วาตภัย ณ ชายฝั่ง ปัตตานี


เหตุการณ์อุทกภัยและวาตภัย ณ รินชายฝั่งปัตตานี

   จาก อุทกภัยและลมพายุในพื้นที่รอบอ่าวปัตตานีเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 ที่ผ่านมา และการช่วยเหลือล่าสุดว่า มีความเสียหายเป็นวงกว้าง ชาวบ้านยังประสบกับความยากลำบาก โดยเฉพาะบ้านที่ได้รับความเสียหายจากลมพายุ เนื่องจากไม่มีอาหาร น้ำ และที่หลับนอน ตอนนี้ น่าจะเข้าถึงทุกพื้นที่แล้ว โดยข้อมูลการสำรวจล่าสุด พบว่ามีบ้านเรือนประชาชนเสียหาย 723 หลัง โดยเสียหายทั้งหลัง 26 หลัง และเรือประมงได้รับความเสียหายอีกหลายร้อยลำ เมื่อแยกพื้นที่ความเสียหายรอบอ่าวปัตตานี มีดังนี้

รูปจากดาวเทียมเป็นทิศทางของพายุ

พื้นที่บ้านบางตาวา ตำบลบางตาวา อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี มีบ้านเรือนเสียหาย 284 หลังคาเรือน โดยเสียหายทั้งหลังจำนวน 5 หลัง ทางองค์การบริหารส่วนตำบลบางตาวา ให้ความช่วยเหลือโดยมอบกระเบื้องมุงหลังคาแล้ว รวม 200 แผ่น

พื้นที่หมู่ที่ 1 ตำบลบางตาวา อำเภอหนองจิก บ้านเสียหายบางส่วน 70 - 80 หลังคาเรือน ทาง อบต.บางตาวา ได้มอบกระเบื้องและสังกะสีแล้ว ส่วนเรือประมงในพื้นที่หมู่ที่ 1 เสียหาย 32 ลำ

พื้นที่หมู่ที่ 2 ตำบลบางตาวา อำเภอหนองจิก เสียหาย 17 หลังคาเรือน โรงเรียนบ้านบางตาวาพังเสียหายทั้งหมด 4 อาคาร ชาวบ้านได้รับถุงยังชีพพระราชทาน 130 ถุงต่อหมู่บ้าน

พื้นที่หมู่ที่ 4 บ้านดาโต๊ะ ตำบลแหลมโพธิ์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี บ้านเรือนเสียหาย 32 หลังคาเรือน เรือเสียหายประมาณ 100 ลำ ส่วนความต้องการทางตำบลแหลมโพธิ์ ต้องการเตาแก๊ซ ถังแก๊ซและชุดเครื่องครัว 20 ชุด เนื่องจากขาดอุปกรณ์ทำอาหาร

สภาพบ้านดาโต๊ะ ตำบลแหลมโพธิ์

 

พื้นที่หมู่ที่ 1 บ้านบูดี ตำบลแหลมโพธิ์ บ้านเสียหายทั้งหลัง 4 หลัง เสียหายบางส่วน 50 หลัง

 

สภาพที่บ้านบูดี

พื้นที่หมู่ที่ 3 บ้านปาตาบูดี ตำบลแหลมโพธิ์ บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 6 หลัง เสียหายบางส่วน 150 หลังคาเรือน

พื้นที่หมู่ที่ 2 บ้านบางปลาหมอ ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 10 หลังคาเรือน

หมู่ที่ 1 ชุมชนปาตา ตำบลตันหยงลูโล๊ะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี บ้านเรือนเสียหาย 30 หลังคาเรือน โดยมี 14 หลังที่เสียหายทั้งหลัง ส่วนเรือประมงได้รับความเสียหาย 20 ลำ

หมู่ที่ 5 บ้านบางราพา ตำบลท่ากำชำ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี บ้านเสียหายหนัก 1 หลัง น้ำท่วมขังบ้านเรือน 240 หลัง

หมู่ที่ 1 บ้านท่ากำชำ ตำบลท่ากำชำ อำเภอหนองจิก บ้านเสียหายหนัก 1 หลัง บ้านเสียหายบางส่วน 48 หลัง

สภาพบ้านเสียหายทั้งหลัง

นอกจากนี้ ยังมีที่ถูกน้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ได้แก่ พื้นที่บ้านจางา ตำบลปะกาฮารัง มีบ้านที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 200 หลังคาเรือน ชุมชนตะลุโบะ ในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี 80 หลังคาเรือน ชุมชนริมคลอง 200 หลังคาเรือน หมู่ที่ 2 บ้านปลาหมอ ตำบลรูสะมิแล 10 หลังคาเรือน หมู่ที่ 1 บ้านรูสะมิแล 300 หลังคาเรือน

ในพื้นที่ อำเภอหนองจิก โรงเรียนบ้านบางตาวา และบ้านเรือนประชาชนใกล้เคียง 350 หลังคาเรือน บ้านใหม่ ตำบล เกาะเปาะ อำเภอ 100 หลังคาเรือน บ้านมะพร้าวต้นเดียว ตำบลลิปะสะโง 100 หลังคาเรือน โรงเรียนยาบีและบ้านใกล้เคียง 100 หลังคาเรือน

ขณะนี้เริ่มมีความช่วยเหลือจากภายนอกเข้ามาบ้างแล้ว โดยจุดแรกที่ได้รับความช่วยเหลือคือพื้นที่บ้านบานา ตำบลบานา อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี จุดที่สองคือบ้านดาโต๊ะ เนื่องจากได้รับความเสียหายอย่างหนัก ทั้งอาหาร น้ำ และอุปกรณ์ยังชีพ รวมทั้งความช่วยเหลือในเบื้องต้นจากทหารที่อยู่ในพื้นและนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคปัตตานี และวิทยาลัยการอาชีวะปัตตานี ได้ลงไปช่วยซ่อมแซมระบบไฟฟ้าแล้ว

ขณะที่ต้องการของผู้ประสบภัยขณะนี้คือ ต้องการอาหาร น้ำ อุปกรณ์ในการประกอบอาหาร เช่น เตาแก๊ซ เนื่องจากเครื่องครัวหายไปกับน้ำท่วม เสื้อผ้าและเครื่องยังชีพอื่นๆ อีกเกือบ 2,000 ชุด รวมทั้งความต้องการซ่อมเรือ เนื่องจากเป็นเครื่องมือหากินหลัก แต่ได้รับความเสียหายเกือบทั้งหมด

“ชาวบ้านในพื้นที่รอบอ่าวปัตตานีส่วนใหญ่มีอาชีพหลัก 2 อย่าง คือ ถ้าไม่ประมงหากินอยู่กับทะเลก็ไปมาเลย์ ทำงานที่นั่น แต่ตอนนี้ไม่สามารถลงทะเลได้แล้ว เพราะเรือพังสายหายมาก ทั้งเครื่องยนต์หรือไม้กระดานเรือ ตอนนี้ยังไม่มีหน่วยงานไหนเข้าไปช่วยเหลือ ซึ่งหน่วยงานที่น่าจะช่วยได้ คือ กรมประมง และ ส่วนบ้านที่เสียหาย อบต.ช่วยแล้วบางส่วน

ขณะเดียวกัน การช่วยเหลือที่หลังไหลอย่างล้นหลามกลับพบว่า กำลังจะสร้างปัญหาใหม่ตามมาโดยไม่รู้ตัว เป็นเสียงจากชาวบ้านได้สะท้อน โดยสรุปดังต่อไปนี้

ประการที่หนึ่ง ของบริจาคกระจุกตัวเฉพาะบางพื้นที่ ทำให้ของบริจาคแจกจ่ายได้ไม่ทั่วถึง และยังมีหลายพื้นที่ยังตกค้างไม่ได้รับบริจาค โดยเฉพาะพื้นที่น้ำท่วมขัง ซึ่งทางสัญจรตัดขาด จนไม่สามารถออกมารับของบริจาคได้ 

ประการที่สอง ปัญหาต่อมาคือสืบเนื่องจากการบริจาค การให้ความช่วยเหลือของหน่วยงานราชการจะต้องดำเนินตามข้อมูลหมู่บ้าน การจ่ายแจก การให้ความช่วยเหลือจึงต้องเป็นไปตามข้อมูล ยังมีหลายครัวเรือนที่ไม่ได้รวบรวมเข้าในข้อมูลหมู่บ้าน ดังนั้นการช่วยเหลือจึงไปไม่ถึงคนเหล่านั้น 

ประการที่สาม มีปัญหาการแจกจ่ายที่ใช้ระบบอุปถัมภ์ กล่าวคือ ผู้ได้รับผลกระทบที่เป็นเครือญาติ และเป็นฐานเสียงหัวหน้าหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน หรือผู้มีบทบาทในชุมชน จะได้รับการช่วยเหลือในระดับต้นๆ ส่วนผู้ได้รับผลกระทบอื่นๆ จะเป็นตัวเลือกอันดับรอง ทำให้แนวโน้มอาจจะเกิดความขัดแย้งเกิดขึ้นได้ในชุมชนได้ 

ประการที่สี่ ยังมีแนวโน้มของการแสวงหาผลประโยชน์จากการบริจาคและการเข้าไปให้ความช่วยเหลือ หากไม่มีการจัดการที่ดีในชุมชน เพราะการเข้าไปให้ความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆ ทำให้มีกลุ่มคนที่จะเข้าไปรับเหมาในการจัดการ ซึ่งจะเป็นช่องทางหาผลประโยชน์ต่อไป

ทั้งหมดนี้ต้องระวัง เพราะจะกลายเป็นความขัดแย้งซ้ำซ้อนและจะก่อให้เกิดปัญหาที่ยืดเยื้อตามมา..

 

นายกลงพื้นที่บ้านดาโต๊ะ (มาช้ายังดีกว่าไม่มา ใช้มั้ยเอย ช่วยตอบที)

คำสำคัญ (Tags): #วาตภัย
หมายเลขบันทึก: 407662เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2010 21:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 23:34 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เป็นกำลังใจให้ผู้ประสบภัยทุกท่านค่ะ

เรื่องปากท้อง..ได้..ไม่ได้..มักเป็นปัญหาเสมอ

ทุกอย่างจะผ่านไปได้ ด้วยดี ด้วยการจัดการอย่างเป็นระบบ

เมื่อภัยมา ต้องร่วมด้วยช่วยกันครับ ยิ่งเร็วเท่าไร ยิ่งดีมากเพียงนั้น

สลามรุสดี

เสียหายหนัก

ปากพะยูนก็หนัก

กองทุนสวัสดีการก็ทำงานหนัก ปีนี้ได้ใช้ยอดเงินสวัสดิการจากภัยพิบัติ ไม่พอ ต้องทดลองจ่ายจาดยอดอิ่น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท