นวัตกรรมที่มุ่งเน้นนักเรียน..ต้องสำเร็จแน่


นวัตกรรมทางการเรียนรู้นี้มีอยู่ 3 ชนิด  ประเภทสื่อ  อุปกรณ์  อิเล็คทรอนิกส์   และวิธีการ  
ประเภทสุดท้ายนี่ล่ะที่ครูอ้อยสนใจ   เพราะธรรมชาติวิชาภาษาอังกฤษ   ต้องทำความเข้าใจกันด้วยการใช้เทคนิคที่หลากหลาย  
ครูอ้อยคิดว่า.....ทั้งสื่ออุปกรณ์  อิเล็กทรอนิกส์นั้น   เป็นสื่อที่นำมาประกอบการสอน   ยังไม่กว้าง  ไม่ลุ่มลึกที่จะนำมาใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้   
ครูอ้อยจึงจับเรื่อง...เทคนิคการสอน   ซึ่งเป็นชื่อของบล็อกนี้ของครูอ้อย.....นั่นเอง  
วันหนึ่ง  ครูอ้อยอ่าน  ข้อความที่เพื่อนครูถามผู้เชี่ยวชาญท่านหนึ่ง    ขออนุญาตนำมาเล่าเพื่อการเรียนรู้   
ผู้เชี่ยวชาญท่านนั้นตอบได้ดีมาก  ประทับใจครูอ้อย   เรื่องการทำผลงาน   ไม่ควรมุ่งเน้นที่ผลงาน   เพราะจะเป็นการทิ้งความสำคัญกับนักเรียนออกไป..อ่านได้ที่      การทำนวัตกรรมประกอบการสอนภาษาไทย

การสอน  การผลิตนวัตกรรม  หรือการทำผลงานใดๆ   ควรมุ่งเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ   แล้ว...อะไรๆ  ก็ตามมาเอง...

ข้อนี้ครูอ้อยเห็นด้วย    เพราะ.....นวัตกรรมชิ้นนี้...ที่ครูอ้อยคร่ำหวอด   เทียวใช้ทุกวี่ทุกวัน   อดทนอดกลั้น  รอคอยให้ผ่านเวลามา 1 ปีการศึกษา  
จนขึ้นปีการศึกษาใหม่มาได้ 3 สัปดาห์  จึงพบว่า.....เทคนิคการสอนวิธีนี้...น่าจะเป็นนวัตกรรมของครูอ้อย    ครูอ้อยจึงคิดหาทฤษฎีมารองรับ  
ขณะนี้...ได้ ทฤษฎีความพร้อม   การเรียนแบบซ้ำย้ำทวน   ทฤษฎีสมอง BBL  และจะติดตามมาเมื่อครูอ้อยเริ่มจับการทบทวนวรรณกรรม  
และจากบันทึกเรื่อง.....นวัตกรรมทางการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร    และ...การสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารระดับประถม    และอื่นๆในบล็อกของครูอ้อย...เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา  
ซึ่งหากท่านผู้อ่านได้เคยสัมผัสมาเป็นระยะหนึ่ง....จะเข้าใจว่า....นวัตกรรมของครูอ้อยนี้...เกิด...ดำเนินการ...และสำเร็จ...มาได้อย่างไร

 

หมายเลขบันทึก: 102649เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2007 03:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ผมก็เชื่อว่าต้องสำเร็จแน่ครับ คุณครูเอาใจใส่กับการสอนเพื่อนักเรียนดีมากเลยครับ

การเอาใจใส่กับนักเรียน จะเกิดนวตกรรมอีกมากมาย

สำเร็จแน่ครับ คุณครู

สวัสดีค่ะคุณหมอจิ้น

  • ช่างเป็นเช้าที่สดใสจริงๆนะคะ  ที่ครูอ้อยคิดถูก  ที่อดทนกับการใช้เทคนิคการสอนนี้  ครูอ้อยเฝ้าเพียรพยายาม  ฝึกนักเรียนทุกวันให้ได้พูด  ตามธรรมชาติของการสื่อสาร  
  • และคิดถูกที่มาเผยแพร่   มีคนหลายคนเตือนครูอ้อยว่า  จะมีการนำความคิดของครูอ้อยไปดำเนินการก่อน  ครูอ้อยไม่กลัวล่ะค่ะ  เพราะเกิดที่ไหน  ก็ต้องถาวรที่นั่น  จริงไหมคะคุณหมอ 

เป็นความรู้  ความจำที่ถาวร 

ขอบคุณมากค่ะที่เป็นกำลังใจให้  แล้วจะรายงานในลำดับต่อไปค่ะ...วานให้มิตรรักตั้งชื่อ..นวัตกรรมการเรียนรู้

ครูอ้อยครับ

นวัตกรรมไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ไม่ยาก

ผมมองว่าการที่ครูตั้งใจ และทุ่มเทเพื่อนักเรียนเหมือนเช่นครูอ้อย นวัตกรรมมีหลากหลายครับ

นวัตกรรมที่ดี ไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือ สื่อ หรือ เอกสาร แต่ประกอบด้วย "ใจ" ที่เป็นผู้ให้ของครูด้วย

นวัตกรรมนั้นจึงมีชีวิต และควรค่าในการพัฒนาการเรียนการสอน

ผมดีใจครับ ที่ได้เรียนรู้ผ่านจากงานของครูอ้อย

สวัสดีค่ะน้องเอก....จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

  • ครูอ้อยก็สงสัยค่ะว่า.....ครูสอนกันหลายปี   มีเทคนิคการสอนที่ดี และมากมาย 
  • ครูอ้อยเคยนิเทศการสอนของครูภาษาอังกฤษด้วยกัน  ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน 
  • บ่อยมากที่ครูอ้อยนำมาแปลงและนำมาสอนนักเรียนในชั้นที่ครูอ้อยรับผิดชอบ  .....
  • น่าที่จะรู้จักนำมาเป็นนวัตกรรมของตัวเองได้   ครูอ้อยถึงได้..เขียน  และทำเป็นตัวอย่าง 
  • แต่จะมาลอกกันนั้น  ก็ไม่สมควร   
  • อยากจะให้รู้จักหาปลากันกินเอง  ไม่ใช่หาปลามาให้กิน    

คุณเอก...เห็นด้วยกับครูอ้อยไหมคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท