แผนการสอนเด็ก เพื่อ “ความสมานฉันท์” นวัตกรรมการศึกษาที่ถูกละเลย


สมานฉันท์ กับ แผนการสอน เอ...ไปกันได้ไง?

จากการพูดคุยกับคุณครูคนหนึ่ง ผมได้ Tacit knowledge ที่มากมาย และ ได้พูดคุยเรื่องดีๆ ที่จะนำมาเขียนบันทึกให้ทุกท่านได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้         

คุณครู เล่าเรื่องแผนการเรียนการสอน “แบบรับภาษาเขา ภาษาเรา” ซึ่งย้อนไป สมัยที่คุณครูทำงานปีแรกๆ (ประมาณปี ๓๗) และสอนนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์บนดอย มีแผนการเรียนการสอนที่น่าสนใจที่คุณครูได้นำไปใช้ในพื้นที่ คือ “แผนการเรียนแบบรับภาษา”   

แค่ชื่อก็น่าสนใจแล้วนะครับ มาดูรายละเอียดกัน         

แผนการสอนนี้ใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้แก่เด็กปฐมวัย มีเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้ภาษา ...ครับ ก็คือ สอนภาษาโดยใช้วิธีการเทียบเคียงภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ กับภาษาไทยกลาง ...แล้ว ทำอย่างนี้เพื่ออะไร? อาจารย์ Handy ท่านลุกถามขึ้นมา...ทันใด!!!

ผมก็ขอเรียนดังนี้ครับ...เพื่อ(ผ่านคำบอกเล่าของครู)

·         ให้การเรียนการสอนภาษาสนุก สนาน ไม่น่าเบื่อ เพราะมีการเทียบเคียงภาษาชนเผ่ากับภาษาไทยกลาง เด็กๆจะสนุกเพราะเป็นภาษาของเขา

·         เมื่อเด็กสนุกสนาน เด็กไม่เบื่อ กระบวนการเรียนรู้ก็เกิดขึ้น อย่างเป็นธรรมชาติ

·         ได้การมีส่วนร่วม ได้ความผูกพันกับชาวบ้าน เพราะครูต้องออกไปเก็บข้อมูล คำศัพท์จากชาวบ้าน ถือโอกาสไปเยี่ยมบ้านนักเรียนด้วย

·         เด็กๆ และชุมชน มีความภาคภูมิในในอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ (อันนี้สำคัญมาก)

·         ลดช่องว่างของ เชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม 

ลองมาดูตัวอย่างการเทียบเคียงภาษาไทยกลาง กับ ภาษาลีซอ กันดูนะครับ (ใช้คำง่ายๆ สำหรับเด็กปฐมวัยกลุ่มชาติพันธุ์)

ขอบคุณ = โปโม๊ะ

พ่อ= อาปะ

แม่ = อามะ

กินข้าว= หยะหย่า

ครูผู้หญิง = ครูมะ

ครูผู้ชาย = ครูผะ          

ในกระบวนการเรียนการสอนแบบนี้ เด็กๆน้อยบนดอยสูงก็ได้เรียนภาษา โดยแผนการสอนแบบ “รับภาษา” ภาษาเขา+ภาษาเรา รวมเป็น “ภาษาของเรา” ครับ และพัฒนาเป็นสื่อท้องถิ่นเพื่อใช้ในโรงเรียนต่อไปเห็นมั้ยครับ ว่า นวัตกรรมดีๆ(Innovation) ในวงการศึกษามีมากมาย แต่น่าเสียดาย คุณครูบอกว่า แผนการสอนแบบนี้ที่แม่ฮ่องสอน `ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว”

แต่ผมคุยกับครูว่า ถึงจะถูกยกเลิก  แต่หากใช้ได้ดี มีประโยชน์แบบที่ครูเล่ามา ก็ควรจะส่งเสริมให้ครูที่อยู่ในระบบ นอกระบบ ได้เรียนรู้กระบวนการแบบนี้และนำไปใช้ด้วย

...มองเป้าหมายที่เดียวกันคือ “การสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน” ที่สำคัญ ประเด็นหนึ่งที่เหมาะสมกับสภาวะปัจจุบัน ก็คือ “ความสมานฉันท์” ครับ...

(เรื่องแบบนี้ละเอียดอ่อนนะครับ) 

หมายเลขบันทึก: 40435เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2006 17:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 12:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • น่าสนใจนะครับ
  • ผมคงบูรณาการ 3 ภาษาเช่นปกากะญอ ตะบื้อ ไทย ขอบคุณ อังกฤษ Thank you
  • เอาะเม กินข้าว eat rice คงสนุกดีนะครับ เยอเอเนอะ ผมรักคุณ I love you

อาจารย์ขจิต

ขอบคุณมากครับ ผมว่าเราทำเป็นพจนานุกรม ชนเผ่า-กลุ่มชาติพันธุ์ เทียบเคียงหลายๆภาษา ท่าจะน่าสนใจดีนะครับ

จากภาษาราชการสู่ชาติพันธุ์ลีซอกระโดดไปที่อีสานเด้อ

ขอบคุณ = โปโม๊ะ = ขอบใจ(ขอบออกมาจากใจจริงๆ)

พ่อ= อาปะ = อีพ่อ(ผู้ชายที่อีสานก็นิยมใช้อี อีไม่อาจใช้แยกเพศได้)

แม่ = อามะ= อีแม่ (อีไม่ใช้คำหยาบในภาษาอีสาน)

กินข้าว= หยะหย่า= กินหงาย กินสวย กินแล้ง(แยกมื้อการกินให้ด้วยนะครับ)

ครูผู้หญิง =ครูมะ=  คูแม่ยิง(ไม่มี ร นะคับคำว่าแม่ในคำนี้แยกเพศหมายถึงผู้หญิง)  

ครูผู้ชาย = ครูผะ =คูพ่อซาย(ออกเสียง ซ นะคับไม่มี ร เหมียนกัน

 

เย้ สนุกจังความหลากหลายเนี่ย 

คุณออต

มาแรงและน่าสนใจครับ เรื่อง ภาษา

ผมสนใจภาษาอีสานครับ เพราะไม่แตกต่างจากภาษาเหนือของผมเท่าไหร่

นี่ก็หมายความว่า...ผมไปทำงานภาคอีสานได้ใช่มั้ย???

ผมวางแผน(หากโชคดี) อาจได้ไปทำงานโซนทางโน้นครับ(ที่ไหนจะเฉลยอีกที) 

ยินดีต้อนฮับเด้อ  มาซ่อยกันเฮ็ดให้อีสานเจริญทั้งกายภาพ สังคม วัฒนธรรมและจิตวิญญาณ

สวัสดีค่ะน้องเอก..

  • ชื่นใจจังที่น้องเอกมีวิธีการ  นวัตกรรมกับการเรียนรู้ได้สมเหตุสมผล
  • อะไรก็ตามที่มุ่งเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ..ย่อมสำเร็จค่ะ
  • น้องเอกอ่านเรื่องนี้ของครูอ้อยหน่อยค่ะ...มุ่งเน้นนักเรียน..ต้องสำเร็จแน่

ขอบคุณมากค่ะ...ถ้า...comment  หนักๆนะคะ

 

P

เป็นบันทึกเก่าๆของผมที่ครูอ้อยตามมาจนพบ

ดีใจจังครับ...

ผมเองได้เรียนรู้จากผู้ที่อยู่ในวงการการศึกษามากครับ คิดว่าประสบการร์ที่ทำงานการพัฒนาเป็นคนที่ได้โอกาสดีๆเสมอๆครับ

มุ่งเน้นนักเรียน..ต้องสำเร็จแน่ จะตามไปอ่านครับ ครูอ้อย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท