หัวโจกของ LLEN


LLEN : Local Learning Enrichment Network เป็นสิ่งที่ดียิ่งและมีโอกาสปฏิรูปการเรียนในโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรมให้เป็นความมจริง

LLEN จะประสบความสำเร็จนั้นจะต้องมี "หัวโจก" สำหรับภาษาเด็กแก๊ง จะต้องมี "คีย์แมน" สำหรับภาษานักบริหาร หรือจะต้องมี "คุณอำนวย" ในภาษานักจัดการความรู้...

หัวโจกนี้จะต้องเป็นคน "บ้า" และ "บ้ามาก ๆ"

คนบ้าคือคนที่จะต้องทำอะไรไม่เหมือนคนอื่น ไม่ติดระบบ ไม่ทำงานเป็นเวลา บ้าที่จะใช้คุณค่าของตนเองสร้างคุณค่าของส่วนรวม

หัวโจกจะต้องทุ่มเท เสียสละ อุทิศชีวิตจิตใจให้กับ LLEN ได้ ดังนั้น คนที่ไม่มีครอบครัว (ไม่ได้แต่งงาน และไม่มีลูก) จึงเหมาะสมที่สุด ต้องว่ากันถึงแบบนั้น

การทำงานย๊อก ๆ แย๊ก ๆ ในเวลาราชการ หรือมีขีดจำกัดในการทำงาน สำหรับ LLEN นั้นไม่ต้องการขีดจำกัดแบบนั้น

โซ่ที่ผูกหย่อน ๆ แต่แก้ได้ยากคือบุตรและภรรยานั้น จะตัดรอนประสิทธิภาพการทำงานของ "หัวโจก" ลงครึ่งหนึ่ง ทั้งประสิทธิภาพทางกายและประสิทธิภาพทางใจ

การประสานเครือข่ายการศึกษาระดับจังหวัด หัวโจกจะต้องทุ่มเทกายใจในการติดต่อสื่อสาร การเดินทาง การคิด การพูดลงไปให้กับเครือข่ายนั้น ๆ

ถ้าพูดถึงเรื่องปาก เรื่องท้อง ส่วนกลางจักต้องมีงบประมาณ (รายได้) ให้เขาแบบ "บ้า ๆ" เลยทีเดียว

พูดง่าย ๆ คือ นอกจากสอนหนังสือตามภาระงานปกติในมหาวิทยาลัยแล้ว คุณไม่ต้องไปทำงานอื่นใดนอกจา LLEN คุณก็มีชีวิตอยู่ได้ มีเงินจับจ่ายซื้อของสนองกิเลส ตัณหา และกามราคะได้ตามประสาคนโลก ๆ แบบ "สบาย ๆ"

LLEN ไม่ต้องการคนวิเศษ คือดีเลิศประเสริฐศรี ขอเพียงไม่มีภาระผูกพันธ์ทางครอบครัวอะไรมากมายนัก เพื่อที่จะทุ่มเทกำลังกายกำลังใจให้กับ LLEN อย่างสุดจิตสุดใจเท่านั้นเป็นดี

บ้านเมืองเราขาดหัวใจก หัวโจกแบบ "บ้า ๆ" บ้างาน ทุ่มเทให้งานแบบสุดจิตสุดใจ

ถ้าเราสามารถหาคนบ้า ๆ แบบนี้ได้เครือข่ายการปฏิบัติการเรียนรู้ในโรงเรียนไทยจึงจะได้ผล...

 

ปภังกร วงศ์ชิดวรรณ

๒ ธันวาคม ๒๕๕๓

ที่มาจากบันทึก LLEN กับการปฏิรูปการเรียนรู้ในโรงเรียน ของ Prof. Vicharn Panich

 

คำสำคัญ (Tags): #llen#thaillen#คุณอำนวย
หมายเลขบันทึก: 411601เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2010 15:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

หายไปนานเลยครับ เพิ่งไปเขียนความคิดเห็นต่อไว้ สบายดีนะครับ

สบาย ๆ ครับท่านอาจารย์ ดร.ขจิต ฝอยทอง

ขอโอกาสต่อยอดความคิดเห็นของท่าน ดร.ขจิต ฝอยทอง ซึ่งเป็นข้อมูลที่ทรงคุณค่ายิ่ง ดังนี้

สำหรับคุณเอื้อ ถ้าอธิการบดีหรือมหาวิทยาลัย "เอื้อ" ประโยชน์ให้กับอาจารย์ที่เป็นหัวโจกลงไปทำหน้าที่ "ข้อต่อ" หรือตัวเชื่อมประสานกับโรงเรียนต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่น่าจะเป็นการดีที่สุด

การเป็นคุณเอื้อนั้น คือเปิดโอกาสในการทำงาน ลดภาระงานในมหาวิทยาลัยของหัวโจกลง ให้การทำงาน LLEN คิดเป็นภาระงานได้อย่างเต็มที่

นอกจากนั้น การเอื้อ M ต่าง ๆ คือ Man ควรจะมีผู้ช่วยสักหนึ่งคน อาจจะเป็นอาจารย์อายุน้อย ๆ หรือเจ้าหน้าที่ที่ลุยงานกันได้เต็มที่แบบไปไหนไปกัน ค่ำไหนนอนนั่น ลงไปทำงานอย่างจริง ๆ จัง ๆ

Money งบประมาณที่เป็นน้ำมันหล่อลื่น ต้องคล่อง ยืดหยุ่น ซึ่งถ้าไว้ใจกันจริง ๆ ก็ให้ฝ่ายการเงินของมหาวิทยาลัยเข้ามาช่วยดูงบที่คล่องตัวที่สุด

ถ้าใช้รถส่วนตัวจะคล่องกว่าใช้รถของสถาบัน แต่ฝ่ายการเงินของมหาวิทยาลัยต้องเปิดช่องอย่างถูกกฎหมายในเรื่องของค่าน้ำมัน เบี้ยเลี้ยง อาหาร และที่พักให้กับคนที่ลงไปทำงาน

เรื่องพาหนะ ซึ่งคาบเกี่ยวกับ M ตัวที่ 3 คือ Material เป็นหัวใจหลักของการทำงาน การใช้รถส่วนตัวสะดวก แต่คุณเอื้อก็ต้องรับผิดชอบรถส่วนตัวให้เหมือนกับรถส่วนรวม มีค่าบำรุงรักษาให้บ้าง ค่าเสื่อมสภาพบ้าง เพราะเขาเสียสละทรัพย์สินส่วนตัวไปทำงานเพื่อส่วนรวม

เรื่องงบประมาณที่ Fix ของหน่วยงานราชการนี่เป็นอุปสรรคสำคัญในการทำงาน ไม่ลื่นไหล ไม่คล่องตัว ผลสัมฤทธิ์ก็ต่ำตามไปด้วย

สำหรับ M ตัวสุดท้ายคือ Management นั้น ข้าพเจ้ามีความคิดเห็นว่า ควรจะใช้หัวใจของ R2R ลงไปทำงาน เพื่อสกัดภาพการทำงานจริงของโรงเรียนต่าง ๆ ออกมาเป็นภาพแรก

ภาพของจริงจะทำให้เกิดความเหนียวแน่นของเครือข่ายอย่างมั่นคง

หัวโจกทำหน้าที่เสนอภาพ R2R ของเครือข่าย ซึ่งในโรงเรียนอาจจะใช้คำว่า "การวิจัยในชั้นเรียน" ชูขึ้นมา

ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งสองทาง คือ เกิดประโยชน์กับ LLEN และเกิดประโยชน์กับโรงเรียนด้วยคือ ผู้อำนวยการโรงเรียนจะได้ผลงานทางด้านการวิจัยในชั้นเรียนชูขึ้นเมื่อมีการประเมินคุณภาพ เมื่อผู้อำนวยการเห็นผลประโยชน์ที่เขาจะได้ เขาจะเปิดทางให้เราทำงานสะดวก

สำหรับสิ่งที่ไม่ควรมีหรือมีให้น้อยที่สุดสำหรับความคิดเห็นของข้าพเจ้า (ซึ่งอาจจะผิด) นั้น คือ การอบรมเชิงปฏิบัติการหรือการสัมมนาต่าง ๆ ของเครือข่าย หัวโจกไม่ควรเป็นตัวตั้งตัวตีในการจัด ซึ่งจะนำมาถึงเรื่องการเบิกจ่ายของงบประมาณส่วนกลาง

เพราะจะทำให้เกิดวัฒนธรรมว่า เครือข่าย LLEN จะทำอะไรก็ต้องให้หัวโจกเข้าไปจัดการ

หัวโจกควรจะมีหน้าที่กระตุ้นเล็ก ๆ อยู่เบื้องหลังให้แต่ละโรงเรียนจัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยตนเอง

เมื่อเห็นใครคุยเรื่องอะไรกันตามงานใด ๆ หัวโจกจะต้องว่องไวลงไปแอบดู หรือทำการสังเกตุแบบมีส่วนร่วม อันนี้หัวโจกน่าจะทำเป็นอยู่แล้ว เพราะอาจารย์ในมหาวิทยาลัยต้องมีความรู้พื้นฐานเรื่องการวิจัยเป็นธรรมดา

อาทิเช่น การติดตามผลของครูในเรื่องของการนำสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ไปสอนในชั้นเรียนหรือไม่นั้น เป็นหน้าที่ของหัวโจกที่จะต้องค้นให้พบ เมื่อค้นพบแล้วก็ต้องนำเสนอสิ่งที่ดี ๆ เหล่านั้นให้โรงเรียนในเครือข่ายเห็นภาพ

เมื่อโรงเรียนอื่นเห็นภาพแล้ว เขาอยากจะมีภาพบ้าง เขาก็จะบอกเราเอง จากนั้นเราก็มีหน้าที่นำเสนอภาพต่าง ๆ เหล่านั้นให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

Management หรือเรื่องการบริหารจัดการต้องว่องไว อย่าให้เฉิ่ม

คุณเอื้อต้องเอื้อช่องให้คุณอำนวยแบบจริง ๆ จัง ๆ

ดังนั้นจึงย้อนกลับไปว่า ถ้าหัวโจกเป็นคนที่ยังไม่มีครอบครัว ไม่มีพันธะจะดีมาก เพราะการทำงานคล่องตัว ไม่ต้องห่วงเรื่องทางบ้าน ทางครัว จะไปไหนก็ไปได้ทันที ไม่ต้องโทรรายงานใคร แต่อย่าลืมว่าจะต้องสร้างผลงานให้คุณเอื้อ (อธิการบดี) พึงพอใจด้วย เพราะมิฉะนั้นท่านอาจจะไม่เอื้อให้เราอีก...

  • อยากให้คนบ้าเต็มบ้านเต็มเมืองนะคะท่าน  ชาติไทยคงเจริญ
  • แต่สงสารจิตแพทย์..............................

ปล.สงสัยท่านอาจารย์ขจิตจะเข้าข่ายมั๊ยคะ  เห็นกิจกรรมมีดีดีแยะไปหมด....

เชียร์ค่ะ

ขอบพระคุณบทความดีดี

ที่จริงแล้วข้าพเจ้าต้องการที่จะยกย่องท่านอาจารย์ ดร.ขจิต ฝอยทอง 

ว่าเป็นบุคคลที่มีความเสียสละและเป็นบุคคลสำคัญอย่างยิ่งที่ขับเคลื่อนสังคม gotoknow แห่งนี้

นับตั้งแต่ที่ข้าพเจ้าเข้ามาสัมผัส Gotoknow ครั้งแรก ก็มีท่าน อ.ดร. ขจิต ฝอยทอง นี่เองที่ได้เข้ามาทักทายกับข้าพเจ้าเป็นคนแรก องค์กรแห่งความรู้ (Knowledge Organization)

ถ้าหากจะใช้ภาษานักจัดการความรู้ ท่าน อ.ขจิต ก็เปรียบเสมือนคุณอำนวยคนสำคัญของสังคมนี้

แต่ถ้าหากจะใช้ภาษาเด็กแก๊งค์ อ.ขจิต ก็เป็นหัวโจกใหญ่ทีเดียว ที่ได้ขับเคี่ยวสมาชิกให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

งานที่ท่าน อ.ขจิตทำ เป็นงานที่เสียสละ

ในหลาย ๆ ครั้งที่สมาชิกมีงานทั้งงานราษฎร์และงานหลวง ท่าน อ.ขจิตจะเสียสละเดินทางไปร่วมด้วยเสมอ

ถ้าหากวันนี้ใครนึกถึงความสำเร็จ Gotoknow ก็ควรจะนึกถึงผู้ที่อยู่เบื้องหลังแห่งความสำเร็จนั้น อ.ดร.ขจิต ฝอยทอง เป็นผู้ที่คอยสร้างพลังในการแลกเปลี่ยนเชิงสร้างสรรค์ให้สังคมไทย...  

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท