คณิตศาสตร์


ตัวชี้วัดการเรียนรู้

ตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาตร์

ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6
ตัวชี้วัดคณิต ป. 4
มาตรฐาน ค ๑.๑  เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
๑. เขียนและอ่านตัวเลขฮินดูอารบิกตัวเลขไทย  และตัวหนังสือแสดงจำนวนนับ ศูนย์   เศษส่วน และทศนิยมหนึ่งตำแหน่ง
๒. เปรียบเทียบ  และเรียงลำดับ จำนวนนับและ ศูนย์   เศษส่วน และทศนิยมหนึ่งตำแหน่ง
มาตรฐาน ค ๑.๒  เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการต่าง ๆ และใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา 
๑. บวก ลบ คูณ หาร และบวก ลบ คูณ หารระคนของ จำนวนนับ และศูนย์ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุ สมผลของคำตอบ      
๒. วิเคราะห์และแสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหา และโจทย์ปัญหาระคนของจำนวนนับ และศูนย์ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุ สมผลของคำตอบ  และสร้างโจทย์ได้
๓. บวกและลบเศษส่วนที่มีตัวส่วนเท่ากัน
มาตรฐาน ค ๒.๑  เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด
๑. บอกความ สัมพันธ์ของหน่วยการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตรหรือความจุ   และเวลา
๒. หาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยม มุมฉาก
๓. บอกเวลาบน หน้าปัดนาฬิกา อ่านและเขียนเวลาโดย ใช้จุด และบอกระยะเวลา
๔. คาดคะเนความยาว น้ำหนัก ความจุ
มาตรฐาน ค ๒.๒  แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด
๑. แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัดความยาว  การชั่ง การตวง เงิน  และเวลา       
๒. เขียนบันทึกรายรับ  รายจ่าย
๓. อ่านและเขียนบันทึก   กิจกรรมหรือเหตุการณ์ ที่ระบุเวลา  
มาตรฐาน ค ๓.๑   อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ
๑. บอกชนิดของมุม ชื่อมุม ส่วนประกอบของมุม และเขียนสัญลักษณ์
๒. บอกได้ว่าเส้นตรงหรือส่วนของเส้นตรงคู่ใดขนานกัน พร้อมทั้งใช้สัญลักษณ์แสดง การขนาน
 ๓. บอกส่วน ประกอบของรูปวงกลม 
๔. บอกได้ว่ารูปใดหรือส่วนใดของสิ่งของมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก และจำแนกได้ว่าเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือรูปสี่เหลี่ยม ผืนผ้า
๕. บอกได้ว่ารูปเรขาคณิตสองมิติรูปใดเป็นรูปที่มีแกนสมมาตร และบอกจำนวนแกนสมมาตร
มาตรฐาน  ค ๓.๒  ใช้การนึกภาพ (visualization) ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial reasoning) และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต (geometric model) ในการแก้ปัญหา
๑.  นำรูปเรขาคณิต มาประดิษฐ์เป็นลวดลายต่าง ๆ
มาตรฐาน ค ๔.๑  เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป (pattern)  ความสัมพันธ์ และฟังก์ชัน
๑. บอกจำนวนและความสัมพันธ์ในแบบรูปของจำนวนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงทีละเท่ากัน
๒. บอกรูป และความสัมพันธ์ในแบบรูปของรูปที่กำหนดให้
 มาตรฐาน ค ๕.๑  เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
๑. รวบรวมและจำแนกข้อมูล
๒. อ่านข้อมูล จากแผนภูมิ-รูปภาพ แผนภูมิแท่ง และตาราง   
๓. เขียนแผนภูมิรูปภาพ และแผนภูมิแท่ง  
มาตรฐาน ค ๖.๑ มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
๑. ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา
๒. ใช้ความรู้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
๓.  ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
๔. ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร  การสื่อความหมาย และการนำเสนอได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
๕. เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ในคณิตศาสตร์และคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ
๖. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ตัวชี้วัดคณิต ป. 5
มาตรฐาน ค ๑.๑  เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
๑.  เขียนและอ่านเศษส่วน  จำนวนคละ และทศนิยมไม่เกินสองตำแหน่ง                      
๒. เปรียบเทียบ และเรียงลำดับเศษส่วน และทศนิยมไม่เกินสองตำแหน่ง
๓.  เขียนเศษส่วนในรูปทศนิยมและร้อยละ  เขียนร้อยละในรูปเศษส่วนและทศนิยมและเขียนทศนิยมในรูปเศษส่วนและร้อยละ
มาตรฐาน ค ๑.๒  เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการต่าง ๆ และใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา 
๑.  บวก ลบ คูณ  หาร และบวก ลบ คูณระคนของเศษส่วน พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบ
๒. บวก ลบ คูณ และบวก ลบ คูณระคนของทศนิยมที่คำตอบเป็นทศนิยมไม่เกินสองตำแหน่งพร้อมทั้งตระหนัก ถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบ 
๓. วิเคราะห์และแสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหา และโจทย์ปัญหาระคนของจำนวนนับ เศษส่วน ทศนิยม
และร้อยละ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุ สมผลของคำตอบ และสร้างโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับจำนวนนับได้
มาตรฐาน ค ๑.๓  ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหา
๑. บอกค่า ประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็มสิบ เต็มร้อย และเต็มพันของจำนวนนับ  และนำไปใช้ได้ 
มาตรฐาน ค ๒.๑  เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด
๑. บอกความ สัมพันธ์ของหน่วยการวัด  ปริมาตรหรือความจุ  
๒.หาความยาวรอบรูปองรูปสี่เหลี่ยม       รูปสามเหลี่ยม  
๓.หาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากและรูปสามเหลี่ยม
๔. วัดขนาดของมุม      
๕. หาปริมาตรหรือความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
มาตรฐาน ค ๒.๒  แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด
๑. แก้ปัญหาเกี่ยวกับพื้นที่ ความยาวรอบรูปของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากและรูปสามเหลี่ยม
มาตรฐาน ค ๓.๑   อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ
๑. บอกลักษณะและจำแนกรูปเรขาคณิตสามมิติชนิดต่าง ๆ
๒. บอกลักษณะความสัมพันธ์และจำแนกรูปสี่เหลี่ยมชนิดต่างๆ 
๓. บอกลักษณะส่วนประกอบ ความสัมพันธ์ และจำแนกรูปสามเหลี่ยมชนิดต่าง ๆ 
มาตรฐาน  ค ๓.๒  ใช้การนึกภาพ (visualization) ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial reasoning) และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต (geometric model) ในการแก้ปัญหา
๑. สร้างมุมโดยใช้โพรแทรกเตอร์
๒. สร้างรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากรูปสามเหลี่ยมและรูปวงกลม
๓. สร้างเส้นขนานโดยใช้ไม้ฉาก
มาตรฐาน ค ๔.๑  เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป (pattern)  ความสัมพันธ์ และฟังก์ชัน
๑. บอกจำนวนและ ความสัมพันธ์ในแบบรูปของจำนวนที่กำหนดให้
มาตรฐาน ค ๕.๑  เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
๑.  เขียนแผนภูมิแท่งที่มีการย่นระยะของเส้นแสดงจำนวน
๒. อ่านข้อมูลจากแผนภูมิแท่งเปรียบเทียบ
 มาตรฐาน ค ๕.๒    ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้อย่างสมเหตุสมผล
๑. บอกได้ว่าเหตุการณ์ที่กำหนดให้นั้น  – เกิดขึ้นอย่างแน่นอน – อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ได้  - ไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน
มาตรฐาน ค ๖.๑   มีความสามารถในการแก้ปัญหา   การให้เหตุผล    การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ    การเชื่อมโยงความรู้ ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ  และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
๑. ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา
๒. ใช้ความรู้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้ อย่างเหมาะสม
๓.  ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
๔. ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร  การสื่อความหมาย และการนำเสนอได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
๕. เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ในคณิตศาสตร์และคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ
๖. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
 ตัวชี้วัดคณิต ป. 6
มาตรฐาน ค ๑.๑  เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
๑.  เขียนและอ่านทศนิยม  ไม่เกินสามตำแหน่ง
๒. เปรียบเทียบ  และเรียงลำดับ เศษส่วน  และทศนิยมไม่เกินสามตำแหน่ง
๓. เขียนทศนิยมในรูปเศษส่วนและเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม
มาตรฐาน ค ๑.๒  เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการต่าง ๆ และใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา 
๑. บวก ลบ คูณ หารและบวก ลบ คูณ หารระคนของเศษส่วน จำนวนคละ และทศนิยมพร้อมทั้งตระหนักถึง
ความสมเหตุสมผลของคำตอบ
๒.วิเคราะห์และแสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหา และโจทย์ปัญหาระคนของจำนวนนับ เศษส่วน จำนวนคละ ทศนิยม  และร้อยละ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุ  สมผลของคำตอบ และสร้างโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับจำนวนนับได้
มาตรฐาน ค ๑.๓  ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหา
๑. บอกค่า ประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็มหลักต่าง ๆ  ของจำนวนนับ และนำไปใช้ได้  
๒.  บอกค่า ประมาณของทศนิยมไม่เกินสามตำแหน่ง
มาตรฐาน ค ๑.๔  เข้าใจระบบจำนวนและนำสมบัติเกี่ยวกับจำนวนไปใช้
๑. ใช้สมบัติการสลับที่ สมบัติการเปลี่ยนหมู่และสมบัติการแจกแจงในการคิดคำนวณ
๒. หา  ห.ร.ม. และ ค.ร.น. ของจำนวนนับ
มาตรฐาน ค ๒.๑  เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด
๑. อธิบายเส้นทางหรือบอกตำแหน่งของ สิ่งต่างๆ โดยระบุทิศทาง   และระยะทางจริงจากรูปภาพ แผนที่และแผนผัง 
๒. หาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยม
๓. หาความยาวรอบรูป และพื้นที่ของรูปวงกลม
มาตรฐาน ค ๒.๒  แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด
๑. แก้ปัญหาเกี่ยวกับพื้นที่ความยาวรอบรูปของรูปสี่เหลี่ยมและรูปวงกลม 
๒. แก้ปัญหาเกี่ยวกับปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
๓. เขียนแผนผังแสดงตำแหน่ง ของสิ่งต่าง ๆ    และแผนผังแสดงเส้นทาง การเดินทาง     
มาตรฐาน ค ๓.๑   อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ
๑. บอกชนิดของ รูปเรขาคณิตสองมิติที่เป็นส่วนประกอบของรูปเรขาคณิตสามมิติ
๒. บอกสมบัติของเส้นทแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยมชนิดต่างๆ 
๓. บอกได้ว่าเส้นตรงคู่ใดขนานกัน
มาตรฐาน  ค ๓.๒  ใช้การนึกภาพ (visualization) ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial reasoning) และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต (geometric model) ในการแก้ปัญหา
๑. ประดิษฐ์ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกระบอก กรวย ปริซึมและพีระมิดจากรูปคลี่ หรือรูปเรขาคณิตสองมิติ
ที่กำหนดให้
๒. สร้างรูปสี่เหลี่ยมชนิดต่าง ๆ
มาตรฐาน ค ๔.๑  เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป (pattern)  ความสัมพันธ์ และฟังก์ชัน
๑. แก้ปัญหาเกี่ยวกับแบบรูป
 มาตรฐาน ค ๔.๒  ใช้นิพจน์ สมการ อสมการ กราฟ และตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ (mathematical  model)  อื่น ๆ แทนสถานการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนแปลความหมายและนำไปใช้แก้ปัญหา
๑. เขียนสมการจากสถานการณ์หรือปัญหา และแก้สมการพร้อมทั้งตรวจคำตอบ
มาตรฐาน ค ๕.๑  เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
๑. อ่านข้อมูล จากกราฟเส้นและแผนภูมิรูปวงกลม
๒. เขียนแผนภูมิแท่งเปรียบเทียบและกราฟเส้น
มาตรฐาน ค ๕.๒    ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้อย่างสมเหตุสมผล
๑. อธิบายเหตุการณ์โดยใช้ คำที่มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า  -  เกิดขึ้นอย่างแน่นอน   - อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ได้   - ไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน
มาตรฐาน ค ๖.๑   มีความสามารถในการแก้ปัญหา   การให้เหตุผล    การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ  การเชื่อมโยงความรู้ ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ  และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
๑. ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา
๒. ใช้ความรู้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
๓.  ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
๔. ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร  การสื่อความหมาย และการนำเสนอได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
๕. เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ในคณิตศาสตร์และคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ
๖. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

 

ที่มา : หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
 
 
หมายเลขบันทึก: 414002เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2010 02:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544

เรียกว่าผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

กูไม่เข้าใจ...ภาษาพ่อภาษาแม่มึงฤไง..ไอ่อี่โง่

มีความเป็นครู ต้องสุภาพเรียบร้อย

เป็นตัวอย่างแก่ศิษย์นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท