อิงจันทร์ บ้านกลอนไฉไล
ครู รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น น้ำตาล จันทวงศ์

เรื่องสั้นรางวัลช่อการะเกดและเรื่องสั้นยอดเยี่ยม พ.ศ. ๒๕๒๒ : คลื่นหัวเดิ่ง


 (อาจารย์สถาพร ศรีสัจจัง  ศิลปินแห่งชาติสาขา วรรณศิลป์ ปี 2548)

" เพลงรองเง็งจากงานบ่าวสาวแว่วมาอีก 

เพื่อนเจ้าบ่าวที่เป็นลูกเรืออวนลากของเถ้าแก่บนฝั่งตรงข้าม 

มาช่วยงานกันหลายคน อ้นเห็นมันเมาแประกันแล้วตั้งแต่หัวค่ำโน่น...

"ตันหยง ตั้นหยง  กำพงแลน้อง  หยงดอกรักเร่  เรารักกันอยู่คนละท่าเล

ไม่มีเรืออีเขไปวังน้อง..."ไม่เลวทีเดียว เล่นบทครูเสียด้วย อ้นนึกยิ้ม ๆ

ในบทร็องแง็งเกี้ยวสาวกระท่อนกระแท่นที่ได้ยิน มันคงเป็นคนสตูล อ้นคิด

คนฝั่งตรังมันร้องบทนี้ไม่เป็นกันหรอก...

 

         ข้อความข้างบนนี้เป็นตอนเปิดเรื่อง ของ เรื่องสั้น "คลื่นหัวเดิ่ง" ซึ่งผู้เขียนได้สะท้อนการละเล่นของชาวบ้านแถบนี้ คือ "รองแง็งตันหยง"  นั่นเอง

          คลื่นหัวเดิ่ง เป็นชื่อเรื่องสั้นที่ได้รับรางวัลช่อการะเกดจากนิตยสารโลกหนังสือ และได้รับคัดเลือกให้เป็นเรื่องสั้นยอดเยี่ยมประจำปี ๒๕๒๒ จากสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย  แต่งโดยพนม นันทพฤกษ์ ซึ่งเป็นนามปากกาของ สถาพร  ศรีสัจจัง (คลิ๊กอ่านรายละเอียดที่ http://www.tsu.ac.th/ists/) เรื่องย่อของคลื่นหัวเดิ่ง มีดังนี้

           อ้น ชาวประมงกร้านทะเล อายุย่างเข้าห้าสิบปี เพิ่งเกิดเรื่องกับเถ้าแก่เนี้ย เจ้าของเรือประมงที่ตนเคยรับจ้างเป็นนายท้ายอยู่ เขาถูกจับ  แต่เมียและเพื่อนบ้านรวบรวมทรัพย์สินไปประกันตัวออกมาได้  ช่วงที่กลับมาบ้านหลังประกันเขาก็ครุ่นคิดย้อนไปถึงชีวิตในอดีตของตนเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก เมื่อเริ่มเข้าเป็นลูกเรือประมงครั้งแรก จนกระทั่งติดทหารเกณฑ์  และเมื่อพ้นเกณฑ์ก็กลับมาประกอบอาชีพลูกเรืออีกครั้ง  ท้ายที่สุดก็ได้เลื่อนเป็นนายท้าย ด้วยเหตุที่เป็นคนตรงไปตรงมา มีจิตใจเป็นนักเลง รักเพื่อนฝูง ทำให้ต้องเผชิญกับเรื่องราวตีรันฟันแทงอยู่เสมอ ทั้งเป็นคนหัวแข็งไม่ยอมให้นายทุนเจ้าของเรือเอาเปรียบเขามักเป็นตัวแทนของเพื่อนลูกเรือไปเจรจาเรื่องค่าจ้างแรงงาน เรื่องเปอร์เซ็นการขายปลากับนายทุน  ดังนั้เจ้าของเรือนายทุนที่ใจแคบจึงมักมองว่าเขาเป็นคนหัวแข็งและเป็นคนชอบก่อเรื่อง  อ้นแต่งงานกับลำเจียก ซึ่งเป็นแม่ค้าขายไข่หวานอยู่ที่เกาะหลีเป๊ะ เขตจังหวัดสตูล เมื่อแต่งงานกันแล้วเขาก็พาเธอมาอยู่บ้านเก่าของตัวเองที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง และยังประกอบอาชีพเป็นนายท้ายเรืออยู่เช่นเดิมจนมีลูกด้วยกันหลายคน ท้ายที่สุดเขาเห็นว่าอาชีพรับจ้างเป็นนายท้ายนั้นไม่มีทางเจริญก้าวหน้าเพราะเขาประจบประแจงนายทุนไม่เป็นและเป็นคนตรงไปตรงมาจนเกินไป ไม่มีทางได้เลื่อนตำแหน่งเป็นไต๋ก๋งแน่นอน จึงลาออกจากงานและรวบรวมเงินได้จำนวนหนึ่งซื้อเรือหางยาววิ่งรับส่งผู้โดยสารระหว่างหมู่บ้านกับตัวอำเภอ

         เช้าวันหนึ่ง ขณะที่อ้นขับเรืออยู่กลางลำคลองพร้อมลูกชายคนเล็กที่จะไปโรงเรียนก็มีเรือประมงขนาดใหญ่ที่เพิ่งกลับจากจับปลาวิ่งผ่านมาโดยไม่ยอมชะลอเครื่องยนต์ ทำให้เกิดคลื่นขนาดใหญ่พุ่งเข้ากระแทกเรือของอ้นจมลง อ้นสามารถช่วยลูกชายไว้ได้ แต่เงินจำนวนหนึ่งที่นำมาด้วยเพื่อซื้อสังกะสีมาเปลี่ยนหลังคาบ้านสูญหายไป เขาโกรธความไม่รับผิดชอบของเรือใหญ่นั้นมากและจำได้ว่าเรือลำนั้นเป็นเรือของบริษัทที่เขาเคยเป็นลูกจ้างมาก่อนจึงเดินทางไปเจรจาที่บริษัท เถ้าแก่เนี้ยซึ่งเป็นผู้มาเจรจาไม่ยอมรับรู้เรื่องราว เมื่อเขาชี้แจงหนักขึ้นก็ควักเงินให้เพียงสองร้อยบาท ด้วยความโกรธเขาจึงลุกขึ้นชี้หน้าด่าและตบเถ้าแก่เนี้ยล้มคว่ำ  ต่อมาจึงมีตำรวจตามมาจับกุมเขาถึงบ้านด้วยข้อหาบุกรุกและทำร้ายร่างกาย แต่เขาก็ได้รับประกันในที่สุด

         เรื่องจบลงตอนที่อ้นกำลังนั่งมองคลื่นในทะเลยามดึกและหวนนึกถึงการ

ผจญคลื่นใหญ่ในทะเลที่ชาวประมงเรียก "เดิ่ง"  ในอดีตของตัวเอง เขาคิดว่า

ในบรรดานายทุนหน้าเลือดเหล่านี้ก็ดูเหมือน   เดิ่ง

คือดูใหญ่โต น่ากลัว แต่ท้ายที่สุดแล้วถ้าหันหน้าเข้าสู้

เข้าเผชิญเหมือนหันหัวเรือพุ่งฝ่าเข้าไปกลางหัวเดิ่งเรือ

ก็ย่อมผ่านไปได้อย่างแน่นอน       

         คลื่นหัวเดิ่ง เป็นเรื่องสั้นที่สะท้อนภาพการประกอบอาชีพด้านการประมงทางฝั่งทะเลตะวันตกของภาคใต้ได้ดี ให้ภาพชีวิตความเชื่อ และวัฒนธรรมต่าง ๆของชาวบ้านในแถบจังหวัด ตรัง กระบี่และสตูล  ที่มีความผูกพันอยู่กับทะเลได้อย่างชัดเจน ในหลายตอนผู้เขียนพยายามแทรกเรื่องราวเกี่ยวกับวัฒนธรรมพื้นบ้านไว้หลายเรื่อง เช่น การเล่นร็องแง็ง ความเชื่อของชาวประมงแถบนี้ และอาชีพของชาวบ้านริมทะเลแถบอำเภอกันตังจังหวัดตรัง เช่น

              " อยู่บ้านช่วยโน่นช่วยนี้ ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือถางสวนจาก

ตัดยอดจาก และลอกใบจากขายเสียสักสี่ห้าปีก็เบื่อ

ตอนนี้เองที่เขาเริ่มต้นชีวิตทะเล

เขาขอออกทะเลกับเรือบดเล็ก ๆ ของคนในหมู่บ้านนั้นเอง

ช่วงนั้นดูเหมือนจะเป็นช่วงที่เขาสุขใจเป็นที่สุด ออกทะเลไปสามวันสามคืน

ลอยเท้งเต้งไปทั่ว พอเลยหัวเกาะนกฝั่งตรังไปแล้วก็ออกไปเรื่อย ๆ 

ผ่านไปกระบี่ก็ตอนเอาปลาขึ้นขายนั่นแหละ ตอนนั้นลงเบ็ดราวไปแต่ละครั้งก็ได้

ปลาเป็นพะเรอ โดยเฉพาะช่วงเดือนสิบสองเดือนอ้าย

ไอ้อินทรีกินเบ็ดเสียจนสาวไม่ทัน..."

 

        ความดีเด่นของ "คลื่นหัวเดิ่ง" ทำให้เป็นเรื่องสั้นที่ได้รับรางวัลหลาย

รางวัลเป็นเครื่องรองรับทำให้เรื่องนี้ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศ

หลายภาษาด้วยกัน เช่นภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และภาษามาเลย์

 

ข้อมูลจาก สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ พ.ศ. 2529 เล่ม2

หมายเลขบันทึก: 425153เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2011 22:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีค่ะพี่อิง

  • เป็นเรื่องที่น่าติดตามมากค่ะพี่
  • ดูแลสุขภาพนะคะ อากาศแปรปรวนบ่อย เดี๋ยวจะไม่สบายค่ะ
  • ระลึกถึงอยู่เสมอนะคะ

คลื่นหัวเดิ่งยุคนั้นมาแรงมาก ได้อ่านติดใจ ทั้ง อ้ายบองหลา มาเด็กชายชาวเล(ซึ่งผมแอบคิดว่าเป็นเสี้ยวหนึ่งของตนเอง) มาดงคนดี แต่พักหลังอาจารย์ ถา มาเพลๆมือจึงไม่ค่อยได้อ่านงานของท่าน

เมื่อไม่กี่วันมานี้มีงานวรรณกรรมที่ ถาบันฯ แต่ผมติดอยู่ที่เปียงซ้อ ชิงหมี มีเรื่องนักเขียนบ้านเรามาเล่ากันเหลย

สมกับเป็นเรื่องสั้นได้รับรางวัลค่ะครูอิง

ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันให้ได้อ่านนะคะ

สุขสันต์วันวาเลนไทม์ ค่ะ

  • เล่าเรื่องราวที่แสดงถึงการอนุรักษืและประเพณีชาวภาคใต้ของเรา
  • ชื่นชมในการเขียน "สมกับเป็นครู ค.ศ.3 ภาษาไทย"เก่งจริงๆ
  • มาบอกรักน้องสาวในวันวาเลนไทม์ (บอกก่อนกลัวคนชิง)
  • รักมากๆจ๊ะ

              คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

เรื่องราวสนุกดีค่ะครู

    

  • สวัสดีค่ะ
  • สุขสันต์วันวาเลนไทน์ค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

                        

สวัสดีค่ะ...

  • สุขสันต์วันวาเลนไทน์ นะค่ะ... "วันวาเลนไทน์"...The Beauty Of Night"...
  • มาชวนไปดูสิ่งที่มหัศจรรย์ในค่ำคืนนี้ค่ะ...
  • http://gotoknow.org/blog/bussayamas2554/425785

ตอนนี้ก็เสียดายหนังสือช่อการะเกด หยุดพิมพ์อีกแล้ว หายากแล้วยังไม่ทำขายอีก

เล่มล่าสุดต้นปี 54 บอกว่า ให้รอพบกันใหม่ แต่ไม่รู้วัน เวลาไหน...

ตอนนี้วัฒนธรรมหลาย ๆ ที่ก็ถูกคลื่นหัวเดิ่งถาโถมเข้าทำลายอย่างไม่หยุดยั้งเหมือนกันครับ โดยเฉพาะที่จังหวัดน่าน มีทั้งนายทุน และคนที่ไม่ได้คิดถึงอนาคตทางวัฒนธรรม

ขอภาวนาให้นายทุนหน้าใหม่คิดถึงอนาคตทางวัฒนธรรมอันดีงาม มากกว่ากระเป๋าของตัวเอง แค่นี้ก็ดีแล้วครับ

ขอบคุณมากที่เอาเรื่องสั้นของช่อการะเกดมากล่าวถึง ทำให้หวนคิดถึงอดีตของหนังสือเล่มนี้มากครับ

สวัสดียามเย็นค่ะพี่อิงจันทร์

      อ่านแล้วให้ข้อคิดในการดำเนินชีวิตหลายอย่าง ทราบถึงชีวิตของชาวประมงในอีกมุมหนึ่ง พี่อิงจันทร์นำมาถ่ายทอดได้น่าอ่านมากค่ะ

     ขอบคุณที่แบ่งปันค่ะ

    คิดถึงนะค่ะ

หัวเดิ่งนั่นมีความหมายว่าอย่างไร

"หัวสูง หรือ หัวโต" ใช่หรือเปล่าครบ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท