รายงานผลการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง English for Prathom 2


การวิจัย เพื่อการพัฒนาการเรียนรู้

ผลงานทางวิชาการ นางสาวจรีภรณ์ ทิศอาจ

เรื่อง รายงานผลการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

………………

ชื่อรายงาน    รายงานผลการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง        

                     English for Prathom 2

                    สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 

ผู้รายงาน      นางสาวจรีภรณ์  ทิศอาจ   ครูชำนาญการ
   โรงเรียนบ้านนาลับแลง  อำเภอทองแสนขัน  จังหวัดอุตรดิตถ์

ปีการศึกษา            2553            

บทคัดย่อ

        การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง English for Prathom 2  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง English for Prathom 2 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง English for Prathom 2 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ประชากรที่ศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2       ปีการศึกษา 2553โรงเรียนบ้านนาลับแลง อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ 1 ห้องเรียน จำนวน 7 คน ได้มาโดยการกำหนดแบบเฉพาะเจาะจง (Specific Purpose Sampling)

        เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ย ( ), ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) และค่าที (t-test for dependent)

การดำเนินการพัฒนาผู้รายงานได้ทำการทดสอบก่อนเรียนกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2โรงเรียนบ้านนาลับแลง จำนวน 7 คน แล้วทำการสอนนักเรียนตามแผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) เรื่อง English for Prathom 2 มีเนื้อหาย่อยจำนวน 8 เรื่องดังนี้ Parts of the Body, My Animals, Feeling, Sickness, Food and Drinks, Seasons, Free Time และ Colors and Days เวลาในการจัดการเรียนรู้ทั้งหมด 16 ชั่วโมง ผู้รายงานเป็นผู้ดำเนินการทดลองใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง English for Prathom 2 กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2โรงเรียน     บ้านนาลับแลง ด้วยตนเอง แล้วทำการทดสอบหลังเรียนกับนักเรียนกลุ่มเดิม และทำการวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง English for Prathom 2 เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการดำเนินการพัฒนา

ผลการพัฒนาสรุปได้ดังนี้

        1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง English for Prathom 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านนาลับแลง เท่ากับ 86.67/ 85.79 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80

        2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์จากแบบทดสอบก่อนและหลังเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง English for Prathom 2 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ         ที่ระดับ .01 ค่า t = 30.75** แสดงว่านักเรียนทุกคนมีความสามารถหลังการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง English for Prathom 2 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

        3. ความพึงใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง English for Prathom 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมีความพึงใจมากที่สุด ( = 4.62 )

 

 

หมายเลขบันทึก: 422461เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2011 16:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ผู้เรียน เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

มีความสนุกกับการใช้นวัตกรรม

ดีมากแลยค่ะคุณครู พยายามต่อไปนะคะ การศึกษาไทยจะได้พัฒนา

ขอบคุณนะคะ ร่วมด้วยช่วยกันพัฒนาเด็กไทย

สวัสดีครับคุณครูอิน..

การพัฒนาผู้เรียนจากฐานการ "วิจัย" ถือเป็นกลยุทธ หรือเทคนิคที่น่าทึ่งเสมอครับ
โลกวันนี้เป็นโลกแห่งการเรียนรู้ที่ไร้พรมแดน เป็นยุคสมัยแห่งการเรียนรู้ด้วยตนเอง และเป็นยุคที่เทคโนโลยีเชื่อมโยงมุมต่างๆ ในโลกใบนี้มาไว้ใกล้กัน  และนั่นก็คือข้อดี  แต่ที่เราต้องเสริมพลังคิดให้นักเรียนก็คือ การเรียนรู้ที่จะใช้อย่างสร้างสรรค์ ทั้งในเรื่องเวลา และเนื้อหา ...

ขอบพระคุณครับ

แน่นอน..นั่นคือ..รู้ทันสิ่งที่อยู่ในโลกไซเบอร์.ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างไรไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ และจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต ทุกสิ่งย่อมมีกรอบ คิดนอกกรอบอย่างไรให้สวยงาม ทำนองเดียวกัน...

เรียนรู้อย่างไรให้ไปต่อได้..ไม่เป็นพิษต่อตนเอง..ไม่เป็นภัยต่อผู้อื่น..แล้วจะนำเทคโนโลยีนี้เป็นเครื่องมือในการช่วยส่วนรวมได้อย่างไร...

สำคัญสุด..จะต้องให้เด็กรู้แจ้งแล้วนำเทคโนโลยีไปใช้อย่างไรให้เกิดการลดลงของการทำร้ายโลก..ต้องฝังลึกลงไปในจิต วิญญาณของเขาให้ได้..หากทุกฝ่ายช่วยกันอย่างสุดขีด(มุ่งมั่น เสียสละ จริงใจ)

  • มาสนับสนุนความคิดเรื่องการจัดทำ  "บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน" ค่ะ    ว่านอกจากจะเป็นสื่อเทคโน ฯ ที่ทันสมัยแล้ว  
  • เด็กๆ  สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
  • ที่สำคัญเป็นสื่อที่เร้าใจ เด็กๆ จะชอบและเรียนรู้อย่างเต็มใจและมีความสุขมากค่ะ

ขอบคุณมากนะคะ

ให้เค้ารู้เท่าทันเทคโนโลยีด้วยว่า

ใช้สื่ออย่างไรไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ..

ครับ  หลายคนพูดว่าโลกวันนี้คือการบริโภคข่าวสาร แต่ผมก็ยังย้ำในเวทีการบรรยายว่า ขอให้เราเป็นผู้บริโภคเถอะ อย่าให้ข่าวสารบริโภคเราเลย...นั่นคือ "ทุน" หรือ "ทักษะชีวิต" ที่เราต้องช่วยกัน

เป็นกำลังใจครับ

ขอบคุณมากนะคะ

ทำให้มองเห็นแสงสว่างที่ปลายทาง

แม้จะริบหรี่ก็ตามที

และเชื่อแน่ว่าสิ่งดีดี

ย่อมเกิดขึ้นในอนาคตแน่นอน

เพราะมีคนคิดดี และกล้าคิด

สำคัญสุดคือกล้าทำอย่างที่คิดดีดี

 

ผลออกมาพอหายเหนื่อย..o-net

สวัสดีปีใหม่ 2556 ..happy new year 2013..

"อิ่มสุข ทุกข์หมด"
การทำตนให้มีความสุขทั้งกาย

และใจเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในทุก ๆ วัน

ย่อมทำให้ความทุกข์ลดน้อยถอยลงด้วยเช่นเดียวกัน

และเมื่อถึงวันหนึ่งก็อาจจะไม่มีความทุกข์

หลงเหลืออยู่ในกายและใจตนเลย

"When happiness comes,

 misery goes away" -
If one increases the feeling of happiness

 in one’s mind and body every day,

one’s misery will be reduced.

Then one day not the slightest

traces of misery will remain in

one’s body and mind.

Vikrom Kromadit

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท