วัชระ เอี่ยมรัศมีกุล


เวบบล๊อก
วันนี้ได้มีการประชุมคุณกิจและ "คุณคอม" หรือเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ความช่วยเหลือคุณกิจของบางอำเภอที่อาจจะยังไม่คล่องแคล่วด้านคอมพิวเตอร์มากนัก ได้มีการทบทวนกิจกรรมที่ได้ดำเนินการมาและนำเสนอการใช้งานเวบบล๊อก เพื่อเตรีมเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้เสมือนจริงอีกชุมชนหนึ่ง โดยได้เรียนรู้หลายอย่างจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน สิ่งที่พบว่าเป็นอุปสรรคต่อการเกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เสมือนจริงนี้มีหลายประการ เช่น ทักษะภาษาอังกฤษ ทักษะการพิมพ์ดีด และลักษณะเฉพาะของเจ้าหน้าที่ในการแสดงความคิดเห็น โดยหลายคนบอกว่าไม่ค่อยชอบภาษาอังกฤษ อ่านและแปลใช้เวลามาก ได้มีการเสนอเครื่องมือง่ายๆที่พอจะช่วยได้บ้างคือโปรแกรมแปลภาษาที่สามารถจัดหาได้ง่ายและมีหลากหลายชนิด ทั้งที่สามารถแปลได้เมื่อเลื่อนเม้าส์ไปชี้ที่คำภาษาอังกฤษนั้นเลย สำหรับทักษะการพิมพ์ดีดนั้นได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่เคยพบเจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์ศาลที่พิมพ์ได้รวดเร็วมาก ซึ่งคงเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนและควรฝึกพิมพ์สัมผัส ซึ่งจะดีกว่าการจิ้มดีดมากเพราะจิ้มดีดนั้นเริ่มต้นอาจจะดูง่าย แต่จะมีปัญหาข้อจำกัดด้านความเร็วเมื่อพิมพ์ได้คล่องขึ้น ส่วนลักษณะเฉพาะของเจ้าหน้าที่ในการแสดงความคิดเห็นนั้น ได้แลกเปลี่ยนความคิดที่ว่า คนที่ถามคำถามอาจจะดูเหมือนไม่มีความรู้ แต่เขาจะไม่มีความรู้อยู่เพียงแค่ 4-5 นาที เพราะเมื่อเขาถามคำถามแล้วเขาก็จะได้รับความกระจ่าง ส่วนคนที่ไม่ถามหรือ "อมภูมิ" นั้นจะไม่ได้รับความกระจ่างตลอดไปเลยทีเดียว ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมให้ความสนใจและคิดว่าน่าจะนำไปบอกกล่าวกับเพื่อนร่วมงาน เพื่อปรับเปลี่ยนความเข้าใจต่อการซักถามได้ สำหรับคุณคอมเอง ทุกคนบอกตรงกันว่าการสร้างเวบบล๊อกนั้นไม่ใช่เรื่องยาก แต่ปัญหาคือ "เนื้อหา" ที่คุณกิจเองจะนำเสนอและบันทึกเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งนับว่าเป็นที่น่ายินดีที่แสดงว่าคุณคอมเองก็มีประสบการณ์เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการทำงานพอสมควร ที่ประชุมได้เสนอให้ลองใช้เวบบล๊อกนี้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ดเลย ซึ่งก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดี วันนี้ได้นำเสนอข้อมูลด้านวิชาการบางส่วนเกี่ยวกับการจัดการความรู้ เฉพาะในส่วนที่มีองค์ความรู้อยู่แล้ว ซึ่งเป็นเนื้อหาที่ได้อ่านจากหนังสือของ ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา เรื่อง สังคมความรู้ยุคที่ 2 ว่าการจัดการความรู้อาจจะมีระดับหรือขั้นตอนตามลำดับดังนี้ คือ 1. การเข้าถึงความรู้ K-access 2. การตรวจสอบความถูกต้อง K-validation 3. การประเมินคุณค่า K-valuation 4. การย่อยความรู้ให้พร้อมใช้งาน K-optimization 5. การกระจายความรู้ K-dissemination นอกจากนี้ยังได้นำเสนอถึงการจัดการความรู้ทางวิชาชีพแพทย์ ที่เรียกว่าการแพทย์เชิงประจักษ์ Evidence-based medicine และการจัดการความรู้ของชุมชนทางการแพทย์ระดับโลกชุมชนหนึ่งที่เรียกว่า Cochrane collaboration ที่มีการเสนอหัวข้อ ทบทวนอย่างจริงจัง และมีการนำเสนออย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานและการดูแลผู้รับบริการทั่วไปอย่างมาก ช่วงท้ายของการประชุมได้ชักชวนทุกคนให้นำเสนอความคิดเห็นผ่านเวบบล๊อกและให้จัดหาอีเมล์ของตนเองให้ครบทุกคน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการทำงานภายในชุมชนแห่งการเรียนรู้เสมือนจริงของเราทุกคน คิดว่าอีกประมาณ 1-2 เดือนน่าจะได้มีการติดตามความก้าวหน้าของพวกเราว่าจะนำเครื่องมือเหล่านี้มาช่วยในการให้บริการได้เพียงใด ขอเป็นกำลังใจให้คุณกิจ คุณอำนวย คุณคอม และบุคลากรสาธารณสุขทุกท่านที่ปฏิบัติงานเพื่อผู้รับบริการทุกระดับอย่างทุ่มเทครับ วัชระ เอี่ยมรัศมีกุล
คำสำคัญ (Tags): #เวบบล๊อก
หมายเลขบันทึก: 42641เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2006 19:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)
     ดีใจมาก ๆ ครับที่ได้อ่านสาระที่เป็นประโยชน์จากบันทึกของหมอ บันทึกนี้ โดยเฉพาะที่บอกว่า "ลักษณะเฉพาะของเจ้าหน้าที่ในการแสดงความคิดเห็นนั้น ได้แลกเปลี่ยนความคิดที่ว่า คนที่ถามคำถามอาจจะดูเหมือนไม่มีความรู้ แต่เขาจะไม่มีความรู้อยู่เพียงแค่ 4-5 นาที เพราะเมื่อเขาถามคำถามแล้วเขาก็จะได้รับความกระจ่าง ส่วนคนที่ไม่ถามหรือ "อมภูมิ" นั้นจะไม่ได้รับความกระจ่างตลอดไป" ชอบมากครับ

วันนี้ได้เข้าร่วมประชุมและรับฟังสาระที่เป็นประโยชน์มาก ๆ ครับ เป็นการเรียนผู้ที่ดีมากและนำมาปฏิบัติได้จริง อย่างที่ผมกำลังบันทึกอยู่นี้ หากไม่ได้เข้าร่วมประชุมคงไม่รู้หรอกว่า แหล่งความรู้ที่จับต้องได้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้นั้นมันไม่ไกลเกินฝันครับ และผมได้ทดลองสร้างบลอกใหม่ครับ HCISDB เกี่ยวกับโปรแกรมฐานข้อมูลที่ร้อยเอ็ดเราดำเนินการอยู่ครับ

     ผมไปให้ คห.คุณสุดใจ ไว้ที่บันทึกแรกของคุณด้วยแล้วครับ ลองไป ลปรร.กันดูนะครับ

"คนที่ถามคำถามอาจจะดูเหมือนไม่มีความรู้ แต่เขาจะไม่มีความรู้อยู่เพียงแค่ 4-5 นาที เพราะเมื่อเขาถามคำถามแล้วเขาก็จะได้รับความกระจ่าง ส่วนคนที่ไม่ถามหรือ "อมภูมิ" นั้นจะไม่ได้รับความกระจ่างตลอดไปเลยทีเดียว"

  • ชอบคำพูดประโยคนี้ของคุณหมอมากครับ
  • ดีใจมากที่เห็นคุณหมอเป็นผู้นำ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  • (ต่อครับ) ดีใจมากที่เห็นคุณหมอเป็นผู้นำด้าน KM ของบุคลากรสาธารณสุขในเมืองร้อยเอ็ดของเรา
  • ภาษาอังกฤษไม่ยากอย่างที่หลายท่านคิดครับ
  • ขอบคุณที่นำสิ่งดีๆ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

ขอบคุณ คุณชายขอบ มากครับ ที่ให้ความคิดเห็นไว้ที่ HCISDB ครับ

รพ.โพธิ์ชัย ดำเนินการขยายเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ไปที่ สถานีอนามัย มีการจัดอบรม KM ให้กับเจ้าหน้าที่ใน รพ. และ สอ. 100% และทีม IM ของ CUP ลปรร กับบุคลากร เพื่อให้สามารถใช้ internet ได้ทุกคน โดยได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร ขยายเครือข่าย Internet ให้สามารถใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง และทุกหน่วยบริการในโรงพยาบาล ขอยกนิ้วให้ท่าน ผอก.รพ. โพธิ์ชัย ครับ

 

วัชระ เอี่ยมรัศมีกุล

ขอบคุณสำหรับทุกความคิดเห็นครับ

เกิดกำลังใจสำหรับการทำงานขึ้นอีกมากมายเมื่อทราบว่ามีหลายคนที่คิดเหมือนๆเรา

วันนี้ผมเพิ่งกลับมาจากสุราษฎร์ธานี ไปประชุมเรื่องระบบสารสนเทศเพื่อการป้องกันและควบคุมมะเร็งปากมดลูก โดยใช้โปรแกรม CPIS ได้เห็นความตั้งใจและความสนใจของเจ้าหน้าที่ที่เข้าอบรมแล้ว เกิดความรู้สึกมั่นใจว่างานนี้น่าจะประสบผลสำเร็จได้ไม่ยาก

 การเดินทางครั้งนี้ไปและกลับพร้อมกับสังเวียน ต้องบอกว่าทรหดสุดๆ โดยเฉพาะสังเวียนที่พอลงจากเวทีก็ต้องรีบเดินทางอันแสนยาวไกลและเหน็ดเหนื่อยครั้งนี้ แต่คิดว่าคงมีความรู้สึกไม่ต่างกันที่ผู้เข้าอบรมใส่ใจมากๆกับการฝึกปฏิบัติ ถึงจะเหนื่อยแค่ไหนก็จะสู้ต่อครับ

ทราบข่าวความก้าวหน้าของทีม CUP โพธิ์ชัยแล้วขอชื่นชมมากๆเลยครับ ต้องขอขอบคุณท่านผู้อำนวยการโรงพยาบาลและเจ้าหน้าที่ทุกคนที่ดำเนินการอย่างจริงจัง อย่าลืมเล่าความก้าวหน้าเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันบ้างนะครับ 

บอกต่อๆกันไปนะครับ เพื่อให้เครือข่ายของเราเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้มากขึ้น ใครมีบล๊อกดีๆก็อย่าลืมแนะนำกันบ้างนะครับ

ขอบคุณอีกครั้งสำหรับทุกความคิดเห็น

 

เรียนถามผู้รู้ครับ นำเข้าเป้าหมายหญิงใน CPIS ไม่ได้ครับ ไม่ทราบต้องทำอย่างไร คุณ สว. พนมไพร ช่วยที ถ้าผ่านมา โพธิ์ชัย แจ้งด้วยแล้วกันนะครับ

เมื่อวันที่ 7 กย.49 ที่ผ่านมา ทีมนำของ รพ.โพธิ์ชัย ได้ระดมสมองหัวหน้าจุดต่าง ๆ เพื่อร่วมกันหาแนวทางในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ปี 2550 ของ รพ.และของ CUP โพธิ์ชัย โดยอาศัยแนวทางร่างแผน ของ สสจ.รอ. ก็ถือว่าปีนี้เราได้เตรียมความพร้อม และได้ฝึกให้มีการทำงานเป็นทีม ซึ่งหลายความคิดเป็นยุทธศาสตร์ใหม่เพิ่มเติมจากที่เคยมีมา และคิดว่าปี 50 นี้ การดำเนินงานด้านสาธารณสุขของ CUP โพธิ์ชัยคงไปได้สวยครับ

วันที่ ๑๘-๑๙ กย.๔๙ ร้อยเอ็ดได้มีการ ลปรร เรื่องการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ประจำปี ๕๐ ซึ่งนำโดยท่านนายแพทย์ สสจ. ท่านสุวรรณชัย  วัฒนายิ่งเจริญชัย ให้นโยบายในการติดตามผลการดำเนินงานของปี ๔๙ พื้นที่ไหนยังไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินขอให้เร่งรัดดำเนินการ บรรยากาศการจัดทำแผน ประกอบด้วย ผอก.รพ ต่าง ๆ สสอ. นวก. และผู้รับผิดชอบระดับตำบล อำเภอ อำเภอละ ๖ ท่านร่วมกัน ลปรร คาดปี ๕๐ ร้อยเอ็ดจะมีผลการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาของประชาชนได้ผลเป็นอย่างดีครับ

 

วันนี้ 26 ตุลาคม 2549 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อย จัด “ มหกรรมคุณภาพ  ” : การจัดการความรู้และงานคุณภาพ ณ ห้องประดับพลอย  โรงแรมเพชรรัชต์ การ์เด้น อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด

เวลา 08.00น. - 09.00น. ลงทะเบียน

เวลา 09.00น. - 10.30น. ชมนิทรรศการ“ มหกรรมคุณภาพ ” : การจัดการความรู้และงานคุณภาพ

ชุมชนนักปฏิบัติ อนามัยแม่และเด็ก มะเร็งปากมดลูก อุบัติเหตุ เบาหวาน หอบหืด

(โรงพยาบาลทุกแห่งจัดนิทรรศการ แห่งละ 1 เรื่อง)

(รับประทานอาหารว่าง เวลา 10.15 น.-10.30น.ในห้องนิทรรศการ)

เวลา 10.30 น. – 12.00 น. นำเสนองานคุณภาพ

1. ที่ทำงานน่าอยู่ น่าทำงาน สสอ.เมืองร้อยเอ็ด

2. งานใน PCU สอ.นิเวศน์ สสอ.ธวัชบุรี

3. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ร.พ.จตุรพักตรพิมาน

4. โรงพยาบาลคุณภาพ ร.พ.ร้อยเอ็ด

5. งาน QA การพยาบาล ร.พ.ปทุมรัตต์

(ทีปรึกษา ให้คำแนะนำ:- นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด นางจิรภา ธีระกนก นายแพทย์วัชระ เอี่ยมรัศมีกุล

นางสาวชนิตา สุ่มมาตย์ นางสาวสุพิทยา สังฆะพิลา นายบุญเลิศ พิมศักดิ์ )

เวลา 12.00 น. – 13.00 น. พักรับประทาอาหารกลางวัน

เวลา 13.00 น. – 16.00 น. นำเสนอ การจัดการความรู้ จากชุมชนักปฏิบัติ 8 กลุ่ม

  1. อนามัยแม่และเด็ก ร.พ.เสลภูมิ
  2. 2. มะเร็งปากมดลูก ร.พ.พนมไพร
  3. อุบัติเหตุ ร.พ.อาจสามารถ
  4. 4. เบาหวาน ร.พ.ร้อยเอ็ด

5. หอบหืด ร.พ.ศรีสมเด็จ

6. ระบบนัด ร.พ.เมืองสรวง

7.ฟื้นฟูสภาพร่างกายมารดาหลังคลอดโดยแพทย์ทางเลือก ,

8. เวบบล็อก ร.พ.โพธิ์ชัย

(ที่ปรึกษา ให้คำแนะนำ :- นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด นายแพทย์วัชระ เอี่ยมรัศมีกุล

นายแพทย์ พิพัฒน์ ทองน้อย นายแพทย์ปิยพงศ์ รัตนอาภา นายแพทย์ ปิยบุตร เถาว์ทิพย์

นายแพทย์ศิโรตม์ สินธุ์นันท์สกุล นางสาวปาลิดา เฉลิมแสน )

เวลา 16.00น.-16.30 น. มอบใบเกียรติบัตรแก่ผู้นำเสนอและปิดงานมหกรรมคุณภาพ

คลังความรู้ (Knowledge Asset) เรื่อง การใช้ยาในผู้ป่วยหอบหืด(25 พ.ค.49) -1-

ประเด็นหลัก/ หลักการ/ เคล็ดลับ

เรื่องเล่า/ ประสบการณ์

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

 

ผู้ป่วยหอบหืด มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในทุกโรงพยาบาลมีอาการตั้งแต่เล็กน้อยถึงรุนแรงการรักษาโดยมากมีความแตกต่างกัน ยาที่ใช้รักษาหอบหืด แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ใหญ่ ๆ คือ

 
 

1. กลุ่ม Relciver ได้แก่ –Salbutmol (Ventolin) ทั้งในรูปของยาเม็ด

- รพ.ร้อยเอ็ด

- การใช้ยาตามระดับความรุนแรงของอาการป่วย

และ Inhaler, ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม b 2 agonist ในบาง รพ.จะมี

Terbutaline ฉีด

- รพ.เมืองสรวง

- รพ.เกษตรวิสัย

- เน้นการใช้ Steroid พ่น

- Steroide เช่น Dexamethasone, Prednisolone ซึ่งเป็นกลุ่ม

- รพ.พนมไพร

- การให้คำแนะนำเรื่องการใช้ยา และ

Corticosteroide

- รพ.โพนทราย

เทคนิคการใช้ยา เช่น พ่นยาและใช้ยา

2. กลุ่ม Controller ได้แก่ - Seretide ซึ่งเป็น Steroid+

- รพ.จตุรพักตรพิมาน

ตามแพทย์สั่งและการประเมิน/ติดตาม

Long acting b 2 agonist

- รพ.ศรีสมเด็จ

ผู้ป่วยว่าสามารถใช้ยาได้ถูกต้องตามคำ

- Theophylline หรือ Aminophylline

 

แนะนำ

- Berodual

 
 

สำหรับ การใช้ยาต่างๆเลือกใช้ตามความรุนแรงของโรคคือ

 
 

1. กลุ่มที่มีอาการไม่รุนแรง: Intermittent คือกลุ่มที่มีอาการหอบ

 
 

ไม่เกิน1 ครั้ง/เดือน รักษาโดยใช้ยา Ventolin Inhaler prn

 
     
 

2. กลุ่มมีอาการรุนแรงเล็กน้อย : Mild คือ มีอาการ > 1 ครั้ง/เดือน ต้องได้ยาพ่น Steroid

 
 

3. กลุ่มมีอาการรุนแรงปานกลาง ต้องได้รับยาพ่น Steroide ทุกวัน + long acting b 2 agonist

 
 

4. กลุ่มมีอาการรุนแรงต้องพ่น Steroideทุกวันและเพิ่มขนาดขึ้น

 
 

+long tem Steroid กิน

 
 

สำหรับการให้คำแนะนำการใช้ยาจะเน้นที่ การสอนการใช้ยา

 
 

เน้นเทคนิคการใช้ยาการใช้ยาพ่น เช่น Ventolin Inhaler

 
 

แนะนำผู้ป่วยให้สูดยาเข้าพร้อมกับหายใจเข้าลึก ๆ กลั้นลมหายใจ

 
 

ค้างไว้5-10 นาที แล้วค่อยผ่อนลมหายใจออก

 
 

หลังจากใช้ยาพ่น ต้องแนะนำผู้ป่วยให้บ้วนปากแปรงฟันแปรงฟัน

 
 

แปรงลิ้นทุกครั้ง เนื่องจาก ยาจะทำให้ลิ้นเป็นฝ้า และคอแห้งได้

 
 

ในการดูแลรักษาผู้ป่วย หากมีอาการใช้ยาตามระดับอาการของ

 
 

ผู้ป่วยและตามมาตรฐานการดูแล ผู้ป่วยสามารถใช้ยาตามคำ แนะนำได้จะส่งผลต่อการควบคุมอาการของโรค และลดปัญหาการ Admit หรือ Readmit ของผู้ป่วยได้

 

คลังความรู้ (Knowledge Asset) เรื่อง การรับใหม่การฝากครรภ์ (25 พ.ค.49) -1-

ประเด็นหลัก/ หลักการ/ เคล็ดลับ

เรื่องเล่า/ ประสบการณ์

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

การฝากครรภ์รายใหม่

-หน้าห้องตรวจครรภ์

 
 

1. ประเมินสภาพร่างกายซักประวัติทั่วไป Confirm การตั้งครรภ์ LMP,

 
 

EDC GA

 
 

2. ประวัติตามแบบฟอร์ม ร.บ 1 ต.05

 
 

3. แนะนำทั่วไปในระบบฝากครรภ์รายใหม่ (เบื้องต้น)

 
 

ห้องตรวจครรภ์

 
 

1. Conform EDC ตรวจร่างกาย - เต้านม , หัวนม

 
 

- ซีด, บวม , หัวใจ

 
 

2. ประเมินความเสี่ยง 20 ข้อ ประวัติ

 
 

3. ตรวจครรรภ์ 4 ท่า ฟัง FHS โดยใช้ Choptone แจ้งผลการ

 
 

ตรวจ

 
 

4. Pre-couselling ตรวจเลือด, เซ็นต์ใบยินยอมตรวจเลือด

 
 

5. ส่งพบแพทย์ทุกราย หรือ GA 20-26 ส่ง U/S (อาจสามารถ)

 
 

ANC High Rish

 
 

6. ตรวจฟัน

 
 

7. ให้วัคซีน

 
 

8. จ่ายยาบำรุงเลือด, เกลือเสริมไอโอดีน

 
 

9. คำแนะนำตามไตรมาส, โรงเรียนพ่อแม่

 
 

10. ลงบันทึกในสมุดฝากครรภ์, รบ 1 ต 05

 
 

11. นัดตรวจครรภ์ครั้งต่อไป

 

ข่าวประชาสัมพันธ์
งานประชาสัมพันธ์และรับเรื่องราวร้องทุกข์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด โทร 0-4351-1233
สายด่วนรับเรื่องราวร้องทุกข์ โทร. 1330 http//:www.sasuk101.net/ ข่าวที่ 8/2549
************************************************************
สาธารณสุขร้อยเอ็ดจัด “มหกรรมคุณภาพ”
************************************************************
นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด เปิดเผยว่า ปัจจุบันการปฏิบัติงานด้านการแพทย์ พยาบาล การสาธารณสุข นอกจากใช้องค์ความรู้ของวิชาชีพ ต้องอาศัยองค์ความรู้จากประสบการณ์จนเกิดความเชี่ยวชาญ เพื่อให้งานมีคุณภาพมาตรฐาน และเพื่อให้ประชาชนให้มีการปฏิบัติตัวดูแลสุขภาพตนเองได้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด จึงได้สร้าง เครือข่ายการเรียนรู้ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติจริง และ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ปฏิบัติงานจากสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ จนสามารถนำองค์ความรู้ไปพัฒนา คุณภาพของโรงพยาบาล ตามมาตรฐานการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล และ โรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพ โดยเน้นองค์ความรู้ 5 กลุ่ม คือ โรคเบาหวาน มะเร็งปากมดลูก แม่และเด็ก งานอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน การดูแลผู้ป่วยโรคหอบหืด

นายแพทย์สุวรรณชัย กล่าวว่า การดำเนินงานได้ก้าวหน้าพอสมควร โรงพยาบาล ทุกแห่งของจังหวัดร้อยเอ็ด ได้รับการรับรองเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ เป็นโรงพยาบาล พัฒนาคุณภาพ 2 แห่ง ที่เหลืออยู่ในระหว่างการพัฒนาเพื่อขอการรับรอง ดังนั้นเพื่อให้เกิดการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ปฏิบัติงานในสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ จึงได้จัดงาน “มหกรรมคุณภาพ การจัดการความรู้ และ งานคุณภาพ” ในวันที่ 26 ตุลาคม 2549 ณ ห้องประดับพลอยโรงแรมเพชรรัชค์ การ์เด้น โดยมีการจัดนิทรรศการงานคุณภาพชุมชนนักปฏิบัติ การนำเสนองานคุณภาพ รวมทั้งการนำเสนอการจัดการความรู้ จากชุมชนนักปฏิบัติ ซึ่งการ จัดมหกรรมครั้งนี้เครือข่ายจะเกิดจากเรียนรู้ จนสามารถนำไปพัฒนางานที่มีคุณภาพ ต่อไป.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
26 ตุลาคม 2549

ทองสุข โพนเงิน/ข่าว

บรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วันนี้ในงาน มหกรรมคุณภาพ ท่าน ส.9 (ท่านจิรภา) ได้ให้ข้อคิดช่วงหนึ่งว่า "คุณภาพไม่มีดีที่สุด มีแต่ดีขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่ง ๆ ขึ้นไป"
อาจารย์ไต๋ บอกไว้ว่า "ความฟิตขององค์กร เป็นแรงผลักดันให้เกิดการทำงานเป็นทีม"

รพ.โพธิ์ชัย นำเสนอ 5 ก็สวยได้ โดยการฟื้นฟูร่างกายหญิงหลังคลอดโดยการแพทย์ทางเลือก ของงานแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลโพธิ์ชัย

สมุนไพรฟื้นฟู แม่หนูหลังคลอด กิจกรรม เป็นการความร่วมมือระหว่างงานห้องคลอด และงานการแพทย์ทางเลือก โดยให้บริการหญิงหลังคลอดในเรื่องการฟื้นฟูสภาพร่างกายหลังคลอดให้เข้าสู่ภาวะปกติอย่างมีประสิทธิภาพ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท