ความสัมพันธ์ใกล้ชิดทางร่างกายหรืออารมณ์ รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8

 

พฤติกรรมาทางเพศ หมายถึง ความคิด ทัศนคติและการแสดงออกของบุคคลที่เกี่ยวกับเรื่องเพศ

http://www.kr.ac.th/ebook2/rinrada/t04.html

 

 

เพศสัมพันธ์ เป็นความสัมพันธ์ในรูปแบบหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้น ระหว่างความรัก ความเข้าใจ ความพร้อมของคนทั้งสอง มักจะเกิดขึ้นเฉพาะกับบุคคลที่เรามีความรู้สึกอยากใกล้ชิด เพศสัมพันธ์นั้นไม่ได้หมายความถึงการร่วมเพศเท่านั้น แต่หมายถึงกิจกรรมทางเพศในลักษณะต่างๆ เช่น การกอด การสัมผัส การจูบ การกระตุ้นอวัยวะเพศ แต่ความสัมพันธ์ทางเพศที่ยอมรับในสังคม เป็นองค์ประกอบของการอยู่กินเป็นสามี ภรรยา

 

เพศสัมพันธ์ คือ ขั้นตอนในการดำรงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์หญิงและชาย เมื่อมีความพร้อม ย่อมอยากครองคู่กัน แต่งงานกัน วิธีที่แสดงว่ารักใคร่ และต้องการระบายความต้องการทางเพศ หญิงและชายคู่นั้นก็จะมีเพศสัมพันธ์กัน ถือเป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งทั้งสองฝ่ายควรทำความเข้าใจและตอบสนองความต้องการทางเพศซึ่งกันและกัน

 http://www.anamai.moph.go.th/ewt_news.php?nid=1793

 

 

เพศสัมพันธ์  ไม่ได้หมายถึงเพียงการสอดใส่อวัยวะเพศชายเข้าไปในอวัยวะเพศของหญิงเท่านั้น การจูบ การกอด และการแสดงความรัก เอื้ออาทรต่อกัน ก็ถือเป็นกิจกรรมเกี่ยวกับเรื่องเพศสัมพันธ์ได้

http://www.thaicam.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=311:-5-&catid=81:2010-08-06-03-43-56&Itemid=147

 

การเปลี่ยนแปลงทางสังคม 

เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบของการกระทำและการปะทะสังสรรค์รวมทั้งผลของการกระทำและโครงสร้างที่ก่อให้เกิดปทัสถานอย่างเห็นได้ชัด”

การเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social change) นั้นจะเกี่ยวข้องกับระดับพฤติกรรมเป็นสำคัญ ซึ่งหมายถึงเป็นการพิจารณาการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติการแสดงออกต่าง ๆ ที่เกิดจากการปะทะสังสรรค์ของสมาชิกสังคม

การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม

หมายถึงการเปลี่ยนแปลงในระดับปทัสถาน (Norms) อันได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของระบบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ครอบคลุมสังคมนั้นและเมื่อเราพูดถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมก็จะครอบคลุมไปถึงระเบียบกฎเกณฑ์ ทัศนคติ ค่านิยม แบบแผนของความสัมพันธ์ สถานภาพและบทบาทกฎหมายต่าง ๆ ฯลฯ ซึ่งการประพฤติปฏิบัติไปตามปทัสถานเหล่านี้จะอยู่ในโครงสร้างของสังคม

วัฒนธรรมกับสังคมเป็นของคู่กัน ต้องไปด้วยกันเสมอ ถ้าสังคมเปลี่ยวัฒนธรรมก็เปลี่ยนสังคมก็เปลี่ยน  มีผลเกี่ยวเนื่องกัน ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่นการค้นพบ การประดิษฐ์ การขัดแย้ง การแข่งขัน
   การเปลี่ยนแปลงทางสังคม และวัฒฯธรรมมีผลทำให้ระบบ รูปแบบทางสังคมและวิถีชีวิตของมนุษย์ทั้งที่เป็นวัตถุและไม่ใช้วัตถุเปลี่ยนแปลง   

 

www.stech.ac.th/blogs/0830/wp-content/uploads/.../Cultural-change.doc

 

 

ปัญหาพฤติกรรมทางเพศ หมายถึง ความผิดปกติที่ส่งผลกระทบจากการกระทำ หรือ การปฏิบัติตนที่เกี่ยงข้องกับเรื่องเพศ โดยครอบคลุมทั้งพฤติกรรมที่แสดงออกภายนอก คือ พฤติกรรมที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

http://www.thainame.net/project/dinar_za

 

การวางแผนครอบครัว (Family Planning) หมายถึง การที่คู่สมรสวางแผนไว้ล่วงหน้าเพื่อหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ หรือควบคุมระยะเวลาการตั้งครรภ์ให้เหมาะสมกับอายุ สุขภาพ ฐานะเศรษฐกิจ และระยะห่างของการมีบุตร ตลอดจนจำนวนบุตรที่ต้องการ การวางแผนครอบครัวเพื่อให้ครอบครัวมีความพร้อมที่จะมีสมาชิกตามจำนวนที่ต้อง การ ในระยะเวลาที่ต้องการ

http://baancondom.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%A7/

 

การวางแผนครอบครัว หมายถึง การตั้งเป้าหมายเพื่อให้ครอบครัวมีความพร้อมในด้านต่าง ๆ ตั้งแต่การเลือกคู่ครอง ความพร้อมด้านที่อยู่อาศัยและอาชีพ การแต่งงาน การวางแผนที่จะมีบุตร การเว้นช่วงระยะห่างของการมีบุตรที่เหมาะสม การเป็นพ่อแม่ที่ดีเพื่อเลี้ยงดูบุตรให้เป็นคนดี มีคุณภาพและมีความสุข มีผลเพื่อให้เกิดความสุข ความเหมาะสมทางสังคม เศรษฐกิจ แก่ตนเอง ครอบครัว สังคมและประเทศชาติ

http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%A7

 

การวางแผนครอบครัว คือ การที่สามีภรรยาวางแผนล่วงหน้าว่าจะมีลูกเมื่อใด มีกี่คน โดยวิธีคุมกำเนิดแบบชั่วคราวไว้ในระยะต้องการเว้นระยะลูกให้ห่างและใช้วิธี คุมกำเนิดแบบถาวร การทำหมันเป็นสิ่งแรกที่เราจะต้องคิดและตกลง กับสามี ภรรยา คิดร่วมกันไม่ใช่คนหนึ่งคนใดคิด หากเราไม่วางแผน เมื่อมีลูกแล้ว เราอาจจะไม่ได้ดูแลเขาอย่างเต็มที่ ชีวิตครอบครัวจะมีปัญหา ถ้าเราวางแผนครอบครัวไม่ดี เราอาจจะมีลูกมากเกินไป เราดูแลไม่เต็มที่

http://www.thaigoodview.com/node/17648

 

อนามัยเจริญพันธุ์ หมายถึง ภาวะความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายและจิตใจ ที่เป็นผลจากกระ บวนการและการทำหน้าที่การเจริญพันธุ์ที่สมบูรณ์ทางเพศชายและหญิงทุกช่วงอายุ อันส่งผลให้มี ชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

 

http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/health03/04/contents/hs01.html

 

อนามัยเจริญพันธุ์ หมายถึง ภาวะที่มีความสมบูรณ์ของผู้หญิงและผู้ชายที่พร้อมจะสืบทอดเผ่าพันธุ์ มีความสุขทั้ง ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและจิตวิญญาณมีกระบวนการครอบคลุมตลอดช่วงชีวิตของบุคคล

 

http://www.it.ssyt.org/page3.html

 

อนามัยการเจริญพันธุ์ แปลมาจากคำว่า Reproductive Health หมายถึง ความสมบูรณ์ แข็งแรงของร่างกายและจิตใจอันเนื่องมาจากการมีภาวะการเจริญพันธุ์ที่ดี ในทุกช่วงอายุของคนเรา

http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C

 

เพศภาวะ หมายถึง ภาวะความเป็นหญิงความเป็นชายที่ถูกกำหนด โดยปัจจัยแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรมในช่วงเวลาหนึ่งๆ

 

บทบาททางเพศ หมายถึง บทบาทที่สังคมเป็นตัวกำหนดให้เพศนั้น ๆ ต้องปฏิบัติภาระกิจหน้าที่การงานไปตามวัฒนธรรม

 

มิติทางเพศ หมายถึง มุมมองที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความเท่าเทียมกันในโอกาสและความเสมอภาคระหว่างหญิง ชาย ที่อยู่ในเรื่องต่างๆโดยปรับความสัมพันธ์ที่แตกต่างให้เกิดความเท่าเทียมและบรรลุความเสมอภาค

 

ความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ หมายถึง การที่หญิงและชายมีความเท่าเทียมกันในสังคมโดยการยอมรับและเห็นคุณค่าระหว่างชายหญิง รวมทั้งบทบาทที่แตกต่างกันในสังคม โดยหาทางปรับโครงสร้างทางสังคมให้เกิดความสมดุลทางอำนาจระหว่างชายและหญิง

 

มิติทางสังคมเรื่องเพศ หมายถึง ข้อกำหนดทางสังคมที่บ่งชี้ว่าอะไรคือสิ่งที่ “ควร” และ “ไม่ควร” ปฏิบัติในเรื่องเพศ 

 

บทบาทชายหญิง หมายถึง ความเป็นหญิงความเป็นชายที่ถูกกำหนดขึ้นโดยสังคมและวัฒนธรรม

 

สิทธิทางเพศ หมายถึง ของบุคคลที่ถูกระบุไว้แล้วในกฎหมายและข้อตกลงต่างๆทั้งในระดับ ประเทศและนานาชาติ เป็นสิทธิของคนทุกคนที่ต้องได้รับโดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ ไม่มีการบังคับ และไม่มีความรุนแรง

 

พฤติกรรมาทางเพศ หมายถึง ความคิด ทัศนคติและการแสดงออกของบุคคลที่เกี่ยวกับเรื่องเพศ

 

เพศสัมพันธ์ หมายถึง ความสัมพันธ์รูปแบบหนึ่ง เกิดขึ้น ระหว่างความรัก ความเข้าใจ ความพร้อมของคนทั้งสอง มักจะเกิดขึ้นเฉพาะกับบุคคลที่เรามีความรู้สึกอยากใกล้ชิด ไม่ได้หมายความถึงการร่วมเพศเท่านั้น แต่หมายถึงกิจกรรมทางเพศในลักษณะต่างๆ เช่น การกอด การสัมผัส การจูบ การกระตุ้นอวัยวะเพศ

 

 

การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมทางสังคม หมายถึง เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบของการกระทำและการปะทะสังสรรค์รวมทั้งผลของการกระทำและโครงสร้างที่ก่อให้เกิดปทัสถานอย่างเห็นได้ชัด”

 

ปัญหาพฤติกรรมทางเพศ หมายถึง ความผิดปกติที่ส่งผลกระทบจากการกระทำ หรือ การปฏิบัติตนที่เกี่ยงข้องกับเรื่องเพศ

 

การวางแผนครอบครัว หมายถึง การตั้งเป้าหมายเพื่อให้ครอบครัวมีความพร้อมในด้านต่าง ๆ ตั้งแต่การเลือกคู่ครอง ความพร้อมด้านที่อยู่อาศัยและอาชีพ การแต่งงาน การวางแผนที่จะมีบุตร การเว้นช่วงระยะห่างของการมีบุตรที่เหมาะสม การเป็นพ่อแม่ที่ดีเพื่อเลี้ยงดูบุตรให้เป็นคนดี มีคุณภาพและมีความสุข มีผลเพื่อให้เกิดความสุข ความเหมาะสมทางสังคม เศรษฐกิจ แก่ตนเอง ครอบครัว สังคมและประเทศชาติ

 

อนามัยการเจริญพันธุ์ หมายถึง หมายถึง ความสมบูรณ์ แข็งแรงของร่างกายและจิตใจอันเนื่องมาจากการมีภาวะการเจริญพันธุ์ที่ดี ในทุกช่วงอายุของคนเรา

 

คำสำคัญ (Tags): #เพศศึกษา
หมายเลขบันทึก: 426571เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2011 18:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:09 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท