เด็กเลี้ยงไก่ ไข่เลี้ยงเด็ก


เด็กเลี้ยงไก่ ไข่เลี้ยงเด็ก

                                   โรงเรือนเก่าที่หายไปแล้ว

  

โรงเรือนใหม่ 

 

         เมื่อประมาณสองปีก่อน เพื่อนผมกลุ่มหนึ่งได้มาเยี่ยมเด็กๆ ที่บ้านสร้างสรรค์เด็ก มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก ที่ตั้งอยู่คลองสามย่านรังสิต แล้วตกลงกันระดมเงินทุนก้อนหนึ่งพร้อมลงแรงร่วมกับเด็กๆ ที่นั่น สร้างที่เลี้ยงไก่ไข่แบบชั่วคราวขึ้น ที่บอกว่าแบบชั่วคราวคือตัวโครงทำด้วยไม้ ตัวโรงเรืยนทำด้วยไม้ไผ่ หลังคามุงจาก พร้อมช่วยซื้อไก่ไข่มาให้ 185 ตัว จากนั้นเด็กๆ ก็พากันเลี้ยงไก่เรื่อยมา ได้ไข่จากโรงเรือนแห่งนี้วันละราว 150-170 ฟอง ส่งให้เด็กๆ ที่บ้านอุปถัมภ์เด็ก ที่หลักสี่และให้เด็กๆ ที่บ้านสร้างสรรค์เด็ก รังสิตได้กินกันคนละฟองต่อวัน ที่เหลือก็ส่งขายตลาดเป็นเงินสะสมไว้สำหรับค่าอาหารไก่และค่าตัวไก่ ในรุ่นต่อๆไป

          สองปีผ่านไป  เรือนไม้ทรุดโทรมและอยู่ในสภาพที่ซ่อมแซมไม่คุ้ม จึงตกลงกันสร้างอาคารหลังใหม่แบบถาวร โดยได้รับการสนับสนุนจากผู้คนทั่วไป จนก่อสร้างแล้วเสร็จลง  ขยายการเลี้ยงไก่เพิ่มมากขึ้นเพื่อให้ได้ไข่ไก่เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม ให้ได้ไข่ไก่ไม่น้อยกว่าวันละ 200 ฟอง    

         ผมทำควบคู่ไปกับการเลี้ยง ไก่และเป็ดพื้นบ้าน กำลังพยายามเพิ่มจำนวนจากชนิดละ 15 ตัวเป็น 30 ตัว เพราะไก่-เป็ดบ้านไม่ต้องเสียค่าอาหาร เขาหากินกันเองได้ ไข่ไก่-เป็ด จึงเป็นกำไร โดยจะให้ครูทำตารางเทียบเคียงไปเรื่อยๆ ไม่แน่ หากไก่สองชนิดมีจำนวนเท่ากัน ไข่ไก่ที่หาได้อาจจะใกล้เคียงกัน โดยไก่บ้านไม่ต้องลงทุนค่าอาหารเลย (โดยมรไข่เป็ดกินกันด้วย)

         เขียนมาเล่าสู่กันฟัง สบายๆ ในวันหยุด เพราะยามนี้มีความสุขกับเกษตรพอเพียงร่วมกับเด็กๆ อยู่ครับ

 

 

หมายเลขบันทึก: 423203เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2011 15:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (76)

เรียนคุณครูหยุย

  • เป็นกิจกรรมที่น่าสนับสนุนมากนะคะ
  • ขอบคุณผู้ใหญ่ใจดีทุกๆท่านแทนเด็กๆด้วยค่ะ

ขอบคุณครับคุณยาย  พอลงมือร่วมกับเด็กๆ แล้ว มีความสุขและสนุกมาก

มาชื่นชมความสุขที่แฝงมากับกิจกรรมสนุกสนานๆของเด็กเลี้ยงไก่ แล้วไข่เลี้ยงเด็ก

noktalay ครับ เป็นความสุขที่เด็กๆ ได้เรียนรู้การพึ่งพาตนเองครับ

สวัสดีค่ะ

มาชื่นชมกิจกรรมดีๆ ของเด็กๆ ที่มีผู้ใหญ่ใจดีสนับสนุนค่ะ

ครูนายครับ ขอบคุณครับ แต่ขออภัยที่ ข้อเขียนนี้อ่านยากหน่อย เพราะพยายามปรับวรรคตอนแล้ว แต่เครื่องไม่ยอมทำตาม ใส่ภาพก็ไม่ใด้ 

ผมชอบเกษตรเหมือนกันครับ แต่เป็นเกษตรด้านพืชมากกว่า ด้านเลี้ยงสัตว์นั้นนิยมน้อย อาจเพียงเพื่อปุ๋ยชีวภาพครับครู

เวลามีไข่เหลือพอส่งขาย

ครูหยุยขายแบบชั่งกิโลหรือเปล่าคะ....

อ.โสภณครับ ผมก็ชอบพืชเช่นกัน เพียงแต่บริเวณย่านนั้นดินปรี้ยว การเกษตรมาช่วยดูแล้ว ยังแก้ไม่ได้เลย จึงต้องหนักไปทางเลี้ยงสัตว์ครับ

krugui ครับ ทันสมัยเสียด้วย  เชื่อหรือเปล่าครับยังขายเป็นใบเหมือนเดิมและไม่พอขายด้วยครับ

ครูหยุย ครับ

  • ดีใจด้วยที่โครงการเลี้ยงไก่ไข่ประสบผลสำเร็จ
  • ไข่ไก่ทำไข่เค็มได้ไหม ไม่เคยเห็นนะ กำลังคิดว่าจะสร้างมูลค่าเพิ่มโดยวิธีไหนได้บ้าง
  • แต่แค่นี้ก็โอเคแล้วแหละเด็กๆได้ทานไข่ กำไรคือการเรียนรู้

กิจกรรม ล้ำค่า น่าชื่นชม

แสนเหมาะสม น่าดู จริงครูหยุย

ขอยกย่อง คุณครู สู้และลุย

สิ่งที่คุย ใครฟัง ต่างยกนิ้ว

  • ครูภาทิพคิดจะเลี้ยงไก่ไว้กินไข่
  • แต่หวั่นใจพอไก่แก่ไม่ไข่จะเอาไก่ไปไว้ไหน
  • จะนำมันมาแกงกินก็จะกลายเป็นคนอกตัญญูต่อไก่
  • จะขายให้เขาฆ่าก็เกรงว่าน้ำตาจะไหล
  • เพราะว่าหากเลี้ยงนานวันจะเกิดความผูกพันทางใจ

มาชื่นชมกับความสำเร็จของครูและนักเรียนซึ่งหาได้ยากค่ะ

สวัสดีค่ะคุณครูหยุย  พอดีชอบทานไข่มากๆ  พอเห็นหัวข้อเกี่ยวกับไข่เลยเข้ามาชื่นชมยินดีกับเด็กๆด้วย    เด็กๆกิโลเท่าไหร่...เอ๊ย...ไข่กิโลเท่าไหร่ดีคะครูหยุย 555

  

  • สวัสดีครับ ครูหยุย
  • เป็นโครงการที่ดีมากครับผม
  • ฝากรอยยิ้มจากครูและนักเรียนบ้านนอกครับผม

 สวัสดีค่ะคุณครูหยุย

*** เป็นอีกหนึ่งความพอเพียง ที่เด็กๆ ต้องคิดเป็นทำเป็น น่าชื่นชมค่ะ

เด็กเลี้ยงไก่ไข่เลี้ยงเด็กท่านเสกสรรค์   พร้อมแบ่งปันเรื่องราวเข้าท่าหนอ

วิถีไทยอยู่สบายได้เพียงพอ                 ทั้งเกิดก่อวิถีธรรมความพอเพียง

เด็กสร้างบ้านท่านขายไข่ใส่ตาชั่ง         คนไทยฟังสงสัยขายหาเสียง

หกสิบเก้าล้านใช้จ่ายไม่พอเพียง          ได้ยินเสียงคนวิจารณ์ทั่วบ้านเมือง

 

สวัสดีครับอาจารย์

ของนำเกร็ดความรู้ของอาจารย์ไปใช้ด้วยคนครับ

 

สวัสดีค่ะอาจารย์

 อ่านแล้วมีความสุขไปด้วยค่ะ เป็นกิจกรรมที่ให้ประโยชน์ในระยะยาวด้วย เด็กๆคงภูมิใจมากนะค่ะ ชื่นชมกิจกรรมดีๆนี้ค่ะ

อ.สันติสุขครับ ยังไม่ได้คิดเรื่องแปรรูป เพราะที่มีอยู่ยังไม่เหลือมากพอ แต่ที่กำลังจะขยายต่อคือฟาร์มเห็ด เทียบเคียงกันแล้วได้ผลผลิตมากกว่า

พิสูจน์ชม  ด้วยคมคำ  ที่ล้ำค่า

ประทับตรา  วันทาตอบ  ว่าขอบคุณ

ครูภาทิพ  มีปัญหาเหมือนที่ผมประสบอยู่  แต่ต้องทำใจครับว่า ท้ายสุดไก่ก็คืออาหาร ที่ขายไปแลกผักต่างๆ มาให้เด็กกินกัน

ครูปู  ทันสมัยเสียด้วยให้ชั่งกิโลขาย  ไม่ได้ทำอย่างนั้นครับ ขายเป็นฟองๆ ก็ไม่พอขายแล้ว

ครูฐานิศวร์ครับ ที่โรงเรียนทำเกษตรพอเพียงหรือเปล่า  น่าสนใจน่ะ

กิติยาครับ  นอกจากเด็กๆ ได้เรียนรู้แล้ว ชุมชนสลัมทั่วไปก็มาดูงานที่นี่ด้วย หลายชุมชนสนใจครับ เพียงแต่ยังมีปัญหาเรื่องสถานที่อยู่ พวกเขาประยุกต์เลี้ยงไก่บ้านแทน

แหม คุณวิโรจน์นำไปเทียบเคียงนโยบายขายไข่ใส่ตาชั่งของรัฐบาลเชียว  ของเราแบบพอเพียงหา หาอยู่หากินครับ

ครู khachonronnachit ครับ ด้วยความยินดียิ่งครับ  ถ้าแต่ละบ้านเลี้ยงไก่-เป็ดบ้านจำนวนหนึ่ง ปลูกผักสวนครัวจำนวนหนึ่ง ลดค่าใช้จ่ายได้พอควร

ถาวรครับ  ที่บ้านสร้างสรรค์เด็กแห่งนี้พยายามจะพึ่งตนเองและเด็กเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเองในอนาคตด้วย

มีกิจกรรม ดีดีอีกแล้ว  ผมจะติดตามผลงานของคุณครูต่อไปครับ

  ด้วยความนับถือ

ป.ล.ถ้ามีกิจกรรมอื่นๆที่ผมพอจะช่วยได้ ช่วยบอกด้วยนะครัล

nutty ครับ ถึงที่สุดแล้วความเรียบง่ายและพอเพียงคือเส้นทางชีวิตที่ดีมากสำหรับสังคมไทยและเด็กๆ

สวัสดีครับคุณครูวัลลภ

.....

กระผมเข้ามาอ่านแล้วมีความสุขมากครับ  ขอส่งกำลังใจให้กับคุณครูอย่างต่อเนื่องครับ

ด้วยความเคารพ

อีกสักครั้งหนึ่งขอรับคุณครู

......

กระผมได้คำตอบอย่างมากว่า  การที่จะสร้างเมล็ดพันธ์แห่งความดีงามนั้น  ควรอยู่ ณ จุดตรงไหน  ขอฝากเรื่องราวการบ่มเพาะต้นกล้าแห่งความดีงามไว้ให้คุณครูเข้าไปเยี่ยมชมครับ 

http://gotoknow.org/blog/abcdefa/423241

ขอขอบพระคุณมากครับคุณครู

  • สวัสดีครับครูหยุย
  • หากมีพื้นที่น่าจะลองเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อยดูบ้างนะครับ
  • ไก่จะได้ไม่เครียด
  • อิอิ...
  • หรือจะลองเลี้ยงเป็ดไข่ เพราะต้นทุนน่าจะต่ำกว่า
  • และใช้วัตถุดิบพื้นๆ ได้
  • หรือว่านกกระทา  ไข่ดกดีและลงทุนน้อยกว่าไก่ไข่มาก
  •  ลปรร. นะครับครู

เนิ่มครับ ดีใจครับที่เกิดแรงบันดาลใจ  ส่วนที่ได้นำเสนอนั้นจะตามไปดูไปอ่านน่ะครับ

สิงห์ ป่าสักครับ  ตอนนี้กำลังหาไก่บ้าน-เป็ด-ห่านมาเพิ่มครับ จะเลี้ยงแบบปล่อย  ส่วนนกกะทานั้นไปดูตัวอย่างมาแล้ว น่าจะคุ้มทุนยาก

อ่านแล้วมีความสุขจังน่ะค่ะ

อยากทำให้ได้แบบครูหยุยจังค่ะ

^^

หนูเหนือกาลเวลา เมื่ออายุเรามากขึ้น ประสบการณ์เพิ่มขึ้น  จะเข้าใจว่า แท้จริงแล้วชีวิตคืออะไร ต้องการอะไร เมื่อถึงเวลาเข้าใจและได้ลงมือทำ นั่นคือความสุขแห่งความพอดี (ไม่รู้จะเข้าใจหรือเปล่า)

เข้าใจสิค่ะ ^^

ทำวันนี้ให้ดีที่สุดก่อนแล้วกัน ^^

หนูเหนือกาลเวลา  ประโยค ทำวันนี้ให้ดีที่สุด คือคติพจน์ประจำตัวที่ครูยึดถือมาโดยตลอดน่ะครับ

เป้าหมายมีไว้พุ่งชน...กิจกรรมดีๆ ทุกกิจกรรมเลยคะ ^^ 

Siammon ครับ พยายามมุ่งเน้นกิจกรรมที่นำพาเด็กไปสู่การพึ่งตนเอง แต่ที่ไว้พุ่งชนนั้นยังไม่มีคร๊าบ

Soft....ครับ  ขอบคุณสำหรับรอยยิ้มพิมพ์ใจที่มีให้แก่กิจกรรมนี้ครับ

เป็นสมาชิกใหม่มาให้กำลังใจครูหยุยครับ

  • น่าสนใจมากเลยครับ
  • ผมให้เด็กๆๆปลูกผักด้วย
  • มีเมล็ดผักพื้นเมืองแจกนะครับ

มณฑลครับ ขอบคุณสำหรับกำลังใจ แล้วช่วยกันดูแลสังคมร่วมกันนะครับ

ขจิตครับ ด้วยความระลึกถึงอย่างยิ่ง  เรื่องพืชนี่มีปัญหามากเพราะดินเปรี้ยว ช่วงแรกลงทุนลงแรงไปมาก ทั้งได้ทางกระทรวงเกษตรมาช่วยก็แพ้ราบเรียบ ปลูกได้บ้าง จึงหนีไปทางสัตว์ มีทั้งแพะ ไก่บ้าน เป็ด ห่าน ไก่ไข่ ปลา

คนเราเมื่อมีกิเลสมาก ๆ ก็มักที่จะตกเป็นเครื่องมือของ " ทุ่นนิยม " ถ้ารู้จักแยกแยะก็คงจะไม่มีปัญหานะครับ ส่วนพวกเด็ก ๆก็จะถูกคำโฆษณาเชิญชวนต่าง ๆ นา ๆ เพื่อให้  " คิดที่จะซื้อ" และ " ก็ซื้อ " กับความรู้สึกที่ว่า " ผม "  และ " ฉัน " เป็นคนที่ทันสมัย ที่นี่คนอื่น ๆ ก็อยากจะทำตามบ้าง...มาถึงตรงนี้ปัญหาเริ่มที่จะตามมาทั้ง คนรวย คนจน......

บ่าวนพครับ ด้วยเหตุฉะนี้เอง เราถึงต้องมุ่งมาสู่การพึ่งตนเองด้วยวิถีไทยที่พอเพียง ต้องพยายามกันหนักหน่อยในโลกปัจจุบัน

 

"เด็กเลี้ยงไก่ ไข่เลี้ยงเด็ก"

ปราชญ์เดินดิน นักเกษตรตัวจริงค่ะ

Large_asdeshttp://gotoknow.org/blog/thongmai/423347

Siammon ครับ ขอบคุณครับ ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้ ครับ

Thongmai ครับ  ปราชญ์สมยศ มณีโชติ คือผู้ทุ่มเทและอยู่อย่างพอเพียง ติดดินและเป็นครูที่ผ่านกาลเวลาพิสูจน์มาเนิ่นนาน แต่สิ่งที่ผมร่วมกับเด็กๆ ทำอยู่นั้น แค่การเริ่มต้นก้าวเท่านั้นเอง ห่างไกลปราชญ์แผ่นดินสุดกู่ครับ

  • สวัสดีครับอาจารย์
  • การเลี้ยงสัตว์นอกจากประโยชน์เรื่องปากท้อง และขายเอาเงินแล้ว ยังทำให้เพลิดเพลิน สิ่งหนึ่งที่ได้คือ ความผูกพันธ์กับสัตว์ที่เลี้ยง ซึ่งจะทำให้เด็กมีความรัก และความเมตตาเกิดขึ้นในจิตใจครับ

ชำนาญครับ บ้านสร้างสรรค์เด็กบังเอิญมีลูกแพะตัวหนึ่ง พอคลอดแม่ตาย เด็กๆ เลี้ยงอยู่ในบ้าน คลุกคลีจนคนนึกว่าสุนัข เป็นขวัญใจของทุกคนที่นั่นและที่ไปเยือน ใช่ครับเลี้ยงสัตว์จะรักสัตว์ ความเมตตาจะก่อเกิดในจิตใจทุกคน

สวัสดีค่ะครูหยุย

ทุ่นค่าอาหารไปได้ไม่น้อยเลยนะคะ

แถมเด็กได้รู้จักรับผิดชอบด้วย

ขอให้กิจการไข่เป็ด ไข่ไก่ของเด็กๆ โตวันโตคืนค่ะ

ขอบคุณค่ะ

เป็นวิถีที่น่าชื่นชม ครับ มีมา ลปรร. ครับ ครูหยุย

http://gotoknow.org/blog/supersup300/421887

ปิ่นธิดาครับ หลักเศรษฐกิจพอเพียปงระการหนึ่งคือ ลดรายจ่าย ซึ่งจากไข่เป็นอาหารนี่ช่วยลดค่าอาหารลงได้มาก ที่เหลือจำหน่ายแล้วซื้อหาผักต่างๆ มาแทน ยิ่งลดค่าใช้จ่ายลงอีก สำคัญคือเด็กเรียนรู้ รักการพึ่งตนเอง เป็นประโยชน์ในภายหน้า

ต้นกล้าครับ เสียดายที่ย่านรังสิตที่อยู่นั้นดินเปรี้ยว งานเกษตรด้านพืชเลยทำได้น้อย

  • เป็นกิจกรรมีที่ดีครับ
  • เด็ก ๆ จะมีความรู้ในการทำมาหากินต่อไป
  • ขอชื่นชมและส่งกำลังช่วยครับ

วัชราครับ พยายามจะเน้นการพึ่งตนเองของบ้านหลังนี้ ทั้งเด็กๆ จะได้เข้าใจและยึดเป็นส่วนหนึ่งในการไปใช้ชีวิตภายภาคหน้า

เห็นครูหยุยท่านทำแล้วได้ผล

อยากเห็นโรงเรียนต่าง ๆ นำไปขยายผลทำที่โรงเรียนด้วยคงดีไม่น้อยนะครับ

เป็นการฝึกเด็ก ๆ แบบบูรณาการเลยนะครับผมว่า  

ภูฟ้าครับ โรงเรียนต่างๆ ทำกันมากพอควร แต่ผมเห็นว่าควรทำควบคู่กับการเลี้ยงไก่-เป็ดพื้นบ้านไปด้วย

  • ไม่เห็นมีรูปโรงเรือนใหม่ที่สร้างเสร็จให้ชื่นชม
  • เมื่อช่วงปีใหม่ได้รับหนังสือเชิญชวนร่วมสนับสนุนการก่อสร้างโรงเลี้ยงไก่และงานเกษตรบ้านสร้างสรรค์เด็ก แต่ยังไม่ได้ไปดำเนินการให้ ครูหยุยสร้างเสร็จซะแล้ว
  • พอไก่หมดอายุที่จะออกไข่ได้แล้ว เอาไปไหนต่อ ... จะเอาลงหม้อแกงให้เด็ก ๆ ก็คงเหนียวน่าดู

ใยไหมครับ  ภาพโรงเรือนที่สร้างเสร็จ มีปัญหาทางเทคนิคที่ทางโน้นส่งภาพมาแล้วเบลอ เขากำลังแก้ไขอยู่ ไม่นานคงลงได้ 

ทุนสนับสนุนโรงเรือนไก่ได้ครบเรียบร้อยจึงสร้างแล้วเสร็จลง  ขณะนี้กำลังทำโรงเห็ดอยู่ โครงอาคารเสร็จแล้ว สัปดาห์หน้าด้านข้างและที่ตั้งเห็ดคงเสร็จเรียบร้อย จะเขียนเล่าให้ฟังต่อไป

เรื่องไก่หมดอายุ จำแนกได้สองทางคือ หนึ่ง..ส่งขายที่ตลาด  สอง..คนงานย่านนั้นขอซื้อไปทำอาหาร

 

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณค่ะที่แวะไปเยี่ยมกันที่บันทึก เบิกบุญ ขอกุศล

มีดอกไม้มาฝากค่ะ

 

  • อ่านบันทึกครูแล้วคิดถึงตอนเด็กๆ ค่ะ
  • ที่บ้านเลี้ยงไก่ ๒ โรงค่ะ (ไก่ไข่ ๑ ไก่เนื้อ ๑)
  • ก่อนไปโรงเรียน เก็บไข่ เรียงใส่ถาดไว้ให้แม่เอาไปส่ง ให้อาหาร (ตักอาหารวางในรางตรงหน้าไก่แต่ละตัว) ขนน้ำใส่รางน้ำดื่ม
  • กลับจากโรงเรียน ล้างรางน้ำดื่มใก่ (ทุกวัน)  ให้อาหารเย็น
  • เสาร์-อาทิตย์ โกยขี้ไก่ออกไปตาก  โกยขี้ไก่แห้งใส่กระสอบ
  • ตอนนั้น เหนื่อย ไม่สนุก  แต่มาถึงตอนนี้ ภูมิใจ เห็นคุณค่าของการทำงานหนัก เพราะทำให้เราสู้งาน

nui ครับ ใช่เลย นี่ล่ะวิถีไทยที่พอเพียงและยั่งยืน

ขอบคุณดอกไม้ 7 ดอกจาก โอ๋  ดร.ภิญโญ  อ.วิโรจน์  ดร.ธวัชชัย  ดร.จันทวรรณ  Siammon และ krugui  เป็นอย่างยิ่งครับ

วิถีไทยที่พอเพียงและยั่งยืนกำลังเริ่มต่อสู้กับทุนนิยมผู้ครองโลก

บ่าวนพครับ โลกเริ่มค้นพบอย่างจริงจังมากขึ้นว่า สุดท้ายแล้วอาหารคือสิ่งสำคัญยิ่งของมนุษย์และอยู่ในแผ่นดินอันอุดมสมบูรณ์

โครงการดีมากครับ เป็นการเติมเต็มความรู้ เติมเต็มท้อง เติมเต็มทุน ให้กับน้องๆ อยากให้หลายๆ ที่ทดรองนำโครงการดีๆ แบบนี้ไปปรับใช้บ้างครับ (โรงเรียน โรงงาน บ้านก็น่าจะปรับใช้ได้)

ชายพจน์ครับ ที่พยายามทำอยู่นี่ นอกจากเพื่อการพึ่งตนเองแล้ว ก็หวังดั่งที่ว่า แนวคิดนี้มีคนนำไปใช้ให้มากๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท