โสภณ เปียสนิท
นาย โสภณ เปียสนิท ตึ๋ง เปียสนิท

จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม-4


ชีวิตนมีแต่ทุกข์ใช่หรือไม่ อันที่จริงก็ใช่ แต่พระสอนว่า เจ็บ ป่วยไข้............

จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม-4

โสภณ เปียสนิท

...........................    

 

                           สมานชื่นชมชายชราคนนี้ที่มีความรู้สมเป็นครูอาจารย์โดยแท้ แต่ไฉนคนอื่นจึงว่าลุงเป็นคนบ้างในวัดร้างไปได้ “ชีวิตคนมีแต่ทุกข์ใช่หรือไม่” “อันที่จริงก็ใช่ แต่พระสอนว่า เจ็บ ป่วยไข้ คนทั่วไปทุกข์กาย ทุกข์ใจ แต่ผู้เข้าถึงพระนิพพานทุกข์กาย แต่ไม่ทุกข์ใจอีก” ลุงลากเข้าเรื่องนิพพานจนได้ คนหนุ่มถามต่อว่า “เข้าใจสุขทุกข์แล้วดีอย่างไร” “ทั่วโลกพิสูจน์แล้วว่าผู้มีอายุยืนส่วนมาก เวลาดีใจก็ไม่ดีใจจนเกิน เวลาเสียใจก็ไม่เสียใจจนเกิน จิตใจปกติธรรมดาๆ ไม่สูงไม่ต่ำ”

 

                           “อ๋อ แสดงว่าจิตไม่หวั่นไหวทำให้อายุยืนได้” “จริงตามนั้น ดีใจแค่ยิ้มนิดๆ เสียใจแค่นิ่งๆ เสียใจให้คิดถึงวันอันแสนสุข ดีใจให้คิดถึงวันอันแสนเศร้า” “ลุงคิดว่าควรเอาแง่คิดเชิงบวกมาช่วย” “ถูกอีก ฟ้าหลังฝนย่อมสวยงาม ยิ่งมืดยิ่งใกล้สว่าง นี่เป็นแง่คิดเชิงบวก” “จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรมได้อย่างไร” “ได้....แต่ว่า ต้องทำตามขั้นตอน ชอบทำทานเสมอ มีความเคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นึกถึงความตายเป็นอารมณ์ มีศีลอย่างน้อย 5 ข้อเป็นปกติ มีจิตเป็นสมาธิตั้งมั่น”

 

                         “จิตเป็นสมาธิตั้งมั่นต้องทำอย่างไร” ชายหนุ่มถามเรื่อยๆ “ต้องรู้ประโยชน์ของสมาธิก่อน ทำใจให้รักในการทำสมาธิ มีความเพียร จิตจ่อกับการทำสมาธิ หมั่นใคร่ครวญพิจารณาเสมอ” “ทำอย่างนี้พอแล้วหรือยัง” “ยัง ต้องมีปัญญาเข้าใจความเป็นจริงของโลกตามหลักไตรลักษณ์ ดังที่กล่าวมา” “คราวนี้พอได้หรือยัง” “ยัง ต้องมีความรัก และพึงพอใจต่อพระนิพพานเนืองนิตย์” “น่าคิดนะครับลุง คนธรรมดาเข้าถึงพระนิพพานได้ในปัจจุบันหรือไม่” ลุงตอบยิ้มๆ แปลกใจที่เห็นชายหนุ่มอายุน้อยถามเรื่องนี้ “ได้..ถ้าสามารถละสังโยชน์ได้ 3 ประการ” “โถ ลุง อะไรกันครับ ผมไม่รู้จัก” “ก็การละการถือตัวตน เรียกว่า สักกายะทิฐิ การสงสัยในพระรัตนตรัย เรียกว่า วิจิกิจฉา และการถือศีลแบบยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นของขลัง เรียกว่า สีลพตปรามาส”

 

                             ใบไม้ไหวยวบเบื้องบนซู่ซ่าเกรียวกราวเหมือนลมพัดแรง แต่แปลกที่เหมือนพัดจากเบื้องบนลงข้างล่าง ชายหนุ่มนิ่งงัน ชายแก่พึมพำแผ่วเบา “รู้แล้วๆ เดี๋ยวไปพบที่กระท่อม” ว่าแล้วเร่งรีบหันมาทางหนุ่มน้อย “มีแขกมาพบ วันหน้าค่อยคุยกันใหม่” ชายหนุ่มนั่งมองลุงคว้าผ้าขาวม้าเดินไปที่กระท่อมอย่างเร็ว

 

หมายเลขบันทึก: 411304เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2010 20:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 04:14 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

มองหาภาพงามเพื่อบำรุงสายตามวลมิตร ที่ผ่านทางมาพักระหว่างการเดินทางยาวไกล ได้ภาพนี่ จึงนำมาจากที่นี่ มาฝาก

  • ขอแค่ยิ้มนิดๆนะคะครูวันนี้

เรียนคุณอุ้มบุญครับ

ขอเล่าให้ฟังระหว่างที่แขกอื่นยังไม่มาเยือน "สมัยหนึ่งผมยังร่อนเร่สัมมนาไปตามวาระ ครั้งจำได้ว่าพักห้องเดียวกับรุ่นพี่คนหนึ่ง คุยกันไปมา ท่านเล่าว่า เรื่องการปฏิบัติธรรมนั้น ท่านทำง่ายๆ คือ นับแต่สมัยหนุ่ม 20 กว่าปีเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ตื่นเช้าราว ตี4 เกือบทุกวัน เอาหมอนหนุนหัวให้สุงขึ้น กึ่งนั่งกึ่งนอน มองดูจิตตัวเองว่าคิดอะไร ไปเื่รื่อยๆ จนสว่าง ทุกวัน

ถามว่าเอาอย่างนี้ซิ อย่างนั้นซิ บอกไม่เอา ชอบแบบนี้ ทำมานานแล้ว ขอทำต่อไป ผมไม่รู้เรื่อง คิดว่าไม่ถูกต้อง กลับมาศึกษาอีกนานหลายปี จึงรู้ว่า อ๋อ แบบนี้เรียกว่า "จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน" ตามดูจิตตัวเอง ถูกต้องครับ ใช้ได้

เอวัง 

  • งั้นวิธี"จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน" นี้✿อุ้มบุญ✿ก็สามารถปฏิบัติได้ขณะปลูกผักซิค่ะ ครู

สบายเลยครับคุณอุ้มบุญ ว่าแต่ว่า "ทำอย่างไรให้จิตจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำ" ความทุกข์ของคนเกิดขึ้นเพราะ ความคิดที่วิ่งไปข้างหน้า "เอาวันข้างหน้ามาทุกข์" ความคิดวิ่งไปข้างหลัง "เอาสิ่งที่ผ่านมาแล้วมาทุกข์"

แสดงว่า "ทุกข์จริงๆ ลดลงได้อีก 2 ใน 3" หากฝึกจิตอยู่กับปัจจุบันบ่อยเข้า ย่อมลดทุกข์ได้มาก หากทำใจยอมรับทุกข์ว่าเป็นของคู่กับชีวิตให้กำหนดรู้ เท่านั้น ทุกข์ลดไปอีก โห ง่ายจังนะ การลดทุกข์ เสียดายที่โรงเรียนมหาวิทยาลัยไม่สอนกัน

จริงๆนะ 

  • ยังคงขอยิ้มนิดๆอีกรอบค่ะครู........
  • ใกล้ครบปีที่ดร.กะปุ๋มชวนศึกษาเรื่องนี้แต่ตัวเองไม่กระดิก...
  • แต่พอได้ติดตาม เรื่องราวดีดีที่ ครูชี้แนะด้วยความกรุณา...ทำให้เรื่องยากๆกับผู้ด้อยปัญญาที่หัวใจดื้อ...เข้าใจยิ่งขึ้น
  • ที่เหลือคือการปฏิบัติเช่นครูว่า....
  • ขอบพรคุณยิ่ง

วันนี้แขกมาเยือนน้อย มีโอกาสได้คุยนาน 

เรื่องศึกษาธรรม เป็นเรื่อง "การสั่งสมซึ่งบุญนำสุขมาให้" พระสอนอย่างนี้ ผมจำได้ดีว่า ตัวเองเดินทางมาอย่างไร ยากสสสสส์ เกือบ 30 ปี ได้นิดสสสส์ เดียวเอง คงต้องเดินกันอีกยาวไกล รู้แต่ว่าชีวิตมีความหมายดี

ชนะมาเท่าไร เหลืออีกเท่าไร พอรู้ แค่นั้นเอง 

หน้าใครนี่ ยิ้มนิดๆ แบบที่ว่าหรือ อิอิ

การทำจิตไม่ให้หวั่นไหวมากเกินหรือน้อยเกินนี่ทำได้ค่อนข้างยากมาก

เพราะต้องมีสมาธิจริงๆ  ตราบใดที่ยังทำอารมณ์ให้นิ่งไม่ได้..

มาชม

สะท้อนวิถีธรรมได้ดีจังนะครับผม...

Ico32เรียนครูไก่ครับ

เรื่องการพัฒนาใจของเราเป็นเรื่องยากและใช้เวลานาน คงต้องค่อยๆ เดินไปทีละนิด(ส์) 

-สวัสดีครับอาจารย์...

-สบายใจ.....ที่ได้แวะมาอ่านบันทึกดี ดี ของอาจารย์ครับ...

-ขอบคุณครับ

  • สวัสดีค่ะ ท่านโสภณ
  • ยังทำจิตให้นิ่ง สงบนานๆยังไม่ได้ค่ะ
  • แต่ก็พยายามอยู่
  • ขอบคุณที่ได้สะท้อน วิถีธรรม

เรียนอ.ใหญ่ยูมิครับ

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับผม ฝนหยุดตกหรือยังครับ

Ico32คุณยายมาบอกว่าเหนื่อยแล้วกลับแน่บเลยหรือครับ ดูท่าว่าจะเหนื่อยจริงๆ 

Ico32เรียนคุณเพชรน้ำหนึ่งครับ

ชั้นหินอะไรครับนี่ สวยงามดีจัง แบบแปลกนะครับ

แวะมาอ่านธรรมะก่อนนอนนะคะอาจารย์

พักสายตาซักวันสองวันนะคะ

Ico32 อ.โสภณ

มาร่วมเรียรู้ด้วยคนค่ะ

“จิตเป็นสมาธิตั้งมั่นต้องทำอย่างไร” ชายหนุ่มถามเรื่อยๆ “ต้องรู้ประโยชน์ของสมาธิก่อน ทำใจให้รักในการทำสมาธิ มีความเพียร จิตจ่อกับการทำสมาธิ หมั่นใคร่ครวญพิจารณาเสมอ” “ทำอย่างนี้พอแล้วหรือยัง” “ยัง ต้องมีปัญญาเข้าใจความเป็นจริงของโลกตามหลักไตรลักษณ์ ดังที่กล่าวมา” “คราวนี้พอได้หรือยัง” “ยัง ต้องมีความรัก และพึงพอใจต่อพระนิพพานเนืองนิตย์

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท