การศึกษาตลอดชีวิต ของพ่อผาย สร้อยสระกลาง


การเรียนรู้ตลอดชีวิต เอาคุณภาพชีวิตเป็นเป้าหมาย มีกระบวนการเรียนรู้ระดับสูงที่หลากหลาย

พ่อผาย สร้อยสระกลาง ปราชญ์ภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่ได้รับรางวัล
เกษตรกรดีเด่น สาขาปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน กระบวนการเรียนรู้
ของพ่อผายมีลักษณะเด่น ๆ ดังนี้

1.เรียนรู้ที่จะพึ่งตนเอง แต่เดิมพ่อผายก็เหมือนกับเกษตรกรคนอื่น ๆ
ที่ทำเกษตรแล้วขาดทุน เป็นหนี้ อันเกิดจาก การสร้างความโลภอยากรวย
สร้างหนี้ ทำลายสิ่งแวดล้อม ทำลายครอบครัว ก็หันกลับไปวิเคราะห์ตนเอง
ตามบริบทชีวิตหมู่บ้านว่ายังมีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ ผู้คนสามัคคีกันก็เปลี่ยน
เป้าหมายไปเป็น ไม่เอาเงินเป็นที่ตั้ง แต่เอาความสุขเป็นที่ตั้ง โดยเริ่มจาก
ขุดบ่อเก็บน้ำเลี้ยงปลา ปลูกพืชรอบบ่อ

2.เรียนรู้โดยใช้ชีวิตเป็นที่ตั้ง ชีวิตและสิ่งแวดล้อมรอบตัว และปัญหาที่
เผชิญอยู่เป็นโจทย์ในการแก้ปัญหา เป็นการศึกษาเพื่อชีวิต ไม่ใช่การศึกษา
เพื่อเตรียมการใช้ชีวิต หลักสูตรเพื่อชีวิต บางครั้งก็ไปเรียนรู้กับกลุ่มเกษตรกร
อื่นในเรื่องที่ตนสนใจ

3.เรียนรู้โดยการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และคิดแบบมีวิจารณญาณที่แท้จริง
การเรียนรู้ของพ่อผายเป็นลักษณะทฤษฎีการศึกษาขั้นสูงตามแนวของบลูม
โดยระดับสูงได้แก่ การประยุกต์ การคิดวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การประเมินค่า

4.การเรียนรู้ไม่จบสิ้น แม้ว่าจะแก้ปัญหาที่ใช้ในชีวิตได้แล้ว ก็ยังเรียนรู้ไม่จบ
ด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเกษตรกร หรือหน่วยงานอื่น ๆ นักศึกษาปริญญาเอก
หลายมหาวิทยาลัยก็ได้ไปศึกษาเรียนรู้กับพ่อผาย หลักสูตรบัณฑิตศึกษาหลาย
หลักสูตรเลือกพ่อผายเป็นกรณีศึกษา เชิญไปเป็นวิทยากร กระบวนการถ่ายทอด
ก็เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ไม่มีอหังการ มมังการ

5.เป็นการเรียนรู้ที่ออกไปจากห้องเรียน ไม่มีหนังสือให้ท่อง สัมพันธ์กับปรัชญา
การศึกษาของอเมริกันชนที่ชื่อ จอห์น ดิวอี้ learning by doing ไม่มีระบบระเบียบ
ไม่ต้องสร้างหลักฐานกระบวนการ เป็นการวางแผนแบบธรรมชาติ ตามเหตุปัจจัย
แต่ได้คุณภาพที่ปลายทาง ไม่มีการวัดประเมินผลที่โหดร้ายแบ่งแยกศักดิ์ศรีมนุษย์
และเป็นการศึกษาที่เป็นไทย อย่างแท้จริง

6.เป็นการเรียนรู้ที่ว่า constructivism ก็คือการสร้างองค์ความรู้ที่แท้จริง ซึ่งแตกต่าง
จากเกษตรกรอื่น ๆ ที่เชื่อมั่นในเกษตรกระแสหลักที่เป็นระบบวางแผนสร้างความโลภ
ก่อให้เกิดหนี้สิน พึ่งพาระบบความรู้จากภายนอก ซึ่งการสร้างความรู้และองค์ความรู้
ผ่านการปฎิบัติและการลองผิดลองถูก จนได้องค์ความรู้ชุดหนึ่งที่สามารถแก้ไขปัญหา
ของเกษตรกรไทย โดยการลงมือทำให้ดู อยู่ให้เห็น เจนจัดใ้นเรื่องการปฎิบัติ

7.ไม่สนใจการรับรอง พ่อผายได้เรียนรู้และจัดการเรียน มีเป้าหมายเพื่อคุณภาพชีวิต
ของตนเอง ครอบครัว ชุมชน ไม่ได้มุ่งเรื่องการรับรอง หรือมีการรับรองแต่ก็ไม่ใช่สาระสำคัญ แต่ภายหลังก็ได้รับการยกย่องให้เป็นเกษตรกรดีเด่น

ซึ่งวิชาการระดับสูงขนาดนี้ การให้ปริญญาดุษฎีบัณฑิตเพื่อรับรองท่านก็ยังถือว่าน้อยไป
เอาเป็นว่า การศึกษาเรียนรู้ตลอดชีวิตของท่านนั้นทรงพลังเป็นอย่างยิ่ง และไม่ใช่ท่าน
เพียงคนเดียว ยังมีปราชญ์ชาวบ้านภาคอีสาน และของภาคอื่น ๆ อีกมากมาย ที่ไม่ประสงค์ต่อใบรับรอง  แต่ประสงค์ต่อคุณภาพชีวิตของตนเองและสังคม ยังมีการเรียนรู้
ที่ไม่รู้จบแต่สร้างคุณภาพชีวิตอีกมากมาย   

หมายเลขบันทึก: 400948เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2010 06:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะท่านผอ.

ชื่นชมพ่อผาย และปราชญ์ชาวบ้าน หลายๆ ท่าน ซึ่งสังคมควรยกย่อง อย่างยิ่งยวด

ปริญญา การรับรองจากสถาบันไหนๆ ก็แค่นั้น สิ่งสำคัญคือ ความดีที่ไร้เงื่อนไข

เชื่อมั่น ศรัทธา ภาคภูมิใจ ไปกับภูมิปัญญาบ้าน วิถีชีวิต ความสุข พอใจ พอเพียง

ขอบพระคุณค่ะ

  • สวัสดีครับ ผอ.วัฒนา  คุณประดิษฐ์
  • ผมเคยไปศึกษาดูงานกับท่าน 2 ครั้ง ดีมากๆ เลยครับ
  • ครั้งแรกตอนเรียน ชั้น ม.1
  • ครั้งที่ 2 ตอนรับราชการเป็นครูแล้ว
  • ที่บุรีรัมย์ มีปราชญ์ชาวบ้าน อยู่ 3 ท่าน คือ พ่อผาย พ่อคำเดื่อง  ภาษี และพ่อสุทธินันท์  ปรัชญพฤทธิ์  ครับ

ตามมาเชียร์ ปราชญ์แห่งสะตึก พ่อครูขา ณ สวนป่า ค่ะ ;)

เรียนคุณวัฒนาครับ

ขอเป็นเทคนิคการปลูกต้นไม้ ชนิดของต้นไม้ ประกอบภาพด้วยนะครับ ท่าว่างพอจะติดตามครับ เพราะชื่นชอบ

สวัสดีครับคุณฐานิศวร์ ผมอิจฉาคุณจัง
คุณได้อยู่ไกล้แหล่งเรียนรู้เรียนรู้ตลอดชีวิต
สวัสดีครับ คุณ poo เราต่างชอบเหมือนกัน
สวัสดีครับ คุณโสภณ เรื่องต้นไม้ ใบหญ้า มีคนเขียนเยอะแยะแล้วขอรับ
แต่เอาไว้สักปีที่ได้คลุกคลีกับมันอย่างจริงจัง ตอนนี้ก็ฝากเทวดาเลี้ยงอยู่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท