โพชฌงค์ 7 กับการจัดการองค์ความรู้


สติจดจ่อกับการเรียนรู้อันใดอันหนึ่งและเพียรพยายามมุ่งมั่นที่จะศึกษาอย่างมีสมาธิ

การจัดการองค์ความรู้ที่เป็นในแบบโพชฌงค์

KM  (Knowledge Management-KM) หรือ การจัดการองค์ความรู้  ซึ่งมีในสองลักษณะใหญ่ๆ ก็คือการจัดการองค์ความรู้ในตัวเองและการจัดการองค์ความรู้ในองค์กร ที่จะนำเสนอ

ความรู้อาจแบ่งใหญ่ๆ ได้ ๒ ประเภท คือ
๑. ความรู้เด่นชัด (Explicit Knowledge)  เป็นความรู้ที่อยู่ในรูปตำรา หรือเอกสารทางวิชาการต่างๆ ที่คนเราได้สั่งสมออกมาในรูปของงานเขียน

๒. ความรู้ซ่อนเร้น (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์การเรียนรู้ เป็นลักษณะที่เป็นภูมิปัญญาภายในตัวบุคคลผู้นั้นๆ

เมื่อเราทราบถึงลักษณะที่เป็น KM แล้วเรามาดูว่าเราจะนำเอาหลักธรรมะทางพระพุทธศาสนามาสู่การจัดการองค์ความรู้ได้อย่างไร  เบื้องต้นเรามาทำความรู้จักกับโพชฌงค์ก่อน ซึ่งเป็นการเข้าถึงองค์ความรู้ภายใน

โพชฌงค์ มีองค์ประกอบทั้งหมด 7  ข้อด้วยกัน คือ

๑. สติ  หมายถึงความระลึกถึงได้

๒. ธัมมวิจย หมายถึงการวิเคราะห์ วิจัยธรรมะ

๓. วิริย หมายถึงความเพียรพยายาม

๔. ปิติ หมายถึงความอิ่มใจ

๕. ปัสสัทธิ  หมายถึงความสงบกายสงบใจ

๖. สมาธิ หมายถึงความตั้งใจมั่น

๗. อุเบกขา หมายถึงความวางเฉยในอารมณ์

การนำหลักการทางโพชฌงค์มาใช้นั้นก็เริ่มตั้งแต่ สติจดจ่อกับการเรียนรู้อันใดอันหนึ่งและเพียรพยายามมุ่งมั่นที่จะศึกษาอย่างมีสมาธิและสงบระงับกายใจมุ่งต่อสิ่งนั้นจนจะได้เรียนรู้อย่างหมดความสงสัยในความรู้นั้นๆ  ก็จะสามารถเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาแขนงนั้นได้

คำสำคัญ (Tags): #km#ศรีสะเกษ7
หมายเลขบันทึก: 424357เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2011 08:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 18:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีจ๊ะน้องแก่งคอย

          หวังว่าเราทุกคนคงจะได้นำหลักโพชฌงค์มาใช้ในการเรียนและการทำงานเพื่อให้รอบรู้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้นะจ๊ะ

       

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท