ทำ KM เพื่ออะไร ใครรู้บ้าง???


การบอกเล่าประสบการณ์ดีดีอย่างมีมิตรจิตมิตรใจไม่หวังสิ่งใดตอบแทน


ทำ KM เพื่อ ? ใครรู้บ้าง

...เหตุใดต้อง จัดเวที  ลปรร (แลกเปลี่ยนเรียนรู้) เรื่องประสบการณ์ในการไป audit สนามบิน และจัดให้มีคุณอำนวย คอยถามให้เล่า ปสก. และคุณลิขิต คอยจดประเด็น เทคนิคเฉพาะตัวในเมื่อผู้เล่าก็สามารถจะเล่าได้ทุกทีไม่ว่าใครจะถามอยู่แล้ว  ผู้เล่าก็ตอบเหมือนกันแหละ ก็มีคำถามในใจว่าแล้วถ้าเค้าไม่อยู่ล่ะ หรือไม่สดวกจะถามจะทำไง?

...ใครบางคนบอกให้ไปถามคนสนิทเค้าสิ คงรู้เหมือนกันแหละ  หลายๆครั้งเราไม่กล้าตัดสินใจเพราะไม่ทราบที่ไปที่มาของปัญหา เพราะอะไรหรือครับ เพราะวิธีคิดวิธีปฏิบัติในเรื่องนั้น มันถูกฝังอยู่ใน ประสบการณ์ของเค้าไงครับ   

... แล้วต่อมาเราก็คงคิดเหมือนกันว่า มันน่าจะมีการจับประเด็น เรื่องประสบการณ์ของใครสักคนที่เชี่ยวชาญเรื่องนั้น มารวบรวมเป็นวิธีขั้นตอนการปฏิบัติ เรื่องนี้ฝรั่งเค้าคงคุ้นเคยกับการเขียน Trouble Shooting ในคู่มืออะไรสักอย่าง แต่บ้านเราต้องถามๆๆๆๆจากผู้รู้มากกกไว้ก่อนแล้วมาวิเคราะห์เอาเองตามประสาช่างพื้นบ้านประมาณนี้กระมัง 

...ถ้าอย่างนั้นงั้นเราคงอยากจะรักษาความรู้ของผู้ปฏิบัติจนเชี่ยวชาญมาเก็บไว้ในที่สักที่ ให้คนที่ไม่ค่อยมีประสบการณ์ในเรื่องนั้น ๆได้รับรู้ด้วยวิธีง่ายๆ นะ ก็คงเข้าใจแล้วว่าคุณลิขิต จะต้องเป็นพระเอกในเรื่องนี้...

 ...หลายคนถามว่า แล้วคุณอำนวยล่ะทำไมต้องมี ถ้าให้เปรียบคงเหมือนพิธีกร ถามแขกรับเชิญในการ Talk show ต่างๆนั่นเอง คงเพราะสมองเราจำเรื่องต่างๆไว้เยอะทีนี้ คงต้องอาศัยคนนึงมาแนะว่าช่วงนี้ ให้สมองดึงเรื่องอะไรที่เรารู้มาเล่า พอเริ่มเล่าก็เหมือนว่า ความคิดและประสบการณ์ของ ผู้เล่า จะพรั่งพรูไหลออกมาที่เรียกว่าความคิดกำลังแล่น

...คุณอำนวยคงจะช่วยให้ดึงข้อมูลเชิงลึกออกมาให้มากที่สุด และช่วยควบคุมความคิดไม่ให้ไกลออกไปเรื่องอื่น ถึงตอนนี้ความสัมพันธ์ของสมองคงจะสั่งให้ยกเรื่องที่สัมพันธ์กันมาเล่า แต่คุณลิขิตก็ไม่ลืมโน้ตไว้เป็นข้อมูลว่าผู้เล่ายังมีความรู้ด้านอื่นๆอีก ในขณะที่คุณอำนวยถามคำถามให้วกกลับเข้ามาในประเด็น

...หลายคนคงคิดในใจ แล้วถ้าไม่มีคุณอำนวยล่ะ จะเกิดอะไรขึ้น เท่าที่ผู้เขียนสังเกตทำให้ทราบว่า ความรู้มันก็ยังเป็นส่วนที่ซ่อนเร้น ที่ผู้เล่าไม่ทราบเลยว่าเรื่องนั้นได้ทำสำเร็จไปแล้วทั้งที่ตอนนั้นยังแอบดีใจกับตัวเองอยู่เลย  ถึงตอนนี้ท่านผู้อ่านหลายท่านคงคิดเสียดายถ้าไม่ได้นำความรู้นั้นมา แชร์ให้ใครก็ได้ที่อาจเป็นประโยชน์กับเขา หลายท่านคิดว่า เดี๋ยวตอนอายุครบอายุ 60 ปีค่อยทำ แต่ถึงตอนนั้นถามว่าสมองเราก็คงไม่สดใสเหมือนตอนนี้แน่ๆ งั้นเรามาเริ่มกันวันนี้เลยคงจะดี เชื่อว่าผู้อ่านเมื่ออ่านมาถึงบรรทัดนี้  หลายท่านคงคิดว่าต้องรีบ 5 ส ความรู้ในสมองเราบ้างอาจเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย

...นานมาแล้ว องค์ความรู้จากประสบการณ์เหล่านี้ได้สูญหายไปตามตัวตนและกาลเวลา เพราะไม่มีการจดบันทึกเรื่องเล่า มีก็แต่การเล่าวิถีความเป็นอยู่ ประวัติของแต่ละบุคคลนำมาเขียนไว้โดยเจ้าตัว แต่อีกมากมายที่ไม่ได้มีเวลาเขียนเรียบเรียงหรือถอดองค์ความรู้ไว้(Lesson Learning)

  
วิสัยทัศน์ KM สมส.

         1.   การบริหารจัดการสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้จะสามารถนำความรู้ที่เป็นความรู้ในระดับสูงขึ้นทั้งปัญญานั้นมีอยู่ในบุคคล เป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล

            2.  หากมีกระบวนการและวิชาการที่สามารถนำเอาความรู้ระดับปั ญญาดังกล่าวจากทุกส่วนขององค์กร
 
ออกมาถ่ายทอดและเผยแพร่ ได้อย่างกว้างขวาง และไม่จำกัดทั้งเรื่องของเวลาและสถานที่ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้นั้น จะนำไปสู่การสร้างสรรค์องค์ความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย และสร้างคุณประโยชน์แก่สนามบินในประเทศ
 
             3. อีกทั้งยังนำไปสู่การพัฒนาโ ดยองค์รวม อาทิ การพัฒนาองค์กร การพัฒนาด้านการเรียนรู้ด้านความปลอดภัยสนามบิน  การพัฒนาด้านวิจัย และการพัฒนาบุคลากร
 
 
เป้าหมาย KM สมส.
          พัฒนาบุคลากรเพื่อให้ บพ. มุ่งสู่องค์การเรียนรู้ ตาม กพร. 
เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใ จแก่บุคลากร บพ.ให้สามารถนำการบริหารจัดการ ความรู้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ได้ใน ทุกระดับขององค์กร...................

..........................................................................

โสตถิทัศน์ เอี่ยมลำเนา  อดีตวิศวกรไฟฟ้าชำนาญการพิเศษ 

หัวหน้ากลุ่มมาตรฐานเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ 

กรมการบินพลเรือน กระทรวงคมนาคม

ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณณ์ ทม. ทวีติยาภรณ์มงกุฏไทย เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ 

ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณณ์ ตม. ตริตาภรณ์มงกุฏไทย เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗

................................................................................


 
 
 
หมายเลขบันทึก: 398668เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2010 00:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2019 12:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

การจัดกิจกรรม KM เพื่อไว้แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ เป็นเรื่องที่ดีและควรจะส่งเสริมให้เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายภายในองค์กรนะคะ แต่มักจะพบปัญหาอยู่บ่อยๆก็คือเรื่องเวลา ที่บุคลากรไม่สามารถเข้าร่วมได้ หรือไม่สามารถช่วยกันจัดทำ KM ได้ เป็นเพราะว่า เดิมนั้นแต่คนละก็มีงานที่รับผิดชอบอยู่ ซึ่งแน่นอนว่าละทิ้งไม่ได้ และการจะทำให้ทุกคนว่างเวลาเดียวกัน ย่อมเป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอน ดิฉันจึงเห็นด้วยอย่างยิ่งที่มีการนำคลิป KM เผยแพร่ผ่านทางอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะใน Facebook เพื่อสามรถดูเมื่อไหร่ก็ได้ แต่สิ่งที่ดิฉันแนะนำก็คือ ควรจัดเวลาให้เหมาะสมและไม่ควรกระทบกับงานหลักนะคะ และโดยส่วนตัวคิดว่า คำว่า "ไม่จำกัดเวลาและสถานที่" น่าจะหมายถึง เราสามารถทำ KM ได้แม้ในขณะเวลาทำงาน นั่นก็คือไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหน เราสามารถถ่ายทอดความรู้ให้คนรอบข้างได้ตลอดเวลา การที่หัวหน้าสอนงานลูกน้องไม่ว่าจะในหรือนอกสถานที่ ก็คือเป็นการทำ KM อย่างหนึ่งคะ

ถึง เพื่อนๆชุมนุมออนไลน์ GoToKnow ทุกท่าน

ความเห็นของท่านคือพลังแห่งการสร้างสรรค์

ของเรา มาร่วมแชร์ไอเดียกันนะครับนะ

ทางทีมงาน KM ยินดีรับฟังอย่างเป็นกัลยาณมิตร

สุขใจผู้ให้ซึ้งใจผู้รับครับ

ขอบคุณเพื่อนๆพี่ๆน้องๆล่วงหน้าครับ

มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ยินดีที่จะอยู่ด้วยกันใกล้ชิดกัน เกื้อกูล รัก และแบ่งปัน สิ่งดีดี

ที่ทำให้คุณภาพชีวิตคนที่ได้รับ ดีขึ้นบ้างไม่มากก็น้อย "ให้ความรักให้ความรู้คือที่สุดของการให้" โสตถิทัศน์_2534

"ทำงานกับฉัน ฉันไม่มีอะไรจะให้ นอกจากความสุข ที่ได้ร่วมกันทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น" พระราชดำรัสแด่ข้าราชการ

"การให้ความรู้โดยที่ผู้รับไม่ต้องขอให้สอนแต่ยินดีเองที่จะให้ โดยสามารถอธิบายเรื่องราวขั้นตอนวิธีการต่างๆได้อย่างมีลำดับตั้งแต่ต้นจบจบ และผู้รับเข้าใจอย่างรู้แจ้ง(ปฏิเวธ)และนำไปใช้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่างๆ วิบาก(กรรม,การกระทำ)จะส่งผลให้ ผู้สอนมีสมองที่ดีสามารถวิเคราะห์เรื่องต่างๆได้อย่างหลากหลายมุมมองและลงลึกขึ้นเรื่อยๆ" ดังตฤณ

ขอคัดบทความของหลวงพี่เพื่อนสนิทของผมเองครับ .....ท่านบวชเป็นพระและได้วิจาร์ณสิ่งดีดี ดังนี้ครับ

"คนเรามักจะไม่ค่อยยอมรับความผิดของตัวเองสักเท่าไหร่ใครเตือนก้อไม่ค่อยจะฟัง  เพราะว่าเขายังมีทิฏฐิอยู่   ฉะนั้นการอบรมพระนวกะของวัดนั้นจะใช้วิธีอบรมแบบเตือนว่ากันโดยชี้ขุมทรัพย์ให้กัน     นั่นคือในเมื่อเรารู้ข้อบกพร่องของอีกคนเราก็จะเตือนเขา    โดยแนะนำเขาว่ามีจุดบกพร่องข้อเสียอย่างไร    นั่นคือการชี้ขุมทรัพย์    โดยเราไม่ได้ไปจับผิดเขานะ    เราจะต้องจับดีและชี้ขุมทรัพย์ให้     ....

.....ความอดทนก้อเป็นส่วนหนึ่งที่เราจะต้องรับแรงกดดันจากหลายๆฝ่ายที่มีปัญหา    แล้วนำปัญหานั้นมาให้เราได้แก้ทุกๆวันดังนั้นก้อไม่ต่างอะไรกับพระพุทธเจ้า    ที่ท่านทรงบำเพ็ญตบะมาอย่างยาวนาน20อสงไขยกับแสนมหากัป    และสามารถถ่ายถอดคำสอนต่างๆให้ผู้อื่นรู้ตามได้ ฉะนั้นการทำงานก้ออยากให้เราใช้หลักปฏิบัติเช่นเดียวกับพระพุทธเจ้ามาใช้    ว่าท่านได้สอนอะไรอะไรควรอะไรไม่ควร    และนำมาปรับแก้    ในชีวิตประจำวันเราจะต้องใช้ธรรมะควบคู่ไปกับชีวิตประจำวัน  รวมไปถึงการทำงานด้วย    เพื่อให้อยู่ดำรงครองธรรมและฝึกสมาธิเพื่อให้จิตใจสงบมีสมาธิแก้ไขปัญหาต่างๆในการทำงานได้    ฉะนั้นแล้วจงเตือนด้วยความนอบน้อม    ชี้ขุมทรัพย์อย่าจับผิดให้เราจับดีเขา.....

Visutthapho Phikku....

ขอให้มั่นใจและมุ่งมั่น เผยแผ่ เขียนเรื่องราว แลก เปลี่ยน Share กันต่อๆๆๆๆยอดกันไป  ....infinitity... ครับผม....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท