Social-Learning Space โดยกิจกรรมวิชาการ ๔๑ ปี คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหิดล


   คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล   จะจัดประชุมวิชาการ ประจำปี ๒๕๕๓ หัวข้อ ปฏิรูปสังคมประเทศไทย : ความคาดหวังกับความเป็นจริง วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๓ ณ โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพมหานคร มีการร่วมกันนำเสนอผลงานวิจัยและผลงานวิชาการ จากภาควิชาต่างๆ  ๔ ภาควิชา ของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

  • ภาควิชาศึกษาศาสตร์
  • ภาควิชาสังคมศาสตร์
  • ภาควิชามนุษศาสตร์
  • ภาควิชาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข

  กิจกรรมวิชาการที่น่าสนใจ 

  • การเสวนาและอภิปรายทางวิชาการ ทิศทางการวิจัยและพัฒนาทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ในอนาคต โดยผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิในวงการสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ของประเทศ
  • การแสดงปาฐกถา โดย ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน : บทบาทของสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ต่อการปฏิรูปประเทศไทยในอนาคต
  • การนำเสนอผลการวิจัยและผลงานวิชาการของอาจารย์และนักวิจัย
  • การเสนอผลการวิจัยของนักศึกษาไทยและนักศึกษานานาชาติ
  • การออกร้านจำหน่ายและเผยแพร่หนังสือ ตำรา สื่อสิ่งพิมพ์
  • การจัดนิทรรศการและแสดงผลงานวิจัยและผลงานวิชาการ

  เวทีศึกษาศาสตร์ : ศึกษาศาสตร์กับบทบาทการปฏิรูปการเรียนรู้ในสังคมไทย 
ช่วงบ่าย ระหว่างเวลา : ๑๓.๐๐-๑๖.๓๐ น.

  • ประกอบด้วยกิจกรรม ๓ ห้องย่อย เพื่อฟังการนำเสนอผลงานวิจัยและผลงานวิชาการไทยและต่างประเทศ
  • การจัดนิทรรศการและแสดงผลงานวิชาการ
  • การจัดนิทรรศการของเครือข่ายศิษย์เก่าศึกษาศาสตร์
  • การจำหน่ายและเผยแพร่หนังสือ ตำรา
  • นิทรรศการและแนะนำภาพยนต์เคลื่อนไหวปฏิบัติการสังคมเพื่อสิ่งแวดล้อมศึกษาและการพัฒนาสังคม : รักมหาสารคาม
    ภาพยนต์ร่วมสร้างโดยการระดมทุนกว่า ๑๐ ล้าน โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยมหาสารคามกับสหมงคลฟิล์ม สร้างโดยวิธีทำงานร่วมกันของกลุ่มนักวิจัยและกลุ่มคนทำงานวิชาการ กับกลุ่มนักสร้างสรรค์ศิลปะภาพยนต์ 
    ผู้อำนวยการสร้าง คือ คณบดีของสถาบันวิจัยและพัฒนาศิลปะวัฒนธรรม เป็นศิษย์เก่าปริญญาเอกสาขาสิ่งแวดล้อมศึกษาของภาควิชาศึกษาศาสตร์ ไปดูและเรียนรู้อีกประสบการณ์หนึ่งของปฏิบัติการสร้างการเรียนรู้เพื่อเคลื่อนไหวทางสังคมด้วยวิธีการและแนวทางใหม่ๆให้ทัดเทียมกับความเปลี่ยนแปลงและหมุนไปอย่างรวดเร็วทั้งของสังคมไทยและสังคมโลก

  ห้องย่อย ๑  

  • การนำเนอผลการวิจัยและผลงานวิชาการด้วยรูปแบบ Ignite ศึกษาศาสตร์
    Theme : การพัฒนาครูและการพัฒนาการเรียนการสอน กว่า ๑๐ เรื่อง
  • การเสวนาถอดบทเรียน : การพัฒนาเครือข่ายครูนักวิจัยในสถานศึกษา อำเภอพุทธมณฑล

  ห้องย่อย ๒   

  • การนำเนอผลการวิจัยและผลงานวิชาการด้วยรูปแบบ Ignite ศึกษาศาสตร์
    Theme : การศึกษาเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม กว่า ๑๐ เรื่อง
                  Theme ย่อย :
                         - การวิจัยและการบริการทางวิชาการทางด้านการศึกษากับนัยยะต่อนโยบายสาธารณะ
                         - การศึกษาบทบาทของการวิจัยทางด้านการศึกษากับการสร้างผลกระทบต่อสังคม
                         - การพัฒนากระบวนการศึกษาเรียนรู้เพื่อสร้างความปรองดองและความยุติธรรมในสังคม

  ห้องย่อย ๓   

  • การนำเสนอผลการวิจัยและผลงานวิชาการด้วยรูปแบบ Ignite ศึกษาศาสตร์
    Theme : การศึกษาตลอดชีวิต และมิติชุมชน กว่า ๑๐ เรื่อง

  เวทีรวม (รวมที่ห้องย่อย ๑ หลังการนำเสนอผลงาน)  

  • การเสวนาและพัฒนาเครือข่ายศึกษาศาสตร์ : แบ่งปันประสบการณ์นำการเสวนา โดย ครูใหม่ วิมลศรี ศุษิลวรณ์ จากโรงเรียนเพลินพัฒนา ร่วมเสวนาโดยศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน ดำเนินรายการโดย ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์

  กิจกรรมสร้างพื้นที่การเรียนรู้ชีวิตและจิตวิญญาณความเป็นมหิดล ศาลายา 

ก่อนถึงงานประชุมวิชาการ กลุ่มนักศึกษาสาขาต่างๆของภาควิชาศึกษาศาสตร์ และสโมสรนักศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมกันจัดกิจกรรม แปรงถนนคนเดินของมหาวิทยาลัย จากด้านหน้าวิทยาลัยนานาชาติ ผ่านหน้าคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ไปจนถึงหน้าอาคารคณะศิลปศาสตร์ อาคารบรรยายคณะวิทยาศาสตร์ และลานเจ้าฟ้า มีกิจกรรมคึกคัก ๑๓-๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๓

  • การออกร้านสินค้า OTOP กว่า ๑๕๐ ร้าน
  • การจำหน่ายหนังสือ ภาพเขียน ผลงานศิลปะและหัตถกรรม
  • การแสดงศิลปวัฒนธรรมจากการวิจัยชุมชนท้องถิ่นพุทธมณฑล และชุมชนลุ่มน้ำท่าจีนแม่กลอง
  • การแสดงเวทีของนักศึกษา วงดนตรีและศิลปินรับเชิญ
  • การปะกวดร้องเพลงของนักศึกษา เยาวชน และผู้สนใจทั่วไป

ถนนคนเดิน คู่ขนานกับถนนสัญจรภายในมหาวิทยาลัย ก่อนที่จะแปรเป็นการออกร้านสินค้าและผลิตภัณฑ์ OTOP

สนามหญ้าข้างหอสมุดและคลังความรู้กลาง และข้างคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

ถนนคนเดิน คู่ขนานกับถนนสัญจรภายในมหาวิทยาลัย ก่อนที่จะแปรเป็นการออกร้านสินค้าและผลิตภัณฑ์ OTOP

ตลอดเส้นทางของถนนคนเดินเมื่อเป็นร้านค้าผลิตภัณฑ์ OTOP

 

นักศึกษามาขอให้ผมออกแบบฉากเวทีให้ ผมเลยให้ความเป็นเวทีสื่อความเป็นมหาวิทยาลัยมหิดลและความเป็นท้องถิ่นของพุทธมณฑลกับชุมชนศาลายา แสดงตนเองและบอกเล่าความเป็นภูมิปัญญาของแผ่นดิน ด้วยภาพถ่าย รูปเขียนนาบัว คลองและวิถีชุมชนท้องถิ่น รวมทั้งสถานีรถไฟศาลายา ที่นักศึกษาและคนมหิดลคุ้นเคยเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตการศึกษาอยู่ที่ศาลายา

นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ รวมตัวกันตั้งคณะลำตัดสมัครเล่น ร้องลำตัดถ่ายทอดความเป็นมหิดล ชุมชนศาลายา และเล่นปฏิภาณกันอย่างสนุกสนาน ได้ทั้งความน่ารักและเป็นกิจกรรมสร้างการแสดงออกในความเป็นเจ้าของสังคมวัฒนธรรมที่น่าประทับใจมาก

นักศึกษาจากคณะพยาบาล ให้กำลังใจเพื่อนผู้ร่วมร้องเพลงประกวด ได้ทั้งความไพเราะและเป็นที่สนุกสนาน จากนั้น ก็มันักศึกษาปริญญาตรีของคณะสังคม ร่วมร้องประกวดอย่างสนุกสนานด้วยเช่นกันอีก ๒ คน

นักร้องประกวด ซึ่งเป็นนักศึกษาปี ๓ จากคณะศิลปศาสตร์ ท่าทางดูหงิมๆและตัวอ้วนกลม แต่พอร้องเพลงออกมาเท่านั้น พลังเสียงและความสามารถในการ Acting ถ่ายทอดอารมณ์เพลง ก็ทำเอาผู้คนตลึงและเตร่เข้ามาฟังใกล้ๆ หลังจบแล้วก็ขอให้ร้องให้ผู้ฟังได้ฟังอีก ๑ เพลง

นักร้องประกวด เป็นนักเรียนจากวิทยาลัยนาฏศิลป์ เพื่อนบ้านของชาวมหิดล ศาลายา เป็นเด็กกว่าเพื่อน และร้องเพลงลูกทุ่ง ทั้งไพเราะและงดงามในการแสดงลีลาถ่ายทอดอารมณ์เพลง หลังจากร้องเพลงประกวดแล้ว ก็แถมให้ผู้ฟังอีกเพลงหนึ่งด้วยเพลงแหล่ ..สีกาสอนนาค เป็นที่ประทับใจอย่างยิ่ง

นักร้องประกวด นักศึกษาจากโรงเรียนพาณิชยการราชดำเนิน ร้องเพลงลูกทุ่งของกุ้ง สุทธิราช ผู้ฟังได้ความประทับใจมากมาย

สองพิธีกรซึ่งเป็นนักศึกษาจากคณะศิลปศาสตร์ เก่งทั้งการสร้างบรรยากาศและการแก้ปัญหาบนเวที

ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล จากคณะศิลปศาสตร์ และนายแพทย์วัฒนา เทียมปฐม  กำลังนั่งชมการแสดงบนเวทีของนักศึกษาร่วมกับชาวบ้านพุทธมณฑล นักศึกษา และคนมหิดล นายแพทย์วัฒนา เทียมปฐมนี้ เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา อีกทั้งเป็นลูกหลานคนท้องถิ่นพุทธมณฑล และเป็นศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหิดล โดยจบแพทยศาสตร์ศิริราช ยุคมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ปัจจุบัน นอกจากดูแลสุขภาพชุมชนในพื้นที่แล้ว ก็เป็นแพทย์ที่คอยดูแลสุขภาพให้นักศึกษาและคนมหิดลด้วย

ลำตัดของนักศึกษา กับบรรยากาศสร้างสีสันและความมีชีวิตชีวาของชาวมหิดลกับชาวบ้านท้องถิ่นแบบสบายๆ

บรรยากาศยามค่ำ ของมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา มองจากอาคารคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

หมายเลขบันทึก: 413993เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2010 00:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 17:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
พระมหาแล อาสโย(ขำสุข)
  • นั่งดูฉากเวทีตั้งนาน อาจารย์ออกแบบได้ดีเห็นแล้วเป็นปัจจุบันมากๆ มองไปก็รู้ว่านี่คือวิถีคนศาลายา
  • เวทีแบบนี้ดูดีเพราะช่วยบอกเล่าเรื่องราวความเป็นท้องถิ่นที่แทรกตัวเข้าไปในมหา'ลัยได้ ดูการแสดงของน้องๆแล้ว ก็กลมกลืนและได้บรรยากาศดีด้วย

กราบนมัสการท่านพระอาจารย์มหาแลครับ

ท้องนา คูคลอง นาบัว และสถานีรถไฟศาลายานี่ สื่อความเป็นวิถีชีวิตคนศาลายาได้ดีครับ
นักศึกษามหิดลเมื่อเอ็นทรานซ์และต้องไปเรียนศาลายาในปีแรกนั้น เคยเห็นเขากิจกรรมรับน้องรถไฟเหมือนชาวมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เหมือนกัน
การมีกิจกรรมอย่างนี้ นอกจากจะช่วยกระตุ้นวงจรการผลิตและบริโภค ทำให้เศรษฐกิจของคนทำมาหากินทั่วไปมีชีวิตดีแล้ว ก็ทำให้สังคมภายนอก กับสังคมการศึกษา รวมทั้งชุมชนวิชาการที่หลากหลายสาขาในมหาวิทยาลัยซึ่งมักจะแยกส่วนกันอยู่ในกล่องของใครของมันนั้น ได้ออกมามีกิจกรรมชีวิตและได้ประสบการณ์ทางสังคมร่วมกัน หากทำไปก็ทบทวนบทเรียนและออกแบบให้มีความพิถีพิถันมากยิ่งๆขึ้น ก็จะเป็นการเรียนรู้ทางสังคมที่สร้างความเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชีวิตได้ดีมากเลยนะครับ

ขอแสดงความยินดีกับ ๔๑ ปีคณะฯค่ะท่านอาจารย์ เห็นบรรยากาศแล้วกึดเติงหาม.เฌองดอยเจ้า ขอบพระคุณค่ะ :)

คิดถึงบรรยากาศนั่งกินแกงฮังเลกับข้าวนึ่งที่ศาลาอ่างแก้วนะครับ
คนมหิดลนี่ ศิษย์เก่า มอชอ.เยอะนะครับ

*ร่วมชื่นชมกิจกรรมดีๆและบรรยากาศน่ารื่นรมย์นี้ค่ะ..

*พี่ขออนุญาตให้ข้อสังเกตนามสกุล ของ ครูวิมลศรี ที่เวทีรวมค่ะ..

Ico64  วิมลศรี ศุษิลวรณ์

สวัสดีครับพี่ใหญ่ครับ ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งครับ
เมือคืนตอนเขียนก็สังเกตเห็นอยู่นะครับว่าไม่คุ้นตาเลย ดูแปลกๆ กะว่าพอเขียนเสร็จก็จะแก้ไข แต่แล้วก็ลืม ยิ่งเจอเครื่องอืดน่าดูครับ พอโพสต์ไปแล้วก็หันไปนั่งทบทวนเอกสารเพื่อเขียนบทสรุปการนำเสนองานของการประชุมเพื่อทำภาพรวมลงบนโปสเตอร์ ให้คนที่ไม่สามารถเข้าได้ครบทุกห้องเห็นภาพความเชื่อมโยงกัน จะได้มีแนวไปอ่านเอกสารต่อ ก็เลยลืมเลยครับ ได้ทำการแก้ไขเรียบร้อยแล้วครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท