บทความที่2


บทความเรื่องที่ ๒

 คำชี้แจง      ให้นักเรียนอ่านและทำแบบฝึกที่ ๔

 เรื่อง  ความลับของกาแฟมูลชะมด

ออกจะเป็นเรื่องเหลือเชื่อที่จะบอกว่า กาแฟที่แพงที่สุดในโลกนั้นเป็นกาแฟที่ได้จากการคุ้ยเขี่ยกองมูลชะมด ณ วันนี้ความลับของกาแฟที่ผู้คนตามหามากที่สุดในโลกที่ถูกเล่าขานจนกลายเป็น ตำนาน ได้ถูกเปิดเผยแล้ว
              แมสซีโม มาร์โคน นักวิทยาศาสตร์การอาหารเริ่มออกอาการหมดหวัง หลังจากที่ใช้เวลาอยู่ในประเทศเอธิโอเปียเกือบสองสัปดาห์ เพราะยังไม่มีวี่แววว่าจะเจอแหล่งกำเนิดของเครื่องดื่มที่แปลกประหลาดที่สุด ใน โลกเลย แต่แล้วบ่ายวันหนึ่งในป่าละเมาะนอกเมืองอับเดลา คนนำทางของเขาก็พบกองมูลสดของชะมดเข้า พอมาร์โคนก้มลงคุ้ยเขี่ยดู ก็พบเมล็ดกาแฟ เขากล่าวว่า

 “การค้นพบครั้งนี้ได้ทำให้ผมเข้าใจอย่างถ่องแท้”
              การค้นพบกาแฟ โกปิลูแว็ก (kopi luwak เป็นคำพื้นเมืองของอินโดนีเซีย kopi แปลว่า กาแฟ ส่วน luwak หมายถึง ตัวชะมด) ที่ทั้งหายากและแพงที่สุดนี้ นับได้ว่าเป็นผลงานชิ้นโบแดงของมาร์โคนเลยทีเดียว กาแฟชนิดนี้ได้มาจากเมล็ดกาแฟที่ตัวชะมดซึ่งมีหน้าตาคล้ายแมวถ่ายออกมาพร้อมมูล หลังจากที่กินผลกาแฟสุกเข้าไป ซึ่งมาร์โคนได้ศึกษาว่าเมล็ดกาแฟโกปิลูแว็กมีสารเคมีที่เป็นเอกลักษณ์แตกต่างจากกาแฟอื่น อีกทั้งยังได้พิสูจน์แล้วว่าชะมดกินเมล็ดกาแฟและถ่ายออกมาพร้อมมูลจริงๆ
               เขากล่าวว่า “มีคนพูดว่ากาแฟโกปิลูแว็กเป็นเพียงแค่เรื่องที่เล่าต่อๆ กันมา แต่จริงๆ แล้วมันไม่ใช่ เพราะวิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเมล็ดกาแฟได้เดินทางผ่านทางเดินอาหารของสัตว์มาจริง ๆ”
              ก็อาจจะเป็นไปได้ว่าบรรดาคนที่ ยังสงสัยเรื่องนี้อยู่ อยากจะให้มันเป็น เพียงแค่นิยายปรัมปรา ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อนึกไปถึงการดื่มกาแฟที่ต้องไปคุ้ย ออกมาจากกองมูลของสัตว์ก็ดูจะไม่น่าพิสมัยนัก อย่างไรก็ตาม ว่ากันว่ากาแฟชนิดนี้มีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ถึงขนาดที่

มีนักดื่มกาแฟที่ต้องการจะลองลิ้มชิมรสมาก จนต้องเข้าคิวรอกันเป็นปีๆ เนื่องจากจะมีการผลิตกาแฟโกปิลูแว็กในปริมาณเพียงแค่ 230 กิโลกรัมต่อปีเท่านั้น ส่วนราคาก็พลอยสูงตามไปด้วย    ถึง 1,000 เหรียญสหรัฐฯต่อกิโลกรัมซึ่งนับว่ามีราคาแพงกว่ากาแฟที่แพงเป็นอันดับสองถึงสิบเท่า
                 จอร์จ กูทรี พ่อค้ากาแฟของฮอล์แลนด์คอฟฟีในเมืองสปาร์ตา รัฐนิวเจอร์ซีกล่าวว่า     “มีกาแฟชนิดนี้ไม่เยอะมากนักหรอก อีกทั้งยังมีราคาแพง และไม่มีความแน่นอนอีกต่างหาก บางครั้งก็อาจจะได้มาสองสามกิโล หรือบางทีก็ต้องรอกันเป็นเดือนๆ หรือไม่ได้เลยก็มี”
เรื่องราวของกาแฟโกปิลูแว็กนี้ย้อนกลับไปได้เมื่อประมาณ 200 ปีที่แล้ว ตอนที่ผู้ตั้งถิ่นฐาน      ชาวดัตช์เริ่มปลูกกาแฟบนเกาะชวา สุมาตราและ สุลาเวสี ซึ่งทั้งหมดตอนนี้คือดินแดนประเทศอินโดนีเซีย เกาะเหล่านี้เป็นที่อยู่ของชะมดซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Paradoxurus hermaphroditus และเป็นสัตว์ตระกูลเดียวกับแมว โดยอาศัยอยู่ตามต้นไม้ กินผลไม้ แมลงและ สัตว์ขนาดเล็กเป็นอาหาร ชะมดที่อาศัยอยู่บนเกาะเหล่านี้จึงเริ่มกินเมล็ดกาแฟสุกเป็นอาหาร   ส่วนคนงานผู้ถือคติ “อย่าทิ้งไว้ให้เสียของ” ก็เก็บเมล็ดกาแฟที่อยู่ในกองมูลชะมดกลับมาด้วย    จนในที่สุดก็มีคนรับรู้ถึงรสชาติที่ไม่เหมือนใครของกาแฟชนิดนี้ หลังจากนั้นกาแฟแบบใหม่       ก็ได้ถือกำเนิดขึ้น
                 อันที่จริงแล้ว มาร์โคนไม่ได้ตั้งใจที่จะกลายมาเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกาแฟโกปิลูแว็กเลยแม้แต่น้อย ตัวเขาเองทำงานเกี่ยวกับพันธุ์พืชที่ใกล้สูญพันธุ์อยู่ที่มหาวิทยาลัยเกวลป์ ในเมือง    ออนแทริโอ แคนาดา เขาหันมาสนใจเรื่องนี้ เมื่อพ.ศ. 2545 ตอนที่ได้รับโทรศัพท์จากผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ ซึ่งได้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับกาแฟโกปิลูแว็ก และขอให้เขาช่วยวิเคราะห์ตัวอย่าง “ตอนแรกผมก็ คิดว่ามันออกจะประหลาดเอามาก ๆ ถึงขนาดที่ทำให้ผมรู้สึกไม่พอใจด้วยซ้ำ เนื่องจากผมคิดว่ามันเป็นวิธีที่ไม่ดีเลยที่จะทำให้คนอื่นต้องเสียเวลา”
                แต่ผู้ผลิตรายการคนนั้นก็สามารถโน้มน้าวจนทำให้มาร์โคนเชื่อว่ามันเป็น เรื่องจริง    ในที่สุดเขาก็รับปากที่จะทำตามคำร้องขอ สิ่งแรกที่เขาจะต้องทำก็คือหาให้ได้ก่อนว่าเมล็ดกาแฟนี้มีอะไรที่แสดงให้ เห็นถึงความเกี่ยวข้องกับการทำงานของกระเพาะอาหารหรือไม่ หลังจากที่เขาใช้กล้องกำลังขยายหมื่นเท่าส่องดู ก็พบบางอย่างบนพื้นผิวตรงร่องเมล็ดกาแฟที่เมล็ดกาแฟอื่นๆ

ซึ่งปลูกในบริเวณเดียวกันของแคว้นสุมาตราไม่มี จึงค่อนข้างจะเป็นที่ชัดเจนแล้วว่าต้นเหตุมาจากการย่อยของเอนไซม์

อย่างไรก็ตาม ร่องบนผิวเมล็ดกาแฟนี้ก็ไม่ได้เป็นตัวการที่ทำให้รสชาติกาแฟเปลี่ยนไป มาร์โคนจึงสงสัยต่อไปว่าเอนไซม์จะมีผลถึงข้างในเมล็ดกาแฟด้วยหรือเปล่า ซึ่งผลที่ได้ก็แสดงให้เห็นถึงสัญญาณการแตกตัวของโปรตีนในเมล็ดกาแฟโกปิลู แว็กที่ไม่มีในเมล็ดกาแฟอื่น   มาร์โคนกล่าวว่าการแตกตัวนี้อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้กาแฟนี้มีรสชาติไม่เหมือนใคร
             การที่อาหารปรุงสุกมีรสชาติอร่อยก็เนื่องมาจากกลุ่มอะมิโนไปทำปฏิกิริยากับ น้ำตาลจนเกิดรสชาติใหม่ขึ้นตามปฏิกิริยาเมลลาร์ด ดังนั้น การคั่วเมล็ดกาแฟก็จะยิ่งทำให้การแตกตัวของโปรตีนในเมล็ดกาแฟเกิดปฏิกิริยา ดังกล่าว มาร์โคนเสริมว่า “ยิ่งมีการแตกตัวมากขึ้นเท่าไหร่ ก็จะยิ่งทำให้มีกลุ่มอะมิโนไปทำปฏิกิริยาเมลลาร์ดและสร้างรสชาติใหม่มากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น จึงทำให้เกิดความแตกต่างทั้งกลิ่นและรสชาติ” นอกจากนั้น กาแฟโกปิลูแว็กยังมีโปรตีนน้อยกว่ากาแฟธรรมดา ซึ่งชี้ให้เห็นว่ากระบวนการย่อยได้สลายโปรตีนออกไป และนี่ก็อาจจะเป็นเหตุผลที่ทำให้กาแฟมีรสชาติกลมกล่อม เนื่องจากเป็นที่รู้ กันอยู่แล้วว่าโปรตีนเป็นตัวที่ทำให้เกิดรสขม  มาร์โคนยังเชื่ออีกด้วยว่าทางเดินอาหารของชะมดทำหน้าที่เหมือนกับขั้นตอนการ แปรรูปเมล็ดกาแฟ ที่เรียกว่าการทำกาแฟด้วยวิธีเปียก คือแทนที่จะนำเมล็ดกาแฟไปตากแห้ง โดยอาศัยความร้อนจากแสงแดด กลับนำไปล้างน้ำแล้วหมักทิ้งไว้ 12 - 36 ชั่วโมง กาแฟที่ได้จากกระบวน การนี้จะมีรสชาติดีกว่ากาแฟตากแห้ง ซึ่งเชื่อกันว่ากระบวนการดังกล่าวก็เหมือนกับกระบวนการหมัก มาร์โคนบอกว่าดูเหมือนลำไส้ของชะมดจะทำหน้าที่เป็นเครื่องหมักแบบธรรมชาติไป เสียแล้ว แถมยังมีแบคทีเรียที่ผลิตกรดแล็กติก ซึ่งเป็นกรดชนิดเดียวกับที่ใช้ในการทำกาแฟด้วยวิธีเปียกอยู่อีกด้วย
               ในการที่จะหาคำตอบว่าความแตกต่างเหล่านี้มีผลต่อรสชาติกาแฟจริงหรือไม่ มาร์โคนได้จ้างผู้เชี่ยวชาญในการแยกรสชาติกาแฟมาทดสอบโดยที่ไม่ได้บอกอะไร ล่วงหน้า เขาได้     ข้อสรุปว่ากาแฟโกปิลูแว็กแตกต่างจากกาแฟชนิดอื่นอย่างเด่นชัด โดยจะออกรสเปรี้ยวน้อยกว่า รวมทั้งยังมีเนื้อกาแฟที่เข้มข้นน้อยกว่าอีกด้วย นอกจากนั้น มาร์โคนยังนำจมูกอิเล็กทรอนิกส์   มา “ดม” ไอระเหยจากกาแฟตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์รสชาติ ซึ่งคำตอบที่ได้ก็ยิ่งเป็นการยืนยันถึงบทสรุปดังกล่าว

ในเวลาเดียวกันนั้น มาร์โคนก็เริ่มตระหนักว่ากาแฟโกปิลูแว็กกำลังจะหมดไปเรื่อยๆ อันมีสาเหตุหลักมาจากความไม่สงบภายในสุลาเวสี เขาจึงเริ่มต้องการที่จะหากาแฟทดแทน   จาก แหล่งอื่น ดังนั้น ในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว เขาจึงตัดสินใจเดินทางไปเอธิโอเปีย เนื่องจากเป็นประเทศต้นกำเนิดของกาแฟ รวมทั้งยังเป็นที่อยู่ของชะมดแอฟริกาที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Civettictis civetta อีกด้วย โดยเขาได้ใช้เวลา 18 วัน ตามเก็บตัวอย่างเมล็ดกาแฟจากกองมูลของชะมด และนำกลับไปบ้านเพื่อทดสอบ จนได้พบว่าแม้ว่าเมล็ดกาแฟจากชะมดแอฟริกาจะแตกต่างจากเมล็ดกาแฟจากชะมดอินโดนีเซียเล็กน้อย แต่ก็มีการเปลี่ยนแปลงในเมล็ดกาแฟเหมือนๆ กัน อันรวมไปถึงร่องบนผิวเมล็ดกาแฟและการแตกตัวของโปรตีน

ส่วนรสชาติของกาแฟที่เขาเก็บมาจากเอธิโอเปียนั้นเป็นอย่างไร  หรือมาร์โคนคั่วและบดเมล็ดกาแฟเพื่อชงเป็นกาแฟในห้องทดลอง สำหรับผู้ที่อ่อนประสบการณ์ก็อาจรู้สึกว่ากาแฟจะออกรสออกหวานและไม่มีรสขมเลย แม้แต่น้อย แต่ก็อาจจะไม่ค่อยเข้มข้นมากนัก สำหรับ  นักดื่มที่รอบรู้จะบรรยายสรรพคุณเอาไว้ว่า กาแฟมีรสชาติเข้มข้นเหมือนน้ำเชื่อม มีรส           ช็อกโกแล็ตเจืออยู่ มีกลิ่นดิน และความเก่า และมีกลิ่นอายของป่าแฝงอยู่ แต่ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นอะไรก็ตาม มันจะคุ้มกับราคาที่ สูงถึง 1,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อกิโลกรัมเชียวหรือ ที่ร้ายกว่านั้นยังมีผู้ลอกเลียนแบบ รสชาติของกาแฟโกปิลูแว็ก ทำได้ไม่ยาก เพียงแค่อาศัยการผสมเมล็ดกาแฟธรรมดาด้วยวิธีอันชาญฉลาดของผู้ผลิตที่ไร้ จริยธรรมเท่านั้น

 

                                                (ที่มา : http://update.se-ed.com/๒๒๒/kopi-luwak.htm)

 

หมายเลขบันทึก: 411298เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2010 20:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 03:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นกำลังใจให้ครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท