ยักษ์ และ เทวดา ในการศึกษา


ยกระดับไปพร้อมกัน

เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีได้กล่าวประโยค
ที่ืถือเป็นวรรคทองเกี่ยวกับการศึกษาว่า

การจัดการศึกษาสำหรับหมู่คณะ ถึงจะจัดให้
สูงสุดเพียงใด ก็ไม่ใช่กำลังอันแท้จริงของชาติ
บราวนิ่ง กวีผู้มีชื่อเสียงได้กล่าวไว้ว่า อย่าเพียร
สร้างแต่ยักษ์และเทวดาเลย จงพยายามยกคน
ทั้งชาติให้สูงขึ้นพร้อมกันเถิด

 

การศึกษาสร้างยักษ์อย่างไร ยักษ์ก็คือชนชั้นใช้แรงงาน
ชนชั้นใช้แรงงาน ก็คือคนที่ผ่านระบบการศึกษาที่อยู่
ในโค้งปกติด้านท้าย การศึกษาเตรียมเขาให้เป็นแรงงาน

การศึกษาสร้างเทวดาอย่างไร เทวดาคือชนชั้นใช้สมอง
พวกปัญญาชน ก็คือคนที่่ผ่านระบบการศึกษาที่อยู่
ในโค้งปกติด้านหน้า การศึกษาเตรียมเขาให้ทำงาน
เป็นหัวหน้าคน 

เทวดาและยักษ์ ถูกแบ่งแยกโดยระบบการศึกษาที่มี
ระบบวัดโดยอัตโนมัติ แบ่งแยกผู้ชนะผู้แพ้ โดยไม่มี
อะไรเป็นกลาง ๆ เลย ไม่สามารถยกระดับคนทั้งชาติ
ให้สูงขึ้นมาพร้อมกัน

การกลายเป็นยักษ์และเทวดา นั้นไม่ได้เกิดขึ้นลอย ๆ
เกิดจากเกณฑ์บางอย่าง เกิดจากการประเมินเืพื่อตอบ
สนองต่อระบบทุนนิยมที่ต้องการแบ่งแยกงาน โดยการจัดการศึกษา
แบบทุนนิยมนั้นไม่เน้นความหลากหลายต้องการเพียง
แรงงานไม่มีราคา กับแรงงานมีราคา สำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมเท่านั้น
ดังนั้นจึงไม่สนใจที่จะผลิต คนธรรพ์ ซึ่งใช้อารมณ์ในการสร้างงานที่วิจิตร
ไม่สนใจที่ผลิตพระอินทร์เพื่อที่จะปกครอง ไม่สนใจพระอรหันต์ที่ต้องการ
โปรดชาวโลก  ไม่สนใจเทวดาที่ชอบเล่นกีฬา สนใจแต่เพียง
แรงงานดี  และผู้ใช้แรงงานเท่านั้น

สุดท้ายนี้ผมชอบใจโรงเรียนของคุณราชิต สุพร ที่ประกาศว่า
จะไม่ให้เด็กล้มเหลวแม้แต่คนเดียว ซึ่งผมก็เอาใจช่วยอยู่
ที่จะให้รับลูกของยักษ์ไปด้วยจะได้ยกระดับไปพร้อมกัน 



หมายเลขบันทึก: 411512เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2010 06:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

การเกิดขึ้นของสถาบันการศึกษาเช่น "โรงเรียนปํญญาภิวัฒน์ เทคโนธุรกิจ" หรือ "สถาบันเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์" ในเครือของซีพีอาจเป็นตัวชี้วัดที่ทำให้พวกเรามองเห็นแนวคิดขององค์กรธุรกิจปัจจุบันว่าพวกเขาขาดความเชื่อมั่นในผลผลิตจากกระบวนการจัดการศึกษาของภาครัฐได้ค่อนข้างชัดเจน สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าระบบการศึกษาที่เป็นอยู่ไม่สามารถสร้างผู้เรียนที่มีพร้อมทั้งความเป็นมนุษย์ ทักษะ และความรู้ความสามารถอย่างที่องค์กรธุรกิจเหล่านั้นต้องการ เมื่อพวกเขามีขีดความสามารถเพียงพอ และเมื่อกฎหมายเปิดโอกาส จึงได้เข้ามาสอดแทรกจัดการศึกษาให้กับว่าที่บุคลากรที่จะเป็นทรัพยากรมนุษย์ของพวกเขาเสียเองจะดีกว่า และเชื่อได้ว่าในอนาคต สถาบันการศึกษารูปแบบนี้จะมีแพร่หลายมากขึ้นเรื่อยๆ

ไม่เสมอไปนะครับว่าองค์กรธุรกิจ อยากจะให้ระบบการศึกษาผลิตแต่ยักษ์กับเทวดา เพื่อที่ตนจะได้กอบโกยหาประโยชน์จากบุคลากรเหล่านี้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย พวกเขาอาจจะอยากได้เพียงมนุษย์ธรรมดาที่มีชีวิตจิตใจ สามารถอยู่ร่วมในสังคมวิชาชีพนั้นๆได้อย่างมีความสุขแค่นั้นก็เป็นได้

นักการศึกษาของเราต่างหากที่กำหนดพิมพ์เขียวให้กับการจัดการศึกษา และขณะนี้มันก็ออกมาเป็นอย่างที่พวกเราเห็นกันอยู่

คงต้องถามว่า..ก่อนที่จะออกมาเป็นพิมพ์เขียว พวกเขาเคยเอ่ยปากถามใครบ้างหรือเปล่า ?

อ่านบันทึกของท่านได้ข้อคิดที่ดีทุกครั้ง

แล้วเราจะเดินไปทางไหนกันล่ะคะ...เมื่อเราเป็นผู้ตาม

 

สวัสดียามเช้าขอรับ คุณครู ป.1

การตั้งคำถามว่า เราจะเดินไปทางไหนกันละคะ เมื่อเราเป็นผู้ตาม

นั่นแหละครับ ที่จะต้องคำถามและหาคำตอบ

เพียงแค่ตั้งคำถาม และแสวงหาคำตอบที่แตกต่าง

และนำเสนอในวงกว้าง ๆ มากขึ้น ๆ โดยเฉพาะคนที่เป็นผู้ตาม

ในระดับเล็กที่สุดนี่สำคัญที่สุด นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

ได้นำเสนอให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยคนกลุ่มเล็ก ๆ แค่

โดยกระุตุ้นให้ครูแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ทางการเรียนการสอน

ที่เราคิดเอง และได้ผล ที่แตกต่างจากวิชาการกระแสหลัก

การนำเสนอและแลกเปลี่ยนความรู้ชนิดนี้ก็จะเปลี่ยนแปลง

จากภายใน และเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง

  • ชอบใจทั้งเนื้อหาในบันทึก
  • และความคิดเห็นของ
    The Outsider  ค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท