บทบาทของผู้นำในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน


หน้าที่ของผู้นำ
     บทบาทในชุมชนมีความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาสารเสพติดในชุมชนเป็นอย่างมาก  บทบาทของบุคคลในชุมชน แบ่งเป็น  3  กลุ่ม  ดังนี้
    1.  ผู้นำชุมชน  ได้แก่  ผู้นำองค์กรหรือผู้นำกิจกรรมต่าง  ๆ  ในชุมชน  เช่น  ครู  กำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน  ผู้นำทางการเมือง  โต๊ะอิหม่าม พระภิกษุ  เป็นต้น
    2.  ประชาชน  ได้แก่  บุคคลที่มีภูมิลำเนา  ตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ในเขตชุมชนนั้น  ๆ
    3.  กลุ่มประสานงาน  ได้แก่  กลุ่มบุคคลของภาครัฐ  หรือภาคเอกชนที่เป็นบุคคลภายนอก  ทำหน้าที่ติดต่อประสานงานเพื่อดำเนินกิจกรรมต่าง  ๆ  ร่วมกับคนในชุมชน

 


 

ครอบครัว บิดา  มารดา  ญาติพี่น้อง
ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดสารเสพติด
1.  ครอบครัวอ่อนแอ  ขาดผู้นำครอบครัวที่ดี
2.  ขาดความสัมพันธ์  ความรักใคร่  ระหว่างบุคคลในครอบครัว
3.  วิถีการดำเนินชีวิตของพ่อแม่ต่อการเลี้ยงดู  เช่น  ฐานะยากจน  ไม่มีเวลาดูแล
4.  วิธีการอบรมเลี้ยงดู ทัศนคติ  ค่านิยม  ขนบธรรมเนียมประเพณี 
5.  ขาดความตระหนักต่ออันตรายของสารเสพติด

 

บทบาท
1.  สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อสมาชิกในครอบครัวทุกคน
2.  ปรับปรุงวิถีการดำเนินชีวิตของผู้นำและสมาชิกในครอบครัว  ด้วยการ
     สร้างสรรค์กิจกรรมร่วมกัน  การให้แรงสนับสนุน  การให้คำปรึกษา  การสร้าง
     ความสัมพันธ์ที่ดีร่วมกัน
3.  ปรับปรุงวิธีการอบรมเลี้ยงดู  การสร้างประชาธิปไตยในครอบครัว
4.  สร้างองค์ความรู้ให้สมาชิกในครอบครัวเรื่องอันตรายของสารเสพติด
หมายเลขบันทึก: 407759เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2010 14:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 20:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท