เทคนิคการพัฒนาความรู้ในการแยกพระกรุออกจากพระโรงงาน


ที่สำคัญที่สุดของเทคนิควิธีการคือ จากการทบทวนและสรุปบทเรียนแบบเป็นวงจรต่อเนื่อง

ท่านที่ติดตามอ่านเรื่องการศึกษาประวัติศาสตร์จากของเก่ามาตลอดช่วงสามสี่ปีที่ผ่านมาคงพอจะทราบถึงขั้นตอนพัฒนาการทางความคิดและความรู้ในการศึกษาวัตถุโบราณต่างๆของผม

ที่นำไปสู่การวางแนวทางในการศึกษาสำหรับช่วยเหลือท่านที่เข้ามาใหม่ โดยอาศัยแนวทางการกำหนดเทคนิควิธีการจากบันได ๑๒ ขั้น

หลังจากนั้น ผมจึงได้ลองมาสรุปกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นจริง เพื่อนำมาสรุปแนวทางการทำตัวเป็น “ครู”

เป็นตัวอย่างและแนวทางของการพัฒนาการความรู้จากการปฏิบัติจริงๆ

ที่รวบรวมองค์ความรู้จากของจริง จนได้ผลที่เป็นรูปธรรม อย่างมีประเด็นและขั้นตอน ที่เป็นอีกตัวอย่างของการพัฒนาความรู้ที่เริ่มจากความรู้ใกล้ “๐”

โดยเริ่มจากการศึกษาชนิดและการวิวัฒนาการของวัสดุธรรมชาติและการพัฒนาการตามอายุจริงและสภาพแวดล้อมของวัสดุนั้นๆ ที่ทำให้ทราบลักษณะของสิ่งที่ปรากฏจากการแปรรูปและการผุกร่อนภายใต้เงื่อนไขต่างๆ

การอาศัยความรู้จากการศึกษาวัตถุโบราณในสถานที่ต่างๆ และตามพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศทำให้เข้าใจความเป็นจริงของวัสดุต่างๆที่ทั้งผ่านการใช้และการผุกร่อนตามธรรมชาติ ที่อายุและสภาพแวดล้อมต่างๆ

การอ่านบันทึกและตำราทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีทำให้ทราบแนวคิดและปรัชญาการสร้างวัตถุโบราณแบบต่างๆ ทั้งเพื่อการใช้งานและเครื่องประดับ

ที่ทำให้เข้าใจแนวคิดและการพัฒนาทางศิลปะและวัฒนธรรมในการสร้างสิ่งสักการะของแต่ละชนเผ่า ที่มีทั้งความคล้ายคลึงและแตกต่าง ที่สามารถนำมาอนุมานวิวัฒนาการทางศิลปะ วัฒนธรรม แหล่งกำเนิด และความน่าจะเป็นของศิลปะแบบต่างๆได้ชัดมากขึ้น

จากการศึกษาพัฒนาการทางความเชื่อและศาสนาในขั้นตอนการทำงานกับชุมชนต่างๆ ทำให้สามารถเข้าใจแนวคิดของแต่ละชนเผ่าที่มีวิวัฒนาการที่คล้ายคลึงกันจนสามารถกำหนดแนวคิดในการประเมินพัฒนาการทางศิลปะต่างๆได้ดีขึ้น

ทั้งนี้ยังนำความรู้จากพัฒนาการทางสังคมและวิถีชีวิตเข้ามาร่วมวิเคราะห์ในรายละเอียดของการประเมิน

การศึกษาการพัฒนาการของศิลปะจากหลักฐานและโบราณคดีทำให้เข้าใจความเชื่อมโยงของศิลปะและวิวัฒนาการทางสังคมต่างๆชัดเจนมากขึ้น ทั้งหลักฐานจากหลักการทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์

มีการตรวจสอบผลการศึกษาจากตัวอย่างที่มีการยืนยันและบันทึกไว้โดยผู้รู้ ทั้ง

  • จากหลักการทางวิทยาศาสตร์และธรรมชาติวิทยา
  • จากหลักการทางทรัพยากรธรรมชาติและการจัดการ
  • จากการเสวนาและแลกเปลี่ยนความรู้
  • จากองค์ความรู้ของแต่ละสังคมและความน่าจะเป็นของค่านิยมในแต่ละสังคม ทั้งเชิงวัสดุ ศิลปะ และวัฒนธรรม

ที่สำคัญที่สุดของเทคนิควิธีการคือ จากการทบทวนและสรุปบทเรียนแบบเป็นวงจรต่อเนื่อง

ทั้ง

  • การรวบรวมตามระดับความรู้เดิม(ที่พัฒนามาเป็นขั้นๆ)
  • การคัดกรอง
  • การกลั่นกรอง
  • การสรุปบทเรียน
  • นำบทเรียนที่ได้ไปคัดกรองและกลั่นกรองอีกเป็นรอบๆ ตามชุดความรู้ใหม่ที่ได้รับ

การทำซ้ำแบบนี้หลายๆรอบ จะทำให้ได้

  • พระกรุเนื้อต่างๆ ออกจากพระโรงงานได้
  • พระกรุที่มีระดับความนิยมสูงไปหาต่ำ
  • พระกรุที่มีความงดงามเชิงศิลปะในระดับต่าง
  • พระกรุที่มีระดับความสมบูรณ์แตกต่างกัน

ที่นำมาให้ชมทั้งใน G2K และที่ “พระกรุโบราณ” ครับ

หวังว่าตัวอย่างการเรียนรู้อย่างมีพลัง จากการปฏิบัติจริง จะเป็นตัวอย่างที่สามารถนำไปปรับใช้ได้โดยทั่วไปครับ

หมายเลขบันทึก: 411167เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2010 09:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 09:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท