ระบบราชการในประเทศไทย


ระบบราชการในประเทศไทย

"ระบบราชการในประเทศไทย"

"ราชการ" จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ให้คำจำกัดความของ ราชการ (สำหรับประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข) หรือ รัฐการ (สำหรับประเทศที่ไม่ได้มีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข)เป็นระบบการทำงานอย่างหนึ่งของรัฐ หมายถึง การงานของพระมหากษัตริย์หรือรัฐบาล รวมไปถึงของทหารและตำรวจซึ่งอาจเรียกแยกเฉพาะว่า "ราชการฝ่ายทหาร" หรือ "รัฐการฝ่ายทหาร" แล้วแต่กรณี...

ราชการของไทย

ใช้ตราพระครุฑพ่าห์ สำหรับใช้เป็นตราหัวหนังสือราชการไทย (แบบที่นิยมใช้กันมาก)

ระบบราชการในประเทศไทย

เป็นระบบการทำงานหลักควบคู่ไปกับ ระบบเอกชนและรัฐวิสาหกิจ ข้าราชการมีหลายประเภท เช่น ข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ ข้าราชการทหาร ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการส่วนท้องถิ่น ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ข้าราชการตุลาการศาลปกครอง ข้าราชการ สตง. ข้าราชการรัฐสภาสามัญ และข้าราชการสำนักงาน ปปช.

นอกจากนี้ยังมี พนักงานราชการ พนักงานส่วนท้องถิ่น พนักงานมหาวิทยาลัย ซึ่งมีลักษณะการทำงานที่คล้ายคลึงกับข้าราชการ

ราชการในประเทศไทยมีสัญลักษณ์ในเอกสารเป็นรูป "ครุฑ" (ครุฑพ่าห์) เป็นสัญลักษณ์ หมายถึง พระราชบัลลังก็และตราประจำแผ่นดินของไทย ใช้ประทับบนหัวจดหมายราชการ การบริหารราชการขึ้นอยู่แต่ละส่วนราชการ ภายใต้พระราชบัญญัติบริหารส่วนราชการแต่ละส่วน เช่น พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน มีระเบียบบริหารราชการ อัตราเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทนเป็นบัญชีต่าง ๆ กันไป อีกทั้งมีการกำหนดเกณฑ์การเลื่อนลำดับชั้น งานหนังสือและสารบรรณ การเกษียณอายุ การเชิดชูเกียรติ เช่น การติดยศ การรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ที่เฉพาะต่างกันไป งบประมาณที่ใช้ในระบบราชการ ส่วนหนึ่งมาจากงบประมาณแผ่นดินซึ่งนำมาจากการเก็บภาษีจากประชาชนทั่วประเทศ...

หมายเลขบันทึก: 407761เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2010 14:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2016 13:54 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท