เดการตส์ และ เฮเกล ในปรัชญาการศึกษาจิตนิยม


เดกาตส์ René Descartes 1596 -1650
ได้ชื่อว่าเป็นนักปรัชญาสมัยใหม่ เป็นบุคคลผู้มีส่วนในการปฏิวัติ
อุตสาหกรรมในตะวันตก แนวคิดหลักของเขาคือ จิตและกาย
เป็นสิ่งที่ดำรงอยู่อย่างสัมพันธ์กัน กายเป็นวัตถุอยู่ในกฎของฟิสิกส์
ส่วนจิตนั้นสัมผัสไม่ได้ ไ่ม่อยู่ในกฎของฟิสิกส์ จิตควบคุมกาย
แต่กายก็มีอิทธิพลต่อจิต ปรัชญาของเดกาตส์ถือเป็นเหตุผลนิยม
ดังจากที่เขากล่าวประโยคอมตะของเขาว่า เพราะฉันคิดฉันจึงมี
('I think therefore I am')
ดังนั้นปรัชญาการศึกษา หรือญาณวิทยาของเขาจึงเป็น
การใช้เหตุผลที่มาจากรากฐานด้านในโดยการใคร่ครวญด้วยตนเอง
ซึ่งเกิดจากจิตภายใน คือการศึกษาที่แท้จริง จัดประเภท
เป็นนักการศึกษาตามแนวจิตนิยม

 
Hegel 
เฮเกลถือเป็นนักปรัชญารากฐานที่มีผู้นำไปประยุกต์ใช้ในวงวิชาการ
มากที่สุด สิ่งที่ลือลั่นมากที่สุดก็คือ คาล มาร์กซ์ ได้นำไดอะแลคติค
ของเขาไปประยุกต์ใช้เพื่อนำเอาำไปอธิบายทฤษฎีทางสังคม หรือวัตถุ
นิยมทางประวัติศาสตร์ แนวความคิดของเฮเกล ถือว่ามีจิตสมบูรณ์อยู่
และภายในจิตสัมบูรณ์นั้นประกอบด้วย Thesis Anti-thesis และเกิด
ภาวะใหม่คือ Synthesis นักวิชาการทั้งหลายรู้จักเขาจากไดอะแล็กติค
ที่เขานำเสนอ ดังนั้นแนวคิดการศึกษาจิตนิยม ก็คือการศึกษาแบบวิพากษ์
โดยอาัศัยความคิดข้างในเพื่อพิสูจน์หลักการ โดยข้อค้นพบสุดท้ายก็คือ
ไม่มีสิ่งไหนไม่เปลี่ยนแปลงสู่ภาวะใหม่ ความขัดแย้งทั้งสองด้านจากการ
สอบสวนสรรพสิ่ง ก่อให้เกิดภาวะใหม่ ดังนั้นรากฐานไดอะแล็คติคชนิดนี้
พบว่าการศึกษาต่าง ๆ ล้วนแต่เลื่อนไหลไปสู่ภาวะใหม่ตลอดเวลาไม่หยุดนิ่ง
ตราบเท่าที่มีการวิพากษ์ด้วยจิตใจจาำกภายใน

คำสำคัญ (Tags): #ปรัชญาการศึกษา
หมายเลขบันทึก: 422114เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2011 16:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 11:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

หลักความเชื่อในเรื่องจิตนิยมของแต่ละคนนั้นมีความสำคัญแตกต่างกัน แต่ถ้าหลักความเชื่อนั้นมีเหตุและผลที่ใกล้เคียงในหลักปรัชญาความจริงหลักความเชื่อนั้นย่อมถือได้ว่ามีการวิเคราะห์และสังเคราะห์ทางหลักวิชาการแล้ว แต่หลักวิชาการนั้นมีความถูกต้องเสมอไปหรือไม่ จุดประเด็นนี้น่าคิดทบทวนในหลักความเชื่อ แต่ทุกหลักความเชื่อนั้นย่อมเป็นเหตุและผลของแต่ละบุคคลและใครสามารถอธิบายได้ชัดเจนหลักความเชื่อนั้นก็ย่อมทำให้ผู้คนยอมรับได้ แต่ในปัจจุบันในเกือบทุกสังคมชาติพันธุ์หลักความเชื่อนั้นถูกครอบงำโดยกลไกของรัฐและผู้มีอำนาจสูงสุดในประเทศที่ใช้หลักความเชื่อเป็นเครื่องมือสยบสังคมที่เป็นประชาชนให้ยอมรับความเชื่อโดยไม่ขัดเกลา รวมถึงหลักความเชื่อจากผู้มีอำนาจในสังคมชุมชน และสื่อสร้างหลักความเชื่อที่ไม่ขัดเกลา สื่อภาพและเสียงใดๆด้วย ดังนั้นหลักความเชื่อจิตนิยมจึงมีทั้งหลักความเชื่อที่มีคุณภาพและกับหลักความเชื่อที่มอมเมา ดังนั้นหลักความเชื่อที่ทรงคุณค่านั้นส่วนใหญ่จะอยู่ในยุคกรีกโบราณ โสเกตีส เพลโต อริสโตเติร์ล ก๊องค์ ที่ดูแล้วน่าเชื่อถือในระดับให้ความรู้ในจิตนิยมได้ในระดับกลางและปลายแต่ยังไม่ลึกเท่าของความจริง แต่ในปัจจุบันถ้าใครทำเรื่องหลักความเชื่อใหม่ที่ไปขัดหลักความเชื่อดั่งเดิม(ขัดประโยชน์)หลักความเชื่อนั้นจะถูกต่อต้านอย่างรุนแรง(เหมือนในยุคกลางของยุโรปในคริสต์วรรษที่ 15 ถึงต้น 19 ใครขัดประโยชน์ในอำนาจหลักความเชื่อมอมเมาของผู้นำใดๆบุคลนั้นถูกประหาร เผาทั้งเป็น ขัง ทรมาน ในสภาพบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นพ่อมด แม่มด หมอผี) เราก็ขออกความคิดเห็นพอประมาณนะครับ แชรืความคิดเห็นให้แก่กัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท