การติดตั้งระบบแก๊ซรถยนต์ให้ปลอดภัยและได้มาตรฐาน ขบ


การติดตั้งระบบแก๊ซรถยนต์ให้ปลอดภัยและได้มาตรฐานกรมการขนส่งทางบก

 

โสตถิทัศน์ เอี่ยมลำเนา .......

 

เทคนิคการติดตั้งกาซเป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ให้ปลอดภัย

           ผมเคยได้เขียนไว้ในเวป gasthai.com นานแล้วครับตอนเพิ่งเริ่มติดแกซรถยนต์ใหม่ๆ ก็ได้แนะนำช่างที่อู่เพื่อนของเพื่อนพรรคพวกกัน

ในเรื่องของมาตรฐานการติดตั้งระบบกาซรถยนต์  อยู่หลายอย่างตอนนั้นก็มีชาว บพ ติดกันแยะ อีกทั้งสหกรณ์ของหน่วยงาน ก็สนับสนุนให้เงิน

กู้ในการติดแกซรถยนต์ไม่ว่าจะเป็น LPG หรือ NGV คนในหน่วยงานก็ติดกันเยอะครับ เลยคัดที่เขียนไว้เอามาฝากเป็นความรู้

 และท่านที่ยังติดตั้งไม่ตรงตามข้อกำหนด จะได้ช่วยกันแก้ไขให้ปลอดภัย ต่อทุกๆคนด้วยกันครับ

 

 การเลือกหม้อต้มแกซ ตามแรงม้า HP ของเครื่องยนต์ครับ


       ถ้าอยากทราบว่า รถเราต้องใช้หม้อต้ม กี่กิโลวัตต์ ให้ทำดังนี้ครับ
รถผม 130 แรงม้า (HP) ครับ เอา 0.7485 คูณจะได้ 97 กิโลวัตต์ (KW) ที่เขียไว้ที่หม้อต้มครับ
ผมใช้หม้อต้ม 100 กิโลวัตต์ (KW) ได้ครับ (ใช้หม้อต้มที่มีค่ากิโลวัตต์สูงกว่า)

ตัวอย่าง 100 แรงม้า (HP) ครับ เอา 0.7485 คูณจะได้ 74 กิโลวัตต์ (KW)
ใช้หม้อต้ม 100 กิโลวัตต์ (KW) ได้ครับ


ตัวอย่าง 133 แรงม้า (HP) ครับ เอา 0.7485 คูณจะได้ 100 กิโลวัตต์ (KW)
ใช้หม้อต้ม 100 กิโลวัตต์ (KW) ได้ครับ

ตัวอย่าง 147 แรงม้า (HP) ครับ เอา 0.7485 คูณจะได้ 110 กิโลวัตต์ (KW)
ใช้หม้อต้ม 110 กิโลวัตต์ (KW)


ตัวอย่าง 187 แรงม้า (HP) ครับ เอา 0.7485 คูณจะได้ 140 กิโลวัตต์ (KW)
ใช้หม้อต้ม 140 กิโลวัตต์ (KW)

ตัวอย่าง 200 แรงม้า (HP) ครับ เอา 0.7485 คูณจะได้ 150 กิโลวัตต์ (KW)
ใช้หม้อต้ม 150 กิโลวัตต์ (KW)

จากสูตร 1 แรงม้า HP(House Power) = 748.5 วัตต์ W (Watt)

การติดตั้งถังก๊าซ 58 ลิตร multivalue

1 เติมได้ประมาณ 45 ลิตร ตัดเองครับ ประมาณ 85 % พอดี ตามมาตรฐานข้อกำหนดใหม่ครับ
2 ความดันเกิดพิกัดมีฟิวส์ละลาย ก๊าซค่อยๆออกได้ (หากฉุกเฉินไฟไหม้ถังก๊าซ) ตามข้อกำหนดมาตรฐานใหม่
3. .ความดัน เกิน มีrelease value ระบายออกเองถ้าความดันเกิน 27บาร์
4. มีท่ออากาศ (ท่อโค้งeflexสีดำๆ) ทำให้อากาศเข้าไปหมุนเวียน หากฉุกเฉินก๊าซก้อจะออกไปนอกรถตามมาตรฐานใหม่อีกนั่นแหละครับ.(ท่อระบายก๊าซจะทำการปาดท่อให้อากาศเข้ามาในช่องฝาปิดครับ)
5. ถังถูกทดสอบความปลอดภัยตาม มอก 370-2525 และมี หมายเลขถัง serial number

จุดสังเกต : ถังมาตรฐาน มอก ต้องมีรายละเอียดดังนี้
1. มอก 370-2525
2. หมายเลขถัง serial number
3. ชื่อบริษัทผลิต ตราlogo บริษัท
4. ค่าการทนแรงดัน (T.P. 3.30 mega pascal) และน้ำหนัก (เฉพาะถังก๊าซ:) 19.0 กิโลกรัม (kg.)


หมายเหตุ
1. ถังที่มี มอก ต้องตรวจและทดสอบคุณสมบัติ ถังอีกครั้งปีที่ 10 และ 15 และทุกๆ 5 ปี
2. ถังที่ไม่มี มอก. ต้องผ่านการตรวจและทดสอบ ครั้งแรก และ ปีที่ 5 ปีที่ 10 และทุกๆ 5 ปี

ระบบ....จะต้องมี.....

1.  อุปกรณ์ป้องกันการเติมเกิน OPD (Over Protection Device )ประกอบด้วยก้านวัดและลูกลอยต่อกับกลไกในวาวล์ เมื่อการติดตั้งตรงตามองศาที่ถูกต้องแล้ว เมื่อเติมก๊าซไปจนถึง 80 - 85 % ของถัง กลไกนี้จะตัดไม่ให้เติมเข้าไปอีกได้
การเติมก๊าซได้เพียง 85 ส่วนใน 100 ทั้งนี้ก็เพื่อให้ก๊าซมีพื้นที่ขยายตัวได้เมื่อได้รับความร้อนสูง เช่นเมื่อจอดรถตากแดดร้อนๆ ทั้งวัน ทำให้ปลอดภัยครับ ( แท้กซี่ส่วนใหญ่ก็จอดตากแดดทั้งวันครับ )
2. วาวล์นิรภัย (Safety Value) : ความดัน เกินจะมีวาวล์ระบายออกเอง ถ้าความดันเกินกำหนด
2. มีท่ออากาศเข้าไปหมุนเวียนในฝาครอบวาล์ว หากฉุกเฉินก๊าซก้อจะออกไปนอกรถ
3.  สวิทช์ตเลือกการทำงานและบอกปริมาณก๊าซ : (มีทั้งแบบออโตเมติก เปลี่ยนเอง เหมาะกับรถหัวฉีด ใช้การเร่งรอบเครื่อง      1    ครั้งเป็นตัวเปลี่ยน หรือแบบตั้งเวลาเปลี่ยนเองตามกำหนด) ใช้เลือกการทำงานแบบปกติ คือเลือกเอง เหมาะกันรถใช้คาร์บูเรเตอร์ครับ เพราะต้องใช้เวลาไล่น้ำมันให้หมดจากคาร์บู วิธีใช้ คือ 1. สตาร์ด้วยน้ำมัน สักพัก 2 นาที
2. สับมาตรงกลาง ตัดน้ำมัน 3. รอให้เครื่องยนต์ดับ (น้ำมันหมดจากคาร์บูฯ) 4. สับสวิทชไปก๊าซ 5. สตาร์ทเครื่องใช้ก๊าซ

4.ท่ออากาศด้านนอกตัวรถ (ต้องติดคนละด้านกับท่อไอเสีย) ที่มีการปาดมุม ให้อากาศเข้าครับ

 5. จุกอุดรูเติมก๊าซ เพื่อป้องกันน้ำและสิ่งสกปรกนั้น ผมใช้สายคล้องกุญแจ รถมอเตอร์ไซด์
ที่เป็นยางๆขดเป็นเกลียวนั่นแหละครับ ด้านนึงมันจะเป็นห่วงเหล็กสปริง นำมาคล้องรอบตัวมันเอง
ส่วนด้านปลั้ก ก็นำไปเจาะรูตรงกลางๆเพื่อไม่ให้มัน พันกันเวลาหมุนปิดครับ

 

Lambda Control Power Value :

              จะมีมอเตอร์มาต่อ เข้ากับสกรูบนหัว Power value ครับ ช่วยควบคุมอัตราการจ่ายก๊าซ เข้าห้องเผาไหม้ มากหรือน้อย แบบอัตโนมัติ นั่นคือปรับอัตราการจ่ายก๊าซได้ตามรอบเครื่อง ซึ่งแบบแลมด้านั้นจะช่วย ซึ่งแก้ปัญหาของการเร่งไม่ค่อยออกและ/ หรือความเร็วปลายลดลงได้ครับ โดยจะเป็นมอเตอร์แบบหมุนได้ที่ละช่วงองศา ( Stepping Moter ) ทำให้กำหนดหรือจูนอัตราส่วนผสมที่พอดีได้ กับทุกรอบความเร็ว ( Auto tune ส่วนผสมจะไม่หนา (Rich) หรือบาง (Lean)เกินไป)

การติดตั้งหัวเติมก๊าซ

             ส่วนใหญ่จะติดให้ห่างจากกันชน มากหน่อย ข้อดีคืดเพิ่มความปลอดภัยจากการที่หัวเติงเสียหายจากการชน และ คนอื่นมองไม่เห็นว่ารถใช้คันนี้ใช้ก๊าซ (อันนี้แล้วแต่ชอบไม่ชอบแต่ก็เห็นใจ เด็กที่เติมนั้นเติมลำบากหน่อย)

สีของ ถังบรรจุก๊าซ

             สีของถังนั้นเป็นสิ่งที่กำหนดและแยกแยะ ว่าเป็นถังบรรจุอะไรก๊าซชนิดไหน ใช้กับรถหรือใช้กับครัวเรือน เป็นมาตรฐานของการผลิต ควรระวังการทาสีถังเพื่อความสวยงาม อาจทำให้เข้าใจผิดได้ว่าถังนั้นใช้บรรจุก๊าซอะไร ถ้าคนอื่นที่ไม่รู้ไปเติม NGV ซึ่งเป็นก๊าซที่ต้องใช้แรงดันสูงมาก และมากกว่าที่ถัง LPG จะทนได้ ก็เป็นการไม่ปลอดภัยได้ ซึ่งการดัดแปลงภาชนะบรรจุ ก็เป็นสิ่งผิดข้อกำหนดต่างๆด้วย

Power Value :

              ช่วยควบคุมอัตราการจ่ายก๊าซ เข้าห้องเผาไหม้ มากหรือน้อย อันนี้เป็นแบบธรรมดาครับ ที่เห็นสกรูปรับนั้น ถ้าเป็นระบบ แลมด้าคอนโทรล ก็จะมีมอเตอร์มาต่อ เข้าแทนครับ 

 การรับแรงดึง แรงเค้น แรงฉีก ของถังผ่านแผ่นโลหะที่ช่วยกระจายแรงดึงได้ (Subplate)

  
               อาจเป็นข้อกำหนดใหม่ๆที่จะมีขึ้นได้ครับ เพราะช่วยกระจายแรงที่กระทำต่อถังโดยตรง โดยถ้ายึดตรงๆกับพื้นที่หน้าตัดเล็กๆ การรับแรงต่างๆที่ส่งถึงถังก๊าซ ก็จะสูงครับ เหมือนเราเอาไขควงไปจิ้มถังกันเราเอาแผ่นเหล็กแบนๆไปกระแทกถังด้วยความแรงเท่ากัน การเกิดแรงกระทำต่อพื้นที่ๆกระทำไม่เท่ากันแน่ๆครับ

 - ลืมบอกไปว่าข้อมูลด้านบนเป็นข้อมูลกรติดตั้งกาซรถยนต์ระบบ LPG นะครับ

- ส่วนที่มีคำถามกันบ่อยครั้งว่า ทำไมค่าติดตั้งและอุปกรณ์ของกาซรถยนต์ชนิด NGV จึงแพง สาเหตุคืออุปกรณ์ชนิด NGV ต้องรองรับความดันสูงๆได้ อุปกรณ์ต้องออกแบบให้ทนแรงดันสูง วัสดุก็ต้องพิเศษกว่า ค่าการติดตั้งจึงแพงกว่าครับ 

ถาม-ถังแก้สที่ใช้เป็นถังที่มี มอก. ในบันทึกนี้บอกว่าต้องตรวจสอบปีที่ 10 เป็นต้นไปใช่หรือไม่?

ตอบ-ไม่ใช่ครับ การตรวจสอบและการทดสอบนั้นต่างกัน

1.การตรวจ ไม่ว่่าถังกาซจะมี มอก หรือ ไม่มี ก้อจะต้องตรวจทุกๆปีคือตรวจการรั่วซึม การทำงานของวาวล์ การวัดการรั่วไหลของวาวล์หน้าถัง และตลอดสายกาซทั้งระบบ อันนี้ตรวจทุกปี โดยวิศวกรจะใช้เครื่องตรวจหากาซรั่ว ตรวจทั้งระบบครับ แต่ก่อนห้าร้อยเองน้า ตรวจเสร็จถ้าปลอดภัยเค้าก็เซ็นต์ใบรับรองให้ ใบรับรองนั้นหมายถึงระบบกาซในรถคุณปลอดภัยจะไม่ทำอันตรายให้แก่ผู้อื่นที่อยู่ในที่สาธารณะไงครับ เป็นวิชาชีพเครื่องกล ที่สภาวิศวกรดูแลให้ผ่านผู้ได้รับใบอนุญาตฯ ความรับผิดชอบสูงและต้องวิเคราะห์ด้านเทคนิค ไม่ใช่ใครก็สามารถทำได้ ก็เรยต้องมีค่าใช้จ่ายสูงครับ

 

2. การทดสอบ ถังมี มอก.จะถอดออกมาแล้วอัดลมเข้าไปในถังแล้วกดจุ่มน้ำสังเกตุการรั่วไหลของรอยต่อถัง ครับ อันนี้เราตรวจปีที่ 10 15 20.....สำหรับถังที่มี มอก ส่วนถังที่ไม่มี ตรวจปี่ที่ 5 10 15 20 ......

สรุปว่าการ "ตรวจ"(การรั่ว ระบบ วาวล์) ตรวจทุกปีครับ ส่วนการ"ทดสอบ"นั้นจะต้องทดสอบถังปีที่ 10 ถูกแล้วครับ

- บางที สนง เขตไม่ขอดูใบรับรองเสียอีก โดยเข้าใจผิดว่าแจ้งติดตั้งแล้ว เพิ่มในบุ้คแล้ว เพิ่มน้ำหนักรถแล้ว พอต่อภาษีไม่ต้องขอใบรับรองอีก ซึ่งขัดกับระเบียบ พรบ.การขนส่งทางบกครับ ที่บอกให้ตรวจระบบทุกๆปี ครับนะ

- พอเราตรวจเสร็จเรารู้ว่าเรา รถเรา ระบบในรถเรา ปลอดภัยต่อเพื่อนๆร่วมทางและคนที่โดยสารมากับเรา รวมทั้งเราด้วย แค่นี้ก็ทำให้มั่นใจในการเดินทาง เรียกได้ว่าเกิดสำนึกที่ดี ที่มีความรักความห่วงผู้โดยสารรถเราและผู้ที่ใช้ถนนสาธารณะร่วมกับเรา

เราไม่อยากให้รถเราปลอดภัยในขณะคันอื่นที่จอดอยู่ข้างๆเราอันตรายต่อเรา ถ้าไม่อยากให้เกิดแบบนี้่ ทุกคนที่ใช้กาซเป็นเชื้อเพลิงในรถจะต้องช่วยกันตระหนักคิดเสมอว่า เราจะไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนเพราะความปล่อยปละละเลยของเรา จะได้ไม่บาปและเสียใจในภายหลังกันครับนะ 



หมายเลขบันทึก: 398684เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2010 00:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 08:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

อ่านแล้วช่วยคอมเม้นหน่อยนะครับ จะได้นำไปพัฒนาเรื่องการจัดการความรู้ครับ

ถึง เพื่อนๆชุมนุมออนไลน์ GoToKnow ทุกท่าน

ความเห็นของท่านคือพลังแห่งการสร้างสรรค์

ของเรา มาร่วมแชร์ไอเดียกันนะครับนะ

ทางทีมงาน KM ยินดีรับฟังอย่างเป็นกัลยาณมิตร

สุขใจผู้ให้ซึ้งใจผู้รับครับ

ขอบคุณเพื่อนๆพี่ๆน้องๆล่วงหน้าครับ

สวัสดีค่ะ

เข้ามาอ่านและเรียนรู้ความรู้ใหม่ ^^ ไม่แน่ใจว่าเป็นข้อมูลของ LPG หรือ NGV

หนึ่งไม่ค่อยมีความรู้ด้านนี้เลย แต่หนึ่งเอารถไปติดแก้ส NGV มาสามปีแล้วค่ะ แหะๆ

(เพราะน้ำมันแพงมาก และช่วงนั้นหนึ่งต้องขับรถไปกลับข้ามจังหวัดอุดร-ขอนแก่นทุกอาทิตย์ค่ะ)

ติดตั้งถังแก้สที่ปั๊มปตท.อุดร (ค่าติดตั้งแพงมากๆ จนรู้สึกอิจฉาแท๊กซี่ที่ได้ติดตั้งถังแก้สราคาถูกว่ามากๆ)

ก็มาตรวจเช็คตามที่คู่มือเค้าให้ไว้ ยังไม่มีปัญหาอะไรค่ะ

ถังแก้สที่ใช้เป็นถังที่มี มอก. ในบันทึกนี้บอกว่าต้องตรวจสอบปีที่ 10 เป็นต้นไปใช่ป่าวคะ

หนึ่งสงสัยว่าทำไมตอนเสียภาษีรถยนต์ประจำปี ต้องเสียค่าลายเซ็นต์วิศวกร(เค้าบอกว่าค่าตรวจเซ็คมาตรฐาน)แปดร้อยบาททุกปี(ปีนี้ขึ้นราคาเป็นหนึ่งพันบาทแล้วค่ะ) ถ้าไม่มีลายเซ็นต์วิศวกร เค้าก็จะไม่ต่อภาษีรถยนต์ให้ค่ะ

ตอนแรกเคยคิดดีใจว่า รัฐบาลลดภาษีให้สำหรับรถใช้แก้สธรรมชาติ

แต่ปรากฏว่าต้องมาเสียค่าลายเซ็นต์วิศวกรมากกว่าส่วนที่ลดภาษีซะอีกค่ะ แหะๆ ก็เซงงงงงอ่ะค่ะ แหะๆ

เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า จะทำอะไรก็ต้องศึกษาสิ่งนั้นๆให้ดีซะก่อน จะได้ไม่เซงงงงงภายหลัง อิอิ

คุณน้องหนึ่ง Hana

ข้อมูลด้านบนเป็นชนิด LPG ครับ

ส่วนอุปกรณ์ของ NGV ต้องรองรับความดันสูงๆได้ค่าตัวของ NGV

จึงแพงกว่า ระบบ LPG ครับ

ถังแก้สที่ใช้เป็นถังที่มี มอก. ในบันทึกนี้บอกว่าต้องตรวจสอบปีที่ 10 เป็นต้นไปใช่ป่าวคะ

ไม่ใช่ครับ การตรวจสอบและการทดสอบนั้นต่างกัน

1.การตรวจ ไม่ว่่าถังกาซจะมี มอก หรือ ไม่มี ก้อจะต้องตรวจทุกๆปีคือตรวจการรั่วซึม การทำงานของวาวล์ การวัดการรั่วไหลของวาวล์หน้าถัง และตลอดสายกาซทั้งระบบ อันนี้ตรวจทุกปี โดยวิศวกรจะใช้เครื่องตรวจหากาซรั่ว ตรวจทั้งระบบครับ แต่ก่อนห้าร้อยเองน้า ตรวจเสร็จถ้าปลอดภัยเค้าก็เซ็นต์ใบรับรองให้ ใบรับรองนั้นหมายถึงระบบกาซในรถคุณปลอดภัยจะไม่ทำอันตรายให้แก่ผู้อื่นที่อยู่ในที่สาธารณะไงครับ เป็นวิชาชีพเครื่องกล ที่สภาวิศวกรดูแลให้ผ่านผู้ได้รับใบอนุญาตฯ ความรับผิดชอบสูงและต้องวิเคราะห์ด้านเทคนิค ไม่ใช่ใครก็สามารถทำได้ ก็เรยต้องมีค่าใช้จ่ายสูงครับ

2. การทดสอบ ถังมี มอก.จะถอดออกมาแล้วอัดลมเข้าไปในถังแล้วกดจุ่มน้ำสังเกตุการรั่วไหลของรอยต่อถัง ครับ อันนี้เราตรวจปีที่ 10 15 20.....สำหรับถังที่มี มอก ส่วนถังที่ไม่มี ตรวจปี่ที่ 5 10 15 20 ......

สรุปว่าการ "ตรวจ"(การรั่ว ระบบ วาวล์) ตรวจทุกปีครับ ส่วนการ"ทดสอบ"นั้นรถคุณหนึ่งต้องทดสอบถังปีที่ 10 ถูกแล้วครับ

บางที สนง เขตไม่ขอดูใบรับรองเสียอีก โดยเข้าใจผิดว่าแจ้งติดตั้งแล้ว เพิ่มในบุ้คแล้ว เพิ่มน้ำหนักรถแล้ว พอต่อภาษีไม่ต้องขอใบรับรองอีก ซึ่งขัดกับระเบียบ พรบ.การขนส่งทางบกครับ ที่บอกให้ตรวจระบบทุกๆปี ครับนะ

เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า จะทำอะไรก็ต้องศึกษาสิ่งนั้นๆให้ดีซะก่อน จะได้ไม่เซงงงงงภายหลัง อิอิ

คงไม่เซงถ้ารู้ก่อนนนนน อิอิ จริงๆๆด้วยครับ ยิ่งพอเราตรวจเสร็จเรารู้ว่าเรา รถเรา ระบบในรถเรา ปลอดภัยต่อเพื่อนๆร่วมทางและคนที่โดยสารมากับเรา รวมทั้งเราด้วย แค่นี้ก็ทำให้มั่นใจในการเดินทาง เรียกได้ว่าเกิดสำนึกรักเพื่อนร่วมทาง มังครับ อิอิ

แมคกี้ - KM_TEAM_DCA

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท