การปรับโครงสร้างของงองค์กร


เมื่อสำนักวิทยบริการ มข . ปรับโครงสร้างองค์กร แล้ว "ใคร" ได้อะไร

ดังที่ทราบกันแล้วว่าสำนักวิทยบริการ มข. ได้ปรับโครงสร้างใหม่ เป็นการบริหารงานแบบกระจายอำนาจในรูปของ flat organization ทั้งนี้เนื่องจากการปรับเปลี่ยนของสิ่งแวดล้อมทางสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี  ในการดำเนินงานมีการจัดองค์กรในรูปแบบเมทริกซ์มากขึ้น โดยมีสายการบังคับบัญชาที่เป็นงานประจำและงานโครงการ ในข้อดีนั้น ผู้ปฏิบัติจะได้แสดงศักยภาพเต็มที่ หน่วยงานจะได้ผลลัพท์ดีที่ แต่บางครั้งผู้ปฏิบัติงานอาจสับสนในสายการบังคับบัญชาก็ได้ แม้ว่าการดำเนินงานตามโครงสร้างใหม่อาจมีอุปสรรคในช่วงของการปรับเปลี่ยนบ้าง แต่ข้อดีของการปรับโครงสร้างคือ ทำให้เกิดโครงสร้างแบบมีชีวิต ซึ่งมีลักษณะดังนี้

- มีการกำหนดงานตามกิจกรรมที่จะทำเพื่อบรรลุเป้าหมาย อาจมีการปรับเปลี่ยนงานตามความเหมาะสม

-ผู้ปฏิบัติงานได้ถูกกำหนดบทบาทหน้าที่อย่างหลวมๆ เพื่อความยืดหยุ่นในการทำงาน

- การไหลเวียนของข่าวสารเป็นไปได้ทั้งแนวนอนและแนวดิ่ง

-ผู้บริหารพร้อมให้คำแนะนำ และให้ข้อมูลแก่พนักงาน

-เน้นการเดินสู่เป้าหมายขององค์การร่วมกัน

จากข้างต้นจะเห็นว่า มข. เป็นองค์กรยุคใหม่ ที่เน้นโครงสร้างแบบมีชีวิต ไม่ใช่โครงสร้างแบบเครื่องจักร ที่แบ่งงานตามความชำนาญ บทบาทของผู้ปฏิบัติงานถูกกำหนดชัดเจนด้วยวิธีการทางเทคนิค การไหลเวียนของข่าวสารเป็นทิส?างในแนวดิ่ง จากผู้บริหารสู่ผู้ปฏิบัติ ผู้บริหารเป็นผู้ตัดสินใจในการดำเนินงาน และเน้นการเชื่อฟังผู้นำ.... 

 

-

หมายเลขบันทึก: 39909เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2006 20:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 19:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ได้ติดตามการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ มข. อย่างสม่ำเสมอ ชื่นชมในพันธกิจของสำนักฯ ที่มีความชัดเจนในการให้บริการเพื่อการค้นคว้าและวิจัยในระดับชั้นนำแห่งหนึ่ง โดยเฉพาะส่วนภูมิภาคถือได้ว่า มข. เป็นต้นแบบของ QA ห้องสมุดค่ะ  ขอแสดงความยินดีกับสำนักฯ ค่ะที่สามารถปรับโครงสร้างองค์กรสู่องค์กรยุคใหม่ และขอสอบถามเพิ่มเติมเพื่อเป็นความรู้ดังนี้นะคะ

1.  ขั้นตอนการปรับโครงสร้างอย่างไรบ้างคะ ใช้ระยะเวลานานเท่าไร

2.  ผู้ดำรงตำแหน่ง หนง.กลุ่มงาน มีการกำหนดหลักเกณฑ์ คุณสมบัติอะไรบ้าง

3.  JD ของ หนง. กลุ่มงานมีไหมคะ

4.  KPI แต่ละกลุ่มงานมีไหม ถ้ามี ทุกกลุ่มงานต้องเป็นมาตรฐานเดียวกันหรือไม่คะ

ขอบคุณค่ะ

ขั้นตอนการเตรียมการปรับโครงสร้างเป้นเรื่องที่ต้องใช้เวลามาก โดยคร่าวๆ คือ มีการศึกษาวิเคราะห์งานโดยผู้เชี่ยวชาญ มีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อกำหนดรูปแบบ จัดตั้งคณะทำงานเพื่อเลือกรูปแบบที่เหมาะสม นำเสนอกรรมการประจำสำนัก นำเสนอมหาวิทยาลัย ในขณะเดียวกันก็มีการให้บุคลากรมีส่วนร่วม โดยการเสนอความคิดต่อรูปแบบ การประชมเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่โครงสร้างใหม่ มีคณะทำงานเกี่ยวกับอัตรากำลังและขอบเขตหน้าที่ของกลุ่มงานแต่ละกลุ่ม มีคณะผู้บริหารทำการจัดสรรบุคลากรตามอัตรากำลังโดยพิจารณาข้อมุลพื้นฐานและบบเสนอความต้องการปฏิบัติงานในกลุ่มงานใหม่ของแต่ละบุุคคล มีการสัมมนาบุคลากรก่อนปฏิบัติงานตามโครงสร้างใหม่ และจัดอบรมในงานต่างๆ ให้สอดคล้องกับกลุ่มภารกิจ และมีการประเมินผลการปฏิบัติงานตามโครงสร้างใหม่หลังจากปฏิบัติงานไปได้ 6 เดือน (อยู่ระหว่างการศึกษา) ซึ่งทั้งหมดใช้เวลาเตรียมการและดำเนินงานมากกว่า  4 ปี

มีบทความเกี่ยวกับโครงสร้างในวารสารอินฟอร์เมชั่น

-บทสัมภาษณ์รองศาสตราจารย์ ดร.สมาน ลอยฟ้า ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ (สำนักหอสมุดและทรัพยากรการเรียนรู้) มหาวิทยาลัยขอนแก่น เรื่องการปรับโครงสร้างสำนักวิทยบริการเป็นสำนักหอสมุดและทรัพยากรการเรียนรู้ ณ ห้องประชุมสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ชั้น 1 อาคาร 1 วันที่ 28 พฤศจิกายน 2548  อินฟอร์เมชั่น 13, 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2549) 1-6 : แผนผัง, ภาพประกอบ

-บทสัมภาษณ์ "รองศาสตราจารย์ ดร.สมาน ลอยฟ้าผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  อินฟอร์เมชั่น 12, 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2548) 1-6

สำรหับเรื่องอื่นขออนุญาตเป็นวันหลังนะคะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท