ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

“การทำนาเป็นอาชีพ หรือเป็นวัฒนธรรม”


“ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว”

การทำนาเป็นอาชีพ หรือเป็นวัฒนธรรม

                ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เป็นคำกล่าวที่มีมาตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งสื่อให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ที่มีมาตั้งแต่บรรพบุรุษของเรา รวมทั้งความงดงามทางด้านวัฒนธรรมประเพณี  คนในสังคม และชุมชน มีความเป็นอยู่อย่างพี่อย่างน้อง เป็นสังคมสมานฉันท์และมีความเอื้ออาทรต่อกัน แต่เมื่อประเทศไทยส่งนักเรียนไปเรียนเมืองนอกมากขึ้นจึงทำให้สังคมวัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงไป การทำอาชีพการเกษตรที่ทำแบบพออยู่พอกินหรือที่เรียกว่าเฮ็ดอยู่เฮ็ดกิน เหลือกินก็แบ่งปัน เหลือแบ่งปันก็ขาย  จึงต้องเปลี่ยนไปทำเพื่อขายเป็นหลักเพื่อเพิ่มรายได้และหนี้สินมากยิ่งขึ้นนี่แหละผลของการพัฒนา  

               “การทำนาเป็นอาชีพหรือไม่ หากท่านได้สอบถามเกี่ยวกับอาชีพของพี่น้องในชนบทท่านก็มักจะได้ยินเสมอว่าอาชีพของเขาคือ อาชีพทำนา  และถ้าหากถามต่อว่า ในรอบ 1 ปี ท่านทำนาอยู่กี่วันพี่น้องชาวอีสานที่ทำนาในเขตน้ำฝนและมีนาอยู่ประมาณ 15 - 20 ไร่ ก็มักจะตอบว่าใช้เวลาในการทำนาทั้งหมดตั้งแต่เตรียมจนกระทั่งเก็บเกี่ยวใช้เวลาประมาณ 90 120 วัน หากเรามาคิดในแง่ของจำนวนวันที่เหลือล่ะ จากการทำนาในรอบ 1 ปี ซึ่งมีถึง 245 - 275 วัน พี่น้องเกษตรกรเอาไปทำอะไร แล้วอย่างนี้จะถือว่าพี่น้องเกษตรกรมีอาชีพ ทำนาจริงหรือไม่

 

               “บริบทของเกษตรกรแท้ที่จริงแล้วในการดำเนินชีวิตของพี่น้องเกษตรกรไทย โดยเฉพาะในอีสานนั้นที่บอกว่าตนเองมีอาชีพทำนา แต่โดยเนื้อแท้ของบริบทแล้วพี่น้องเกษตรกรไม่ได้ทำนาเพียงอย่างเดียว เป็นการทำการเกษตรแบบผสมผสาน เช่น การปลูกพืชผักสวนครัว ไม้ผล สมุนไพร พืชไร่ และพืชป่าตามหัวไร่ปลายนา การเลี้ยงไก่ เป็ด ห่าน วัว ควาย ฯลฯ ในเวลาเดียวกัน และเวลาที่เหลือด้วย  ซึ่งแสดงให้เห็นว่าที่มาแห่งรายได้ของพี่น้องเกษตรกรมาจากหลายช่องทาง  หากแต่ว่าอาชีพการทำนา   เป็นทั้งอาชีพ และวัฒนธรรม ที่ทำสืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษ

อุทัย  อันพิมพ์

25 ก.ค. 2549

หมายเลขบันทึก: 40838เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2006 17:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
อาชีพและวัฒนธรรมแท้ที่จริงต้องเป็นเรื่องเดียวกัน จึงจะถือว่าเป็นชีวิตแบบบูรณาการ อย่าพยามยามแยกซิครับ รวมกันเราอยู่ ดีกว่านะครับ
จริงครับ การทำนาเป็นทั้งอาชีพและวัฒนธรรม ซึ่งถือได้ว่าเป็นความลงตัวของชาวนา ที่นำแนวคิดในการดำเนินชีวิตนี้มาปฏิบัติอย่างบูรณาการในอดีตนั้น ชาวนาสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข แต่ปัจจุบันนี้ชาวนาส่วนใหญ่ค่อนข้างลำบาก ทั้งนี้เนื่องจากความคิดในสังคมค่านิยมเปลี่ยนไป คนมักให้ความสำคัญกับเงินหรือทรัพย์สินปัจจัยด้านวัตถุ ทำให้ชาวนามีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนไปด้วย เกิดการแข่งขันด้านวัตถุอย่างชัดเจน ชาวนาต้องมีวัตถุเหล่านั้นด้วย แต่ทำนาอย่างเดียวไม่สามารถจัดหาวัตถุได้ จึงต้องทำอย่างอื่นด้วย อาชีพชาวนาจึงต้องเข้าเมืองใช้แรงงานไปด้วยอีกอาชีพหนึ่ง ถ้าจะสรุปว่าตัวที่ทำให้สิ่งต่างๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงคือ เงิน ก็คงไม่ผิดนะครับ

ครับ การทำนาไม่ใช้แค่เป็นอาชีพแต่เป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาเป็นเวลานานสมัยก่อน แต่ถ้าจะให้อาชีพที่เป็นเสมือนวัฒนธรรมของไทยให้สามารถที่สืบทอดต่อไปได้ เราก็ต้องให้เกษตรกรรุ่นไหม่ช่วยกันพัฒนาภาคการเกษตรของไทยต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท