ข้าราชการในประเทศไทย


ข้าราชการในประเทศไทย

"ข้าราชการในประเทศไทย"

เนื่องจากสภาพปัจจุบัน นับได้ว่าเป็นยุคของการเปลี่ยนแปลงในการบริหารจัดการภาครัฐก็ว่าได้...เพราะสมัยก่อนในระบบราชการไทยบุคลากรที่ทำงานภาครัฐจะมีก็เพียงแต่ ข้าราชการและลูกจ้างประจำ แต่เนื่องจากสภาพสังคม เศรษฐกิจ ของสังคมโลกได้เปลี่ยนแปลงไป รัฐจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบการบริหารงานบุคคลและระบบราชการไทยใหม่ บางท่านอาจเกิดการสับสนในเรื่องของคำจำกัดความของคำว่า "ข้าราชการ"...ผู้เขียนคิดว่าคงจะเกิดการเข้าใจผิดและไม่เกิดผลดีต่อระบบราชการแน่ ๆ เนื่องจากปัจจุบันมีพนักงานของรัฐเกิดขึ้นมาหลายประเภท...ถ้าไม่พูดกันให้เข้าใจว่า คำนิยามของคำว่า "ข้าราชการในประเทศไทย" นั้น หมายถึง กลุ่มข้าราชการประเภทใดบ้าง?...และขอนำมาบอกกล่าวให้ทราบดังนี้...

ข้าราชการ คือ บุคคลซึ่งรับการบรรจุแต่งตั้งให้รับราชการปฏิบัติหน้าที่และรับเงินเดือนในกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ของประเทศไทย ส่วนองค์กรที่บุคคลดังกล่าวปฏิบัติงานอยู่นั้น เรียกว่า ส่วนราชการ...

ประเภทของข้าราชการไทย ได้แก่...

1. ข้าราชการพลเรือนสามัญ คือ ข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการในกระทรวง ทบวง กรมฝ่ายพลเรือน ซึ่งได้รับการบรรจุแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับปัจจุบัน คือ พ.ศ. 2551) แบ่งออกเป็นประเภทย่อย 4 ประเภท คือ ประเภทบริหาร ประเภทอำนวยการ ประเภทวิชาการและประเภททั่วไป

2. ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ คือ ข้าราชการพลเรือนในสังกัดสำนักพระราชวังและสำนักราชเลขาธิการ มีหน้าที่เกี่ยวกับงานในพระองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งได้รับการบรรจุแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน

3. ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาคือ ข้าราชการพลเรือนในสังกัดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ แต่ไม่รวมถึงสถานศึกษาของรัฐที่มิใช่ส่วนราชการ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา แบ่งออกเป็นประเภทย่อย 4 ประเภท คือ ประเภทตำแหน่งวิชาการ ประเภทตำแหน่งผู้บริหาร ประเภทตำแหน่งวิชาชีพเฉพาะหรือประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ และประเภทตำแหน่งทั่วไป

ในปัจจุบันไม่มีการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาแล้ว...มีแต่เพียงการบรรจุและแต่งตั้งพนักงานมหาวิทยาลัย เข้ามาแทน...

4. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คือ ครู อาจารย์ที่อยู่ตามโรงเรียนของรัฐ

5. ข้าราชการตำรวจ

6. ข้าราชการทหาร

7. ข้าราชการฝ่ายตุลาการ

8. ข้าราชการฝ่ายอัยการ

9. ข้าราชการส่วนท้องถิ่น

สิทธิ หน้าที่ของข้าราชการ

บุคคลผู้เป็นทหาร ตำรวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ และพนักงานหรือลูกจ้างขององค์กรของรัฐ มีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวมอำนวยความสะดวกและให้บริการแก่ประชาชนตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี นอกนั้นข้าราชการยังมีสิทธิต่าง ๆ ดังนี้

- สิทธิในการรับบำเหน็จ บำนาญ

- สิทธิในการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

- สิทธิเกี่ยวกับสวัสดิการนอกเหนือจากเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง อาทิ ค่ารักษาพยาบาลตนเอง บิดา มารดา คู่สมรสและบุตร ค่าเช่าบ้าน ค่าครองชีพชั่วคราว ฯลฯ

ที่มา : วิกิพิเดีย

หมายเลขบันทึก: 407757เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2010 14:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2016 13:54 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท