การวิจัยเชิงคุณภาพ


การวิจัยเชิงคุณภาพ

การวิจัยเชิงคุณภาพ

                                                        ดร.มณฑกานต์  ศิริมา

การที่จะศึกษาความเป็นจริงทางสังคมซึ่งมีความสลับซับซ้อนและมีความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แต่การที่จะเข้าใจธรรมชาติของความเป็นจริงทางสังคมได้อย่างครบถ้วนผู้วิจัยต้องเขาไปศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคมและศึกษาสภาพต่างๆ ในสังคมนั้นทั้งหมด เช่นประวัติความเป็นมาของชุมชน สภาพต่างๆ ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง และศิลปวัฒนธรรม ซึ่งการระเบียบวิธีการศึกษาดังกล่าวเรียกว่า การวิจัยเชิงคุณภาพ

 ความหมายของการวิจัยเชิงคุณภาพ

              การวิจัยเชิงคุณภาพ หมายถึง การค้นคว้าหรือแสวงหาข้อเท็จจริงเพื่อตอบปัญหาที่ต้องการทราบโดยอาศัยระเบียบวิธีหรือกระบวนการวิจัย ตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ การวิจัยเชิงคุณภาพเน้นที่ผู้วิจัยไปเก็บข้อมูลด้วยตนเอง(หรือผู้ช่วยวิจัย) อย่างละเอียดลึกซึ้งและเก็บข้อมูลได้รอบด้าน เพื่อให้ได้ภาพรวมทั้งหมด จึงเป็นกระบวนการที่ยุ่งยากต้องอาศัยเวลาเข้าใจธรรมชาติของความเป็นจริงของปรากฏการณ์ทางสังคม

-                   การทำวิจัยเชิงคุณภาพผู้วิจัยต้องมความสัมพันธ์กับผู้ถูกวิจัยอย่างแยกกันไม่ออก

ทั้งนี้เพื่อมุ่งเข้าใจถึงความเป็นจริงทางสังคมจึงต้องอาศัยเวลาเพื่อศึกษาชุมชนและต้องเข้าไปสังเกต แบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) และการสัมภาษณ์อย่างละเอียดแบบเจาะลึก (Indepth inteview)ผู้วิจัยต้องเข้าใจธรรมชาติของความเป็นจริงของชุมชนหรือสนามที่จะเข้าไปทำการวิจัย

-                   การวิจัยเชิงคุณภาพคือการศึกษาปรากฏการณ์จากสภาพแวดล้อมตามความเป็น

จริงในทุกมิติเพื่อให้เกิดความเข้าใจในปรากฏการณ์นั้น

-                   การวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการวิจัยภาคสนาม เป็นการศึกษาปรากฏการณ์ทาง

สังคม (Social Phonomena) ในทุกๆด้าน รวมทั้งสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่จะมีอิทธิพลหรือความสัมพันธ์กับปรากฏการ์ที่เกิดขึ้นด้วย

สรุป

                           การวิจัยเชิงคุณภาพ หมายถึง การศึกษาปรากฏการณ์สังคมเพื่อทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทั้งหมดโดยอาศัยข้อมูลที่เกดขึ้นในชุมชนนั้นเป็นสำคัญ การวิจัยเชิงคุณภาพจึงเป็นการวิจัยที่จะทำความเข้าใจภาพรวมทั้งหมดของปรากฏการณ์สังคมที่ผู้วิจัยต้องการศึกษานั่นเอง

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเชิงคุณภาพ
  1. แสวงหาคำทำนาย / การแสวงหาคำที่จะทำนาย (Prediction) ว่าจะเกิดอะไรขึ้น และ

แสวงหาทางที่จะควบคุม (Control) ให้เป็นไปตามที่ต้องการ

  1. การทำความเข้าใจ (Understanding) ปรากฏการณ์ที่เราศึกษา การทำความเข้าใจ

ปรากฏการณ์จะนำไปสู่คำทำนายได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น การที่เราจะเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์หรือปรากฏการณ์ทางสังคม เราต้องเข้าใจธรรมชาติของปรากฏการณ์ทางสังคมด้วยเพราะเหตุผลดังนี้

2.1      ปรากฏการณ์ทางสังคมที่มีลักษณะเป็นพลวัต (Dynamic) หมายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นใน

สังคมมนุษย์จะไม่หยุดนิ่ง จะต้องเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

2.2      ปรากฏการณ์ทางสังคมมีลักษณะเป็นการพัฒนาทางประวัติศาสตร์ (Historical

development) สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากเหตุและผล (cause and effect)

2.3      ปรากฏการณ์ทางสังคมมีลักษณะที่ไม่มีแบบแผนที่ตายตัว (nonorganized

pattern)

2.4      ปรากฏการณ์ทางสังคมมีลักษณะเป็น 2 มิติ  คือ อัตวิสัย เป็นการมองโดยใช้ตนเอง

เป็นหลัก หรือถือตนเป็นใหญ่ และภาวะวิสัยหรือวัตถุวิสัย เป็นการมองโดยยึดหลักความเป็นนอกทัศนะของตนเอง ดังนั้นการมองสิ่งเดียวกันของบุคคลหลายคนอาจจะมีทั้งลักษณะอัตวิสัย และภาวะวิสัย จึงเกิดขึ้นเป็นการมองที่แตกต่างกันหรือมองต่างมุม

2.5       ปรากฏการณ์ทางสังคมอาจสะท้อนให้เห็นจากหน้าที่ทางสังคม คนเราต่างก็มีหน้า

ที่ต่อสังคม ตามสถานภาพและบทบาทที่เป็นอยู่

                 - การวิจัยเชิงคุณภาพมีหัวใจสำคัญอยู่ที่การเข้าใจปรากฏทางสังคม การที่จะทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคมได้ดีต้องเข้าใจปรากฏการณ์บนพื้นฐานหรือธรรมชาติที่เกิดขึ้น

 

                ลักษณะของการวิจัยเชิงคุณภาพ

                   การศึกษาเกี่ยวกับปรากฏการณ์ซึ่งมีธรรมชาติของการเกิดปรากฏการณ์ในลักษณะต่างๆ จึงต้องพิจารณาอย่างรอบด้านเพื่อหาความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น จึงควรทำความเข้าใจถึงลักษณะที่เป็นกรอบของการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งสรุปได้ดังนี้

  1. เป็นการพิจารณาปรากฏการณ์ทางสังคมอย่างรอบด้าน หรือเป็นแบบองค์รวม

(holistic approach) เป็นการศึกษารายละเอียดของส่วนต่างๆ ที่ประกอบเข้ามาเป็นสังคม สัมพันธภาพที่ประกอบเข้ามาเป็นสังคมเรียกว่าโครงสร้างของสังคม (social  structure) และภายในสังคมนั้นจะมีการทำหน้าที่หรือบทบาทอยู่อย่างเป็นระบบ และระบบย่อยต่างๆ ก็ทำหน้าที่ต่อเนื่องไปเพื่อความอยู่รอดของสังคมนั้นๆ ได้แก่ ระบบเศรษฐกิจ ระบบสังคม ระบบการเมือง ระบบศาสนาและความเชื่อ เป็นต้น

  1. ลักษณะการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการศึกษาโดยใช้สิ่งแวดล้อมตามธรรม

ชาติ (natural setting) ผู้วิจัยต้องใช้สภาพธรรมชาติเป็นแหล่งศึกษา ผู้วิจัยต้องไปอาศัย (หรือฝังตัว) อยู่ในชุมชน(หรือสนาม) ที่ตนศึกษาอยู่เป็นแรมปี หรือจนกว่าจะเป็นเสมือนสมาชิกของชุมชนนั้น การพักอาศัยในชุมชน การพูดคุย สัมภาษณ์ และการเก็บข้อมูลตามความเป็นจริงของสภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์นั้น จะช่วยให้เข้าใจสภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์นั้น จะช่วยให้เข้าใจสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติอย่างแท้จริง

                  3. ลักษณะของการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นเป็นแบบพรรณนาและการวิเคราะห์ แบบอุปนัย จะต้องศึกษาสภาพชุมชนนั้นอย่างละเอียดทุกแง่มุม ตั้งแต่สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ของชุมชนและโครงสร้างของสังคมจึงต้องใช้วิธีการบรรยายหรือพรรณนารายละเอียดได้

  1. ลักษณะของการวิจัยเชิงคุณภาพจะเน้นกระบวนการมากกว่าผลที่จะได้รับ
  2. ลักษณะของการวิจัยเชิงคุณภาพจะสนใจความหมายของผู้ที่เกี่ยวข้องกับปรากฏ
  3. การณ์ที่ศึกษาเพื่อทำให้เกิดความเข้าใจในการกระทำนั้น  ผู้วิจัยเชิงคุณภาพจึง

ต้องเข้าไปสังเกตและมีส่วนร่วมในชุมชนที่ตนศึกษา  เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลที่ตรงตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น นั้นก็คือการมองในลักษณะของนักมานุษวิทยา  คือ การมองสังคมที่ศึกษาแบบสายตาของคนในชุมชนเอง  (ซึ่งเรียกว่า EMIC) ไม่ใช่มองจากสายตาของบุคคลภายนอก (ETIC)

  1. ลักษณะของการวิจัยเชิงคุณภาพมองผู้ถูกวิจัยในฐานะความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียม

กัน ในฐานะที่ผู้วิจัยเชิงคุณภาพต้องออกไปสู่ชุมชนอาศัยอยู่เป็นเวลานานเพื่อรวบรวมข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสังคมจึงต้องเรียนรู้จากชาวบ้านและสัมผัสกับชาวบ้าน ผู้วิจัยจะต้องปรับบุคลิกและท่าทางที่เป็นมิตรกับชาวบ้านหรือมองผู้ถูกวิจัยอยู่ในระดับเดียวกันในฐานะความเป็นมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน ไม่ใช่เป็นการเอาเปรียบผู้ถูกวิจัยหรือไม่ใช่ “การกระทำแบบตีหัวแล้ววิ่งหนี” (Hit and Run) “ (แสวง รัตนมงคลมาศ 2523 :315-334) เช่น การเก็บข้อมูลเมื่อแรกเข้าไปในชุมชนโดยไม่ทำความรู้จักหรือสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชาวบ้านก่อน เมื่อได้ข้อมูลแล้วก็ไม่ปรากฏตัวหรือไปเยี่ยมเยียนชาวบ้านอีกเลย เป็นต้น ผู้วิจัยจึงต้องทำตนเสมือนหนึ่งสมาชิกของสังคมนั้น จึงจะทำให้ผู้วิจัยเข้าใจถึงพฤติกรรมและสิ่งที่กำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ได้

  1. ลักษณะของการวิจัยเชิงคุณภาพเน้นการใช้เทคนิคการสังเกตแบบมีส่วนร่วม

เมื่อผู้วิจัยได้เข้าไปอยู่ในสนาม (สนามในที่นี้อาจเป็นหมู่บ้านในชนบทหรือในเมืองก็ได้) ผู้วิจัยจะต้องกำหนดรูปแบบในใจไว้ว่าจะทำอะไรก่อนหลังโดยต้องคำนึงถึงพื้นที่และความเหมาะสม  แต่โดยทั่วไปแล้วผู้วิจัยจะต้องอาศัยอยู่ในชุมชนและเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เท่าที่จำเป็น ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการยอมรับจากคนในชุมชนว่าเรา (ผู้วิจัย) เป็นเสมือนหนึ่งสมาชิกของชุมชนนั้น การปฏิบัติเช่นนี้ก็เพื่อจะนำไปสู่เป้าหมายของการวิจัยคือความสมบูรณ์ของการวิจัยในปั้นปลายนั่นเอง

 กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ

          การวิจัยเชิงคุณภาพมีกระบวนการหรือขั้นตองต่างๆ ที่ยืดหยุ่นเพราะเป็นการค้น

หาข้อเท็จจริงจากสังคมหรือในชุมชนหนึ่ง ปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นจึงมีความเป็นมา ซึ่งเคยกล่าวมาแล้วว่ามีพัฒนากรทางประวัติศาสตร์ ผู้วิจัยจึงต้องใช้เวลาในการศึกษา เพื่อให้เข้าถึงความรู้ที่แท้จริงใจสิ่งที่ต้องการศึกษา (Insider s view)  กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพจะพิจารณาตามลำดับดังนี้

  1. การกำหนดปัญหาในการวิจัย
  2. การกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย
  3. การเตรียมตัวและการเตรียมเก็บข้อมูล
  4. การเก็บและบันทึกข้อมูล
  5. การวิเคราะห์ข้อมูล
  6. การเขียนรายงานวิจัย

โครงเรื่อง

  1. ข้อเรื่อง
  2. ความสำคัญและที่มาของปัญหาการศึกษาค้นคว้า /วิจัย (ภูมิลำเนา)
  3. กรอบแนวคิดของการวิจัย/การศึกษาค้นคว้า
  4. ความมุ่งหมายของการวิจัย/การศึกษาค้นคว้า
  5. คำถามหลักในการวิจัย/การศึกษาค้นคว้า
  6. ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
  7. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า/วิจัย
  8. วิธีการศึกษาค้นคว้า/วิจัย
  9. นิยามศัพท์เฉพาะ
  10. เอกสารและวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย/การศึกษาค้นคว้า

 

 

********  ขอให้โชคดีนะค่ะ  *********

หมายเลขบันทึก: 403694เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2010 09:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 15:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

หากข้อมูลผิดพลาดตรวจสอบข้อมูเพิ่มเติมด้วยค่ะ

ดร.ธีรเดช สนองทวีพร

เป็นการสรุปที่อ่านแล้วเข้าใจง่ายครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท