การป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกของศูนย์อนามัยที่8 ปี 2553


การปรับนโยบายครั้งใหญ่ของกรมอนามัย

        กรมอนามัย  ได้ประกาศ นโยบายการดำเนินงานการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกตั้งแต่ ปี 2543 เป็นต้นมา  โดยให้หญิงตั้งครรภ์ทุกคนจะต้องได้รับการปรึกษาและตรวจเลือดเพื่อหาการติดเชื้อเอชไอวี  ด้วยความสมัครใจ  และถ้าพบว่าติดเชื้อเอชไอวีจะต้องได้รับยาต้านไวรัสในระหว่างตั้งครรภ์และในระยะการคลอด  รวมทั้งเด็กที่เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อเอชไอวี  จะได้รับยาต้านไวรัสและได้รับนมผสมสำหรับเลี้ยงทารก  รวมทั้งได้รับการตรวจหาภูมิต้านทานต่อเชื้อเอชไอวี  หลังจากนั้นแม่และเด็กรวมทั้งสามีที่ติดเชื้อเอชไอวี  จะต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องอย่างเหมาะสมต่อไป 

        ศูนย์อนามัยที่ 8 ได้ดำเนินโครงการดังกล่าวร่วมกับ จังหวัดนครสววรค์  อุทัยธานี  กำแพงเพชร และพิจิตร  ตั้งแต่เปี 2543 ถึงปัจจุบัน  โดยมีสถานการณ์การดำเนินงานในภาพรวมของเขตดังนี้

 

 

ผลการดำเนินงานของ 4 จังหวัดในเขตรับผิดชอบ 

 

สถานการณ์แนวโน้มของการป้องกันการแพร่เชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก

 

ของเขต 8 ปี 2544 -2553 (เดือนตุลาคม 2552 –สิงหาคม 2553)

 

ข้อมูล 

 

2544 

 

2545

 

2546

 

2547

 

2558

 

2549

 

2550

 

2551

 

2552

 

2553

 

อัตราการติดเชื้อเอชไอวีของหญิงคลอด

 

1

 

    1

 

    1

 

   0.9

 

  0.7

 

  0.8

 

  0.7

 

  0.7

 

  0.6

 

  0.5

 

การตรวจหาเชื้อ HIVในหญิงตั้งครรภ์

 

  94.6

 

  98.2

 

   99.7

 

  99.8

 

  100

 

  99.9

 

  99.8

 

  99.9

 

  99.9

 

  100

 

การได้รับยาต้านไวรัสในหญิงตั้งครรภ์

 

  74.1

 

  78.1

 

  86.6

 

  87.8

 

  94.1

 

  90.1

 

  89.6

 

  87.5

 

  93.4

 

  94.6

 

การได้รับยาต้านไวรัสของเด็ก

 

  94.9

 

  96.7

 

  99.4

 

  99.7

 

  99.5

 

  98.6

 

  100

 

  100

 

  100

 

  98.9

 

การได้รับนมผสม

 

  91

 

  89.6

 

  99.5

 

  98.6

 

  99.1

 

  98.1

 

  98

 

  100

 

   98.5

 

  97.8

 

อัตราการติดเชื้อเด็กอายุ 18-24 เดือน

 

  5

 

  7.3

 

  3.8

 

  12.8

 

  8.9

 

   6

 

  0.8

 

  5.3

 

  3.9

 

 รอข้อมูล

 

 

           จะเห็นได้ว่าแนวโน้มสถานการณ์ การติดเชื้อเอชไอวีในหญิงตั้งครรภ์ลดลงเหลือ 0.5 ต่ำกว่าเป้าหมายของประเทศคือไม่เกิน 0.7  อาจเกิดจากระบบการป้องกันดีที่ดีขึ้น อันเนื่องจากการส่งเสริมให้มีการใช้ถุงยางอนามัยในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี  รวมทั้งการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อจากแม่สู่ลูกก็มีแน้วโน้มสถานการณ์ลดลง เหลือ 3.9 โดยผลการดำเนินงานต่ำกว่าเป้าหมายของประเทศเช่นกันที่ให้ไม่เกิน 4 %          

 

      และจะมีการปรับนโยบายครั้งใหญ่ของกรมอนามัย   เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กติดเชื้อจากแม่ลดลงมาอีก  โดยจะให้เด็กติดเชื้อจากแม่น้อยที่สุด  ซึ่งต้องปรับระบบการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาลใหม่อีกครั้ง  โดยการให้ยาสูตร 3ตัวแก่หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวี     และมีการให้การปรึกษาแบบคู่ให้กับสามีของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์  เพื่อป้องกันการติดเชื้อรายใหม่ของหญิงตั้งครรภ์  เพราะกรณีทีหญิงตั้งครรภ์ผลเลือดลบ  แล้วไม่ได้ตรวจสามีด้วย  ในวันข้างหน้าหน้าหญิงตั้งครรภ์คนนี้มีโอกาสจะเป็นผู้ติดเชื้อรายต่อไป  เพราะถ้าไม่ทราบผลเลือดของสามีและไม่มีการป้องการรับเชื้อเอชไอวีจากคู่ของตนเอง

 

                ก็ถือได้ว่าเป็นการพัฒนาการให้บริการที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น  เพื่อป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อเอดส์รายใหม่เพิ่มขึ้นไม่ว่าจะเป็นแม่เป็นลูกหรือสามีก็ตาม  เพื่อเป็นการส่งเสริมให้คนไทยทุกคนมีสุขภาพดี

 

หมายเลขบันทึก: 397592เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2010 09:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 20:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท