KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 115. การหมุนเวียนงาน


        การหมุนเวียนงาน (Job Rotation) เป็นเครื่องมือของการจัดการความรู้อย่างหนึ่ง     ทำให้พนักงานต้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ปฏิบัติระหว่างกัน     แต่การประยุกต์ใช้ระบบหมุนเวียนงานภายในหน่วยงานทำยาก    เพราะหัวหน้ามักจะหวงลูกน้องที่ทำงานดี ไม่อยากให้หมุนไปอยู่หน่วยงานอื่น     ยิ่งถ้าคาดว่าตนจะได้คนที่ทำงานไม่ดีมาทำงานด้วย  ก็จะยิ่งไม่ยินยอมให้มีการหมุนเวียนงาน
        อุปสรรคอีกประการหนึ่ง คือคนที่ทำงานในตำแหน่งเชิงเทคนิค มักจะหมุนเวียนงานยาก     เนื่องจากหาคนอื่นมาทำงานเชิงเทคนิคนั้นไม่ได้     และตนเองก็ไม่มีทักษะในการทำงานอื่น

       ผมเพิ่งไปเห็นที่บริษัทปูนซีเมนต์ไทย (แก่งคอย) ที่เขาใช้วิธีให้มีพนักงานตำแหน่งเดียวกันทั้งหมดภายในส่วนงานหนึ่ง     ทำให้สามารถหมุนเวียนงานกันได้    โดยที่คนที่ไม่คุ้นกับงานบางอย่างก็เรียนเอาเองจากเพื่อนร่วมงาน  

       ระบบไอที และเครื่องจักรอัตโนมัติที่ก้าวหน้ามากในปัจจุบันเปิดโอกาสให้คนแต่ละคนสามารถทำงานได้หลายหน้า หลายทักษะ 

   นี่คือแนวโน้มสากลของการทำงาน - multitasking    แต่แม้จะทำงานหลายหน้าเหมือนๆ กัน แต่ก็รู้กันว่าใครทำงานไหนชำนาญเป็นพิเศษ    ก็จะถือผู้นั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนั้นๆ และคนอื่นๆ ก็จะมาขอเรียนรู้     เป็นการจัดการความรู้อย่างเป็นธรรมชาติ

วิจารณ์ พานิช
๒๙ มิย. ๔๙

        

คำสำคัญ (Tags): #เครื่องมือkm
หมายเลขบันทึก: 39725เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2006 09:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
ถูกต้องที่สุดเลยค่ะ อาจารย์ เห็นผลได้ที่หน่วยเคมีคลินิก ภาควิชาพยาธิ ม.อ. เราด้วย เพราะทุกคนทำได้แทบทุกงาน แต่เราจะมีความเชี่ยวชาญในงานแต่ละงานไม่เท่ากัน ซึ่งนี่แหละคือสิ่งที่ดี เพราะเราได้เห็นการทำงานเดียวกันโดยคนทุกลักษณะ จะยิ่งเข้าใจได้มากเลยว่า การจะทำให้ดีได้นั้น เราต้องผสมผสานเอาสิ่งที่ดีๆมาจากหลายๆคน ทั้งคนที่เก่ง-ชำนาญแล้ว และคนที่ไม่ค่อยคล่อง และเราจะเห็นจุดอ่อนของงานจากคนที่ทำไม่เก่ง ทำให้เราสามารถปรับปรุงงานนั้นได้ค่ะ
 ขอบคุณค่ะ ทำให้ได้ความรู้ว่าการหมุนเวียนงาน (Job Rotation) เป็นเครื่องมือของการจัดการความรู้อย่างหนึ่ง เพราะที่ตัวเองเคยประสบมา ส่วนใหญ่พบว่าสร้างปัญหาให้คนทำงานและหน่วยงาน

    คิดตามแล้วรู้สึกว่าน่าสนใจมากครับ  ในมิติของผลสัมฤทธิ์ของงาน คงจะลดลงบ้างในระยะเริ่มแรก  แต่ในมิติทางสังคม คิดว่ามีผลดีมากเพราะจะก่อให้เกิดอะไรหลายอย่างเช่น :-

  • ความเข้าใจ เห็นใจเพื่อนร่วมงานมากขึ้น
  • การบูรณาการทักษะการทำงานที่หลากหลายในแต่ละคน เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและองค์กร
  • ทุกคนจะมีโอกาสเป็น expert ให้เกียรติและยอมรับนับถือกันมากขึ้น
  • ชาล้นถ้วยจะน้อยลง จะพบภาวะ I know what I don't know. มากขึ้น
  • มีโอกาสพบ เพชร ที่ซ่อนอยู่ในตม

    รวมความแล้ว น่าทำเพราะจะเป็นการใช้ หน้าที่การงาน เป็นเครื่องหล่อหลอม พัฒนาคนได้อย่างน่าสนใจยิ่ง

นอกจากเรื่อง Job Rotation แล้ว ในการเปลี่ยนงานหรือได้รับมอบหมายงานใหม่ เช่น On the Job Tranning ถือว่าเป็นเครื่องมือของการจัดการความรู้หรือเปล่าคะ เพราะว่าก็มีแนวคิดเหมือนกัน คือ ผู้ที่เคยปฏิบัตหน้านี้ก่อนจะต้องสอนงานให้กับผู้ที่มารับหน้าที่ใหม่

ขอคำชี้แนะด้วยคะ

มีคำถามค่ะ.. ว่า

1. การหมุนเวียนงานระหว่าง พนักงานที่เป็นงานหลัก และ งาน support สามารถหมุนเวียนกันได้หรือไม่คะ

2. หากมีพนักงานจำนวนมากจากหลาย ๆ แผนก ต่างคนต่างแจ้งความจำนงเข้ามาเป็นจำนวนมาก มีวิธีจัดการจับคู่หรือจัดการความยุ่งยาก หรือขั้นตอน อย่างไรบ้างคะ

3. หากท่านใดมีกรณีศึกษา หรือ ตัวอย่างงานจริงเรื่องของการหมุนเวียนโปรดอนุเคราะห์ด้วย นะคะ

ขอบคุณมากค่ะ

มีคำถามเกี่ยวกับการหมุนเวียนงานค่ะ

คือ ทางบริษัท (เป็นบริษัทญี่ปุ่นค่ะ) มีความประสงค์จะทำการหมุนเวียนงาน โดยจะเริ่มจากการทำ แบบสอบถาม ให้พนักงานได้แสดงความคิด ว่าต้องการ หรือคิดว่าตัวเองเหมาะสมกับงานด้านไหน อีก เป็นการดีหรือเปล่าคะ แล้วพอจะมีแนวทาง หรือรูปแบบที่อื่น ๆ ที่ทำเช่นนี้หรือไม่คะ

กำลังทำวิจัยอรื่งอนี้พอดีเลยค่ะ

งานเขียนของอาจารณ์เป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับงานวิจัยของหลาย ๆ คน

ขอบพระคุณมากนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท