ปารินุช
นางสาว ปารินุช บริสุทธิ์ศรี

การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาได้กลายมาเป็นประเด็นสำคัญทางการค้าระหว่างประเทศ


การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญามีความเกี่ยวพันโดยตรงกับประโยนช์ของชาติหรือไม่อย่างไร

        ในปัจจุบัน การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญามีความเกี่ยวพันโดยตรงกับประโยนช์ของชาติ ประเด็นของทรัพย์สินทางปัญญานำมาเกี่ยวกับประโยนช์ทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า เนื่องจากทรัพย์สินทางปัญญาเป็นองค์ประกอบที่จำเป็นของสินค้าและบริการ ฉะนั้น การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่ไม่เพียงพออาจเพิ่มขอบเขตการแข่งขันนอกกฎหมายและการและการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมกับสินค้าคู่แข่งเพราะไม่ได้รวมค่าวิจัยและพัฒนาสินค้าและบริการนั้น    สถานการณ์นี้จึงถูกอ้างว่าเป็นสาเหตุแห่งการบิดเบือนทางการค้าประเทศ ซึ่งเผชิญหน้าหรือกำลังเผชิญหน้าผลกระทบทางเศรษฐกิจจึงร้องขอประเทศคู่ค้าของตนในการคุ้มครองแก่ทรัพย์สินทางปัญญาอย่างประสิทธิภาพและเพียงพอ      

          ในระดับพหุภาคี ความสำเร็จในการก่อตั้งองค์กรการค้าโลก ( WTO ) เป็นจุดเริ่มที่สำคัญที่แสดงให้เห็นถึงกระแสของประเทศโลกที่หนึ่ง ที่ต้องการให้มีการวางกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศ    ในการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การเจรจาแกตต์ รอบอุรุกวัย ได้มีการบรรจุระเบียบวาระเรื่องการค้าที่เกี่ยวข้องกับสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา ประเด็นนี้ถูกเสนอโดยกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมซึ่งมีผลประโยนช์ในทางเศรษฐกิจมากในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา กลุ่มประเทศเหล่านี้ตระหนักว่ากฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในความตกลงระหว่างประเทศที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอ เนื่องจากไม่มีมาตรการณ์บังคับในกรณีที่ประเทศสมาชิกไม่สามารถปฎิบัติตามกฎเกณฑ์ได้หากประเด็นในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวพันกับประเด็นในเรื่องการค้าระหว่างประเทศ โดยนำเอากระบวนการระงับข้อพิพาทมาใช้ การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในระดับโลกก็จะเป็นจริง  เนื่องจากเศรษฐกิจของแต่ละประเทศต่างก็ขึ้นอยู่กับการส่งออกสินค้าบริการ การท้าทายกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศใหม่นี้อาจส่งผลร้ายต่อเศรษฐกิจการส่งออกของประเทศ กลไกใหม่ได้ผูกการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเข้ากับการค้าระหว่างประเทศ คือ ความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเข้ากับการค้าระหว่างประเทศ  TRIPs  Agreement  ซึ่งมีผลใช้ในวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๓๘

          ในระดับทวิภาคี ประเทศกำลังพัฒนาบางประเทศ สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ได้มีการนำมาตรการทางการค้ามาใช้ในการควบคุมการละเมิดสิทธิทางทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ   นอกจากนี้ ประเทศไทยเองในปัจจุบันมีนโยบายจัดทำเขตการค้าเสรี (FTA) กับหลายประเทศ โดยมีประเด็นในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา เป็นเรื่องหนึ่งที่ประเทศคู่ค้ามักหยิบยกขึ้นเจรจา ประเด็นหลักในการ เจรจาด้านทรัพย์สินทางปัญญาอาจครอบคลุมตั้งแต่เรื่องมาตรฐาน การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ประเภทต่างๆ กลไกในการบังคับใช้สิทธิ ไปจนถึงเรื่องความร่วมมือ          

           จะเห็นได้ว่าวัตถุประสงค์ของการคุ้มครองในปัจจุบันจึงไม่ใช่มีเพียงเพื่อกระตุ้นให้มีการสร้างสรรค์ทางปัญญาและปกป้องผลประโยนช์ของบุคคล อีกต่อไป แต่ยังเพื่อทำให้เศรษฐกิจของชาติมั่นคงขึ้น

หมายเลขบันทึก: 39980เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2006 08:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 19:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท