ศูนย์ข่าวพลเมือง ฅนคอน
ศูนย์ข่าวพลเมือง ฅนคอน เกาะติดชุมชน สิทธิชุมชน สิทธิพลเมือง

ชาวบ้านนครศรีฯ ยื่นหนังสือต่อกรรมสิทธิ์ฯ เรื่องผลกระทบ


นับเป็นครั้งแรกที่นักการเมืองท้องถิ่นออกตัวยืนข้างประชาชน นับตั้งแต่มีการดำเนินการผลักดันให้เกิดการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ในภาคใต้ตามแผนพัฒนาของสภาพัฒน์ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มีเป้าหมายในการสร้างท่าเรือเชฟรอนที่อำเภอท่าศาลา เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายนที่ผ่านมาชาวบ้านบ้านตะเคียนดำ ตำบลท่าขึ้น อำเภอท่าศาลา นำโดยนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบุญโชค แก้วแกม และชาวบ้านจำนวน 20 คนเข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและคณะ นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ

 ชาวบ้านนครศรีฯ ยื่นหนังสือต่อกรรมสิทธิ์ฯ เรื่องผลกระทบ

 วันที่ 9 พ.ย. 2553 เวลา : 11:23 น.
ผู้เขียน : กอแก้ว วงศ์พันธุ์....สำนักข่าวประชาธรรม

นับเป็นครั้งแรกที่นักการเมืองท้องถิ่นออกตัวยืนข้างประชาชน นับตั้งแต่มีการดำเนินการผลักดันให้เกิดการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ในภาคใต้ตามแผนพัฒนาของสภาพัฒน์ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มีเป้าหมายในการสร้างท่าเรือเชฟรอนที่อำเภอท่าศาลา เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายนที่ผ่านมาชาวบ้านบ้านตะเคียนดำ ตำบลท่าขึ้น อำเภอท่าศาลา นำโดยนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบุญโชค แก้วแกม และชาวบ้านจำนวน 20 คนเข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและคณะ นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระที่ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งคณะกรรมการสิทธิฯ เดินทางมาตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีปัญหาจากการพัฒนาจังหวัดนครศรีธรรมราชซึ่งเป็นข้อร้องเรียนจากเครือข่ายผลกระทบจากนโยบายสาธารณะจังหวัดนครศรีธรรมราช

หลังจากมีโครงการพัฒนาภาคใต้ที่ต้องการผุดโครงการขนาดใหญ่เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ท่าเรือน้ำลึก สนามบิน นิคมอุตสาหกรรมและอื่นๆ ปรากฏว่าโครงการท่าเรือน้ำลึกของบริษัทเชฟรอนหนึ่งในโครงการที่กำลังมีปัญหากับชาวบ้าน ได้ดำเนินเวทีประชาพิจารณ์ EIA เป็นผลสำเร็จ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคมที่ผ่านมา ทว่าผลสำเร็จครั้งนี้ถูกนำขึ้นมาตั้งคำถามต่อหน้าคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่า กระบวนการดำเนินงานของบริษัทนั้นไม่โปร่งใสในแง่ของการเกาะติดนักการเมืองท้องถิ่นเช่น นายกองค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้านเพื่อใช้อิทธิพลครอบงำชาวบ้านโดยใช้กลยุทธ์วัฒนธรรมผู้นำท้องถิ่นที่ชาวบ้านให้การเชื่อฟัง แม้ไม่ได้คำตอบที่ชัดเจนจากบริษัทเจ้าของโครงการ แต่ก็เกิดการตั้งคำถามต่อสาธารณะว่า การทำประชาพิจารณ์ EIA ในทำนองนี้ยังได้รับความชอบธรรมหรือไม่ และผู้นำท้องถิ่นแท้จริงแล้วใช้อำนาจท้องถิ่นรักษาผลประโยชน์ชุมชนและชาวบ้านจริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงแค่ผู้อำนวยความสะดวกแก่รัฐและบริษัทเอกชนแค่นั้นหรือ หากเป็นเช่นนั้นสิทธิของชาวบ้านแท้จริงใครบ้างเป็นคนปล้นไป

บ้านตะเคียนดำ เป็นพื้นที่เป้าหมายในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินและเป็นพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบด้านอาชีพโดยตรง บุญโชค แก้วแกม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าขึ้น นับเป็นนักการเมืองท้องถิ่นที่ขึ้นมาโต้ตอบและตั้งคำถามเจ้าของโครงการต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับชุมชน เขากล่าวว่า ชุมชนตะเคียนดำประกอบด้วยชาวไทยมุสลิมและพุทธ โดยส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน ซึ่งเป็นอาชีพที่ถูกกระทบอย่างมากหากเกิดโครงการท่าเรือน้ำลึก รวมไปถึงจะได้รับผลกระทบด้านมลพิษจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน หากโครงการยังคงยืนกรานในการดำเนินกิจการต่อไป เขาในฐานะนายก อบต คงร่วมมือกับแนวร่วม ซึ่งประกอบด้วย นักวิชาการนักเขียน นักกิจกรรม และชาวบ้าน ขอต่อต้านโครงการอย่างถึงที่สุด

ชาวบ้านตะเคียนดำส่วนใหญ่ไม่สะสมที่ดิน พวกเขามีที่ดินสำหรับที่อยู่อาศัยเท่านั้น เมื่อโรงไฟฟ้าถ่านหินเกิดขึ้น และหากมลพิษที่ส่งผลต่อชาวบ้านมาบตาพุด จังหวัดระยองเกิดขึ้นที่นี่ ชาวบ้านไม่มีทุนที่ดินจะทำอย่างไรต่อไป

 

หมายเลขบันทึก: 408191เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2010 20:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท