choothong (ชูทอง)
ครู thammarat (ธรรมรัตน์ ) choothong (ชูทอง)

choothong (ชูทอง)


ครู
โรงเรียนสตรีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ สพม. เขต 2
Username
thammaratchoothong
สมาชิกเลขที่
10875
เป็นสมาชิกเมื่อ
เข้าระบบเมื่อ
-
(ไม่มีตั้งแต่ พ.ศ. 2564)
ประวัติย่อ
 

<a href=นายธรรมรัตน์  สกุล  ชูทอง  (ต้น)          
สัญชาติ  ไทย   เชื้อชาติ  ไทย        ศาสนา  พุทธ 
ภูมิลำเนาเดิม  บ้านเลขที่  28 /1  หมู่ที่  6   ตำบลควนเกย
อำเภอร่อนพิบูลย์   นครศรีธรรมราช 80130
                      โทร. 086 079 68...

ารศึกษา    

  ปริญญาตรี ทธศาสตร์บัณฑิต (พธ.บ.) คณะสังคมศาสตร์  
        มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์
        (เกียรตินิยมอันดับ ๒)
        ประกาศนียบัตรวิชาชีพครู  (ปว.ค.)

ริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต  คณะรัฐศาสตร์   (เอกการบริหารัฐกิจ)
        มหาวิทยาลัยรามคำแหง  

---------------------------------------------------------

าพนี้.. ลุง  พี่  น้อง  มาเยี่ยมหลาน..  7 มีนาคม  2552

 

 

  P  

   

 

 

 

 

 

 ชีวิต..ประดุจสายน้ำ..ที่ไหลไปไม่หยึดนิ่ง...สรรพสิ่งหมุนเวียน.
 วามรู้ของสังคมมนุษย์ 
เมื่อพูดถึงความรู้ของสังคมมนุษย์นั้นมีที่มาหลายประการ  จึงพอสรุปได้ คังนี้
          1.  ไสยศาสตร์  (Magic Knowledge)  เป็นความรู้ที่ลึกลับ มักเกี่ยวข้องกับอำนาจที่ผิดธรรมดา ไม่จำเป็นต้องมีความชัดเจนหรืออธิบายได้    เมื่อไม่สามารถอธิบายหรือเข้าใจได้ก็เกิดความหวาดกลัว ขาดความมั่นใจ     จนต้องยอมรับในสิ่งที่เรียกว่าไสย เช่นการเชื่อถือโชคลาง หรือภูตผี  ซึ่งเป็น supernatural คือสภาวะเหนือธรรมชาติ กล่าวกันว่า magic เป็นเครื่องมือที่มนุษย์ในยุคเริ่มแรกใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ เพราะสมัยที่มนุษย์ยังไม่ได้พัฒนาความรู้มากเท่าปัจจุบัน การพบปรากฎการณ์ต่างๆ เช่น ฝนตก ฟ้าร้อง แผ่นดินไหว พายุ ภูเขาไฟระเบิด ฯลฯ
          2.  ความรู้จากประสบการณ์  (Knowledge of Experience)  ความรู้ประเภทนี้มนุษย์มักได้มาอย่างกระทันหัน อาจเป็นความรู้แบบหยาบๆหรือมีลักษณะผิวเผิน หรือหรืออาจเป็นความจริงแท้แน่นอน มนุษย์ในทุกยุคทุกสมัยได้ผลิตความรู้แบบนี้อยู่ตลอดเวลา      ประสบการณ์คือการได้ยิน   ได้เห็นได้สัมผัสได้รับความรู้สึกจากสรรพสิ่งหรือเหตุการณ์ปรากฎการณ์ต่างๆด้วยตัวเอง    เช่นความรู้ในการจุดไฟโดยใช้วัตถุบางอย่างเสียดสีกันของคนยุคโบราณ ความรู้จากประสบการณ์นี้อาจจะมีทั้งที่ถูกต้องและผิดพลาด   ขึ้นกับการตัดสินหรือการแปลความหมายต่อจากการสัมผัสจากประสบการณ์นั้นๆ เช่นถ้าเรามองเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นและตกทุกวัน
          3.  ความรู้จากสามัญสำนึก   (Common Sense Knowledge)   เป็นความรู้ที่บุคคลได้รับการอบรมสั่งสอนถ่ายทอด (socialization)   จากครอบครัว เครือญาติ เพื่อนฝูง เพื่อนบ้าน สถาบัน หรือที่เรียกว่า “ สังคม ” โดยรวมๆ ตลอดจนได้รับจากประสบการณ์ที่บุคคลได้ประสบพบเห็นบ่อยครั้ง   จนเกิดความเคยชินกลายเป็นนิสัยไป (habit) สามัญสำนึกคือ     อาการที่มนุษย์รู้สึกหรือเข้าใจหรือมองเห็นสิ่งใด ๆ   ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีลักษณะนามธรรม (abstract) หรือรูปธรรม (concrete) จนสามารถตัดสินและแสดงพฤติกรรมตอบสนองปรากฎการณ์หรือสภาวะเรื่องราวนั้นๆ
          4.  ความรู้เชิงปรัชญา   (Philosophical Knowledge)    ความรู้ประเภทนี้มีลักษณะลึกซึ้ง และสลับซับซ้อน ได้มาโดยการพินิจพิจารณาใช้ความคิด   (thought) แบบมีเหตุผล (reasoning)   จนพัฒนากลายเป็นศาสตร์ที่เรียกรวมๆว่า “ ปรัชญา ” (Philosophy) ซึ่งแบ่งสาขาย่อยออกเป็น อภิปรัชญา (Metaphysic) ตรรกวิทยา (Logic) จริยศาสตร์ (Ethics) และสุนทรียศาสตร์ (Aesthetics)
          5.  ความรู้เชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Knowledge) เป็นความรู้สมัยใหม่ที่ได้รับการนิยมมากที่สุดในวงวิชาการปัจจุบัน ความรู้แบบวิทยาศาสตร์มีลักษณะสำคัญดังนี้
                    5.1  การศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ต้องใช้หลักฐานที่มีอยู่จริง (empirical evidence) เป็นหลักฐานที่หาได้จากโลกของสัจจธรรม (world of reality) จึงถือเป็นความรู้ที่มี การพิสูจน์ให้เห็นได้ ซึ่งทำให้วิทยาศาสตร์แตกต่างไปจากปรัชญา เพราะปรัชญาเป็นความรู้ที่เนื่องมาจากการใช้ความพินิจพิเคราะห์อย่างมีเหตุผลก็จริง แต่ก็นับว่าเป็นเพียงการคาดคะเนของผู้รู้จักใช้เหตุผลเท่านั้น แต่ไม่มีการใช้หลักฐานแบบวิทยาศาสตร์
                    5.2  การศึกษาหาความรู้แบบวิทยาศาสตร์ต้องกระทำอย่างตรงไปตรงมา  ไม่เอาความรู้สึกหรือคุณค่าใดๆเข้ามาเกี่ยวข้อง  (value-free)   ต้องมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่ความถูกต้องแม่นยำ (validity)   และความเชื่อถือได้ (reliability)    ของข้อสรุปที่เนื่องมาจากการศึกษาหรือการวิจัยแต่ละครั้ง   “ ความถูกต้อง ”  ของวิทยาศาสตร์ไม่ใช่ “ ความสมเหตุสมผล ” อย่างในวิชาตรรกวิทยา เพราะความสมเหตุสมผลบางทีก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยข้อเท็จจริงเสมอไป   “ ความเชื่อถือได้ ”   ไม่ได้หมายถึงความเชื่อถือที่เกิดขึ้นจากคารมของผู้ศึกษาหรือจากอำนาจในการใช้เหตุผล แต่เป็นความเชื่อถือที่เครื่องมือในการศึกษา ได้ “ วัด ” สิ่งที่เราต้องการจะวัดจริงๆ
                    5.3  ความรู้แบบวิทยาศาสตร์เป็นความรู้สากล เป็นความรู้ที่อธิบายกลุ่มเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยสามารถทดสอบได้อย่างเป็นสากล    คือต้องอธิบายทั่วไปได้หลายๆเหตุการณ์ มิใช่ใช้ได้เฉพาะเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น แต่ต้องเป็นความรู้ที่จริงอยู่เสมอ    ไม่ว่าจะถูกนำไปทดลอง ตรวจสอบ  หรือใช้โดยใคร คนชาติไหน ภาษาใด ที่ไหน    และเมื่อไร เมื่อมีการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์  ไปพิสูจน์หรือใช้ตามหลักเกณฑ์แล้ว ผลที่ได้รับย่อมจะเหมือนกันเสมอ   เช่น   หนึ่งบวกหนึ่งย่อมเท่ากับสองเสมอ ไม่ว่าใครจะบวก หรือบวกเมื่อไหร่ก็ตาม หรือความรู้ทางการแพทย์แผนใหม่สามารถนำไปใช้กับคนทั้งโลก ผิดกับการรักษาคนไข้แบบไสยศาสตร์อาจใช้ได้เฉพาะคนบางกลุ่มบางเผ่าพันธุ์เท่านั้น
                    5.4  การศึกษาหาความรู้แบบวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะทำโดยการสังเกต การทดลอง   และอื่นๆ จะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ    มีการจดบันทึกเพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิง     และสะสมต่อเนื่องกันจนเกิดองค์ความรู้ กลายเป็นกฎเกณฑ์ หลักการ     และทฤษฎี ที่ได้รับการยอมรับจากผู้รู้หรือนักวิทยาศาสตร์สาขานั้นๆ  ซึ่งทำให้วิทยาศาสตร์แต่ละสาขามีกฎเกณฑ์ กระบวนวิธีการของการปฏิบัติเป็นของตนเอง
                    5.5  ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มีการค้นคว้าวิจัยอยู่ตลอดเวลา จึงมีความรู้ใหม่ๆเกิดขึ้นสะสมต่อเนื่องกันไป มีการเปลี่ยนแปลงได้ เช่นเมื่อก่อนเราทราบว่ามีธาตุอยู่ไม่เกิน 100 ธาตุ แต่ปัจจุบันเราพบมากกว่า 100 ธาตุแล้ว และในอนาคตเราก็อาจค้นพบธาตุใหม่ๆขึ้นมาได้อีก
----------------------------------------------------------------------------------
ที่มา  ศูนย์พัฒนาทรัพยากรการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม 44150   
                         
 
 
 
  
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท