เรื่องสั้นใครเอาเนยแข็งของฉันไป


การเปลี่ยนแปลง

เรื่องสั้น ใครเอาเนยแข็งของฉันไป

         เรื่องสั้นเรื่องนี้เป็นการเปรียบเทียบพฤติกรรมของตัวละคร 4 ตัว มีหนู : สนิฟ  ผู้ดมกลิ่นความเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว  หนู : สเคอร์รี่  ผู้รีบร้อนทำอะไรล่วงหน้ามนุษย์จิ๋ว : เฮ็ม ผู้ปฏิเสธและต่อต้าน  ว่าการเปลี่ยนแปลงจะนำไปสู่สิ่งที่ดีกว่าตัวละครในเรื่องทั้ง 4 ตัว มีปฏิกิริยาตอบสนองเมื่อเนยแข็งหมดไป คือ หนู 2 ตัว ปล่อยวาง และจากไปอย่างรวดเร็ว ค้นหาเนยแข็งที่สถานที่ใหม่ ในที่สุดก็พบเนยแข็งใหม่ (ความว่าง) มนุษย์จิ๋ว 2 คน ละล้าละลัง พูดบ่นพร่ำเพ้อ เศร้าสลด เขาฝากความหวังกับเนยแข็งที่หมดไปแล้ว ทำไมไม่มีใครเตือนเขาก่อน คิดว่าต้องมีคนมาเอาเนยแข็งไป ไม่ใช่มันค่อย ๆ หมดทีละน้อย โทษคนอื่นเป็นต้นเหตุ ไม่คิดไปหาเนยแข็งก้อนใหม่ แต่จะรอ ที่นี่ ติดสะดวก สบายที่นี่ คิดว่าไม่ช้าก็เร็วต้องมีคนเอาเนยแข็งมาคืนเรา  เฮ็มกับฮอร์ มีพฤติกรรม ยึดมั่นถือมั่น (ตัวกูของกู) สนิฟกับสเคอรี่ มีพฤติกรรมปล่อยวาง เข้าใจ (ความว่าง)

          เมื่อเราย้อมมาดูว่าทำไมเราถึงอยากได้เนยแข็ง ซึ่งเนยแข็งนั้นเปรียบได้กับลาภ  ยศ การสรรเสริญความสุข เพราะเราเชื่อว่าเนยแข็งจะทำให้เรามีความสุข เมื่อเราได้มาก็จะยึดติด เมื่อเราสูญเสีย  มันไปหรือถูกคนอื่นแย่งไป เราก็จะรู้สึกเจ็บปวดรวดร้าว มนุษย์ทุกคนเลยพยายามขวนขวายเนยแข็งกัน แล้วเมื่อถามว่าทำไมเราจึงกลัวการเปลี่ยนแปลงคงเป็นเพาะทำใจไม่ได้  ไม่ยอมรับ ไม่รู้จะจัดการกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นอย่างไรดีเราจะมีวิธีการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงดังนี้

                 -  ต้องระลึกอยู่เสมอว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ทุกเวลา

                -  คาดคะเนการเปลี่ยนแปลงไว้ล่วงหน้า

                -  ตรวจตราการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

                -  ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

                -  มีสติ ไม่ประมาท  เป็นต้น

กลยุทธ์ในการกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงในองค์กรเปิดโอกาสให้บุคลากรในองค์กรมีส่วนร่วมในการริเริ่มเปลี่ยนแปลง มุ่งเน้นการจูง ใจมากกว่าการบังคับ ตลอดจนสร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดี เน้นทางด้านการสื่อสารพูดคุยให้เกิดข้อตกลงแบบประชาธิปไตย

คำสำคัญ (Tags): #การเปลี่ยนแปลง
หมายเลขบันทึก: 414572เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2010 12:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 10:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรื่องนี้สนุกและได้ข้อคิดเยอะมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท