น้ำท่วมโคราช แล้วไง????


เรื่องน้ำท่วมนี้ ผมเคยเปรยมาหลายรอบแล้วว่า การดำเนินงาน “พัฒนา” ของเรา ส่วนใหญ่จะทำไปแบบ “ความรู้ไม่พอใช้”

ช่วงสองสามวันที่ผ่านมา ทุกท่านคงได้ยินข่าวน้ำท่วมพื้นที่รอบๆเขาใหญ่ โดยเฉพาะนครราชสีมา ลพบุรี ปราจีนบุรี ชัยภูมิ และอีกหลายจังหวัดที่กำลังรอคิวตามลำดับการไหลของน้ำ

ผมก็พยายามติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด ทั้งทางสื่อและการติดต่อกับพี่สาวและญาติ ที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วม ก็ได้ความว่า สาหัสกว่าที่เคยเป็นมาตั้งแต่เกิด ก็เคยเห็นเป็นครั้งแรก

เรื่องน้ำท่วมนี้ ผมเคยเปรยมาหลายรอบแล้วว่า

การดำเนินงาน “พัฒนา” ของเรา ส่วนใหญ่จะทำไปแบบ “ความรู้ไม่พอใช้”

จากประสบการณ์ตรงของผม ที่เกิดและโตอยู่ในพื้นที่ "บ้านตะคอง" ที่เป็นชื่อรวมๆ ใช้เรียกกลุ่มบ้านที่อยู่ในร่องน้ำสองเนิน (เพี้ยนมาเป็น "สูงเนิน") นี้มาตั้งแต่เด็ก

สมัยก่อนการสร้างเขื่อนลำตะคอง ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐๖

 เราถือว่า "น้ำท่วม" เป็นเรื่อง “ธรรมดาๆ” ที่เกิดบ่อยเป็นประจำทุกปี

มากบ้างน้อยบ้าง บางปีก็ ๒-๓ ครั้ง

ในสมัยนั้น แม้จะไม่มีเครื่องมือสื่อสารใดๆ

ไม่ว่าจะเป็น วิทยุ ทีวี โทรศัพท์ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ

แต่.....

ก็เป็นที่รู้กันทั้งพื้นที่

มีการคาดการณ์ล่วงหน้าไว้เลยว่าช่วงนี้ๆ จะมีโอกาสที่จะเกิดน้ำท่วมสูง และเฝ้าระวังสังเกตฝนฟ้าว่าเป็นอย่างไร

ถ้ายิ่งสงสัยว่ามีอัตราเสี่ยงมาก ก็จะเตรียมตัวมาก จริงจัง และเข้มข้นขึ้นเป็นลำดับ

การเตรียมการมีทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว แบบเป็นที่รู้กันในพื้นที่ มีการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงเพื่อลดผลกระทบของปัญหาที่เกิดจากน้ำท่วม และ ภัยแล้งอย่างเป็นระบบ

ใครไม่คิดไม่ทำ ไม่เตรียมตัว ไม่พร้อม ถือว่าเป็นคนประหลาด ประมาท และ(ผมจำได้ว่า)ถูกมองว่าเป็นคนบ้าๆบอๆไปโน่น

เพราะจะต้องลำบากแน่นอน เมื่อมีเหตุการณ์น้ำท่วม

การเตรียมตัวเผชิญ "น้ำท่วม" ได้ฝังรากลึกลงไปในวิถีชีวิตประจำวัน และประเพณีปฏิบัติระดับท้องถิ่นไปเลย ก็ว่าได้

ตัวอย่าง การเตรียมการระยะยาว ก็ ได้แก่

  • การพยายามหาที่ทำนา ทั้งนาโคก และนาทุ่ง เพื่อกระจายความเสี่ยงทั้งฝนแล้งและน้ำท่วม และ
  • มักเก็บข้าวไว้บริโภคข้ามปี จนมีความมั่นใจว่ามีข้าวใหม่แน่ๆ (บนลานนวดข้าว) จึงขนข้าวเก่าจากยุ้งออกขาย ดังนั้นข้าวที่ขายสู่ตลาดจึงมีแต่ข้าวเก่าค้างยุ้งที่บริโภคไม่หมด
  • การช่วยเหลือพึ่งพา คบหาคนระหว่างคนที่อยู่ในที่ดอนและที่ลุ่ม เพื่อการช่วยเหลือกันในเชิงทรัพยากรน้ำ (น้ำดื่ม น้ำใช้) พื้นที่คอกสัตว์และเลี้ยงสัตว์ การพึ่งพาด้านแรงงาน และอาหารการกิน
  • การสอนให้เด็กทุกคนว่ายน้ำเป็น เพื่อป้องกันการ “จมน้ำ” เมื่อมีปัญหาน้ำท่วม
  • การสร้างบ้านใต้ถุนสูง การทำคอกไก่ คอกหมูแบบยกร้านสูงกว่าพื้นดิน
  • ฯลฯ

ตัวอย่าง การเตรียมการระยะกลาง ก็ ได้แก่

  • การเตรียมวัสดุไว้ทำสะพานเดิน ทั้งระดับครัวเรือน ระดับชุมชน และระดับพื้นที่
  • การเตรียมอุปกรณ์จับปลา ทั้งในภาวะน้ำน้อยและน้ำมาก ที่จะทำให้มีปลาบริโภคในฤดูน้ำหลาก
  • การเตรียมโอ่งน้ำไว้เก็บน้ำบริโภคของตนเอง ที่ส่วนใหญ่จะมีน้ำฝนพอแก่การบริโภคตลอดช่วงน้ำท่วม หรืออย่างน้อยก็เป็นเดือนๆ
  • ฯลฯ

ตัวอย่าง การเตรียมการในระยะสั้น ก็ ได้แก่

  • การเตรียมข้าว ฟืน และอาหารสำรองในครัวเรือน ทั้งการถนอมอาหารประเภทผัก ปลา เนื้อ ข้าวซ้อมมือ ไว้บริโภคได้อย่างน้อยเป็นหลายสัปดาห์ ถ้ามีทีท่าว่าจะมีปัญหาน้ำท่วม การเตรียมสำรองจะมากได้ยาวเป็นเดือนๆ และมักไม่มีปัญหาเพราะมักได้ปลามาเสริม ทำให้มีอาหารสมบูรณ์มากกว่าเดิมด้วยซ้ำ
  • การเตรียมพื้นที่ยกของใช้ต่างๆให้พ้นน้ำ
  • การอพยพสัตว์เลี้ยงขึ้นไปไว้ในที่สูง ในพื้นที่ที่เตรียมไว้แล้วในแผนระยะยาว
  • การเตรียมเรือของชุมชน เพื่อการช่วยเหลือกันเองและการเดินทางไปทำบุญตักบาตร ที่มักใช้เรือต้นตาลขุด ที่เรียกว่า “เรืออีโปง”
  • การปิดเปิดโรงเรียนตามจังหวะของน้ำท่วมและความสะดวกในการเดินทาง ที่ผมไม่ทราบว่าเป็นอำนาจของครูใหญ่ หรือว่าครูใหญ่ทำโดยพละการ เพราะผมจำได้ว่าสั่งกันเป็นวันต่อวัน เช่น แม้กระทั่ง วันไหนมีงานศพที่ต้องใช้ศาลาวัดประกอบพิธีการฌาปนกิจศพ โรงเรียนก็ยัง “หยุด”
  • ฯลฯ

แล้วทุกปีก็มีน้ำท่วม ไม่มากก็น้อย ทั้งจำนวนครั้งและระดับน้ำที่ท่วม 

เราก็อยู่รอดมาได้ตลอด

แบบไม่เคยคิดว่าจะมีใครมาช่วย

ปีไหนท่วมหนักหน่อยข้าวเสียหายมาก ก็ไปมักได้ข้าวจากนาโคก

ในครอบครัวที่วิกฤติมากก็ยังสามารถไปยืมข้าวจากญาติในพื้นที่อื่น ช่วยกันไปตามแต่จะช่วยกันได้

สำหรับ ปีที่ฝนแล้ง ญาติที่อยู่บนที่สูงก็อาจจะได้ข้าวน้อย ที่ต้องมาพึ่งญาติที่มีนาทุ่ง แบบถ้อยทีถ้อยอาศัย จนเกิดเป็นการแต่งงานข้ามพื้นที่ ช่วยพัฒนาการพึ่งพาได้อีกระดับหนึ่ง

แต่วันนี้ และหลายๆปีที่ผ่านมา

ข่าว ที่คนสมัยพ่อแม่ ปู่ย่า ตาทวดของผม ไม่มีวันจะเข้าใจ

ก็คือ

พื้นที่ที่น้ำท่วม ขาดน้ำดื่ม ขาดอาหาร

เพราะนั่นคืออาการของพื้นที่ “ฝนแล้ง”

ที่มันกลับตาละปัดกัน กับในปัจจุบัน เพราะพื้นที่ฝนแล้งจะไม่มีปัญหาดังกล่าว

ยิ่งกว่านั้นการ “พัฒนา” ของเราได้ทำลายทั้งฐานทรัพยากร การพึ่งพา การพึ่งตนเอง การสร้างความมั่นคงในชีวิต และการช่วยเหลือกันในพื้นที่

 ที่เรามักภาคภูมิใจในการ “พัฒนา” ของเราว่า “สำเร็จ” และ “ก้าวหน้า” หรือ “ทันสมัย”

แต่ ในความเป็นจริงกลับได้ผลตรงกันข้าม

การพึ่งพาตนเอง และพึ่งพากันเองลดลงแทบไม่เหลือในชุมชน

เพียงน้ำท่วมไม่กี่วันก็ลำบากแล้ว

ที่ทำได้ ก็มีแต่ออกรายการโฆษณาช่วยเหลือระดับประเทศ ที่มักไม่ค่อยได้ผลเท่าที่คนในพื้นที่ “จำเป็น” ต้องมี

มีการแจกแบบ “ของชำร่วย” มากกว่าที่จะได้ผลอย่างจริงจัง

ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาของการทำงานแบบ “ไม่เตรียมการ” มาก่อน

ทุกครั้งหลังน้ำลด ผมจะได้ยินเสียงค่อนแคะจากผู้ประสบภัยน้ำท่วม ที่สรุปได้ว่า “ไม่พอ” และ “ไม่พอใจ” หรือแม้กระทั่ง “ไม่ยินดีรับแจก” อันเนื่องมาจากการแจกของที่คุณภาพต่ำ หมดอายุ เป็นต้น

การพัฒนาถนน ที่เก็บน้ำ เส้นทางคมนาคม ก็มัก “ทำลาย” โครงสร้างพื้นฐานทางทรัพยากร ที่ทำให้น้ำท่วม “รุนแรง” มากขึ้นเรื่อยๆ

นอกจากจะ “พยายาม” ช่วยเฉพาะหน้าแล้ว

เราคิดที่จะทำอะไรกันในระยะยาวบ้าง

ผมคิดว่า ปัจจุบัน เรามี

  • ความรู้ “น้อยกว่าเดิม”
  • ทรัพยากร “จำกัดมากกว่าเดิม”
  • คนมีน้ำใจ “น้อยกว่าเดิม” ทั้งปริมาณและคุณภาพ
  • และ “การพัฒนา” แม้จะมีผลดีในบางเรื่อง แต่ส่วนใหญ่ มีความหมายตรงกันข้ามกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น

อีกนัยหนึ่ง

 เรามีความรู้ไม่พอใช้”

 “การเตือนภัยไม่พอใช้”

การพึ่งพาไม่พอใช้”

และ เรามีน้อยกว่าเดิมแทบทุกเรื่อง

และ ผมเชื่อว่า อีกไม่นาน

หลังจากน้ำลด เรา (ที่อยู่นอกพื้นที่) ก็จะลืม

คนในพื้นที่ก็สาละวนกับการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของตัวเองไปเรื่อยๆ

จนกว่าจะเกิดน้ำท่วมครั้งหน้า ก็มาคิดกันใหม่

ในแบบ “คิดใหม่ ทำเหมือนเดิม” แบบทำลายมากกว่า “สร้างสรรค์”

ผมจึงบังอาจ ขอเรียนถามว่า “น้ำท่วมโคราช แล้วไง???”

แค่นี้แหละครับ

 

หมายเลขบันทึก: 403666เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2010 07:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

คำถามนี้สะท้อนกับวิธีคิดการพัฒนาได้เป็นอย่างดีเลยครับ เเละนักวิชาการเองก็ต้องมีบทบาทสำคัญในการวางแผนในระดับ Scenario มองไปยังอนาคตทั้งผลลัพธ์เเละผลกระทบ

ชอบมุมมองอาจารย์จังครับ

แบบนี้แหละโดนใจสุดๆเลยค่ะเห็นด้วยอย่างยิ่งเลย

อ่าน คำถามแล้วคิดว่าอาจารย์ประชด แต่พออ่านเนื้อความจึงรู้ครับว่า"เป็นห่วงประเทศ"

เห็นด้วยกับประเด็นการพัฒนาที่มีผลกระทบต่อโครงสร้างพื้นฐานทางทรัพยากรครับ

ประเด็นหนึ่งที่กระผมสังเกตุได้คือ ถนนยิ่งสูงขึ้น เวลาน้ำท่วมระดับน้ำก็สูงขึ้นตามไปด้วย

คนสมัยก่อนจึงยังไม่เคยเห็นน้ำท่วมระดับ 2 เมตร อิอิ จริงหรือเปล่าครับ

แล้วสมัยก่อนบ้านเป็นแบบยกพื้น น้ำท่วมก็เพียงใต้ถุน ไม่ได้ท่วมบ้านจริงหรือเปล่าครับ

ไม่ต้องยกของหนีน้ำกันให้เมื่อย เพราะเขาเตรียมการณ์ระยะยาวมาก จริงหรือเปล่าครับ

แล้วอื่นๆอีกมากมายที่พัฒนา หรือช่วยเหลือกันแบบผักชี จริงหรือเปล่าครับ

แล้วเราจะทำอย่างไรกันดีหละครับ ท่าน พัฒนากันไปพัฒนากันมาผลลัพธ์กลับเป็นผลกระทบเรื่อยเลย

"ร่วมด้วย ช่วยกันป้องกันดีกว่าแก้ไขไหมหละครับ"

ชัดมากครับ นี่แหละครับปัญญาปฏิบัติของแท้ ที่ไม่ต้องง้อนักวิชาการ รัฐบาลจากส่วนกลาง ที่คิดแทนว่าเขาลำบาก แก้ปัญหาไม่ถูกจุด ความจริงคือวิถีชิวิตที่กลมกลืนกับธรรมชาติอยู่แล้ว เพียงแต่จะทำอย่างไรให้คนรุ่นหลังเข้าใจและปรับตัวได้อย่างเนียนๆ กับแนวคิดแบบระบบนิเวศน์ที่มองว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ  ไม่ได้มองว่าธรรมชาติคือสิ่งรอบตัวเรา ดังนั้นเราควรปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติ มากกว่าจะไปปรับธรรมชาติให้เข้าหาเรา 

ที่เราแก้ปัญหาไม่ถูกจุด เพราะเราไม่เคยเข้าใจปัญหา และนำภูมิปัญญามาใช้

คิดแต่ว่า

เราแน่ สามารถเอาชนะธรรมชาติได้

แล้ววันนี้ เราก็ตระหนักว่า

ไม่มีทางที่เราจะชนะธรรมชาติได้

จึงน่าจะมีทางเลือกที่เหลือ ก็คือ ใช้สุภาษิตฝรั่ง

"ถ้าเอาชนะมันไม่ได้ ก็เป็นพวกกับมันเสียเลย"

ทำตัวให้กลมกลืนกับธรรมชาติ

เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม

แบบที่คุณแสดงความเห็นนั่นแหละครับ

ดีมากเลยครับ

ตอนแรกคิดเหมือนกันกับคห.ที่ 4 นะครับ ว่าอาจารย์ประชดรึเปล่า พออ่านดูแล้วผมก็เข้าใจในสิ่งที่อาจารย์คิด

หลายอย่างมันก็จริงอย่างที่อาจารย์พูดล่ะครับ

ผมอยากให้ต่อไปเราต้องลดการแข่งขัน ลดทุกสิ่งทุกอย่างลง ไม่ต้องฟื้นฟูเศรษฐกิจให้มันดีเยี่ยม ให้เศรษฐกิจพอไปได้ก็พอ

เพราะเดี๋ยวนี้ผมเห็นเขาชอบใช้คำว่าฟื้นฟูเศรษฐกิจ อย่างนั้น อย่างนี้ ทั้ง ๆ ที่ ต่อไปในอนาคตอันใกล้นั้นสิ่งที่ยั่งยืน ไม่ใช่การฟื้นฟูอย่างรุ่งเรืองของเศรษฐกิจ แต่เป็นเศรษฐกิจ ที่มีความพอเพียง ผมเชื่ออย่างนั้นจริง ๆ ครับ เพราะความจริงอย่างหนึ่งที่อาจารย์กล่าวก็คือ การที่ทรัพยากรกำลังจะหมดไปนั่นเอง

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดี ๆ ครับ

ครับ

คำนี้ ทั้งนักวิชาการ และคนที่มีอำนาจไม่ค่อยจะเข้าใจเท่าไหร่

พอทำก็ออก "หัวมังกุฏ ท้ายมังกร" อยู่เรื่อยไป

นี่เป็นอีกความพยายามหนึ่งในการสร้างความชัดเจนของแนวคิด และแผนการทำงานครับ

Quote:

"ผมคิดว่า ปัจจุบัน เรามี

* ความรู้ “น้อยกว่าเดิม”

* ทรัพยากร “จำกัดมากกว่าเดิม”

* คนมีน้ำใจ “น้อยกว่าเดิม” ทั้งปริมาณและคุณภาพ

* และ “การพัฒนา” แม้จะมีผลดีในบางเรื่อง แต่ส่วนใหญ่ มีความหมายตรงกันข้ามกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น

Reply:

AGREE !!!

Reasons why it was so because we have full of:

1. Mong Klai^

2. Chai Kab

3. Muk Ngai'

4. Phai' Tum'

persons and most of them become our bosses.

That is the secret why BG success and will be dead next year on my forecast based on above 4 reasons.

I am glad that it has you to remind us in g2k.

Thank You,

zxc555

Your question will be answered (this time round -- I hope).

I have followed the 'monsoon' patterns and my observation is: each year, the South-West monsoon starts in June-July, intensifies and floods Pakistan, India, China, Bangladesh, Myanmar, Thailand, Laos, Cambodia and Vietnam in that order (the monsoon activities is moving from West to East). From November onwards, the reverse North-East monsoon brings the cold dry air from the North (Mongolia and beyond) till March.

I am sure we have meteorologists in Thailand observing weather patterns and give warnings of what to expect. So, people can prepare for disasters at least in the short-term.

...

I asked a question on 'readiness for disasters' in vcharkarn.com "โลกสมมติ - แก้ปัญหา ภัยอุกฤติ" (เมื่อ: 13:29 วันที่ 1 ก.ค. 2548 <http://www.vcharkarn.com/vcafe/33329> ).:

สถาณการณ์ : ถ้าวันที่ 16 ก.ค. ปีนี้ มีฝนตกมาก 600มม ในเวลาเพียง 40ชม ที่เชียงราย และพยากรณ์อากาศคาดว่า จะมีฝนติดต่ออีกหลายวัน ใน 5วัน ข้างหน้า น้ำในลำแม่น้ำโขง ก็เพิ่มระดับขึ้นแล้ว 1ม และยังสูงขื้นทุกวัน...

พยากรณ์อากาศของจีนคาดว่า จะมีฝนหนักได้ ถ้าเซลอากาศร้อน ตอนใต้ของทะเลทรายโกบิไม่สลายตัว ...

เราทำงานอยู่หน่วยกู้ชีพระะงับภัยแหน่งชาติ ได้รับวิทยุขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่บ้าน หมู่หนึ่งโดยตรง เพราะมีเหตุขัดข้องในระบบสายโทรศัพท๋ ไฟฟ้า และถนนขาด...

นี่คือ โจทย์ของ วิชาการของวันใหม่ - มาช่วยกัน สร้างหลักสูตร เนื้อหา วิชาการทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ ดีใหม?

...

My question fell on deaf ears ;-) . Since then we have on top of 'natural disasters', political terrorism and diabetes/obesity (life style health problems). Thailand is not sleeping but is very slow to get up and act.

Enough bitching. What can we do to help -- now and later? People will have to learn to take the lead in helping themselves -- without killing each others off. Sympathy goes well with self-pity people but get them nowhere. 'Jumping in the water to help' can safe a few, but in the long run, we will be exhausted and possibly drowned. I suggest we teach kids in schools how to prepare for floods, fires, storms, etc. and let them convey the words to parents and other in the community. A few hours of mock-preparation for disasters in schools each term should get 'awareness' and planning seed 'planted'. What say you?

Oops! In the last paragraph of my comment (#10 above) I made a mistake. ...'Jumping in the water to help' can safe a few, but in the long run, we will be exhausted and possibly drowned...

I should have 'Jumping in the water to help' can save a few, but in the long run, we will be exhausted and possibly drowned.

safe (noun) a strong box for keeping valuable; (adjective) free from danger or harm, without injury or damage

save (verb) rescue from danger, spend less, keep some (money) for later, record data on computer; (noun) act to prevent scoring (in sports)

ผมคิดว่าเขาไม่มีเวลาคิด และไม่มีเวลาฟัง

ทำให้ยากที่จะเข้าใจ และทำงานอย่างเหมาะสม

ยังไม่ต้องพูดเรื่องการวางแผน ที่ต้องการทั้งความรู้ ความเข้าใจ และวิสัยทัศน์ที่ดี จึงจะทำงานได้

แต่หวังว่า วันหนึ่ง...

คนทีมีเวลาเข้าใจวันนี้ จะมีโอกาสทำงานในวันหน้า

โดยเฉพาะเด็กรุ่นหลังๆ

งานเขียนนี้น่าจะอยู่อีกเป็นร้อยปี

น่าจะมีสักวันที่มีคนไปใช้ได้นะครับ

นี่คือความหวังอันริบหรี่ของผมครับ

คุณครูครับขอหนึ่งคำถามครับ

นาข้าวที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมครั้งนี้เป็น ข้าวนาปีหรือนาปรังครับ

แล้วนาของคุณครูได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมหรือฝนตกหนักครั้งนี้มากน้อยแค่ไหนครับ

ด้วยระบบการยกคันนาสูง และมีระบบระบายน้ำแบบที่คุณครูทำผมคิดว่า นาของคุณครูไม่น่าจะได้รับผลกระทบมากครับ

อยากให้คุณครูเข้ามา update เรื่องราวเกี่ยวกับนาของคุณครูในช่วงนี้ว่าเป็นยังไงบ้างเพื่อจะได้เป็นกรณีศึกษาให้กับนักเรียนชาวนาอีกเยอะแยะที่รออยู่ครับ

"...ความหวังอันริบหรี่..." Once in a while we feel that 'hope is not lost' and 'proud to be a part of' something good. ]

For example: [ IDD = IQ - 15 หรือ ปัญญาเสื่อม โพสต์เมื่อ: 16:50 วันที่ 4 พ.ย. 2548 ] :

IDD: Iodine Deficiency Disorders;

การขาดไอโอดีน มีผลเสียหลายอย่าง เช่น ปัญญาอ่อน ต่อมไทรอยด์ใต้คอโต (คุณหมอครับ ช่วยหน่อย)

หาข้อมูลเพิ่มเติมได้ด้วยคำ IDD หรือดู
http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet4/may11/cretin.htm
http://medinfo.psu.ac.th/smj2/184/1845.html

ผลงานสำรวจหลายปีมาแล้ว ให้คำสรุปว่า "...เนื่องจากเกลือมีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานและอัตราการครอบคลุมการใช้เกลือเสริมไอโอดีนในพื้นที่ ต่ำกว่าเป้าหมายที่ องค์การอนามัยโลกกำหนด..."

ใครมีข้อมูลที่ทันสมัยพอจะให้คำตอบว่า "เด็กไทย ไม่ได้ โง่ เพราะขาดไอโอดีน" ทั้งที เกลือไอโอดีน ราคาถูกกว่า ขนม ;-)
...
คุณภาพและการใช้เกลือเสริมไอโอดีนในครัวเรือนของจังหวัดในเขต 1, วัลลภา มะระยงค, http://medinfo.psu.ac.th/smj2/184/1845.html
Combating iodine and iron deficiencies through the double fortification of fish sauce, mixed fish sauce, and salt brine.
Chavasit V, Nopburabutr P, Kongkachuichai R, http://www.ncbi.nlm.nih.gov/entrez/query.fcgi?cmd=Retrieve&db=PubMed&list_uids=12891824&dopt=Abstract
Compliance of population groups of iodine fortification in an endemic area of goiter in northeast Thailand.
Saowakhontha S, Sanchaisuriya P, Pongpaew P, Tungtrongchitr R, Supawan V, Intarakhao C, Mahaweerawat U, Jotking P, Sriarkajan N, Schelp FP.
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/entrez/query.fcgi?cmd=Retrieve&db=PubMed&list_uids=7706963&dopt=Abstract

ใครทราบว่า มาตรฐานฉลากแสดง ปริมาณส่วนประกอบอาหาร และการใส่ ไอโอดีน, เหล็ก, ฯลฯ ในเกลือ น้ำปลา กะปื ปลาเค์ม กุ้งแห้ง หมึกแห้ง ของดองเค็ม ฯลฯ ของประเทศไทย เป็นอย่างไร?


สมองของชาติ เป็นเรื่องสำคัญ การสูญเสียศักยภาพของสมอง เพราะขาดไอโอดีนราคาถูกๆ เป็นเรื่องชวนเศร้า ใครรู้เรื่อง ช่วยกันหน่อยครับ

ข่าวข้างล่าง เกี่ยวข้อง กับความสามารถทางสมองของเด็ก เอามารวมกับสาเหตุจาก IDD
เด็กสมาธิสั้น http://www.matichon.co.th/khaosod/khaosod_detail.php?s_tag=03hea04301148&day=2005/11/30

วันที่ 25 มิถุนายน 2549 : วันไอโอดีนแห่งชาติ
Let us have some iodine today - for the sake of ourselves and Thailand.


Finally good news on IDD
สธ.คาดโทษโรงงานเกลือไม่เติมไอโอดีน (Thai Post * 10 ตุลาคม 2553 เวลา 21:30 น.)

สธ.คาดโทษโรงงานผลิตเกลือไม่เติมไอโอดีนภายใน 1 ม.ค.2554 มีโทษจำคุก 6เดือน-10ปี ปรับ5,000-100,000บาท

...รมว.สาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า สธ.ได้ออกประกาศกระทรวงเมื่อวันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา บังคับให้เกลือเพื่อการบริโภคและจำหน่ายในประเทศ ต้องเติมสารไอโอดีนในปริมาณที่กำหนด คือไม่ต่ำกว่า 30 มิลลิกรัมต่อเกลือ 1 กิโลกรัม โดยขณะนี้ทั่วประเทศมีโรงงานผลิตเกลือ 192 แห่ง

"ขณะนี้โรงงานขนาดใหญ่และกลาง มีกระบวนการผลิตเติมไอโอดีนแล้ว ส่วนโรงงานขนาดเล็กเติมแล้ว 38 แห่ง เหลืออีก 70% ต้องเร่งปรับปรุงให้แล้วเสร็จใน 3 เดือน โดยจะส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปแนะนำการดำเนินการ เพราะหลังวันที่ 1 มกราคม 2554 หากตรวจพบว่าเกลือบริโภคที่จำหน่ายไม่เติมไอโอดีน จะมีโทษจำคุก 6เดือน - 10 ปี ปรับ 5,000 - 100,000 บาท...

อนึ่งระหว่าง 3 เดือนนี้ สธ.จะอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการในการส่งเกลือเข้าไปตรวจ โดยจะให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดทางด่วนตรวจสารไอโอดีนในเกลือ ทราบผลภายใน 1 สัปดาห์ และให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นผู้พิจารณาอนุมัติ

So, I am cautiously optimistic ;-) if we join in and make our voice  'louder' and 'longer', we will be heard 'soon' ;-)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท