วัฒนธรรมองค์กรการทำงานของส่วนราชการไทย


วัฒนธรรมองค์กรการทำงานของส่วนราชการไทย

"วัฒนธรรมองค์กรการทำงานของส่วนราชการไทย"

เนื่องจากปัจจุบันเป็นกระแสโลกาภิวัตน์ ทำให้คนไทยรับเอาวัฒนธรรมของชาวต่างชาติเข้ามาในประเทศค่อนข้างมาก ไม่ว่าความรู้ สื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ แม้แต่ความนิยมชมชอบดาราซึ่งบางคนอาจไม่รู้สึก... บางคนอาจรู้สึกว่าเป็นผลกระทบต่อความเป็นอยู่ ต่อนิสัยดั้งเดิมที่เคยเป็นอยู่...ถ้าพูดถึงเรื่องว่าเป็นผลดีต่อการพัฒนาประเทศหรือไม่... ผู้เขียนคิดว่าเป็นผลดี ผลดีที่ทำให้เราสามารถรู้เรื่องของภายนอกประเทศ...ได้รับทราบว่าประเทศต่าง ๆ เขามีความเป็นอยู่อย่างไร...มีความแตกต่างกับประเทศไทยอย่างไร แต่บางสิ่ง บางเรื่อง...ก็ไม่เป็นผลดีถ้าเราไปเลียนแบบต่างประเทศ เพราะจะทำให้เสียเอกลักษณ์ของเมืองไทยไป... เยาวชนรุ่นหลัง ๆ คงไม่เข้าใจ และสามารถแยกแยะออกได้ว่า สิ่งใดดี สิ่งใดไม่ดี เห็นเยาวชนต่างชาติทำก็คิดว่าเป็นเรื่องดีไปหมด เพราะเด็กไทยไม่ได้ถูกสอนให้รู้จักคิด วิเคราะห์ หรือแยกให้ออกว่าสิ่งใดดี สิ่งใดไม่ดี... นอกเสียจากต้องใช้ประสบการณ์สอนตัวเอง... เพราะปัจจุบันต้องเข้าใจว่าสถาบันครอบครัวของเมืองไทยอ่อนแอลงมาก ๆ ซึ่งจะโทษก็ไม่ได้ เนื่องจากสภาพความเป็นอยู่ทุกครอบครัวต้องหาเลี้ยงชีพของตนเองเพื่อความอยู่รอดในสังคมให้ได้ แล้วจะหาเวลาไหนไปนั่งสั่งสอนลูก ๆ เพราะเวลาส่วนมากต้องออกหากิน เลี้ยงปาก เลี้ยงท้องเพื่อให้อยู่รอดได้ แต่สิ่งที่เป็นปัญหา คือ สภาพแวดล้อม...สื่อต่าง ๆ รุมเร้าเยาวชนของชาติ ทำให้พ่อ แม่ ตามสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ทัน...นี่ก็คือ ปัญหาอีกปัญหาหนึ่งซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้ การแก้ไขต้องใช้หลาย ๆ ฝ่ายร่วมด้วยช่วยกันแก้ไข...

จากสภาพที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้สภาพสังคมของการทำงานเกิดความแตกต่างกัน... ถ้าเปรียบเทียบปัจจุบัน ในสังคมของการทำงานจะทำให้เห็นถึงสภาพของคนรุ่นเก่า คนรุ่นกลาง คนรุ่นใหม่ ในปัจจุบันนี้เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงานของภาครัฐ แม้แต่วัฒนธรรมองค์กรของแต่ละส่วนราชการ จะไม่เหมือนกัน ทำให้เป็นปัญหาต่อการทำงานค่อนข้างมาก ซึ่งความคิดของคนรุ่นเก่านั้นก็จะทำงานแบบเดิม ๆ เสียส่วนใหญ่ ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงเพราะไม่ต้องการที่จะเปลี่ยนแปลง...ความเคยชินที่เคยทำแบบเดิม ๆ คิดว่าดีอยู่แล้วจึงทำต่อไปและก็จะไม่ยอมรับและไม่เปิดใจ...ถ้าใครมาบอกสิ่งใดในเรื่องสิ่งใหม่ ๆ ให้ ก็จะไม่รับ ทำตัวเสมือนเป็นน้ำชาล้นถ้วย...และไม่เปิดใจยอมรับการเปลี่ยนแปลง...แถมคนรุ่นนี้ ไม่สันทัดเทคโนโลยีเลย (จะโทษคนรุ่นเก่านี้ก็ไม่ได้ เพราะเทคโนโลยี เข้ามาในเมืองไทยเมื่อไม่นานมานี้เอง...แต่ก็อยู่ที่บางคน ก็หมั่นฝึกจนเป็น บางคนก็ไม่ฝึกเลย ปล่อยให้เวลาผ่านไป...แถมพอตัวเองไม่เป็นก็ว่าคนที่เขาทำเป็นว่า...ไปเห่อตามเทคโนโลยี...บวกด้วยวัฒนธรรมของระบบราชการเดิมด้วยว่า...เป็นระบบศักดินา...ฉันเป็นนาย...ฉันมีอำนาจ...ฉันจะทำอย่างไรก็ได้...เพราะฉันเป็นผู้บังคับบัญชา...เธอเป็นลูกน้อง...เธอต้องทำตามที่ฉันสั่ง...เธอห้ามคิด...เธอห้ามเถียง...ต้องความคิดของฉันคนเดียวเท่านั้น...)

หลังจากที่รัฐได้ปรับเปลี่ยนบทบาทในการทำงานของข้าราชการ...ทำให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของการทำงานในส่วนราชการเกิดขึ้น...ถึงจะมากแต่ก็ได้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงถึงว่า...ข้าราชการมีหน้าที่อย่างไร มีบทบาทและอำนาจในเรื่องใดบ้าง... จากที่รัฐทำให้ส่วนราชการเกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อเปลี่ยนระบบการทำงานของส่วนราชการ...โดยเน้นถึงผลงาน ความสามารถมากกว่าการให้ความดีความชอบจากใครเป็นคนช่างประจบก็ได้...นั้น...ลดลงไปไม่มากแต่ก็ยังดีที่ลดลง...(เท่าที่สังเกตจะเห็นเรื่องของอำนาจลดลง...แต่จะใช้ผลของการทำงานมาวัด)...ในการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานตามภาครัฐแนวใหม่นี้...ผู้ที่โดนผลกระทบนี้ตรง ๆ คือ คนระดับกลาง...ซึ่งสามารถทราบหรือรู้เรื่องเทคโนโลยี...(บางท่านก็รู้เรื่องและทำเกี่ยวกับเทคโนโลยีมาก...บางท่านก็รู้และทำเกี่ยวกับเทคโนโลยีพอได้บ้าง...อาจจะไม่มาก...แต่ก็คุยกับกลุ่มคนรุ่นใหม่รู้เรื่อง...ไม่เหมือนกับกลุ่มคนรุ่นเก่าบางคนซึ่งไม่ยอมรับอะไรเลย)...และเป็นที่น่าหนักใจมาก ๆ สำหรับคนกลุ่มนี้ คือ โดนระบบทั้งคนรุ่นเก่าและระบบของคนรุ่นใหม่เกี่ยวกับเรื่องการทำงาน แต่ถ้าพูดถึงคนกลุ่มนี้จะต้องเป็นตัวประสานให้กับคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่ได้ทำงานร่วมกันได้...ถามว่าเป็นงานที่หนักไหม?...ผู้เขียนตอบได้เลยว่า....”หนักมาก ๆ สำหรับการทำงานในปัจจุบัน...หนักงานไม่เท่าไร แต่หนักใจละมากกว่า”...เพราะงานปัจจุบันจะต้องถูก ก.พ.ร. ส.ก.อ. ส.ม.ศ. มาวัดมาประเมินผล... พร้อมทั้งต้องถูกการประเมินภายในมหาวิทยาลัยด้วยกันอีก...รวมทั้งงานประจำก็ต้องทำ...การคิดสร้างสรรค์งานใหม่ที่เมื่อได้แปรสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยแล้ว ก็ต้องคิด ต้องทำให้เกิดขึ้นอีก...บอกได้เลยว่าเป็นงานที่หนักมาก ๆ...แต่ก็ต้องอดทน...และการทำงานปัจจุบันจะไม่เหมือนการทำงานในสมัยก่อน ซึ่งถ้าเป็นเรื่องของบุคลากร...สมัยก่อนจะเป็นเรื่องของการทำงานประจำมากกว่า...เป็นงานธุรการ...ไม่ต้องคิด...ไม่ต้องสร้างงาน แต่ปัจจุบันเป็นงานต้องคิด ต้องสร้าง ยิ่งกฎหมายให้กับกลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัยที่จะต้องปฏิบัติอีก และเป็นงานที่เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ พันธกิจ (สิ่งที่ยากเป็นเรื่องของการที่ต้องอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจ...การที่จะให้คนอื่นเข้าใจ...ก็เป็นเรื่องยากอีก...ที่แต่ละคนยิ่งในระดับมหาวิทยาลัย...แต่ละคนถือว่าตนเองเป็นผู้มีความรู้...เรื่องการอธิบายต้องเป็นเรื่องของผู้บริหารระดับสูงที่จะต้องให้นโยบายและอธิบายให้คนกลุ่มล่างได้ฟังและเข้าใจ...เรียกว่า “ขึ้นอยู่กับผู้นำ”...)...เป็นงานที่หนักจริง ๆ...ผู้บริหารบางท่านที่เป็นคนรุ่นเก่า จะชอบบอกว่า สมัยที่ท่านทำนั้น มีคนเพียงแค่ 2 - 3 คน ก็ทำได้...อยากถามเหมือนกันว่า...เหตุการณ์มันเปลี่ยนไป...”...ใช่...สมัยก่อนทำได้เช่นที่ท่านบอกเพราะงานบุคคลจะเป็นการทำงานแบบงานธุรการ...แต่มา ณ ปัจจุบัน เนื้องานที่ทำนั้นมันเปลี่ยนไปแล้ว ท่านไม่ทราบหรอก เพราะท่านไม่ได้เป็นผู้ปฏิบัติและไม่เปิดใจ...ลองท่านลงมาปฏิบัติดูสิ ว่าจะเป็นอย่างที่ผู้เขียนบอกหรือไม่”...(ได้แต่คิด...แต่ไม่กล้าพูด...เพราะเราให้เกียรติท่านอยู่และอีกอย่างเป็นเด็กจะไปเถียงผู้ใหญ่ก็ดูกระไร...นี่คือ...วัฒนธรรมที่คนรุ่นกลางยังมีอยู่...จะทำอะไรก็ยังให้เกียรติ เคารพในความเป็นเด็ก ผู้ใหญ่...แต่ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าพอตัวเองอายุมากขึ้นแล้ว เวลาทำอะไรไม่ถูกต้อง เด็ก ๆ รุ่นใหม่ที่ขึ้นมาแทนที่เราจะให้ความเคารพและให้เกียรติเราเช่นที่เราให้เกียรติผู้ใหญ่หรือไม่...)...

สำหรับคนรุ่นใหม่ คนกลุ่มนี้จะมีความรู้เรื่องเทคโนโลยีค่อนข้างสูงและเรียกได้ว่า “เก่งมาก ๆ” ในเรื่องเทคโนโลยี แต่คนกลุ่มนี้ยังด้อยด้วยประสบการณ์เท่านั้นเอง...แต่ถ้านับเอาเวลาในการทำงานมารวม คนกลุ่มนี้ต่อไปในอนาคตจะเรียกได้ว่า เป็นคนที่เก่งการทำงาน มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะในการทำงานค่อนข้างสูงเพราะคนกลุ่มนี้มีความพร้อมทุกอย่าง...อยู่ที่คนรุ่นนี้ต้องสั่งสมประสบการณ์ให้ได้มากที่สุด...เพราะคนกลุ่มนี้มีโอกาสได้เรียนรู้ในเรื่องเทคโนโลยีมาด้วยในตอนวัยเรียน จึงเป็นเหมือนการสั่งสมความรู้ในด้านเทคโนโลยีมาเกือบครึ่ง... แต่!...อย่าลืมว่า เมื่อเก่งเทคโนโลยีแล้ว อย่าลืมสร้างฐานของตนเองให้แข็งแรง ให้แข็งแกร่ง พร้อมที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้...เพราะถ้าฐานล่างของตนเองไม่แข็งแรงแล้ว จะล้มลงได้ง่าย ๆ...เมื่อฐานล่างแข็งแรงแล้วจะทำให้คนรุ่นนี้ มีภูมิพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นใหม่ได้อีกในอนาคต...

ในระบบราชการปัจจุบันจะมีคนทั้ง 3 กลุ่มนี้ ทำงานด้วยกันอยู่ เปรียบเสมือนเป็นแม่น้ำ 3 สาย ที่ไหลมาจากคนละแห่ง และต้องไหลมารวมกัน ทำอย่างไร? จึงจะทำให้คนทั้ง 3 กลุ่มนี้ ผสมผสานกลมกลืนและทำงานไปด้วยกันได้อย่างเป็นแม่น้ำสีเดียวกันได้...เพราะในการทำงานร่วมกันจะเห็นถึงความขัดแย้งซึ่งกันและกัน...การเปรียบเทียบกัน...เป็นปัญหาที่ผู้บริหารระดับสูงต้องคิด ต้องร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหา มิใช่ปล่อยให้แต่ละคนคิด... ทำ...ตามแต่ชะตากรรม...ซึ่งส่วนราชการแต่ละส่วนราชการต้องร่วมกันสร้างให้เป็นวัฒนธรรมองค์กรใหม่ร่วมกันให้ได้...และจะนำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีของบุคลากรในองค์กรนั้น ๆ ต่อไป...สมความตั้งใจของรัฐหรือแผนพัฒนาข้าราชการ ฯ ที่ต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น...

หมายเลขบันทึก: 414574เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2010 12:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2016 15:51 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ...คุณยาย...Ico32...

  • ขอบคุณค่ะ...
  • คิดถึงเช่นกันค่ะ...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท