การทำวิทยานิพนธ์ให้สำเร็จ....ฝันที่ไม่ไกลเกินเอื้อม


หนทางสู่ความสำเร็จที่ว่าไม่ได้เป็นการหลีกเลี่ยงปัญหาแต่เป็นการเผชิญปัญหาโดยหาทางออกที่เหมาะสมที่สุด

            หลายคนคงได้เจอกับปัญหาในการทำวิทยานิพนธ์เริ่มตั้งแต่การคิดหาหัวข้อ  การเสนอหัวข้อ  การเสนอโครงร่างไปจนถึงการลงมือปฏิบัติการวิจัยและอื่นๆ อีกมากมาย  ปัญหาเหล่านี้ล้วนมาจากปัจจัยหลายๆด้าน เช่น ตัวผู้วิจัยเอง  อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์  สถานที่ทำงาน  เวลา  งบประมาณ ฯลฯ  ทำให้ผู้ที่กำลังจะทำวิจัยเกิดความท้อแท้  ไม่อยากทำหรือเลือกเอางานวิจัยที่มีคนเคยทำแล้วมาเลียนแบบซึ่งอาจทำให้งานวิจัยไม่มีคุณค่า

            ผมอยากให้ทุกคนมองถึงความสำเร็จในการทำวิทยานิพนธ์และแนวทางที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จ  ท่านสามารถเสนอความคิดดีๆที่จะเป็นหนทางสู่ความสำเร็จ  หนทางสู่ความสำเร็จที่ว่าไม่ได้เป็นการหลีกเลี่ยงปัญหาแต่เป็นการเผชิญปัญหาโดยหาทางออกที่เหมาะสมที่สุด

            ผมขอเรียนเชิญทุกท่านทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาเป็นมหาบัณฑิตแล้วและกำลังศึกษาอยู่  อาจารย์  นักศึกษาและผู้สนใจทุกท่าน  มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกันเพื่อสร้างเป็นโมเดลแห่งความสำเร็จกันนะครับ......ขอบคุณมากครับ

หมายเลขบันทึก: 41967เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2006 11:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ก่อนอื่นต้องบอกว่าการเลือกเรื่องสำคัญนะ เรื่องที่ทำต้องรู้ว่าจะทำแบบไหน เป็นทิศทางใด หากไม่รู้ก็ทำไปเรื่อยๆ ถ้ามีปัญหาก็ไม่สามารถหาทางแก้ได้  แต่ที่สำคัญ(นู๋ฟ้าคิดนะ...คนอื่นอาจคิดไม่เหมือนก็ได้) ก็จะเป็นคนใส่ใจ  การมีเวลาทำของเราเอง  พูดง่ายๆคือ ความขยันของเราแหละ ยิ่งภาคพิเศษด้วยแล้ว ต้องทำงายช่ายป่าว.....  นี่คือคำแก้ตัวของเราที่ฟังดูเข้าท่าที่สุด  จริงๆแล้วเราต้องแบ่งเวลาและใส่ใจให้มาก  และที่สำคัญไม่แพ้กัน  (อาจจะสำคัญมากกกก......) ก็คือ อาจารย์ที่ปรึกษาของเรา เราต้องมีความเตรียมพร้อม หาข้อมูลของตัวเอง เพื่อที่จะได้ตอบคำถามต่างๆของอาจารย์ได้  และเมื่ออาจารย์แนะแนวทางเราจะได้คิดทัน  ทำทัน(ว่าทำได้ตามที่อาจารย์พูดอ่ะป่าว) ต้องสนใจไปหาอาจารย์ทุกครั้งที่นัด  (น่าจะทุกอาทิตย์นะ) อีกอย่างกำลังใจค่า  ต้องเข้มแข็งจริงๆนะ  ขอเตือนไว้ก่อน  เพราะเราจะเจออะไรอีกมากมายที่เราไม่ได้คิดว่าจะเจอ  เรื่องเงินไม่ใช่เรื่องใหญ่(พูดจริงนะ)  อีกอย่างที่จะเตือนไว้ก็คือ.....บัณฑิตที่คณะจ้า....ละไว้ให้คิดเอาเองนะว่าจะเจออะไร....อิอิ.....สู้ๆทุกคนจ้า

สิ่งสำคัญที่สุด (จากประสบการณ์ของผม)

คือ ความชัดเจนในวิชาการ และ หัวข้อที่นำเสนอ ว่ามีความน่าสนใจอย่างไร กระบวนการศึกษาเป็นอย่างไร สุดท้ายเราจะได้อะไรจากการศึกษาครั้งนี้

หากเป็นนวัตกรรมได้ก็ดี

แต่มีปัญหาอย่างหนึ่งที่พบเจอ และปฏิเสธไม่ได้คือ ความคิดหลากหลายของอาจารย์ที่เจือไปด้วยความขัดแย้งระหว่างบุคคล(ขัดแย้งกันอยู่เดิม)

ทำให้งานของนักศึกษาได้รับผลกระทบไปด้วย

ไม่ใช่ว่างานของ นักศึกษา ไม่ดีนะครับ...แต่ อยากให้ นักศึกษา ป.โท อดทน อดทน...(ท่องไว้)

นึกเสียว่า...เราโชคดีที่มีโอกาสเรียนรู้

ที่เขียนนี่เป็นปรากฏการณ์ส่วนหนึ่งนะครับ ที่ทราบจากเพื่อนๆครับ  

แต่ก็ถือว่า เป็นภัยคุกคาม ความรู้ที่จะงอกงาม 

ตอนนี้กำลังทำวิทยานิพนธ์อยู่ค่ะ และก็ทำงานประจำไปด้วย คือตอนแรกเรียนอย่างเดียวนะค่ะไม่ได้ทำงาน แต่พอเรียนครบทุกวิชาเหลือแค่ทำวิทยานิพนธ์ ก็รู้สึกว่าตัวเองมีเวลาว่างมากก็เลยหางานทำ แต่พอเข้าไปทำงานจริงๆ ก็ต้องเจอกับสภาพแวดล้อมใหม่ๆ ต้องเรียนรู้งานและการปรับตัว ทำให้รู้สึกเหนี่อยและไม่มีเวลาทำวิทยานิพนธ์ ตอนนี้เข้าทำงานได้ 3 เดือนแล้ว บอกตรงๆ ว่าตั้งแต่เข้าทำงานไม่ได้ทำวิทยานิพนธ์เลย ตอนนี้อยากจะกลับมาตั้งใจทำวิทยานิพนธ์ให้สำเร็จ แต่รู้สึกว่าเหมือนตัวเองหมดแรง และไม่รู้จะกลับไปเริ่มใหม่อย่างไร ช่วยเป็นกำลังใจและแนะนำให้ด้วยนะค่ะว่าจะเริ่มอย่างไร อีกอย่างคือไม่ได้ติดต่อกับอาจารย์มานานแล้วด้วย แนะนำด้วยนะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท