แกะ (รอย) ปลาทู (ตอนที่ 1 : ที่มาของบทความ)


ปลาทู

ผมได้รับการติดต่อจาก คุณอภัสน์วจี ศรีสุวรรณ์([email protected]) เมื่อประมาณเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551 (นานจังฮู้)

บรรณาธิการนิตยสารเส้นทางสีเขียว ซึ่งเป็นนิตยสารที่จัดพิมพ์โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดลอมราย 3 เดือน 2 ภาษา 4 สี เพื่อแจกฟรีให้กับโรงเรียนและหน่วยงานภาครัฐเอกชนทั่วประเทศ ตามที่ได้โทรศัพท์คุยกับคุณธเนศมาก่อนแล้วนั้น ขอเพิ่มเติมรายละเอียดดังนี้ค่ะ
 
"นิตยสารฉบับนี้มีธีมหลักคือ "ทะเลที่มองไม่เห็น" โดยหนึ่งในเรื่องจากปกคือ "แกะ (รอย) ปลาทู" ซึ่งเป็นเรื่องที่ดิฉันได้วางกรอบจากภาพใหญ่ไว้ว่า จากการประเมินของนักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มบอกว่าอีก 50 ปี อาหารทะเลจะหมดโลก เพราะจับปลามากเกินและมลพิษ แต่เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นจึงจะเสนอภาพตัวละคร "ปลาทู" (ความจริงกรณีระดับโลกมีเรื่องปลาทูน่าที่จับมากจนบางประเทศในยุโรปห้ามจับ) แต่ที่เลือกปลาทูเพราะใกล้ใจคนไทยมากกว่า ในฐานะที่เป็นอาหารคู่ครัวคนไทย เช่น น้ำพริกปลาทู จากอดีตที่ปลาทูเป็นปลาของแมว แต่ปัจจุบันปลาทูราคาแพงมาก โดยเฉพาะปลาทูแม่กลองที่อาจจะเหลือแค่ตำนาน ในสารคดีเรื่องนี้จะตอบคำถามดังนี้
 
ปลาทูลดลงจริงรึเปล่า? ดูสถิติย้อนหลัง
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? จับมากเกิน มลพิษ หรือแหล่งเพาะพันธุ์ถูกทำลาย
เมืองไทยทำอะไรเพื่ออนุรักษ์ปลาทูแล้วบ้าง? เช่น กำหนดช่วงห้ามจับ "

ด้านบนนี้เป็นที่มาที่ไปของบทความนี้ครับ

ซึ่งได้รับการตีพิมพ์แล้ว (ผมยังไม่เคยเห็นฉบับในนิตยสารเลย)

ตอนนี้ตั้งใจจะเอามาลงที่นี้ครับผม

 

รออ่านในตอนที่ 2 ครับผม

 

หมายเลขบันทึก: 397573เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2010 08:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 16:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท