โรงทานต้นกล้าแห่งอนาคต l ทุยมือล้างผัก


เป็นภาพสะท้อนอย่างชัดเจนว่า สถานที่แห่งนี้ ชุบชีวิตคน เพียงระยะเวลาสั้น ๆ ที่เขาเข้ารับการบำบัด ใช้วิถีชีวิตตามที่พระอาจารย์นำพา สามารถพลิกชีวิตเขาได้ นอกจากจะไม่เป็นปัญหาสังคมแล้ว ยังสร้างประโยชน์กับคนรอบข้างได้อีกด้วย

ต่อเนื่องจากเรื่อง โรงทานต้นกล้าแห่งอนาคต l เจ๊เบี้ยวจอมอึด

กับระยะเวลาสองวันที่ได้ร่วมงาน กับเหล่า “ต้นกล้า” ณ วัดป่าหนองไคร้ ขออนุญาตใช้คำนี้เพราะเห็นพี่ KaPoom ท่านใช้ในบันทึกของท่านแล้ว รู้สึกว่า “ใช่” คนเหล่านี้เป็นต้นกล้าที่แม้จะผ่านพายุฝน ฟ้าผ่า ดินถล่มมา แต่เมื่อเขาได้รับโอกาสเข้ามาที่วัดป่าหนองไคร้ ก็เหมือนได้ดินดี น้ำดี ปุ๋ยดี อากาศดี เหมาะที่จะเติบโต เป็นต้นไม้ที่งดงาม แข็งแกร่ง พอที่จะเป็นที่พึ่งพิงของคนรอบข้างและสังคมได้ เด็ก ๆ ที่เคยผ่านการบำบัดที่วัดนี้ หลายคนกลับมาช่วยงาน ซึ่ง

 

 “เป็นภาพสะท้อนอย่างชัดเจน ถึงความกตัญญูรู้คุณ ความดีงามที่ถูกบ่มเพาะ เป็นภาพสะท้อนอย่างชัดเจนว่า สถานที่แห่งนี้ ชุบชีวิตคน เพียงระยะเวลาสั้น ๆ ที่เขาเข้ารับการบำบัด ใช้วิถีชีวิตตามที่พระอาจารย์นำพา สามารถพลิกชีวิตเขาได้ นอกจากจะไม่เป็นปัญหาสังคมแล้ว ยังสร้างประโยชน์กับคนรอบข้างได้อีกด้วย”

เสียดายที่ในวันนั้น ติ๋วไม่มีโอกาสได้คุย ไม่เช่นนั้นอาจจะขอหยิบเรื่องมาเล่า แต่ไม่เป็นไร เมื่อไหร่ก็คงเมื่อนั้น

ร่ายเสียยาวขอเอ่ยถึงบุคคลที่น่าชื่นชมอีกท่านหนึ่ง “ทุย”

 

พี่ทุย คือ คนที่ยืนมาดเข้มหันหน้ามานั่นแหละค่ะ

 

                ติ๋วเห็น “พี่ทุย” ตั้งแต่วันแรกที่ขับรถเอาเครื่องปรุง Lot แรกไปถวายพระอาจารย์พร้อม ๆ กับพี่ KaPoom ที่บ้านพักของเด็ก ๆ เพราะพี่ทุยเป็นหนึ่งในทีมที่มาช่วยยกของและรับเอาตะเกียงชาร์ทแบตไว้ใช้งาน พอถึงวันงาน ติ๋วจอดรถปุ๊บก็เข้ามาช่วยยกของอีก

งานที่ติ๋วปักหลักทำคือ หั่นผัก (เพราะอย่างอื่นก็ไม่ค่อยจะสันทัดค่ะ) เมื่อหั่นแล้วต้องนำไปล้าง ทำไงดีหล่ะ ติ๋วก็ค่อย ๆ ยึดคอขึ้นมาหันไปมองรอบ ๆ

 ณ ตอนนั้น พี่ทุยหันมาสบตาพอดี (ขณะที่คนอื่น ๆ หลบตา)

ติ๋วจึงยิ้มให้แล้วก็พูดว่า

“ช่วยเอาผักไปล้างให้หน่อยนะคะ”

ตอนนั้นพยายามพูดให้นิ่มนวลที่สุด ก็พี่เขาหน้าดุ เฮอะ ๆ

ถาดหนึ่งผ่านไป ถาดที่ สอง สาม สี่ ห้า และ...............วันนั้นทั้งวัน เราหั่นผักไปหลายกิโลกรัม ซึ่งหันไปทีไร ก็  เจอพี่ทุย แฮะ ๆ

นาน ๆ เข้าท่านก็เปรย ๆ ว่า “เปลี่ยนคนก็ได้นะครับ”

เรียกเสียงหัวเราะได้สนั่นหวั่นไหว เพราะพี่เขาก็พูดแบบยิ้ม ๆ ตอนนั้นติ๋วคิดในใจว่า “พี่นั่นแหละค่ะ เหมาะที่สุดเลย หน่วยก้านดี”

แม้จะมีเสียงเปรย ๆ แต่ท่านก็ทำ บางครา ติ๋วเงยหน้าขึ้นมา พี่ทุยก็จะนั่งเฝ้า ถังข้าว ทำงานคือ “ตักข้าว” เพราะโรงทานเปิดทั้งวัน หน้าที่ตักข้าว จึงต้องทำอย่างไม่ขาดสาย ดูเหมือนว่า “ท่านแทบมือไม่ว่าง” หยิบจับอะไรได้ ใช้แรงเป็นทาน งานนี้ “ชาวต้นกล้า” แสดงให้เห็นได้เด่นชัดมากเลยค่ะ

 

 

การสร้างกุศลไม่ใช่เพียงการทานเงินจริง ๆ เพียงแค่ มีใจ และมีแรง ก็สามารถทำได้อย่างไม่จำกัดเวลาและสถานที่

กราบขอบพระคุณหลวงปู่ กราบขอบพระคุณพระอาจารย์ กราบขอบพระคุณพี่ Kapoom ชาวต้นกล้าและทุก ๆ คนที่ให้โอกาสมาร่วมเรียนรู้อีกรูปแบบของการสร้างกุศล

หมายเลขบันทึก: 421116เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2011 18:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 เมษายน 2012 18:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ทำไมในภาพพี่อ้วนจังเลยอ่ะติ๋ว...

กล้องมือถือมันตะแคงค่ะพี่ปุ๋ม

ขออภัยค่ะ (^_^)

หน้าพี่ทุยยังยืด ๆ เลยค่ะ

แบบว่า กล้องมือถือราคาถูก ๆ แฮะ ๆ

ถึงว่า...ตัวพี่มันยืดออกข้าง 555... ท้องพี่กว้างเท่าหน้าเจ้าทุยเลยน่ะนะ...

....

สำหรับทุยแล้ว...เป็นคนที่มีน้ำใจคนหนึ่ง

เวลาพี่จะทำอะไร ทุยคงเห็นท่าทางเก้ๆ กังๆทุยจะเข้ามา support ด้วยการอาสาทำช่วย

พี่ไม่สนใจที่มาแห่งความอกุศลของพวกเขาหรอกนี้หรอก พี่สนใจแต่ว่าพี่จะเติมพลังแห่งกุศลเอาเขาได้อย่างไร เพราะเมื่อไรที่พลังกุศลหนุนนำมีมาก และพวกเขารู้ทักษะของการสร้างกุศลกรรมแล้ว เมื่อนั้นมันจะเป็นแรงต้านทานให้ อกุศลลดลงไปได้บ้างแม้เพียงเล็กน้อยก็ยังดี

Large_zen_pics_007 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท