ดูหนังดูละคร แล้วย้อนดูตัว


ที่ตัดสินใจเขียนเรื่องนี้เพราะ หนึ่ง เพื่อยืนยันว่ากระบวนการกำหนดมาตรฐานเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีนี้เป็นกระบวนการที่สำคัญและเป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศ เนื่องจากเรื่องของความปลอดภัยนี้เป็นหัวใจของทุกอย่าง

ดูหนังดูละครแล้วย้อนดูตัว

 

เป็นคำพังเพยที่ได้ยินมาแต่ตั้งแต่เป็นเด็ก แต่ไม่เคยนำมาคิดเลย แต่ก็มักจะชอบหนังฝรั่งที่มักจะมีพล็อตที่ตัวเอกไม่ได้เลิศเลอเพอร์เฟค ผู้ร้ายก็ไม่ได้ร้ายโดยสันดาน แต่มักจะเป็นเหตุการณ์พาไป โดยส่วนมากแล้วมักจะเกิดจากทัศนคติของแต่ละคนที่ได้รับการหล่อหลอมมาจากอดีตอันยาวนาน ซึ่งก็คิดว่าน่าจะเป็นไปได้

 

เมื่อมีเวลาว่าง ๆ ทำให้อดคิดทบทวนเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตเรา บางเหตุการณ์ที่ไม่น่าจะเกิด ทั้งที่ดีและร้าย แต่ก็เกิดขึ้นแล้ว โทษใครก็ไม่ได้ ไม่คิดจะโทษด้วย อาจเพราะความเข้าใจที่ว่าเขาไม่ได้คิดที่จะร้ายกับเรา แต่อาจเป็นเพราะทัศนคติของเขา ทำให้เขาต้องทำแบบนั้น ตัวเขาเองก็คงไม่คิดว่าเขาทำอะไรผิด อาจไม่รู้ด้วยซ้ำว่าทำให้เกิดความเสียหายเช่นไร

 

ในสมัยที่ยังทำงานอยู่ มีหน้าที่ที่ตัวเองคิดว่ามีความสำคัญมาก คือการพยายามวางรากฐานในเรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้รังสี จากการได้คลุกคลีกับการทำงานเป็นประธานคณะทำงานจัดฝึกอบรมการป้องกันอันตรายจากรังสีของสำนักงานฯ เป็นเวลานานหลายปีพอควร ทำให้ได้รับบทเรียนมากมายจากการทำงานด้านนี้ ทั้งจากหลักสูตร ผู้สอน และผู้เรียน (สรุปว่าตัวเองก็ยังไม่พอใจผลการอบรมนี้นัก) นอกจากนี้ยังได้รับหน้าที่เกี่ยวกับการอนุญาตผู้ใช้รังสี ซึ่งก็มีปัญหาต่าง ๆ อีกมากมาย ทั้งเรื่องวุฒิของผู้ทำหน้าที่ผู้รับผิดชอบดำเนินการทางเกี่ยวกับรังสี ซึ่งยังไม่มีกำหนดแน่ชัด เมื่อทางคณะผู้พิจารณาอนุญาตยอมรับเอาผู้ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการป้องกันอันตรายจากรังสีมาเป็นหลัก ก็ทำให้เกิดเสียงบ่นมาว่าหลักสูตรนี้น่ะหรือ แน่แค่ไหนกัน แล้วผู้ที่ผ่านมหาวิทยาลัยมาล่ะ ทำไมใช้ไม่ได้ พวกคุณเอาอะไรมาตัดสิน จากปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้เราก็ได้พยายามหาทางแก้ไข โดยอาศัยการจัดทำประกาศคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการรับรองเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี http://file.portal.in.th/waraponw/rso1.pdf  ซึ่งเป็นแขนงหนึ่งของผู้รับผิดชอบดำเนินการทางเทคนิคเกี่ยวกับรังสี ในการประชุมเพื่อกำหนดมาตรฐานฯ คณะอนุกรรมการได้พิจารณาถึงแนวทางที่เป็นกลางที่สุด ที่ผู้เกี่ยวข้องทุกคนสามารถเข้ามาสู่ระบบได้ แม้ว่าจะไม่ผ่านการอบรมหลักสูตรการป้องกันอันตรายจากรังสีของสำนักงานฯ กล่าวคือผู้ที่ผ่านมหาวิทยาลัย ก็มาสมัครเข้าสอบได้ เบื้องหลังแนวคิดนี้ก็คือ เราจะสอบความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยทางรังสีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง คล้าย ๆ กับผู้ที่ต้องการขับรถก็ต้องสอบใบขับขี่ โดยเราจะจัดให้มีการเผยแพร่แนวข้อสอบ เพื่อให้ผู้ที่จะสอบได้เตรียมตัวก่อน

 

ผลของเรื่องนี้เป็นอย่างไร เราเองก็อยากรู้เหมือนกัน เพราะตอนนี้เห็นอยู่ว่ามีคนพยายามล้มล้างกระบวนการนี้ ซึ่งก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไม ตอนแรกก็กล่าวหาว่าเราทำเพื่อพวกพ้อง เพื่อตัวเองจะได้ไปสอนหลังเกษียณ นี่ก็พิสูจน์มาหนึ่งปีเต็มแล้ว ว่าไม่เป็นอย่างนั้นเลย แต่ก็ยังไม่มีใครคิดจะทำต่อให้สำเร็จ (หมายถึงเรื่องการสอบ) ก็คิดว่าคนอื่น ๆ คงไม่เข้าใจความหวังดีของเราที่พยายามสร้างขึ้นมา อาจเป็นเพราะทัศนคติของเขาไม่เอื้อให้คิดได้ว่า งานนี้จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติแค่ไหน หรือจะคิดได้แต่เรื่องใกล้ ๆ ตัว รอบ ๆ ตัว เรื่องผลประโยชน์ตัวเองแค่นั้น

 

ที่ตัดสินใจเขียนเรื่องนี้เพราะ หนึ่ง เพื่อยืนยันว่ากระบวนการกำหนดมาตรฐานเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีนี้เป็นกระบวนการที่สำคัญและเป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศ เนื่องจากเรื่องของความปลอดภัยนี้เป็นหัวใจของทุกอย่าง สอง ส่วนการดำเนินการอย่างไรนั้นสามารถปรับเปลี่ยนได้ กล่าวคือได้ออกแบบไว้แล้วให้คณะอนุกรรมการเป็นตัวช่วยในการปรับเปลี่ยนการสอบให้เหมาะสมได้เสมอ จึงขอระบายออกมาให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ หากจะช่วยกันทำให้เกิดระบบที่ดีต่อประเทศได้ก็จะเป็นพระคุณอย่างสูง

 

หมายเลขบันทึก: 403264เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2010 11:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2012 17:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

รับทราบและเป็นกำลังใจให้นะคะ

ขอบคุณมากค่ะ

วราภรณ์

  • ผมไม่มีความรู้เรื่องนี้เลยครับ
  • อ่านแล้วรู้สึกโลกของผมขยายกว้างขึ้น
  • ขอบพระคุณที่แบ่งปันครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท