ปัญหาและวิธีแก้ไข เครื่องยนต์รถบรรทุกดัดแปลงเพื่อใช้ก๊าซธรรมชาติ


การแก้ไขปัญหาของเครื่องยนต์ดีเซลดัดแปลงใช้NGV

การแก้ไขปัญหาของเครื่องยนต์ดีเซลดัดแปลงใช้NGV

เนื่องจากอุตสาหกรรมการขนส่งโดยรถบรรทุกในประเทศมีสัดส่วนกว่า80%ของการขนส่งทั้งประเทศ ดังนั้นเราจะมองข้ามการขนส่งโดยรถบรรทุกไปไม่ได้เลย ปัจจุบันน้ำมันดีเซลมีราคาแพงอย่างมากทำให้ผู้ประกอบการต้องหาเชื้อเพลิงทดแทนมาใช้เพื่อลดต้นทุน นั้นก็คือ NGV แต่ก็เกิดปัญหา เครื่องยนต์พังบ่อย จากการได้ไปศึกษาด้านNGVมา จึงอยากจะนำความรู้มาบอกต่อ คนที่ทำธุรกิจขนส่งโดยรถบรรทุกจะสามารถนำไปปรับใช้เพื่อลดต้นทุนการซ่อมบำรุงรถติดก๊าซกันนะครับ

อธิบายปัญหาไปแต่ละอย่างเลยนะครับ

1.เครื่องไม่มีกำลัง เนื่องจากกำลังอัดที่น้อยลง และ มีอุปกรณ์ต่างๆมาขว้างการเคลื่อนที่ของอากาศมาขึ้นเช่น Mixer ลิ้นเร่ง เป็นต้น

แก้ไข

   1)       ใช้เทอร์โบ เร่งความเร็วของอากาศให้เข้าไปในห้องเผาไหม้มากขึ้น แต่ต้องเจอกับปัญหาความร้อน จนเทอร์โบพัง แก้ไขโดยการเพิ่มชุดปล่อยไอดีที่อัดเกินออกไปบ้าง แล้ว ติด Intercoolerก็ช่วยได้

ทำการเพิ่มชุด Waste gate control system เพื่อปล่อยไอเสียออกไปบ้าง เทอร์โบจะได้ไม่พังไวจนเกินไป ดังภาพด้านล่าง

Large_11

Waste gate control system

   2)       ลดอุณหภูมิอากาศขาเข้าโดยใช้ Inter Cooler

   3)       เปลี่ยนเครื่องขนาดใหญ่แทน เพราะว่า เราจำเป็นต้องคว้านหัวลูกสูบออกทำให้กำลังอัดลดลง กำลังเครื่องก็ลดลงตาไปประมาณ20% แก้ได้ก็คือซื้อเครื่องใหม่ให้มีกำลังมากขึ้น อันนี้แนะนำว่า ถ้าเครื่องเก่าของท่านมีแรงม้าต่ำกว่า200 แล้วจำเป็นขนส่งวัสดุหนักๆ ก็ควรจะซื้อใหม่สัก250ขึ้นจะช่วยได้มาก

2.ลูกสูบติด ลูกสูบละลาย เกิดจาก การที่อุณหภูมิไอเสียสูงเกินไป ทำให้ลูกสูบขยายตัวจนเสียดสีกับปลอกสูบ และเกิดปัญหาดังกล่าว

   1)       ตั้งจังหวะจุดระเบิดให้ถูกต้อง

NGVนั้นมีค่าออกเทน สูงถึง 120 หมายความว่า จะติดไฟได้ยากกว่า เบนซิน 95 91  ดังนั้น เราจะต้องตั้งไฟให้แก่ขึ้นอีกประมาณ 5-10 องศาก่อนศูนย์ตายบน เพื่อให้หัวเทียนมีเวลาจุดประกายไฟก่อนลูกสูบจะเคลื่อนถึงจุดสูงสุด จะช่วยการเผาไหม้ในห้องเครื่องสมบูรณ์ ไอเสียไม่ร้อน

   2)       ตั้งความเร็วรอบให้ไม่เกินความเร็วรอบดีเซลเดิม

ช่างหลายคนมักแก้ปัญหาโดยการปรับความเร็วรอบให้สูงขึ้น เพื่อให้รถแรงๆ เดินเบาไม่ดับ แต่การทำแบบนั้นเป็นสิ่งที่ผิด เครื่องยนต์ถูกออกแบบมาเพื่อรับกับความเร็วรอบปกติ เมื่อปรับให้มากขึ้นก็ส่งผลต่อ ลูกสูบ โดยตรง

   3)       เครื่องน็อกอุณหภูมิจะสูง

จุดระเบิดซ้อน   เพราะว่า เครื่องมีอัตราส่วนอัดสูงเกินไป ไม่เหมาะสมกับเชื้อเพลิงที่ใช้ ทำให้มีการจุดระเบิดซ้อนกับการจุดระเบิดที่หัวเทียน

แก้ไข ลดอัตราส่วนอัดลง เช่น คว้านหัวลูกสูบ  รองประเก็นให้สูงขึ้น ตัด-คว้านก้านสูบ

การชิงจุดระเบิด  มีเชื้อไฟค้างอยู่ในห้องเผาไหม้ ทำให้มีการระเบิดก่อนหัวเทียนจะทำการจุดระเบิด

การชิงจุดระเบิด เกิดจาก มีน้ำมันเครื่องรั่วเข้าไปในห้องเผาไหม้ ดูง่ายๆคือ มีตะกันติดบนหัวลูก สาเหตุที่2 คือ หัวเทียนระบายความร้อนไม่ดีพอหรือที่เรียกว่า มีจุดร้อนแดงที่หัวเทียน ทำให้หลังจากจุดระเบิดไปแล้วยังมีความร้อนอยู่มากพอที่จะทำให้เกิดการจุด ระเบิดซ้ำอีกได้

แก้ไข ทำอัตราส่วนอัดให้ต่ำลง ใช้หัวเทียนเย็น จะช่วยได้มาก

3.ตะกรันติดหัวลูกสูบ

    1)       เครื่องหลวม

    2)       ยางกันน้ำมันหลอดวาล์วรั่ว

    3)       ฝุ่นละอองผ่านกรองอากาศเข้าไป

4.ฝาสูบแตกร้าว

   1)       ลบคมส่วนที่อยู่ในห้องเผาไหม้

   2)       เกิดจากแรงกดของปลอกหัวเทียน

   3)       อุณหภูมิฝาสูบสูงเกินไป   แก้โดยการ เพิ่มขนาดหม้อน้ำให้ใหญ่ขึ้น เพิ่มขนาดของพัดลม

5.เครื่องร้อน (น้ำเดือด)

   1)       ท่อยางน้ำที่ต่อเข้าเรกกูเรเตอร์แตก

   2)       วาล์วน้ำเสีย <<< วาล์วน้ำ ไม่ควรถอดออก จะทำให้เครื่องยนต์เกินไป อุณหภูมิจะควบคุมไม่ได้ เครื่องยนต์จะทำงานได้ไม่ราบรื่น

   3)       จังหวะจุดระเบิดช้าเกินไป (ไฟอ่อน)

   4)       ไม่ขยายหม้อน้ำ

   5)       สภาพโกร่งพัดลมชำรุด

6. หัวเทียนสึกกร่อนเร็ว

   1)       ส่วนผสมบางเกินไป

   2)       เขี้ยวหัวเทียนห่าง

   3)       หัวเทียนร้อน

   4)       เครื่องน็อก

   5)       ใช้หัวเทียนทองแดง

สิ่งที่ช่างไม่ค่อยเปลี่ยนให้เราเมื่อจะดัดแปลงมาเป็นรถก๊าซ

มีหลายคนที่ไม่ให้ความสำคัญกับอุปกรณ์ที่จำเป็นหลายอย่าง เพราะ ขี้เหนียว ไม่เป็นไรหรอก ไม่เสียหายหรอก ซึ่งความคิดนี้ส่งผลให้เครื่องมีปัญหามามากมาย แล้วเจ้าของมาโทษเครื่องร้อน โทษNGV โทษไปทั่ว แต่ไม่โทษตัวเอง มีดูกันดีกว่าว่า การดัดแปลงเครื่องNGVที่สำคัญต้องทำอย่างไรบ้าง

1.       ต้องใช้หัวเทียนที่มีคุณภาพ เช่น แพลทตินั่ม หรือ อิริเดียมผสมโรเดียม จะแพงหน่อย ทนความร้อนได้ดี แนะนำให้ใช้หัวเทียนเย็น

2.       การคว้านลูกสูบ เราคว้านลูกสูบเพื่อลดอัตราส่วนอัดให้น้อย เครื่องจะได้ไม่น็อก แต่เครื่องยนต์แต่ละเครื่องมีอัตราส่วนอัดที่ต่างกัน เช่น เครื่อง 6D16 มี6สูบ มีปริมาตรกระบอกสูบ 7545 CC มีอัตราส่วนอัด 17.5:1

 

ถ้าคุณต้องการติดก๊าซธรรมชาติต้องลดอัตราส่วนอัดลง ให้เหลือ ประมาณ 11.5 : 1

จากสมการ                        CR =( Vd / Vc )  + 1

                                      CR = อัตราส่วนอัด

                                      Vd = ปริมาตรกระบอกสูบ

                                      Vc = ปริมาตรบนหัวลูกสูบ

 

Vd = 7,545/6 = 1257.5 CC

Vc = 1257.5/( 11.5 - 1) = 119.7619 CC

ดังนั้น เราต้องคว้านลูกสูบลงไปทั้งหมดให้มีปริมาณ 119.7619 CC

 

3.       ต้องเปลี่ยนบ่าวาล์วใหม่ให้มีคุณสมบัติทนความร้อนได้สูงขึ้น เนื่องจาก ความร้อนไอเสียNGVจะสูงกว่าดีเซลมาก ส่งผลให้บ่าวาล์วเกิดปัญหาได้ถ้าไม่เปลี่ยน

4.       การติดลิ้นเร่ง ต้องใกล้กับเครื่องยนต์ให้มากที่สุด เพื่อความแม่นยำในการควบคุมการไกลของอากาศและก๊าซ

5.       ต้องเปลี่ยนซีลกันน้ำมันก้านวาล์ว หรือ ซีลหมวกวาล์ว โดยซีลกันน้ามันก้านวาล์วไอดีของเครื่องยนต์ก๊าซต้องกันน้ามันหล่อลื่นได้ดีกว่าของเครื่องยนต์ดีเซล เนื่องจากเครื่องยนต์ก๊าซมีลิ้นเร่ง ท้าให้แรงดูดในจังหวะดูดสูงกว่าเครื่องยนต์ดีเซล หากใช้ซีลกันน้ามันรุ่นเดียวกันกับของเครื่องยนต์ดีเซลจะท้าให้มีน้ามันหล่อลื่นไหลผ่านก้านวาล์วไอดีเข้าไปในห้องเผาไหม้มากขึ้นกว่าเมื่อเป็นเครื่องยนต์ดีเซล ก่อให้เกิดมลพิษไอเสียสูงและสิ้นเปลืองน้ามันหล่อลื่นในอัตราสูงขึ้น

 

จากที่ได้รู้สาเหตุกันไปแล้ว เรามาทดลองกันดีกว่านะครับว่า การตั้งไฟให้แก่หรือ อ่อน จะส่งผลต่อเครื่องNGVอย่างไรบ้าง

Thu 2, Dec 2010 04:49:46

ใช้เครื่องไทมิ่งไลท์วัดองศาการจุดระเบิด

Click on the image for full size

ภาพแสดงองศาการจุดระเบิด

การตั้งไฟ

องศาการจุดระเบิด

RPM

อุณหภูมิไอเสีย

เหตุการณ์ที่เกิด

แก่

20

800

210 C

มีเสียน็อก แต่แรงจะดี

อ่อน

-10

800

460 C

มีเสียงระเบิด ยิ่งเร่งระเบิด มีประกายไฟออกมาด้วย

ดังนั้น เราจำเป็นต้องตั้งไฟให้พอดีกับเครื่องยนต์ นอกจากจะช่วยเครื่องไม่น็อกแล้ว ยังช่วยประหยัดเชื้อเพลิงไปได้อีกด้วย

 

หวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย

ขอบคุณครับ

หมายเลขบันทึก: 411510เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2010 05:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้าจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

คุณอภิชิต หายไปนาน เลย คิดว่าสาระความรู้ จะหายไปซะแล้ว..

สบายดีนะครับ

สวัสดีครับ คุณ ต้นกล้า

ช่วงก่อนหน้านี้ ผมมีงานเข้ามาเยอะเลยไม่ค่อยว่าง

ตอนนี้ สบายดีครับ

ขอบคุณที่เข้าแวะ บันทึกของผมนะครับ

คุณอภิชิต ต้องลองประมาณการ ตัวเลข ความสูญเสียทางเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิต โดยรวมดู ก็จะเห็นค่าเสียโอกาส มากเกินกว่าที่ควรจะเป็น ครับ

อันนี้แล้วแต่มุมมองนะครับ มีผู้อ่านหลายท่าน

1.มองการทำนา เป็นภูมิปัญญา ทำยังไงก็ควรเป็นไปอย่างนั้น 

(แล้วคนรุ่นต่อไปจะรับช่วงต่อ ได้หรือไม่ มันมี Gap ของการสานต่ออยู่ ?) 

2.มองการทำนา เป็นเชิง Management + PDCA+Preventive solution

(ให้คนรุ่นต่อไป มารับช่วงต่อได้ แบบ Turn Key -ลด Gap ทั้งหมดลง) 

ซึ่งก็ต้องผสมผสานกันไป ตามความเหมาะสมครับ ที่ต้องมองถึง

ความเป็นไปของสังคมโลก สิ่งเเวดล้อม และอนาคตของลูกหลานด้วยครับ   

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท