เรื่อง “ทำไมถึงไม่ใส่หมวกกันน็อค” ???... เจ็บหนัก ตายง่าย เมื่อประสบอุบัติเหตุ จากพฤติกรรมการขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ที่ไม่สวมใส่หมวกกันน๊อค ตอนที่ 1 ตอนที่ 1


“ทำไมถึงไม่ใส่หมวกกันน็อค” ???... เจ็บหนัก ตายง่าย

เรื่อง ทำไมถึงไม่ใส่หมวกกันน็อค” ???... เจ็บหนัก ตายง่าย เมื่อประสบอุบัติเหตุ จากพฤติกรรมการขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ที่ไม่สวมใส่หมวกกันน๊อค

         ได้อ่านข่าวในหนังสือพิมพ์ เป็นข่าวกอบเล็กๆ อยู่หน้าหลังสุด ของหนังสื่อพิมพ์ เป็นเรื่องของคุณแม่ท่านหนึ่ง ที่ใช้รถมอเตอร์ไซค์เป็นพาหนะในการเดินทาง ได้ขับขี้รถมอเตอร์ไซค์เดินทางไปบ้านญาติ แต่ไม่ได้ขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ไปเพียงลำพัง ยังได้พาลูกชายวัย 3 ขวบ หลาน 2 ขวบ ไปกับรถมอเตอร์ไซค์ด้วย ในลักษณะที่เด็กๆ นั่งซ้อนข้างหน้ารถมอเตอร์ไซค์หนึ่งคน นั่งซ้อนข้างหลังรถมอเตอร์ไซค์อีกหนึ่งคน  

          และระหว่างการเดินทาง ได้เกิดอุบัติเหตุเชี่ยวชนกับรถหกล้อขนของ แล้วรถของคู่กรณีได้ทับ ลูกชายวัย 3 ขวบ ที่ ศรีษะสมองกระจาย เสียชีวิตในที่เกิดเหตุทันที ส่วนหลาย วัย 2 ขวบ ได้รับบาดเจ็บสาหัส

          ทุกท่านสามารถอ่านเจอ ข่าวลักษณะการเสียชีวิตของเด็กเล็กๆ ระหว่างการเดินทาง จากการนั่งซ้อนรถมอเตอร์ไซค์ ไปกับผู้ปกครองที่ขับขี้รถมอเตอร์ไซค์เป็นพาหนะเดินทางไปทำกิจกรรมต่างๆ ในหนังสือพิมพ์ ได้เป็นระยะๆ

           แล้วยังพบว่ามีข่าวของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งได้จัดแถลงข่าวอย่างใหญ่โต เรื่องการรณรงค์ให้ประชาชนสวมใส่หมวกกันน็อค ขณะขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ และ เริ่มเห็นป้ายโฆษณาที่มีข้อความ “รักวัวให้ผูก รักลูกให้สวมหมวกกันน็อค” และมีรูปภาพ เจ้าหน้าที่ตำรวจขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ มีเด็กนั่งซ้อนท้ายอยู่ด้วย โดยที่เด็กได้สวมใส่หมวกกันน็อค ติดประกาศ อยู่ตามป้อมตำรวจ ตาม 4 แยก ของถนน ในพื้นกรุงเทพ

            การรณรงค์ให้ผู้ปกครองสวมใส่หมวกกันน็อคให้เด็กเล็กๆ ขณะนั่งซ้อนรถมอเตอร์ไซค์ นั้น เป็นเรื่องที่ถูกต้อง เหมาะสมมากๆเห็นแล้ว ได้แต่ร้อง สาธุสาธุ สาธุ แต่ถ้าให้เป็นความรู้สึกประชดประชัน คงต้องบอกว่าน่าคิดได้ ทำได้ตั้งนานแล้ว เพราะ คิดว่า เด็กทั้ง 2 คน ที่นั่งซ้อนท้ายรถมอเตอร์ไซค์ที่แม่เป็นผู้ขับขี้ และประสบอุบัติเหตุ จนทำให้เด็ก อายุ 3 ขวบ เสียชีวิต จากข่าวที่อ่านเมื่อเช้านั้น เด็กทั้ง 2 คน คงไม่ได้สวมใส่หมวกกันน็อคหรอก สมอกเลยกระจาย จาก ตามข่าวที่ลง

            เพราะพฤติกรรมการสวมใส่หมวกกันน็อคให้ลูก ให้หลาน ให้กับเด็กเล็กๆของผู้ปกครองที่ใช้รถมอเตอร์ไซค์เป็นพาหนะในการเดินทาง บนท้องถนนในสังคมบ้านเรา ยังมีน้อยมาก เห็นได้น้อยมาก แต่ในทางกลับกัน พฤติกรรมการไม่สวมใส่หมวกกันน็อคให้ลูก ให้หลาน ให้กับเด็กเล็กๆของผู้ปกครองที่ใช้รถมอเตอร์ไซค์เป็นพาหนะในการเดินทาง บนท้องถนนในสังคมบ้านเรา กับมีเป็นจำนวนมาก เห็นเป็นประจำ บ่อยมากๆ เหมือนเป็นเรื่องปกติของชีวิต เป็นวัฒนธรรม เป็นวิถีชีวิตธรรมดาทั้วไป

           แล้วจากที่เก็บข้อมูล กลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ที่เสียชีวิตจากรถมอเตอร์ไซค์ ทั้งคนขับขี้ คนนั่งซ้อนท้ายรถ 20 กว่าราย  พบว่าส่วนใหญ่ ไม่ได้ส่วมใส่หมวกกันน็อค จึงมีความเป็นไปได้ ของสาเหตุที่สำศัญของ การเสียชีวิตอย่างหนึ่ง ของผู้ประสบอุบัติเหตุจากการใช้รถมอเตอร์ไซค์ เพราะ คิดว่า ผู้ขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ ที่สวมใส่หมวกกันน็อค หรือ คนนั่งซ้อนท้าย เมื่อประสบอุบัติเหตุนั้น คงทำให้  เจ็บน้อย ตายยาก กว่า ส่วนผู้ขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ ที่ไม่สวมใส่หมวกกันน็อค เมื่อประสบอุบัติเหตุ คงทำให้ เจ็บหนัก ตายง่าย กว่า

            ซึ่งการรับรู้ข่าวสารทั้ง 2 เรื่องข้างต้น ทำให้เกิดการตั้งคำถาม “เอ๊ะ” เกิดความสงสัย อยากคิดหาคำตอบ ที่ว่า “ทำไมถึงไม่ใส่หมวกกันน็อคกัน” เลยมานั่งคิด นอนคิด ไปเรื่อยๆ ทำให้พอได้คำตอบ ตามความคิด ตามความเข้าใจ ให้หายสงสัย มาบ้าง แต่คงไม่ใช้ทั้งหมด และอาจไม่ใช้คำตอบที่ถูกต้อง

            ก่อนที่จะไปหาคำตอบ ไปคิดว่า “ทำไมถึงไม่ใส่หมวกกันน็อคกัน” หรือ การไปคิดถึงวิธีที่ทำให้ผู้ขับขี้ผู้ใช้รถมอเตอร์ไซค์ สวมใส่หมวกกันน็อค การคิดวิธีป้องกันการบาดเจ็บ การเสียชีวิตของผู้ขับขี้ผู้ใช้รถมอเตอร์ไซค์ให้ลดน้อยลงไป การคิดถึงเรื่องการรณรงค์ วิธีการทำให้ผู้ขับขี้ผู้ใช้รถมอเตอร์ไซค์สวมใส่หมวกกันน็อคในชีวิตประจำวัน ให้เป็นเรื่องปกติ เป็นวัฒนธรรมการดำรงชีวิตปกติในการดำเนินชีวิต  

        สิ่งแรกที่นำมานั่งคิดก่อนเลยว่า สามารถเห็นภาพ พฤติกรรม วิถีชีวิต ของผู้ขับขี้ผู้ใช้รถมอเตอร์ไซค์ ไม่สวมใส่หมวกกันน็อค บนท้องถนน ในสังคมไทย ได้จากที่ไหน มีลักษณะอย่างไรบ้าง ซึ่งสามารถทำให้คิดเข้าใจเหตุผลว่า “ทำไมถึงไม่ใส่หมวกกันน็อคกัน” ของผู้ขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ที่ไม่สวมหมวกกันน็อค ได้ง่ายขึ้น แล้ว จึงมาคิดถึงเรื่องการรณรงค์ วิธีการทำให้ผู้ขับขี้ผู้ใช้รถมอเตอร์ไซค์ สวมใส่หมวกกันน็อกในชีวิตประจำวัน ให้เป็นเรื่องปกติ เป็นวัฒนธรรมปกติในการดำเนินชีวิต  

         ที่นี้ลองมามองแยกให้ละเอียด เป็นข้อๆ ว่าเราสามารถ เห็นภาพ เห็นพฤติกรรม วิถีชีวิต ของผู้ขับขี้ผู้ใช้รถมอเตอร์ไซค์ คนนั่งซ้อน ที่ไม่สวมใส่หมวกกันน็อค ในวิถีชีวิตประจำวัน จากบนท้องถนน ในสังคม บ้านเรา อย่างไรกันบ้าง ?

1.       ภาพแรกที่พบเห็นได้ง่าย คือ ซึ่ง เป็นภาพที่ค่อนข้างหวาดเสียว ตื่นเต้น สะเทือนใจ ทุกครั้งที่พบเห็น สำหรับตัวเองพอสมควร เพราะจากการได้เก็บข้อมูลการเสียชีวิตของเด็กจากสาเหตุภายนอก ที่ไม่ใช้โรค เพราะ ได้พบการเสียชีวิตในลักษณะนี้ ของเด็กๆอยู่เป็นระยะ คือ การที่ผู้ปกครอง ใช้รถมอเตอร์ไซค์ขับขี้เป็นพาหนะ ในการเดินทางไปรับไปส่งลูกๆหลานๆ ที่โรงเรียน หรือ ศูนย์เด็กเล็ก แล้วไม่ได้ใส่หมวกกันน็อค ให้ลูกๆหลานๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลก เพราะ ตัวผู้ปกครองเองส่วนใหญ่ได้สวมใส่หมวกกันน็อคกัน

        สามารถเห็นการเดินทางลักษณะนี้หลังเลิกเรียน  ได้ในทุกๆ ศูนย์เด็กเล็ก ทุกๆ โรงเรียน ทั้งระดับ ประถมศึกษา ไล่ไปถึงมัธยมศึกษา และ พฤติกรรมการรับส่งลูกๆหลานๆ ด้วยรถมอเตอร์ไซค์ของผู้ปกครอง ที่ไม่สวมหมวกกันน็อค ให้เด็กๆ ไม่ได้มีความแตกต่างกัน ทั้งในกรุงเทพ และที่ต่างจังหวัด มีลักษณะเหมือนกัน

         ภาพที่เห็นของการไม่สวมใส่หมวกกันน็อคของเด็กๆ จากผู้ปกครองที่ใช้ รถมอเตอร์ไซค์ ไปรับลูกๆหลานๆ ที่ศูนย์เด็กเล็ก ที่ โรงเรียน ที่หวาดเสียว ขอยกตัวอย่างที่เคยเห็นภาพ  เช่น ผู้ปกครองใช้มอเตอร์ไซค์ไปรับลูกๆหลานๆ ครั้งเดียวหลายคนอาจ  3 – 4 คน ยังเคยเห็น มีลักษณะให้เด็กนั่งหน้า 2 คน นั่งหลัง 2 คน หรือ เด็กนั่งข้างหน้า     1 คน นั่งหลัง 2 คน

        โดยเฉพาะเด็กที่เล็กๆ ที่ยังเรียนอยู่ในศูนย์เด็กเล็ก หรือระดับอนุบาล ซึ่ง เคยเห็นเด็กบ้างคนที่นั่งซ้อนมอเตอร์ไซค์ผู้ปกครอง แล้วกำลังหลับอยู่ บ้างคนสัพโหงกอยู่ เด็กที่หลับขณะซ้อนรถมอเตอร์ไซค์ เป็นภาพที่เห็นแล้วหวาดเสียว กลัวตกรถมาก

          ซึ่ง คิดว่าคงมีผู้ปกครองที่ใช้รถมอเตอร์ไซค์เป็นพาหนะในการเดินทางไปรับส่งลูกๆหลานๆ  ในแต่ละศูนย์เด็กเล็ก แต่ ละโรงเรียน แล้วได้ใส่หมวกกันน็อคให้ลูกๆหลานๆ คิดว่ามีจำนวนน้อยมาก เมื่อเทียบกับเด็กที่ผู้ปกครองได้ใส่หมวกกันน็อค ให้ลูก ให้หลาน ที่พบเป็นจำนวนมากกว่า

 2.       เป็นลักษณะพฤติกรรม ของผู้ปกครองที่ใช้รถมอเตอร์ไซค์เป็นพาหนะ รถมอเตอร์ไซค์มีความจำเป็นของครอบครับในการเดินทาง และระหว่างขับขี้ได้พาเด็กเล็กๆนั่งซ้อนมอเตอร์ไซค์ ไปด้วย ทั้งเป็นลักษณะการนั่งข้างหน้า หรือ ลักษณะนั่งข้างหลังรถมอเตอร์ไซค์ เป็นลักษณะ คล้ายๆ ในกรณีที่ 1 แต่ในกรณีนี้ ส่วนใหญ่เป็นเด็กเล็กๆ เป็นเด็กลูกอ่อน อายุ 0 – 3 ปี ที่ยังไม่เข้าโรงเรียน เช่น อาจมีเด็กบ้างรายที่พึ่งเกิดจากโรงพยาบาล แล้วผู้ปกครองเอารถมอเตอร์ไซค์ไปรับกลับมาที่บ้านพัก หรือ กรณีที่พาเด็กเล็กๆ นั่งซ้อนรถมอเตอร์ไซค์เดินทางไปทำกิจกรรมต่างๆ มีลักษณะพ่อเป็นคนขับรถมอเตอร์ไซค์ มีแม่นั่งซ้อน แล้วมีลูกนั่งซ้อนไปด้วย หรือ ญาติพี่น้องที่เป็นผู้ใหญ่เป็นคนขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ แล้วพาเด็กเล็กๆนั่งซ้อนไปด้วย ซึ่ง พบเห็นได้ทั้วไปบนท้องถนนทั้งในกรุงเทพ และ ต่างจังหวัด แล้วเป็นเรื่องที่เห็นแล้ว อาจรู้สึกแปลกๆ ได้ เพราะผู้ปกครอง หรือ ผู้ขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ ที่เป็นผู้ใหญ่ ได้สวมใส่หมวกกันน็อคให้ตัวเอง ทั้งคนขับขี้ หรือ คนนั่งซ้อนท้าย แต่กับไม่ได้สวมใส่หมวกกันน็อคให้กับเด็กๆ

 3.       ลักษณะพฤติกรรมการไม่สวมใส่หมวกกันน็อก ของการขับรถมอเตอร์ไซค์ของผู้ใหญ่ หรือเด็กวัยรุ่นหรือ เด็กๆ อาจเริ่มตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป ที่สามารถขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ได้แล้ว สามารถมองเห็น พฤติกรรมของผู้ใช้รถมอเตอร์ไซค์ ที่ไม่สวมหมวกบทท้องถนนได้ในหลายลักษณะ                                                          

       แยกลักษณะเป็นในกรุงเทพ และ ต่างจังหวัด ถ้าในกรุงเทพ ผู้ใหญ่และวัยรุ่น ผู้ขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ ที่ไม่สวมหมวกกันน็อค พบได้ว่า ส่วนใหญ่เป็นลักษณะการขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ บนท้องถนนที่ไม่ใช้ในถนนหลัก แต่เป็นในถนนรอง ถนนย่อย เป็นถนนในตรอง ซอย ต่างๆ เช่น ในซอยลาดพร้าว จรัญสนิทวงศ์ ห้วยขวาง หรือ การขับขี้ใช้รถมอเตอร์ไซค์ในหมู่บ้าน ในค่ายทหาร ในมหาวิทยาลัย หรือ เป็นการขับรถในละแวกบ้านพัก เป็นช่วงเวลาเย็นๆ ช่วงกลางคืน หรือ ได้รู้ว่าเส้นทางที่ไปนั้น ไม่มีตำรวจอยู่ที่ป้อม หรือ ตำรวจตั้งด่านจับรถอยู่

      สามารถพบการไม่สวมใส่หมวกได้มาก ในเขตชานเมือนกรุงเทพ เขตรอบนอก กันน็อคในกรุงเทพ และส่วนใหญ่พบมากในกลุ่มวัยรุ่น กลุ่มเด็กๆที่ขับขี้มอเตอร์ไซค์มากกว่าผู้ใหญ่

      ส่วนในต่างจังหวัด สามารถพบได้มาก ทั้วไป การเดินทางในต่างจังหวัด รถมอเตอร์ไซค์เป็นสิ่งสำคัญ ในการเดินทาง เช่น เดินทางจากบ้าน เข้าไปซื่อของในหมู่บ้าน ไปตลาดนัด ไป อบต ไปอำเภอ ไปทำงานที่นา ที่ไร่ ที่สวน ไปหาญาติพี่น้อง ไปทำธุระต่างๆ โดยเฉพาะการไปทำงาน ที่นา ที่ไร่ เพราะ บ้านพักอาศัยของชาวชุมชน อาจ อยู่กันคนละแห่ง กับที่ทำการเกษตร ถ้าให้เดินไปคงเสียเวลา แล้ว รถสาธารณะ รถรับจ้างต่างๆไม่มี หรือ มีน้อยด้วย หรือ ถ้ามีต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางเป็นจำนวนมาก แพง  

      การลงทุนในการซื่อรถมอเตอร์ไซค์มาใช้ ในการเดินทาง จึงทำให้ชีวิตสะดวก สบาย มากขึ้น รวดเร็วขึ้น ไปง่าย มาง่าย ประหยัดค่าใช้จ่าย คุ้มค่าในการลงทุน และคงถูกกว่าการจ้างรถรับส่ง   

       เมื่อได้ลองมานั่งย้อนคิดถึงการใช้รถมอเตอร์ไซค์ ของชาวชุมชน ที่บ้านนอก  พบว่า มีมอเตอร์ไซค์กันแทบทุกบ้านเลย ถ้าให้คิดประมาณเอา คิดว่ามี ครอบครัวที่พักอาศัยในหมู่บ้านเฉลี่ย 100 ละ 70 – 80 % ได้ ที่มีรถมอเตอร์ไซค์ไว้ใช้ในบ้านพัก แล้วบ้างบ้าน มีรถมอเตอร์ไซค์ถึง 2 คัน หรือ 3 คัน ยังมี ซึ่งคิดว่าคงมีลักษณะคล้ายๆ กันทั้วไปของหมู่บ้านในชนบททั่งประเทศ     

        และการขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ของเด็กเล็กๆ ในต่างจังหวัด อายุของการเริ่มขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ ของเด็กมีอายุน้อยลงกว่าเด็กในกรุงเทพ  อาจเริ่มขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ ตั้งแต่ อายุ 6 – 7 ขวบ อาจเป็นเพราะผู้ปกครองที่ชอบใช้ให้ลูก ไปซื่อของที่ร้านค่า ไปไร่ ไปนา ให้ตั้งแต่ยังเล็ก หรือ ให้ลูกใช้มอเตอร์ไซค์ในการเดินทางไปโรงเรียน ไปหาเพื่อนๆ   

         ซึ่ง การขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ในต่างจังหวัด นั้น แทบไม่มีการสวมใส่หมวกกันน็อคกันเลย มีน้อยมากที่สวมใส่หมวกกันน็อค โดยเฉพาะการขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ในหมู่บ้าน ในตำบลที่ตัวเองพักอาศัยอยู่ การขับขี้ ไปไร่ไปนา ไปทำงาน ไปตลาดนัด      การใส่หมวกกันน็อค ของผู้ขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ ในต่างจังหวัด ปกติใส่ เพราะเป็นช่วงเวลาที่ต้องขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ เขาไปในตัวอำเภอ ไปในตัวจังหวัด หรือ รู้ว่าจุดที่ต้องเดินทางไปมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตั้งด่านตรวจจับรถอยู่ แต่ไม่ใช้ทุกคนด้วย

          และ ผู้ขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ในเขตตัวจังหวัด มีพฤติกรรม คล้ายๆ การผู้ขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ของในกรุงเทพ ที่ไม่สวมใส่หมวกกันน็อค เมื่อขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ละแวกบ้านพัก ในถนนรอง ในถนนย่อย ในตรอก ซอย หรือ เมื่อรู้ว่าทางที่ไปไม่มีตำรวจ ไม่มีการตั้งด่านตรวจจับของเจ้าหน้าที่ตำรวจ

 4.       เป็นลักษณะของคนที่นั่งซ้อนท้ายรถมอเตอร์ไซค์ โดยไม่สวมใส่หมวกกันน็อค ซึ่ง พบได้เป็นปกติ พบได้ทั้วไป เช่น คนขับขี้รถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ซึ่ง ปกติไม่ได้ให้ผู้โดยสารสวมใส่หมวกกันน็อคเลย ในการเดินทางรับส่งใกล้ๆท่ารถ แต่สวมใส่หมวกกันน็อคให้ผู้โดยสาร ต่อเมื่อถูกว่าจ้างไปใกลๆ แต่ไม่ใช้ทุกคนทุกครั้งเสมอไป และกล่าวได้ว่าเป็นส่วนน้อยด้วยที่ได้ใส่หมวกกันน็อค

            หรือในกรณีของผู้ขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ ลักษณะที่คนมาขอซ้อนนั่งโดยบังเอินไม่ได้ได้คิดว่าต้องมีคนนั่งซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์ จึงไม่ได้เตรียมหมวกกันน็อคไว้ให้ใส่ เลยเอาหมวกกันน็อค ไว้ใช้สำหรับตัวเองเพียงไปใบเดียว เช่น มีเพื่อนที่โรงเรียนขอกลับบ้านพักด้วย หรือ เพื่อนไปทางเดียวกันจึงขอลงระหว่างทาง  หรือ ให้ไปส่งระหว่างทาง ซึ่งถ้าลองไปดูได้หลังเลิกเรียน ของนักเรียนระดับมัธยม หรือ พวกนักเรียนอาชีวะต่างๆ โดยเฉพาะในตางจังหวัดนักเรียนที่ใช้มอเตอร์ไซค์ ในการเดินทาง คนซ้อนท้าย ส่วนใหญ่ไม่ได้สวมใส่หมวกกันน็อค

 หรือการไปเที่ยวบ้านเพื่อนบ้านญาติ และ เพื่อนหรือญาติของกลับด้วย หรือไปซื่อของ ต้องให้เพื่อนอีกคนไปช่วยถือของ และ สาเหตุเหตุผลอื่นๆ อีกมากมาย ที่คนนั่งซ้อนท้ายรถมอเตอร์ไซค์ไม่ได้สวมใส่หมวกกันน็อค

           ซึ่งอาจ กล่าวได้ว่าพฤติกรรมการขับขี้ใช้รถมอเตอร์ไซค์ในสังคมไทย คนนั่งซ้อนท้ายส่วนใหญ่ ใหญ่มากๆ ไม่ได้สวมใส่หมวกกันน็อค  ไม่ว่าผู้ขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ เป็นผู้ชายผู้หญิง วัยรุ่น ทั้งในกรุงเทพ และ ต่างจังหวัดคนซ้อนส่วนใหญ่ไม่ได้สวมใส่หมวกกันน็อค ในต่างจังหวัด มากหน่อย ถ้าให้พูดแบบประชดประชันคิดว่า 100 ละ 97.50 % ได้ ของการใช้รถมอเตอร์ไซค์ที่คนซ้อนไม่ได้สวมใส่หมวกกันน็อค อิอิ  

    5.       เป็นลักษณะกลุ่มเด็กแว๊น กลุ่มเด็กที่ชอบกันจับกลุ่ม ในการขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ในเวลากลางคืน ออกไปขับขี้มอเตอร์ไซค์แข็งกัน ขับขี้ด้วยความเร็ว ไม่เคารพกฎจราจร มีจำนวนตั้งแต่หลายสิบคัน ถึง เป็นหลายร้อยคัน ซึ่งเด็กกลุ่มนี้ ทั้งคนขับขี้ คนนั่งซ้อน ทั้งที่เป็นผู้หญิง ผู้ชาย แทบไม่มีการสวมใส่หมวกกันน็อคกันเลย เคยเห็นมากับตาตัวเอง หลายครั้ง

            และเด็กกลุ่มนี้ ยังมีความเสียงมากในการเกิดอุบัติเหตุ การได้รับบาดเจ็บ หรือ เสียชีวิต เพราะ มีการร่วมตัวกันขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ กันเป็นจำนวนมาก พร้อมๆกัน ขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ด้วยรวดเร็ว ฝาฝืนกฎจราจร ขับขี้ในเวลากลางคืน ที่มีรถยนต์คันอื่นร่วมใช้ถนนด้วย และ ขับด้วยความเร็ว

            จากทั้ง 5 กรณี ที่กล่าวมาของพฤติกรรม วิถีชีวิต การขับขี้การใช้รถมอเตอร์ไซค์โดยไม่สวมใส่หมวกกันน็อค ทั้งผู้ขับขี้เอง และ คนนั้งซ้อนท้าย ทั้งเด็ก และ ผู้ใหญ่ ที่พบเห็นได้ในสังคมไทย คงครอบคลุมทุกกลุ่มคนใช้รถมอเตอร์ไซค์เป็นประจำ และไม่สวมใส่หมวกกันน็อคพอสมควร ที่นี้ลองมาหาเหตุผลตั้งคำถามของการไม่สวมใส่หมวกกันน็อค ในแต่ละข้อดูว่ามีสาเหตุ มาจากอาไรบ้าง

             ลักษณะเหตุผลในส่วนกรณี ข้อที่ 1 กับข้อ 2 เรื่องของผู้ปกครองที่ไม่สวมใส่หมวกกันน็อคให้ เด็ก ขณะพาเด็กนั่งซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์ขอร่วมเป็นอันเดียว เพราะ ประเด็นคล้ายๆ กัน

ประเด็นที่ 1 ผู้ปกครองคงอาจคิดว่าการเอาเด็กนั่งซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์ เฉพาะ เวลาขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ ในซอย ในตรอก ในถนนละแวกบ้าน ไปไร่ ไปนา ไปตลาด ไปซื่อของ ไปบ้านญาติ หรือ แค่ไปกลับโรงเรียน  เป็นการเดินทางที่ไปใกล้ๆ ในละแวกชุมชน ไม่ได้ไปไกลอะไร ไม่น่ามีอันตรายอะไร มีความปลอดภัย ไม่ต้องสวมใส่หมวกกันน็อคให้เด็กได้

ประเด็นที่ 2 คงเป็นมุมมองหนึ่งที่อยู่ในสังคมบ้านเราของผู้ปกครอง ที่คิดว่าการเป็นเด็กอยู่นั้น นั่งซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์ได้ เจ้าหน้าตำรวจไม่จับ ซึ่ง ตามความเป็นจริงของกฎระเบียบในเรื่องนี้ เจ้าหน้าตำรวจบ้านเรา ยังไม่ได้ตรวจจับเด็กๆ ที่ไม่ได้สวมใส่หมวกกันน็อค ที่นั่งซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์มากับผู้ปกครองจริงๆ เพราะ โดยส่วนตัวเอง ยังไม่เคยเห็นเหมือนกันที่ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจเขียนใบสั่งให้กับผู้ปกครอง ที่ขับขี้มอเตอร์ไซค์แล้วพาเด็กนั่งซ้อนท้ายไปด้วย ในความผิดว่าไม่สวมใส่หมวกกันน็อคให้กับเด็ก ผู้ปกครองเลยติดนิสัยที่ไม่ได้ใส่หมวกกันน็อกให้เด็กเพราะตำรวจไม่จับ

ประเด็นที่ 3 เรื่องของสภาพครอบครับที่ไม่ได้เศรษฐานะที่ดี ไม่มีเงินซื่อรถยนต์ แต่ผู้ปกครองใช้มอเตอร์ไซค์เป็นพาหนะในการเดินทาง มอเตอร์ไซค์มีความจำเป็นในการดำรงชีวิตของครอบครัว เมื่อต้องเดินทางในการไปทำกิจกรรมต่างๆ แล้วลูกๆ ไม่มีใครดูแล จึงมีความจำเป็น  ในการพาลูกนั่งซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์ไปด้วย  เช่น ไปโรงเรียน ไปตลาด ไปไร่ ไปนา ซึ่ง เคยได้ยินมาว่ามีรถมอเตอร์ไซค์ ที่ใช้ในประเทศไทย ที่ขายออกมาจากผู้ผลิตแล้ว มีไม่ต่ำกว่า 10 ล้านคัน มีครอบครัวที่ใช้มอเตอร์ไซค์ หลายล้าน ครอบครัว

ประเด็นที่ 4 การใช้มอเตอร์ไซค์เป็นพาหนะในการเดินทางของ ผู้ปกครองที่พาเด็กนั่งซ้อนไปโดยไม่สวมใส่หมวกกันน็อคให้เด็กนั้น ผู้ปกครองคงมีความตระหนัก ความเข้าใจ ความรู้ จิตสำนึก ไม่ดี ไม่เหมาะสม ในการป้องกันความปลอดภัย การบาดเจ็บ ของลูกๆหลานๆจากอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น จากการเดินทางด้วยรถมอเตอร์ไซค์

ประเด็นที่ 5 เป็นเรื่องของค่านิยม วัฒนธรรมที่ยอมรับได้ ของสังคม เพราะการที่ผู้ปกครองพาเด็กนั่งซ้อนท้ายรถมอเตอร์ไซค์ เป็นเรื่องปกติ ไม่เห็นมีใครว่าเลย ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ไม่เห็นว่าตักเตือน คนในชุมชน ไม่เห็นว่าตักเตือน ญาติพี่น้อง ไม่เห็นมีใครว่าตักเตือน พระไม่เห็นว่าตักเตือน คุณครู ผอ ที่ศูนย์เด็กเล็ก คุณครู ผอ ที่ โรงเรียน ไม่เห็นว่าตักเตือน การพาเด็กนั่งซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์ ไม่สวมใส่หวมกกันน็อค ของผู้ปกครองเป็นเรื่องปกติของชีวิตประจำวัน

ประเด็นที่ 6 มองไปที่เรื่องของหมวกกันน็อคของเด็ก ที่อาจไม่ค่อยมีขายในท้องตลาด หาซื่อยาก คิดว่า คงเป็นเหตุผลหนึ่ง ที่ผู้ปกครองไม่ได้หาหมวกกันน็อค มาให้เด็กสวมใส่ แต่เท่าที่ทราบ ใช่ว่าหาซื่อไม่ได้เลย สามารถหาซื่อได้ในห้างใหญ่ๆ หรือ ร้ายเฉพาะที่ขายหมวกกันน็อค ของเด็ก หรือ ซื่อตามอินเตอร์เน็ต

ประเด็นที่ 7 เป็นเรื่องความสิ้นเปลือง เพราะหมวกกันน็อกในปัจจุบันอย่างพอใช้ได้ ได้มาตรฐานหน่อย ราคาแพงอยู่ ใบละ 300 บาท เป็นอย่างต่ำ ผู้ปกครองอาจมองว่าเป็นของใช้สิ้นเปลือง คิดว่ามีความจำเป็นต้องซื่อ เพราะ เด็กใส่ได้ไม่นาน ได้ไม่กี่ปี เดียวเด็กโตแล้ว ไว้รอซื่อตอนโตที่เดียว

ประเด็นที่ 8 เด็กอาจไม่ชอบใส่หมวกกันน็อค หลังจากผู้ปกครองได้หาหมวกกันน็อค มาให้เด็กใส่แล้ว เพราะเด็ก อิดอัด ร้องไห้ งอแง เด็กไม่ชอบ ไม่สบายเหมือนตอนไม่สวมใส่หมวกกันน็อค ผู้ปกครองจึงตามใจเด็ก สงสารเด็ก จึงไม่ได้ใส่หมวกกันน็อคให้เด็ก ขณะนั่งซ้อนรถมอเตอร์ไซค์ อีก

ประเด็นที่ 9 รถมอเตอร์ไซค์คงแทบทุกรุ่น โดยปกติมีพื้น มีความสะดวกในการเก็บหมวกกันน็อคได้ แค่หนึ่งใบ การที่ผู้ปกครองใส่หมวกกันน็อคให้เด็กในการเดินทางไปที่อื่นๆ อาจไม่สะดวกในการเก็บหมวกกันน็อคของเด็กที่เพิ่มขึ้นมาอีกใบ จึงไม่หาหมวกกันน็อคมาสวมใส่ให้เด็ก ขณะนั่งซ้อนรถมอเตอร์ไซค์

             ลักษณะเหตุผลในส่วนกรณีข้อที่ 3 สาเหตุของผู้ที่ขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ โดยทั้วไปที่ไม่ชอบสวมใส่หมวกกันน็อค ในสังคมบ้านเรา ทั้งผู้ใหญ่ ชายหญิง วัยรุ่น และ เด็ก ทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด ในลักษณะต่างๆ

ประเด็นที่ 1 การขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ของผู้ใหญ่ หรือ วัยรุ่น หรือ เด็กที่ไม่สวมใส่หมวกกันน็อค ที่เห็นได้ทั้วไปในสังคมไทยนั้น เหตุผลที่คิดว่าสำคัญเลย เป็น เพราะ พื้นที่ ท้องถนนของผู้ใช้รถมอเตอร์ไซค์ในการขับขี้นั้น ไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือ เป็นช่วงเวลาที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตรวจจับ ไปตั้งด่าน เป็นเช่นนี้ทั้งในกรุงเทพ และ ในต่างจังหวัด เช่น พื้นที่ ถนนรอง ถนนย่อย ไม่ใช่ถนนหลัก ในตรอก ซอย ต่างๆ ในหมู่บ้าน ชุมชน ถนน ไปไร่ ไปนา เมื่อไม่มีตำรวจ ผู้ขับขี้มอเตอร์ไซค์ จึงเลือกที่ไม่ใส่หมวกกันน็อค จนเป็นนิสัย อาจเป็นเพราะขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ได้สะดวกสบายกว่าการสวมใส่หมวกกันน็อค

ประเด็นที่ 2 การขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ของผู้ใหญ่ หรือ วัยรุ่น หรือ เด็ก ที่ไม่สวมใส่หมวกกันน็อค ที่เห็นได้ทั้วไปในสังคมไทยนั้น คงเป็นเช่น เดียวกันกับในประเด็นแรก แต่มองในมุมกลับกัน คือ พื้นที่ ท้องถนนของผู้ใช้รถมอเตอร์ไซค์ในการขับขี้นั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจ ไม่ได้เข้าไปตรวจจับ ไปตั้งด่าน ไม่มีตำรวจค่อยตรวจตราดูแล อาจเป็นเพราะไม่ใช้ช่วงเวลาที่ตำรวจทำงาน เช่นเวลา กลางคืน หรือ กำลังเจ้าหน้าตำรวจในการตรวจตรา น้อย มีไม่เพียงพอ มีน้อยเกินไป เกินกว่าที่จะไปตรวจจับ ตักเตือน ดูแลผู้ขับขี้มอเตอร์ไซค์ที่ไม่สวมใส่หมวกกันน็อค ในทุกๆ พื้นที่ของถนน ของชุมชน ของหมู่บ้าน  เมื่อไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้ขับขี้มอเตอร์ไซค์ จึงเลือกไม่ใส่หมวกกันน็อค อาจเป็น เพราะ ผู้ใช้รถมอเตอร์ไซค์เป็นพาหนะในการเดินทางได้สะดวกสบายกว่าการสวมใส่หมวกกันน็อค

ประเด็นที่ 3 เป็นการเอาทั้ง 2 ประเด็นแรกมาสรุปร่วมกัน ว่า เมื่อพื้นท้องถนน ของชุมชน ของหมู่บ้าน ในถนนรอง ถนนย่อย ที่ไม่ใช่ถนนหลัก ในตรอก ซอย ต่างๆ ที่ผู้ขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ใช้นั้น ไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจจับ ควบคุมดูลู ให้ผู้ขับขี้มอเตอร์ไซค์สวมหมวกกันน็อค ในพื้นที่บนท้องถนนนั้น ผู้ขับขี้มอเตอร์ไซค์ จึงนิยม เหมือนเป็นค่านิยม เป็นวัฒนธรรม วิถีชีวิต ที่ผู้ขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ ไม่ต้องสวมใส่หมวกกันน็อค ในการขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ได้ สามารถพูดได้ในลักษณะหนึ่ง ที่กล่าวได้ว่าเป็นพื้นที่ของกฎหมายที่เข้าไปยังไม่ถึง เป็นพื้นปลอดกฎหมายระเบียบ กติกา ข้อบังคับนี้

            ซึ่งที่จริงกฎหมายนี้ต้องใช้กันทั้วประเทศ ทุกตารางนิ้วของพื้นที่ประเทศ แต่กฎหมายกติกา ข้อบังคับนี้ ยังไม่ได้เข้าไปในวิถีชีวิตของการใช้รถมอเตอร์ไซค์ เข้าไปเปลี่ยนแปลง พฤติกรรม ค่านิยม วัฒนธรรม วิถีชีวิต ของผู้ขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ ที่ไม่สวมใส่หมวกกันน็อค กลุ่มนี้ ให้สวมใส่หมวกกันน็อคทุกครั้งที่ขับขี้ใช้รถมอเตอร์ไซค์ ได้

        เพราะ ถ้าถามว่าผู้ขับขี้มอเตอร์ไซค์ ที่ไม่สวมใส่หมวกกันน็อคกลุ่มนี้ รู้หรือเปล่าว่ามีกฎหมายข้อบังคับ ว่าผู้ขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ ต้องสวมใส่หมวกน็อคทุกครั้ง ที่ใช้รถมอเตอร์ไซค์ คงต้องตอบเลยว่ารู้ รู้กันทุกคน รู้กันทั้งประเทศละ แล้วคงมีหมวกกันน็อคกันทุกคนด้วย  แต่ผู้ขับขี้รถมอเตอร์ไซค์กลุ่มนี้เลือกที่ไม่สวมใส่หมวกกันน็อค

          ลักษณะตัวอย่างถ้าเป็นในกรุงเทพ เวลาขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ในถนนหลัง เดินทางไปไกลที่พัก หรือ รู้ว่าจุดที่ไปมีเจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ มีตำรวจตั้งด่านตรวจจับอยู่ การเดินทางด้วยของผู้ขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ ต้องหาหมวกกันน็อคมาสวมใส่ทันที ใส่ทุกครั้งที่เดินทาง หรือ ในต่างจังหวัดผู้ขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ที่ไม่สวมใส่หมวกกันน็อคกลุ่มนี้ เวลาเดินทางไปในอำเภอไปในตัวจังหวัด หรือ ไปในท้องถนนที่มีเจ้าหน้าตำรวจอยู่ เจ้าหน้าตำรวจตั้งด่านตรวจจับอยู่ การเดินทางด้วยการขับขี้รถมอเตอร์ไซค์ต้องหาหมวกกันน็อมาคสวมใส่ทันที ทุกครั้งที่เดินทาง

ประเด็นที่ 4 เป็นเรื่อง ของผู้ใช้ผู้ขับขี้รถมอเตอร์ไซค์เป็นพาหนะในการเดินทาง ที่ไม่ได้สวมใส่หมวกกันน็อก นั้น  มี จิตสำนึก การเรียนรู้ การปรับตัว ในการใช้รถมอเตอร์ไซค์ ให้มีความปลอดภัย ไม่ดี ไม่เหมาะสม อาจเป็น เพราะ พื้นที่ ท้องถนนที่ขับขี้ใช้รถมอเตอร์ไซค์นั้น ไม่มี เจ้าหน้าที่ตำรวจ ค่อยตรวจจับ หรือ เป็นพื้นที่ท้องถนน ที่กฎหมาย กติกา นี้ยังเข้าไปไม่ถึง

        แต่ถามว่า ผู้ขับขี้ผู้ใช้รถมอเตอร์ไซค์ ที่ไม่สวมใส่หมวกกันน็อค กลุ่มนี้ เมื่อใช้รถมอเตอร์ไซค์ ในพื้นที่ ถนนรอง ถนนย่อย ไม่ใช่ถนนหลัก ในตรอก ซอย ต่างๆ ในหมู่บ้าน ชุมชน ถนน ไปไร่ไปนา รู้หรือเปล่าว่า ต้องสวมใส่หมวกกันน็อค ต้องตอบว่ารู้ แต่คงเป็นเพราะ มี จิตสำนึก การเรียนรู้ การปรับตัว ในการใช้รถมอเตอร์ไซค์ ให้มีความปลอดภัย ไม่ดี ไม่ระมัดระวัง ความปลอดภัยให้ตัวเอง หรือ กับลูกๆที่นั่งซ้อน เมื่อใช้รถมอเตอร์ไซค์

        ซึ่งเหมือนเป็น วิถีชีวิต พฤติกรรม เป็นบรรทัดฐานของชุมชน ของสังคม เป็นมารตฐาน วัฒนธรรม ที่ผู้ใช้รถมอเตอร์ไซค์ ยังไม่ต้องสวมใส่หมวกกันน็อคกันได้

ประเด็นที่ 5 กลุ่มคนที่ใช้รถมอเตอร์ไซค์ และชอบไม่สวมใส่หมวกกันน็อค จำนวนมาก เป็นกลุ่มเด็กๆ กลุ่มวัยรุ่น  อายุ ไม่เกิน 20 ปี อางเป็นเพราะ วุฒิภาวะ ในเรื่องความปลอดภัยไม่ดี ใส่หมวกกันน็อคแล้วอึดอัด ใส่แล้วดูไม่ดี ไม่สะดวกในการขับขี้รถมอเตอร์ไซค์เดินทาง

หมายเลขบันทึก: 405250เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2010 00:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 16:41 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท