เฉาก๋วย


ผู้บริหารมืออาชีพ

“ผู้บริหารมืออาชีพ”

        ภายใต้รูปแบบการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา ในยุคของการบริหารจัดการศึกษาไทยในปัจจุบัน ท่ามกลาง กระแส แห่งความเป็น โลกาภิวัฒน ์ (Globalization) ซึ่งอยู่ภายใต้เงื่อนไขการปรับเปลี่ยนการแข่งขัน เพื่อสร้างข้อได้เปรียบ และความมุ่งมั่นของสังคม ที่ดำเนินไป อย่างรวดเร็ว รุนแรง และมีความ หลากหลายนั้น ต่างก็ส่งผลกระทบต่อวงวิชาชีพ โดยเฉพาะด้านการศึกษา ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการ ปรับเปลี่ยนบริบท และ โครงสร้างการบริหาร ของการบริหารจัดการศึกษาภายใต้สาระแห่งบทบัญญัติของกฎหมายการศึกษา ที่เรียกว่า “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542” เป็นการจัด โครงสร้าง การบริหาร การศึกษา โดยยึดหลักของการ มีเอกภาพเชิงนโยบาย หลากหลาย ในการปฏิบัติ โดยเน้นระบบการกระจายอำนาจ และการยึดหลักการมีส่วนร่วม ของท้องถิ่นเป็นสำคัญ

       สาระสำคัญของ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ. ศ. 2542 นั้นได้เสนอแนวคิดและ วิธีการจัดการศึกษาที่ท้าทายหลายด้าน จึงเป็นเสมือนกฎหมายปฏิรูปการศึกษา ดังจะเห็นได้ว่าใน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาตินี้ให้ความสำคัญกับการปฏิรูปในด้านต่างๆ คือ ปฏิรูประบบ การศึกษา ให้สอดรับซึ่งกันและกันทั้งระบบ ปฏิรูปแนวการจัดการศึกษาโดยให้ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ปฏิรูปหลักสูตรและเนื้อหาสาระ วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน ปฏิรูประบบการบริหารและการจัดการศึกษาทั้งหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองท้องถิ่น และเอกชนโดยเน้นเรื่อง การกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วม ปฏิรูประบบครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา มุ่งเน้นให้มีการยกระดับสถานภาพของวิชาชีพครู การพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพครู ปฏิรูประบบทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา เพื่อระดมทรัพยากรมาให้เพื่อการศึกษา ปฏิรูประบบประกัน คุณภาพการศึกษา เน้นเรื่องของการประกันคุณภาพภายในและให้มีการรับรองและประเมินผลมาตรฐานจากองค์กรภายนอก และปฏิรูปสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มุ่งให้มีการผลิตใช้สื่อและเทคโนโลยีในรูปแบบที่หลากหลายที่มีคุณภาพ( สำนักงานปฏิรูปการศึกษา 2544 :15-18)

        การปฏิรูปการศึกษามุ่งให้เกิดคุณภาพทั้งในด้านผลผลิต กระบวนการจัดการ และปัจจัยต่างๆ โดยมุ่งหวังให้การจัดการศึกษา พัฒนาทั้งระบบ ( Whole School Approach : WSA) บุคคลที่มี ความสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ก็คือ ผู้บริหารสถานศึกษา เพราะต้อง เป็นผู้นำและผู้ประสานความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่มีความสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการเรียน การสอน และการเรียนรู้ รวมทั้งประสานสัมพันธ์ ระดมและจัดสรรทรัพยากรได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ( สุพล วังสินธ์. 2545 : 29) ผู้บริหารสถานศึกษาจึงเปรียบได้ว่าเป็นจอมทัพสำคัญที่จะนำพาองค์กรให้ก้าวไปในกระแสแห่งการปฏิรูปได้อย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี ผู้บริหารสถานศึกษาในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงทางบริบท (Context) หลากหลายส่วนนั้น น่าจะเปรียบได้กับ“ ผู้บริหารมืออาชีพ ” จึงจะเหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบันที่จะทำหน้าที่สำคัญให้ไปสู่เป้าหมายที่พึงประสงค์โดยการกำหนดเป็นยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาสู่การปฏิบัติที่แสดงให้เห็นศักยภาพ คุณภาพ เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหารจัดการศึกษาภายในสถานศึกษาแห่งนั้น

คำว่า “ผู้บริหาร”  ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545, สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี มี 2 ความหมาย คือ

                ผู้บริหารการศึกษา หมายถึง บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป

                ผู้บริหารการศึกษา  หมายถึง บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งทั้งของรัฐและเอกชน

 “ผู้บริหารมืออาชีพ”   การบริหารเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้, ดร.รุ่ง  แก้วแดง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง, สิงหาคม 2545 ยังเป็นคำที่ค่อนข้างใหม่สำหรับวงการศึกษาเพิ่มจะเริ่มเป็นที่กล่าวถึงมากขึ้นก็เมื่อมีการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ซึ่งในหมวด 7 ได้กำหนดไว้ว่า ทั้งผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามกฎหมายกำหนด

                แม้จะยังไม่มีใครให้คำจำกัดความไว้ที่ชัดเจนว่าผู้บริหารมืออาชีพทางการศึกษามีลักษณะอย่างไร แต่ในที่นี้หมายถึงผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับการบริหารและจัดการศึกษาทั้งในระดับสถานศึกษาและในระดับเขตพื้นที่การศึกษา

                โดยภาพรวม คำว่า “มืออาชีพ” หรือ “Professional”  มีคุณลักษณะที่สำคัญ ดังนี้

  1. ต้องเป็นคนที่ยังชีพด้วยงานนั้น คือ ต้องมีรายได้หลักจากการงานในวิชาชีพที่ทำ และทุ่มเทเวลาให้กับงานในอาชีพนั้นจริง ๆ
  2. ต้องมีการศึกษาและอบรม เพื่อให้มีความรู้ มีศาสตร์ มีหลักการ มีทฤษฎี มีการวิจัยค้น จนรู้ชัดและรู้จริง และมีการพัฒนาทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
  3. ต้องนำศาสตร์ไปใช้ในการบริหาร  มีการฝึกฝนอย่างจริงจังในอาชีพนั้น ๆ จริง ๆ จนเกิดความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ที่มากพอ
  4. ต้องมีการรับรองมาตรฐานแห่งวิชาชีพ  โดยมีการออกใบรับรองหรือใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ  เช่น แพทย์  พยาบาล  ทนายความ  นักบัญชี สถาปนิก วิศวกร  เป็นต้น ซึ่งในการตัดสินใจ การวิเคราะห์ และการดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพดังกล่าว จะต้องใช้ผู้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเท่านั้น
  5. ต้องมีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ สำหรับยึดถือและปฏิบัติโดยเคร่งครัด
  6. มีองค์กรหรือสมาคมวิชาชีพให้การรับรอง โดยการออกใบประกอบวิชาชีพ  เพื่อควบคุมกำกับดูแลคุณภาพ มาตรฐาน และจรรยาบรรณ รวมทั้งมีมาตรการลงโทษเมื่อมีการกระทำที่ผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ

จะเห็นว่า วิชาชีพที่มีการรับรองทั้งหลายล้วนแล้วแต่ใช้ทฤษฎีหลักการ และองค์ความรู้ และองค์ความรู้ที่ร่ำเรียนมาทั้งสิ้น แต่นักบริหารการศึกษาของเราน้อยรายนักที่จะใช้ศาสตร์ในการบริหารงานส่วนมากมักบริหารโดยไม่ใช้ทฤษฎี ซึ่งอาจจะเป็นเพราะการศึกษาอบรมไม่เข้มข้น ไม่มีการเชื่อมโยงทฤษฎีกับชีวิตการทำงาน  และขาดการฝึกฝนอย่างเพียงพอ ทำให้การบริหารกันแบบ “มั่ว แมเนจเมนท์”  เป็นส่วนใหญ่ ทั้ง ๆ ที่การศึกษาเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง

                สังคมไทยอยากเห็นผู้บริหารการศึกษาของเราเป็น “ผู้บริหารมืออาชีพ” มีความรู้และประสบการณ์สมกับเป็นผู้บริหารบุคลากรที่เป็นครูมืออาชีพแล้ว  ผู้บริหารยุคใหม่ต้องเป็นผู้นำทางวิชาการ  เป็นผู้นำการปฏิรูปการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติโดยเฉพาะผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีความสามารถใน “การบริหารโดยการใช้โรงเรียนเป็นฐาน” (School-based Management) ซึ่งหมายถึง ความสามารถที่จะประสานการมีส่วนร่วมของครู ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา ชุมชนและผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ ความสามารถในการระดมและใช้ทรัพยากรเพื่อการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  ตลอดจนจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพ เพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ  ไม่บริหารแบบมั่ว ๆ โดยไม่ใช้ศาสตร์หรือความรู้ที่ร่ำเรียนมา

                แม้ว่าการบริหารหน่วยงานทางการศึกษาจะไม่เห็นผลกำไรหรือขาดทุนอย่างชัดเจนอย่างภาคเอกชน  แต่เราสามารถประเมินได้ว่า  ผู้บริหารคนไหนเป็นผู้บริหารมืออาชีพ ก็คือ

1. วัดจากความสำเร็จของการปฏิบัติงาน (Outputs) โดยวัดที่การบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร ซึ่งวัตถุประสงค์ของการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  คือ ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ และมีคุณลักษณะตามมาตรฐานการศึกษาชาติ  ดังนั้น การพิจารณาว่าคนที่เข้ามาเรียนได้เกิดการเรียนรู้หรือไม่ ก็วัดได้โดยใช้มาตรฐานหรือตัวบ่งชี้ แต่ผู้บริหารมืออาชีพมิใช่เพียงทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์เท่านั้น แต่ต้องสามารถบริหารและจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย คือ ให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพสูงที่สุดโดยมีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด

2. วัดจากความสามารถในกระบวนการบริหาร (Process) ผู้บริหารมืออาชีพต้องใช้กระบวนการ P-D-C-A  วางแผนเก่ง วางแผนเป็นนำแผนฯ ที่วางไว้ไปสู่การปฏิบัติจริง  ไม่กลัวการประเมินเพื่อพัฒนา  และปรับเป้าหมายเพื่อให้วงจรการทำงานในขั้นต่อไปดีขึ้นตลอดเวลา  ฉะนั้น  ผู้บริหารมืออาชีพต้องใช้วิจัยในกระบวนการบริหาร รวมทั้งต้องมีวิสัยทัศน์มีกลยุทธ์ที่สามารถเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสอยู่เสมอ

นอกจากนี้  ยังมีความจำเป็นที่จะต้องมีระบบการสรรหาและเตรียมความพร้อมทุกด้านให้กับผู้บริหารมืออาชีพก่อนเข้าสู่ตำแหน่ง  มีการพัฒนาระหว่างประจำการ  และมีการประเมินผลงานเพื่อปรับปรุงตลอดเวลา

                สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ถ้าอ่านพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติอย่างรอบคอบจะพบว่า  ผู้บริหารมืออาชีพต้องสามารถปฏิบัติภารให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ ต้องส่งเสริมการปฏิรูปการเรียนรู้  คำนึงถึงประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ  สามารถจัดการศึกษาได้ทั้ง 3 รูปแบบ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร  จัดให้ระบบการประกันคุณภาพภายใน  บริหารการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล  รวมทั้งส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหาร และการจัดการเรียนการสอนพัฒนาบุคลากร  จัดให้ระบบการประกันคุณภาพภายใน  บริหารการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล  รวมทั้งส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหาร และการจัดการเรียนการสอน

คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา

ผู้บริหารหรือผู้นำหรือผู้จัดองค์การ หรือหัวหน้างาน ไม่ว่าหน่วยงานเล็กหรือหน่วยงานใหญ่ หน่วยงาน ราชการหรือเอกชนก็ตาม ย่อมมีบทบาทที่เป็นผลต่อการสำเร็จหรือประสิทธิภาพของงานเป็นอย่างยิ่ง บางครั้ง การจัดองค์การ แม้จะไม่เรียบร้อยถูกต้องอยู่บ้าง ก็อาจได้รับผลงานสูงได้ หากผู้บริหารมีคุณลักษณะที่ดี แต่ถ้าคุณลักษณะ หรือพฤติกรรมในการนำของผู้บริหารไม่ดี แม้การจัดองค์การถูกต้อง หรือดีเพียงใดก็ตาม ผลงาที่เกิดขึ้นของหน่วยงานนั้นๆ ย่อมสมบูรณ์ได้ยาก ดังนั้นผู้บริหารหรือผู้นำจะต้องมีคุณสมบัติเหมาะสม มีพฤติกรรม ในการนำที่ถูกต้อง เหมาะสมเพราะความสำเร็จของงานทุกด้านขององค์การ ขึ้นอยู่กับผู้บริหาร หรือผู้นำ ซึ่งจะวินิจฉัยสั่งการ หรือตัดสินใจแก้ปัญหาต่างๆ เพื่อให้งานเกิดประสิทธิภาพ ซึ่งคุณลักษณะ ที่พึงประสงค ์ของผู้บริหารหรือผู้นำนั้น ควรที่จะประกอบด้วยเรื่องที่สำคัญ ได้แก่ คุณลักษณะด้านบุคลิกภาพ คุณลักษณะด้านความเป็นผู้นำ คุณลักษณะด้านความรู้ทางวิชาการ และ คุณลักษณะด้านความสามารถในการบริหาร

 

  1. คุณลักษณะด้านบุคลิกลักษณะ
    อรุณ รักธรรม (2527 : 198-202) ได้กล่าวถึงบุคลิกภาพของผู้นำหรือผู้บริหารที่ดี
    1. เป็นผู้มีความรู้
    2. เป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
    3. เป็นผู้มีความกล้าหาร
    4. เป็นผู้มีความเด็ดขาด
    5. เป็นผู้มีความแนบเนียน มีกิริยาวาจาที่ถูกต้องเหมาะสม
    6. เป็นผู้มีความยุติธรรม
    7. เป็นผู้มีลักษณะท่าทางการแสดงออกที่ดี
    8. เป็นผู้ที่มีความอดทน
    9. เป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้น
    10. เป็นผู้ที่ไม่เห็นแก่ตัว
    11. เป็นผู้มีความตื่นตัวหรือระมัดระวังอยู่เสมอ
    12. เป็นผู้มีความพินิจพิจารณาสิ่งต่างๆ อย่างมีเหตุผล
    13. เป็นผู้มีความสงบเสงี่ยม
    14. เป็นผู้มีความจงรักภักดี
    15. เป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
    16. เป็นผู้มีความสามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี

2. คุณลักษณะด้านความเป็นผู้นำ

1. ความมีชีวิตชีวาและทนทาน (Vitality and Endurance) จะต้องมีความคล่อง แคล่วว่องไว ตื่นตัวอยู่เสมอ พร้อมอยู่เสมอที่จะรับสถานการณ์ทุกชนิด ปรับตัวได้ เปลี่ยนแปลงได้ และร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ มีความอดทนต่อการทำงานหนักและนานๆ ทนต่อความลำบากเจ็บช้ำได้ โดยไม่ปริปาก หรือแสดงอาการ ท้อแท ้ให้พบเห็น
              2. ความสามารถในการตัดสินใจ (Decisiveness) จะต้องตัดสินใจถูกต้อง ตัดสินใจ ได้เร็ว และเต็มใจเสมอ ที่จะเป็น ผู้ตัดสินใจด้วยตัวเอง ในเมื่อมีปัญหาใดๆ เกิดขึ้น
              3. ความสามารถในการจูงใจคน (Persuasiveness) ผู้นำที่สามารถชักจูงให้ผู้อื่นร่วม มือกับตน ได้เท่านั้น ที่จะได้รับความสำเร็จ
             4. ความรับผิดชอบ (Respensibility)
             5. ความฉลาดไหวพริบ (Intellectual Capacity) ความฉลาดไหวพริบจำเป็นที่สุด สำหรับผู้บริหาร หรือผู้นำ ที่จะใช้ในการบริหารงาน หรือใช้ในการวินิจฉัยสั่งการ

3. คุณลักษณะด้านความรู้ทางวิชาการ
              ความรู้ทางวิชาการได้แก่ การศึกษาวิชาการทั่วไป การศึกษาด้านวิชาชีพ และการศึกษา ให้เกิด ความรอบรู้ เชี่ยวชาญในแขนงวิชาที่คนสนใจ สำหรับใช้จัดระดับความรู้ และประสบการณ์ ในการทำงานของบุคคลที่มาทำงาน ในการเป็นผู้บริหาร

4. คุณลักษณะด้านความสามารถในการบริหาร

1.ใช้แผนเป็นเครื่องมือในการบริหารโรงเรียน อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การจัด ระบบข้อมูลสารสนเทศให้ถูกต้อง การให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผน การมอบหมายงานให้บุคลากรทำตามความรู้ความสามารถ การควบคุม กำกับ ติดตาม นิเทศงาน
           2. สนับสนุนให้บุคลากรเกิดความมุ่งมั่นในการพัฒนา ได้แก่ การส่งเสริมให้ บุคลากรพัฒนาตนเองและพัฒนางาน การจัดสวัสดิการ สิ่งอำนวยความสะดวก และประโยชน์ ตอบแทน
          3. จัดกิจกรรมหลากหลายเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน ได้แก่ การจัดกิจกรรม ทางวิชาการ การจัดบริการแนะแนว บริการสุขภาพ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ศิลปวัฒนธรรมการจัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนให้มีบรรยากาศส่งเสริมการเรียนรู้
          4. ประสานความร่วมมือจากทุกฝ่ายเพื่อพัฒนางาน
         5. ประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ เป็นการประเมินผลการปฏิบัติงาน อย่างต่อเนื่อง ใช้วิธีการที่หลากหลาย ให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม นำผลการประเมินไปนิเทศ และพัฒนางานการบริหารเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

ปัจจัยเสริมสร้างความเป็นนักบริหารมืออาชีพ

นอกจากคุณลักษณะและบทบาทที่สำคัญของการเป็นนักผู้บริหารการศึกษามืออาชีพดังได้กล่าวมาแล้วนั้น ยังมีปัจจัยเสริมบางประการที่จะเป็นตัวชี้วัด (Indicators) สำคัญของการเป็นผู้บริหารการศึกษามืออาชีพ ได้อย่างสง่างาม เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายต่อการปฏิบัติภารกิจตามบทบาท หน้าที่เชิงบริหารจัดการศึกษา ในสถานศึกษา ปัจจัยบ่งบอกความสำคัญเหล่านี้ ได้แก่
           1. คุณวุฒิด้านการศึกษา เป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญจะต้องมี กล่าวคือ ต้องมีคุณวุฒิด้านการศึกษา ตรงตามคุณสมบัติ ที่กำหนดในกฎหมายวิชาชีพ โดยเฉพาะในยุคปฏิรูปการศึกษาที่ต้องการมืออาชีพทางการบริหาร บุคคลเหล่านี้ต้องมีคุณวุฒิระดับปริญญาตรี โท เอก ด้านการศึกษาเป็นสำคัญ
           2. ประสบการณ์การปฏิบัติงาน ต้องมีประสบการณ์สั่งสมในการปฏิบัติงานที่ผ่านมาโดยเฉพาะประสบการณ ์ด้านการบริหารทางการศึกษาในองค์กรทางการศึกษาระดับต่างๆ ในตำแหน่งทาง การบริหารการศึกษา ที่ได้ดำเนินบทบาทภารกิจตามสายงานที่กำหนดไว้
           3. ประสบการณ์การฝึกอบรม ศึกษา ดูงาน ผู้บริหารการศึกษามืออาชีพต้องได้รับการเพิ่มพูน ประสบการณ์ ทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านการฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ การศึกษาดูงานจากแหล่งวิทยาการความรู้ สามารถนำประสบการณ์ที่ได้รับมาพัฒนาองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
           4. การสร้างผลงานทางวิชาการ เป็นองค์ประกอบของการสร้างนักบริหารการศึกษาก้าวสู่มืออาชีพ โดยมีผลงานทางวิชาการเป็นเครื่องมือยืนยันถึงศักยภาพดังกล่าว ผลงานสามารถจัดกระทำได้หลายรูปแบบ ทั้งด้านการวิเคราะห์งานวิจัย การเขียนและเรียบเรียงเอกสารทางวิชาการ การเขียนบทความ ตำรา ฯลฯ ออกเผยแพร่แก่หน่วยงานอื่นๆ ให้แพร่หลายทั่วถึง รวมทั้งการเป็นวิทยากรเผยแพร่ความรู้ นวัตกรรมต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
           5. ผลงานดีเด่นที่สั่งสมไว้ผลสำเร็จจากการปฏิบัติงานของผู้บริหารการศึกษามืออาชีพ อาจดูจากหลักฐาน ที่เป็นผลงานที่สั่งสมไว้ จนเป็นที่ประจักษ์แก่ชุมชน สังคม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย
           6. ลักษณะเฉพาะของเอกัตบุคคล เป็นลักษณะเฉพาะตัว (Character) ที่นักบริหารการศึกษามืออาชีพ ควรเสริมสร้างให้บังเกิดขึ้น ได้แก่
1. มีบุคลิกที่ดี สง่างาม น่านับถือ
2. มีความขยันหมั่นเพียร สัมมาอาชีพ
3. มีความรับผิดชอบสูงทั้งต่อตนเอง ครอบครัว หน่วยงาน
4. มีความซื่อสัตย์ สุจริต
5. ตรงต่อเวลา บริหารเวลาได้ดี
6. กระตือรือร้นในการทำงาน
7. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
8. รักษาระเบียบวินัยได้ดี เป็นแบบอย่างที่ดี

          ผู้บริหารสถานศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษา จะต้องมีความรู้ ความสามารถในการบริหาร จัดการ มีวิสัยทัศน์ในการบริหารการศึกษาให้ทันสมัยกับการเปลี่ยนแปลง มีภาวะผู้นำ มีมนุษยสัมพันธ์เป็นที่ยอมรับ ของผู้เกี่ยวข้อง และมีความเป็นประชาธิปไตย เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปการเรียนรู้ให้ผู้เรียนทุกคนมีความรู้ ความสามารถ บุคลิกลักษณะ และคุณสมบัติตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างแท้จริง ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพในยุคปฏิรูปการศึกษา ควรมีลักษณะที่สำคัญ คือ นักพัฒนา นักแก้ปัญหา นักตัดสินใจ นักประนีประนอม นักการฑูต นักวางแผน นักปกครอง และนักปราชญ์ ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีความสามารถในการจัดการใช้ทรัพยากรให้ได้ประโยชน์สูงสุดโดยประหยัดสุด  ผู้บริหารมืออาชีพจะไม่ท่องคาถาเชย ๆ ที่สะท้อนปัญหาซ้ำซากของการบริหารแบบโบราณที่ว่า “ขาดคน ขาดเงิน”  อีกต่อไป  ให้เกียรติและยกย่องครู ผู้ปกครอง และชุมชน ซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) กับการบริหารและจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ผู้บริหารมืออาชีพต้องมองเห็นความสำคัญและยกย่องให้เกียรติกรรมการสถานศึกษา ตลอดจนผู้ปกครองและชุมชน  ในฐานะเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีค่า  สามารถสนับสนุนสถานศึกษาได้ทั้งในเรื่องคำแนะนำ  ความคิดเห็น ภูมิปัญญาความรู้ อาคารสถานที่  แหล่งเรียนรู้ ฯลฯ

                ผู้บริหารมืออาชีพ  คือ ความหวังของการศึกษาไทย เป็นความหวังสำหรับเยาวชนผู้เป็นอนาคตของชาติและสังคมไทยโดยรวม  แม้จะเริ่มต้นโดยความพยายามในการสร้างผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบจำนวนไม่มากนัก แต่การขยายผลอย่างมั่นคงและต่อเนื่องจะนำไปสู่การยกระดับผู้บริหารสถานศึกษาทั้งประเทศให้เป็นผู้บริหารมืออาชีพโดยทั่วหน้ากัน  ประเทศไทยเราจะมีผู้บริหารสถานศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐานไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าประเทศใด  ผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพเหล่านี้แหละที่จะเป็นผู้นำการปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทยอย่างแท้จริง

หมายเลขบันทึก: 405246เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2010 00:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:57 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)

ผู้บริหารที่ดีควรพัฒนาตัวเองให้ทันยุคอยู่ตลอดเวลา ถ้ามัวยึดติดอยู่กับกรอบความรู้เดิมๆ ที่ตัวเองมี ทำเท่าที่รู้ ไม่ขวานขวายหาสิ่งใหม่สำหรับผม ผมไม่นับเป็นการบริหารครับ

คำว่า "ผู้บริหารมืออาชีพ" ก็คือมีอาชีพเป็นผู้บริหาร  ที่ไม่ว่าจะพบกับบริบทอย่างไรก็สามารถที่จะบริหารจัดการได้ทุกสถานการณ์  มุ่งจัดการ บริหาร แก้ปัญหาตามบริบทนำองค์กรสู่ความสำเร็จ  และที่สำคัญคือตัวของผู้บริหารเองต้องบริหารตนเองให้ดีทุกด้านก่อน ก็คือ การครองตน ครองคน และครองงาน

เห็นด้วยกับกระทู้ข้างต้น

นอกจากผู้บริหารจะมีความรู้ ความสามารถแล้ว ต้องรู้ทันนิสัย ผู้ใต้บังคับบัญชาด้วย

เล่ห์เหลี่ยม ต้องแพราวพราว มองลูกน้องให้ออก แล้วจะครองใจลูกน้องทั้งหมด ค่ะ

ผมคิดว่า นอกจากผู้บริหารจะมีความรู้ความสามารถในหลายๆเรื่องแล้ว และต้องทันคนด้วยแล้วนั้น

มีอีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลย นั่นคือ การที่เป็นกันเอง กับ ลูกน้อง เอาใจเขามาใส่ใจเรา มันจะทำให้ งานออกมาดีครับ

ผู้บริหารมืออาชีพ ควรมีใจที่เปิดกว้าง นอกจากมีความรู้ความสามารถแล้ว

นักบริหารมืออาชีพควรจะต้องรู้จักประยุกต์ศาสตร์ทางการบริหารมาใช้อย่างมีศิลปะเพื่อให้งานบรรลุผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ นั่นก็คือ ต้องมีทั้งศาสตร์ และศิลป์ เมื่อบริหารแล้วได้ทั้งงาน ได้ทั้งคน หมายความว่า “งานบรรลุผล คนก็เป็นสุข” ค่ะ

อภิชาติ สุขเปี่ยม

ทันคน ทันใจ ไวต่อปฎิกริยา(ต่อต้าน) มองคนออก บอกคนได้ ใช้คนเป็น เห็นปัญหาแล้วนำมาแก้ และที่สำคัญอย่าไปมุ่งบริหารแต่บุคลากรครู ดูเด็กด้วย ทำได้สักครึ่งที่ว่ามา ก็ยี่ยมแล้วครับท่าน

ประสิทธิ์ เนียมนก

การเป็นผู้บริหารที่ดีต้องมีทั้งความรู้ความสามารถและที่สำคํญต้องรักลูกน้องทุกคนรับฟังความเห็นของทุกคนและต้องใจกว้างมากๆๆๆ

สังคมไทยอยากเห็นผู้บริหารการศึกษาของเราเป็น “ผู้บริหารมืออาชีพ” มีความรู้และประสบการณ์สมกับเป็นผู้บริหารบุคลากรที่เป็นครูมืออาชีพแล้ว ผู้บริหารยุคใหม่ต้องเป็นผู้นำทางวิชาการ เป็นผู้นำการปฏิรูปการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติโดยเฉพาะผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีความสามารถใน “การบริหารโดยการใช้โรงเรียนเป็นฐาน” (School-based Management)

นางสาวสการะ ธรรมมัง

ผู้บริหารมืออาชีพ สิ่งสำคัญนอกเหนือจากความรู้ความสามารถทางวิทยาการทั้งหลายแล้วนั้น ต้องมีคุณธรรม จริยธรรม เพราะเป็นสิ่งที่สะท้อนการคิดและตัดสินใจ บริหารจัดการให้เป็นไปตามเป้าหมายและเกิดประโยชน์อันสูงสุด

พิมพ์ณพัทธ์ พ่วงกระทุ่ม

ผู้บริหาร สิ่งที่ขาดไม่ได้คือต้องบริหารด้วยพระเดช และ พระคุณ ควบคู่กันไป ขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ได้ แต่สามารถปรับลดหลั่นกันได้แล้วแต่กรณี

พระเดช บางครั้งต้องใช้ เพื่อความเด็ดขาด แต่พระคุณคือการสร้างสมบารมี ที่มีเงินกี่ล้านก็ซื้อไม่ได้

นักบริหารมืออาชีพ จะไม่หยุดนิ่งที่จะค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆ อยู่เสมอ

ไม่ว่ายากดีมีจน หรือร่ำรวยล้นฟ้า ทุกคนมีสิ่งหนึ่งที่เท่าเทียมกัน นั่นคือ เวลา 24 ชั่วโมงเท่ากัน นักบริหารที่ดีจะไม่ปล่อยให้เวลาหมุนไปโดยที่ไม่ก้าว...ไปข้างหน้า

ในโลกแห่งทุนนิยมก้อคงจะหนีไม่พ้นปัจจัยเหล่านี้ ในคนที่จะเป็นผู้บริหาร มีความรู้ มีประสบการณ์ เป็นมืออาชีพ

แต่สังคมบ้านเรายังเป็นสังคมในระบบอุปถัมภ์

"แล้วคุณคิดเหรอว่าจะมีบุคคลดังบทความ ดังกล่าวอยู่จริงๆ"

ผู้บริหารที่ดีนั้น นอกจากจะเก่งเรื่องบริหารงานแล้วต้องเก่งเรื่องบริหารคนด้วยครับ รู้จักใช้คนให้เหมาะกับงาน

ทุกคนต้องทำหน้าที่ของตนให้ดี ให้สมกับคำว่า "ผู้บริหารมืออาชีพ" ไม่ใช่ว่าทำไม่ได้ แต่เพราะยึดติดกับระบบดั่งเดิม กล้าที่จะปะเมินคนอื่น แต่ไม่ยอมให้คนอื่นมาประเมินตัวเอง .. ติดสบาย ไม่มุ่งมั่นสร้างสรรระบบการศึกษาสมัยใหม่ เพื่อให้ทันยุคสมัย ควรต้องมีการกระตือรืนร้น ตลอดเวลา มุ่งสร้างให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและ เป็นระบบ ไม่ควรเน้นความถูกใจส่วนตัว หรือพรรคพวก แต่ควรที่เน้นความถูกต้อง ประโยชน์โดยรวมขององค์กร และท้องถิ่น

อลงกต รังสิมันตุกุล

จากบทความที่อ้างมา ก็ถือว่าเป็นบทความที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย "ผู้บริหารมืออาชีพ" ควรยึดหลักบริหาร ที่มองเห็นได้ชัดเจน มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ไม่มองในมุมของตัวเองเพียงอย่างเดียว ต้องเก่งในการบริหารคน/งานระบบ ให้เหมาะกับองค์กรและสถานการณ์ปัจจุบัน สิ่งสำคัณต้องมีคุณธรรม จริยธรรม

ได้รับความรู้เรื่องคุณสมบัติ คุณลักษณะของผู้บริหารที่ดี แต่การจะเป็นผู้บริหารที่ดีได้ จะเพียงแค่ยึดหลักตามทฤษฎีข้างต้นเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ยังควรต้องมีองค์ประกอบหลายด้านซึ่งขึ้นอยู่กับบริบทขององค์กรนั้นด้วยนะจ๊ะ

อธิบายได้ละเอียดดีคับ แต่สิ่งสำคัญี่สุดก็คือประสบการณ์

ได้รับความรู้เรื่องคุณสมบัติ คุณลักษณะของผู้บริหารที่ดี ผู้บริหารที่ดีควรพัฒนาตัวเองให้ทันยุคอยู่ตลอดเวลา เช่นครองตน

ครองคน และครองงาน

ทำให้ดิฉันได้รับความรู้เกี่ยวกับผู้บริหารมืออาชีพเป็นส่งที่ดีมากคะ ผู้บริหารที่ดีควรเริ่มต้นจากตัวเองก่อนเสมอ เช่น ไม่เอาแต่ใจตัวเอง ควรเปิดใจให้กว้าง ยอมรับตัวเองว่า ตัวเองทำสิ่งใดผิดพลาดไป และต้องมีความรอบรู้ให้ทันกับทุกยุคทุกสมัย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท