พลอย
สุพรรณสา ยวงเดชกล้า สุพรรณสา ยวงเดชกล้า

วิเคราะห์การสอนงานและระบบพี่เลี้ยง


การสอนงาน วิเคราะห์ ระบบพี่เลี้ยง สุพรรณสา

            วิเคราะห์บทความเรื่อง การสอนงาน(COACHING) กับระบบพี่เลี้ยง  (mentoring  system)  ความเหมือนที่แตกต่าง

 

จากบทความที่กำหนดให้นำมาวิเคราะห์จะเห็นได้ว่าสิ่งที่เหมาะสมที่สุด   ที่จะนำมาพัฒนาทรัพยากรบุคคลในองค์กรต่างๆ  ในปัจจุบันโดยเฉพาะในวงราชการนั้นก็คือ   ระบบพี่เลี้ยง  (mentoring  system)  เพราะหน่วยงานราชการเป็นองค์กรใหญ่ที่ใช้ชีวิตแบบสัมพันธ์และใกล้ชิดกันและระบบพี่เลี้ยงไม่จำเป็นต้องอยู่ในองค์กรเดียวกันก็ได้   สามารถติดต่อ สัมพันธ์และสร้างความคุ้นเคย  ถ่ายทอดความรู้แบบตัวต่อตัวได้ทั้งนั้น

            การที่โรงเรียน  ซึ่งถือเป็นหน่วยงานราชการ  มีระบบพี่เลี้ยงนั้นดีมาก  เพราะ ระบบพี่เลี้ยงเป็นกระบวนการสร้างกลุ่มคนที่มีศักยภาพในการทำงานสูง   รักษาคนดี  คนเก่งไว้ในโรงเรียน  โดยสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้กล้าคิดกล้าทำ  กล้าแสดงออก  พร้อมรับสิ่งท้าทายใหม่ๆ  ที่จะเกิดขึ้น  รุ่นพี่ที่มีความรู้ความสามารถ 

มีประสบการณ์  มีการปฏิบัติตนที่ดี  สามารถนำสิ่งเหล่านี้มาถ่ายทอดให้กับรุ่นน้อยได้   นอกจากเรื่องงานแล้วระบบพี่เลี้ยงยังสามารถปรึกษาหารือเรื่องส่วนตัวได้อีกทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน  และรุ่นน้องที่ถูกฝึกฝนและถ่ายทอดความรู้ต่างๆ  มาแล้วจะขยายเครือข่ายเป็นรุ่นๆ  ไป  ไม่มีวันจบสิ้น  ทำให้ระบบนี้อยู่ได้นานกว่าการสอนงาน  เพราะระบบการสอนงานจุมุ่งเน้นที่การปฏิบัติงานและผลงานเมื่องานสำเร็จลุล่วงการสอนงานก็สิ้นสุดลง

ดังนั้น  การสร้างคนมาทดแทนกันนั้น ก่อนอื่นจึงต้องเริ่มจากให้สำคัญกับบุคลากรที่เรามี ที่เราอยู่ ในขณะนี้เสียก่อน ดังนั้น ผู้ที่อาวุโส หรือบุคคลที่ปฏิบัติงานก่อนเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์ มีทักษะ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งกับองค์กรในฐานะพี่เลี้ยง ด้วยพื้นความรู้จากประสบการณ์การทำงานของเขา ถ่ายทอดสู่รุ่นน้อง ให้เขาได้รับความรู้ความเข้าใจ และนำไปสู่การแก้ปัญหาในงานหรือในองค์กรได้ดี ดังนั้นจึงต้องฝึกฝน พัฒนารุ่นน้องเพื่อให้เป็นทั้งผู้ให้ และเป็นทั้งผู้รับ และนำความรู้และประสบการณ์ไปถ่ายทอดในรุ่นต่อไปได้โดยสมบูรณ์

 

 

 

 

 

 

ระบบการสอนงาน

ระบบพี่เลี้ยง

1.   ใช้ทักษะการติดต่อสื่อสารและสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

1.   ใช้ทักษะการสื่อสารและสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

2.   เป็นการพัฒนาความรู้และทักษะของบุคคลเพื่อให้มีผลการปฏิบัติงานที่ดีขึ้น

2.   เป็นการพัฒนาเชิงสนับสนุน  และให้กำลังใจสามารถนำประเด็นส่วนตัวมาหารือได้

3.   หัวหน้างานที่มีประสบการณ์มากกว่าจะสอนลูกน้อง

3.   เพื่อนร่วมงานที่มีประสบการณ์มากกว่าเป็นพี่เลี้ยงให้กับเพื่อนที่มีประสบการณ์น้อยกว่าไม่จำเป็นต้องเป็นระดับหัวหน้า  หรือผู้มีตำแหน่งสูงกว่า

4.   ใช้ระยะเวลาไม่นาน

4.   ใช้ระยะเวลาถ่ายทอดความรู้ค่อนข้างนาน

5.   ใช้การพูดคุยหรือหารือเป็นครั้งคราว

5.   การพูดคุยปรึกษาหารือเป็นไปบ่อยครั้งและใกล้ชิดสนิทสนม

6.   มีเป้าหมายชัดเจนและเฉพาะเจาะจง

6.   สามารถกำหนดเป้าหมายทางอาชีพที่เป็นไปได้จริงและบรรลุเป้าหมายนั้นได้

7.   ลูกน้องได้รู้จุดอ่อนจุดแข็งของตนเองได้รับกำลังใจเสริมถ้าผลการปฏิบัติงานออกมาดี

7.   ผู้ที่เป็นน้องเลี้ยงจะได้ฝึกภาวะความเป็นผู้นำและมีโอกาสสร้างเครือข่ายและเป็นต้นแบบต่อไป

 

 

                                                                                    นางสาวสุพรรณสา   ยวงเดชกล้า

หมายเลขบันทึก: 402888เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2010 09:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2012 05:53 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท