"ตะขบ"(jam tree)


เก็บภาพ "ต้นตะขบ" จาก ทุ่งนาของพี่ประสิทธิ์ อุทธา หมู่ที่ 6 ตำบลพรานกระต่าย เมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน 2553 ครับ...

                       -มีต้นกำเนิดจาก "ทวีปอเมริกาใต้" ครับ....สำหรับ "ตะขบ" ผลไม้ตระกูล "Thai berry " ที่สามารถพบเห็นได้โดยทั่วทุกภาคของบ้านเรา.....หลาย ๆ ท่านอาจจะเคยรู้จักและได้ชิมกันมาบ้างแล้วนะครับ....เอาเป็นว่า...วันนี้ ภูมิใจนำเสนอเรื่องราวของ"ตะขบ" ครับ!!!!!

 

1.ได้พบกับต้นตะขบเมื่อวันเอาทิตย์ที่ผ่านมานี้เองครับ.....เป็นวันเดียวกับที่ได้เจอกับ "บะตันขอ" ไงครับ.....ยังจำกันได้รึเปล่า??? ไปเที่ยวทุ่งนาของพี่ประสิทธิ์ทั้งที.....งานนี้ได้อะไรกลับมา.....มากมาย.....เลยหละครับ.....ตามข้อมูลเขาบอกไว้ว่า....ตะขบ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Muntingla calabura L. อยู่ในวงศ์ TILIACEAE  ชื่อสามัญก็คือ Calabura, Jamalcan , cherry หรือว่า  jam tree  ครับ......

2.หลังที่ไม่ได้เจอมานาน.....เจออีกที....งานนี้ก็เลยขอ "ชิม" ซะหน่อย...ครับ....รสชาติ "หวานแหลม...แถม...เย็น ๆ" นี่แหละครับ...รสชาติ...ที่คุ้นเคย.....

หลังจากได้"ชิมลูกตะขบ"แล้ว....มาดูข้อมูลที่น่าสนใจของ "ตะขบ"กันดีกว่าครับ.....ว่าสรรพคุณทางสมุนไพร  ที่เขาบอกเอาไว้มีอะไรบ้าง??????....

1."เปลือกต้น"จะมีรสฝาด เป็นยาระบาย  เพราะมีสารพวก Mucilage มาก

2."ใบ" มีรสฝาดเอียน  ใช้ขับเหงื่อ 

3."ดอก" รสฝาด  แก้ปวดศรีษะ  แก้หวัด ปวดเกร็งในทางเดินอาหาร ลดไข้

4."ผล" รสหวานเย็น  มีลิ่นหอม  บำรุงกำลัง  ทำให้ชุ่มชื่นหัวใจ 

5."ราก" รสฝาด  กล่อมเสมหะ และอาจม

วิธีการใช้เป็นยาสมุนไพรติดตามต่อได้ที่นี่ครับ http://www.baanmaha.com/community/thread34708.html

3.สุดท้าย.....ผมเก็บ "ลูกตะขบ" มาฝาก....ทุก ๆ ท่านด้วยนะคร๊าบ!!!!!

                    สำหรับวันนี้....

                                                                            สวัสดีครับ

                                                                                         เพชรน้ำหนึ่ง

                                                                                          02/12/2553

ปล.วันนี้ต้องขอขอบคุณ

1. พี่ประสิทธิ์  อุทธา....เจ้าของ "ต้นตะขบ" 5555

2.ข้อมูลเกี่ยวกับ "ตะขบ" จาก www.baanmaha.com

หมายเลขบันทึก: 411680เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2010 17:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

ม่ายช่าย ๆๆ  ต้องแบบนี้

ตะขบป่า  กินสวยสวยไม่สร่าง

สวัสดีครับคุณ เพชร ลูกขรบป่า หรือตะขบป่ารสชาดอร่อยกว่าตะขบแบบนี้ แต่กินแล้วลิ้นดำปี้ ต้นมีหนาม

ไม่ทราบว่าทางนี้เรียกว่าอย่างไร

ตะขบเป็นพืชที่เกื้อกูล ต่อสรรพสัตว์ นกนานาพันธุ์

ขอบคุณธรรมชาติ สรรสร้างได้บรรเจิดมากครับ

มาเยี่ยมชมผลไม้ป่าที่น่ารัก..ดอกสวยงามนะคะ..เพิ่งเคยเห็น..

..อยากทราบเรื่องต้นมะเดื่อค่ะ ที่บ้านขึ้นเอง..ทำท่าจะต้นใหญ่..หากไม่มีประโยชน์จะได้ตัดทิ้ง..

ตามกลิ่นต้นตะขบมา เห็นตะขบบ้าน และตะขบป่าที่ครูป.1 นำมาฝากไว้ที่นี่ด้วย ไม่เจอหน้ากันนานมาก ตามหายากเหลือเกิน

จาก..บะตันขอ....แล้วก็ตามมาด้วยตะขบ

มีแต่ของมาล่อให้น้ำลายหยดทั้งนั้นเนาะ...

แต่....ไม่ชอบกลิ่นของมันน่ะ   หอมแบบเอียนๆพิกล

ตามมาดูตะขบด้วยคน ปักษ์ใต้เรียก "ลูกขรบ" ออกเสียงว่า "หลก-ขรบ" แต่หม้ายชอบกิน...

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะคุณเพชร

  • ฮ่า ๆ และแล้ว ก็ได้รับข้อมูลผลไม้ประจำตัว คุณยาย แล้ว
  • อย่าลืมนำไปฝากท่านอาจารย์ขจิตด้วยนะคะ

สวัสดีค่ะ...

  • ที่บ้านพี่เขาเรียกว่า "ตะขบขี้นก" ค่ะ
  • แต่ตะขบของครู ป.1 ก็มีนะค่ะ...แต่เป็นอีกพันธุ์หนึ่งค่ะ
  • ชื่อตะขบเหมือนกันแต่เป็นคนละพันธุ์กันค่ะ...
  • แต่พันธุ์ที่ของครู ป.1 รู้สึกว่าที่พิษณุโลกจะหายาก แล้วนะค่ะ...

-สวัสดีครับ...

1.คุณอุ้มบุญครับ......หลายคนชอบ "ตะขบ" ....ครับ...

2.ครู ป.1 ครับ....ที่ครูนำภาพมาฝาก...ที่พรานกระต่ายเรียก "ตะขบป่า" ครับ......ลูกใหญ่...สีดำ ๆ จะมีรสหวาน....หายากแล้วหละครับ....วันก่อนไปตลาดสด..เจอแม่ค้านำมาขาย....ซื้อมา "ชิม" เรียบร้อยและหละครับ 555

3.คุณวอญ่า...ครับ...."ลูกขรบป่า" แบบที่ครู ป. 1 นำมาฝาก.....อร่อยกว่า "ตะขบบ้าน" รสชาติแตกต่าง...กัน..แล้วแต่คนชอบ....น่ะครับ....

4.คุณต้นกล้าครับ..ได้ข้อมูลมาว่า "ต้นตะขบ" ปลูกเป็นไม้เลี้ยง "ต้นผักหวานป่า" คงเป็นเพราะโตเร็ว..และให้ร่มเงา.." ดีน่ะครับ...

5.คุณนงนาทครับ...ข้อมูลของ "ต้นมะเดื่อ" ต้องขอศึกษา..ก่อน...แล้วจะนำมาฝากนะครับ....ออกพื้นที่แล้วหากเจอ "ต้นมะเดื่อ" จะเก็บภาพมาฝากครับ...แต่มีคนเขาบอกว่า "ลูกมะเดื่ออ่อน" นำมาจิ้ม "ตำเมี่ยง" อร่อยดีนะครับ...

6.อ.โสภณครับ..แล้วที่ไร่ของอาจารย์มี "ตะขบบ้าน" หรือ "ตะขบป่า" บ้างรึเปล่าครับ??

7.คุณมดตะนอย.....มาชม/ให้ข้อมูล ดี ดี เข้าไปอ่านแล้ว.....ขอบคุณมากเน้อ....

8.ครูชุติมา...ครับ.."หวานแบบเอียน ๆ" ใช่ ๆ ๆ  ครับ..หลายคนไม่ชอบเพราะเหตุนี้....แต่บางคนก็บอกว่า "หวานแบบเอียน ๆ" นี่แหละ "เสน่ห์"ของ "ตะขบ" ครับ.....

9.ศิษย์พี่หนูรีครับ.... "ลูกขรบ" ทางใต้มีเยอะรึเปล่าครับ....จำได้ว่าสมัยก่อนชอบ "ปีน" เก็ฐ "ตะขบ" มาใส่ปาก...หวาน...ดี...จริง ๆ ครับ....

10.คุณยาย....ครับ....ลูกตะขบ เป็น "ผลไม้ประจำตัวคุณยาย" จริง ๆ หรือครับ..ผมเก็บตะขบไปฝากอาจารย์ขจิตแล้วหละครับ...

11.อาจารย์บุษยมาศ ครับ....."ตะขบขี้นก" น่าจะมีที่มา..จาก "นก" แน่ ๆ 5555

-ขอบคุณทุกท่านที่มาเยี่ยม/ชิม "ลูกตะขบ" นะครับ.....

-พรุ่งนี้ผมจะมุ่งหน้าไป "จังหวัดพิจิตร" หวังว่า...คงจะมี อะไร ดี ดี มาฝากทุกท่านนะครับ.....

-วันนี้ "วันสุข" เก็บภาพ "ดอยบุญจันทร์" มาฝากครับ....

ฮู้แล้ว...ตะขบป่าบ้านเฮาฮ้อง "บ่ะเกว๋น" แม่นแล้ว! แน่นอน

ตะขบตี้อยู่ในบันทึกนี้ก็คือ บะต๋ากบ นกชอบกิ๋นแต้ๆ ฮ้องจิ๊บๆๆๆอยู่วันค่ำ

                  มีความสุขตี้ได้กิ๋นแก๋งแคผฝีมือปี้สาวแล้วเนาะ  

                ลำแต้ๆกา  อยาก  ไค่จิมตวยสักกำเนาะเจ้า..อิ..อิ..   

สวัสดีค่ะ

ตะขบ  เคยเห็น ๒ แบบคือตะขบลูกเล็ก  ที่เขาปลูกเป็นร่มเงา  เด็ก ๆ ชอบค่ะ  อีกแบบเป็นสีม่วง มีรสฝาดแกมหวานเล็กน้อย

ตอนเด็กๆปีนต้นตะขบแบบครูป1กินมาแล้วค่ะใบมันจะเงาๆและมีหนามแหลมเฟี้ยว ลูกมันมีรสชาติอร่อยกว่าตะขบที่พบเห็นในปัจจุบันมาก แต่จะมีน้อยลูก ยังไม่ทันแดงก็จับจองเป็นเจ้าของแล้วอร่อยสุดยอด ให้หลับตานึกลึกๆถึงรสชาติจำได้แค่ลางๆจำได้ว่ามันขึ้นอยู่ข้างต้นตากล่ำตาดำตาแดง กับมะกล่ำสีชมพูอ่อนเม็ดจะใหญ่กว่าตากล่ดำแดง สำเนียงป่าต้นเตี้ยๆใบเรียวยาวคล้ายเข็มสีขาวแบบโบราณนั้นก็อร่อย อีกทั้งผลชำมะเลียงสีดำกลิ่นพิลึกกๆอันนี้ไม่ค่อยชอบ แต่ชอบกินผลหนาวเยี่ยวหรือเรียกเล็บเหยี่ยวสีดำๆเล็กๆมีใบและหนาวคล้ายต้นพุทรามากกว่ามันจะเปนี้ยวๆฝาดๆพอออกเดินเข้าป่าต้องพกถุงคนละใบใส่เกลือไปด้วยเจอเจ้าลูกเล้บเหยี่ยวเมื่อไรรูดๆๆๆใส่ถุงแล้วขยำเกลือกินไปเรื่อยทางมือก้ถือไม้แป้วไว้สอยมะขามเทศฝาดมาให้แม่ทำขนมขี้หนูมะขามเทศฝาดอร่อยมาก ขี้หนูลูกตาลก็อร่อย ขี้หนูดอกโสนก้เยี่ยม ว่าไปก้มีเรื่องเล่าวัยเด็กอีกเพียบเลยค่ะ556

..น่าจะส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกตะขบมากๆกันนะเจ้าคะหัวไร่ปลายนา....โตเร็วดีด้วย..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท