การให้ความรู้เรื่องเบาหวาน


เบาหวานรักษาหายหรือไม่

          วันนี้มีีผู้ป่วยเบาหวานใหม่ ชื่อ คุณดิเรก เป็นทันตแพทย์ มาพบเราพร้อมภรรยา เขาบอกไม่แน่ใจว่ามีโรคอื่นแฝงด้วยหรือเปล่า เนื่องจากตรวจสุขภาพ 2 ปีที่แล้วปกติ ไม่มีคนในครอบครัวเป็นเบาหวาน ใช้เครื่องเจาะน้ำตาลของพ่อตาน้ำตาลตอนเช้าได้ 280 mg% และ ตอนหลังอาหาร~ 400 mg% ถามถึงอาการน้ำตาลต่ำ บอกว่าไม่เคยหิวมากจนหงุดหงิด ใจสั่น แต่ไม่แน่ใจอาการเหงื่อออกเนื่องจากทำงานในห้องแอร์ตลอดเวลา เคยมึนศรีษะเล็กน้อย ดิฉันจึงแนะนำให้ลองเจาะน้ำตาลถ้าสงสัยว่ามีอาการน้ำตาลต่ำ เป็นคนไม่ทานอาหารเช้า เริ่มมื้อแรกตอนเที่ยงหรือบ่ายโมง แล้วไปทานอีกทีตอนดึกประมาณ 3-4 ทุ่ม เนื่องจากทำงานเลิกดึกไม่มีเวลาทานข้าว ส่วนใหญ่ซื้อทานเป็นอาหารจานเดียว เช่น ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ ก๋วยเตี๋ยวหรือเป็นข้าวราดแกง มีแกงกะทิบ้างแต่นานๆ ครั้ง คุณดิเรกได้ซักถามข้อสงสัย ดังนี้

        1. ผมเป็นเบาหวานได้อย่างไร

         2.เบาหวานรักษาหายหรือไม่แล้วผมเป็นมากหรือเปล่า

         3. ผมเป็นเบาหวานแล้วจะมีโรคอื่นด้วยหรือเปล่า

          ดิฉันได้ตอบข้อสงสัย ซึ่งคุณดิเรกสงสัยว่า"เป็นเบาหวานได้อย่างไร" เนื่อง จากเขาไม่มีพันธุกรรม ไม่อ้วน อายุก็ยังไม่มาก แถมยังไม่เจอความดันและไขมันในเลือดสูงด้วย(ขณะนั้นยังไม่มีผลLab) ดิฉันจึงอธิบายว่า พันธุกรรมไม่ได้เป็นปัจจัยอย่างเดียวที่ทำให้เป็นเบาหวานแต่ี้เราพบว่าในคน ที่ทานอาหารเกินความต้องการของร่างกายโดยเฉพาะไขมันและน้ำตาล 

"เบาหวานรักษาหายหรือไม่ แล้วเขาเป็นมากหรือเปล่า"
        ดิฉันจึงอธิบายว่าเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง รักษาไม่หาย ส่วนความรุนแรงขึ้นอยู่กับการคุมระดับน้ำตาล

"เป็นเบาหวานแล้วจะมีโรคอื่นด้วยหรือเปล่า"

        อาจมีภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดเกิดขึ้นได้ถ้าดูแลไม่ดี ถึงตรงนี้ภรรยาเขาจึงพูดขึ้นว่า " พ่อของดิฉันเป็นมา 10 กว่าปีแล้ว ไม่เห็นมีเรื่องตาบอด ไตวาย หรือแผลรักษาไม่หายเลย" แล้วกรณีคุณดิเรกบอกได้ไหมว่า เขาจะเป็นโรคแทรกซ้อนแบบไหน ดิฉันตอบว่า "บอก ไม่ได้ว่าเราจะเป็นโรคแทรกซ้อนแบบไหน แต่เราประเมินความเสี่ยงและเฝ้าระวังได้โดยการตรวจสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน ทุกปีรวมทั้งคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด" ดิฉันได้ให้เอกสารเป้าหมายการดูแลระดับน้ำตาลและไขมันของผู้ป่วยเบาหวานให้คุณดิเรกไปก่อนออกจากห้อง 

  ;คุณดิเรกต้องรอพบแพทย์ต่อ ดิฉันจึงไม่ได้ลงรายละเอียดเยอะเพียงแต่ให้คำแนะนำคร่าวๆ เรื่องจำนวนและเวลามื้ออาหาร แนะนำอาหารแลกเปลี่ยนหมวดข้าว/แป้ง, นม, ผลไม้ พร้อมปริมาณที่เหมาะสมกับเขาเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลอย่างคร่าวๆ คุณดิเรกให้ความสนใจอย่างมาก แต่เนื่องด้วยเวลามีจำกัดจึงให้เอกสารไปดูและนัดคุยเรื่องอาหารอย่างละเอียด ในนัดครั้งหน้าพร้อมแพทย์

เล่าโดย : อารยา     เชตะโพธิ์

free hit counters
free hit counters
คำสำคัญ (Tags): #โภชนาการ
หมายเลขบันทึก: 41076เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2006 08:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท