เวทีสร้างความเข้าใจ โครงการแก้จนเมืองนครบ้านไสใหญ่ตำบลช้างซ้าย


ถ้ายังปล่อยให้รั่วก็ไม่มีวันจะเติมเต็มได้

         ภาคบ่ายวันนี้(19 ก.ค.49)  ได้รับโทรศัพท์ช่วงระหว่างเดินทางไปในตำบลช้างซ้ายหลายครั้ง  ถามเพื่อให้แน่ใจว่าผมได้เดินทางไปร่วมในเวที ของบ้านไสใหญ่ หมู่ที่ 12 ต.ช้างซ้าย หรือเปล่า  เนื่องจากทีมงานทราบว่าผมติดการอบรมเกษตรกรสมาชิกกลุ่มเกษตรอินทรีย์อยู่ที่อำเภอ

          ผมเดินทางมาถึงสถานที่จัดเวที   หน้าบ้านผู้ใหญ่   ได้ยินเสียงแว่ว ๆ จากในเวทีว่า มาแล้วมาแล้ว   ผมเข้ามาเวทีเวทีก็พร้อมกันอยู่แล้ว  การจัดเวทีนั่งประชุมจัดแบบรูปตัว ยู  อยู่ในเต๊นท์   ครูอาสากำลังชี้แจงอยู่หน้าเวที 1 คน  ถ่ายภาพ 1 คน ทำหน้าที่บันทึกอยู่ 1 คน 

         วันนี้เป็นการชี้แจงทำความเข้าใจ  ซึ่งพุ่งเป้ามาที่ผมว่าต้องทำหน้าที่ชี้แจงและทำความเข้าใจกับ  คุณกิจ 8 คนเดิม และคุณกิจขยายผลของหมู่บ้านนี้ อีก 56 คน ซึ่งเป็นทีมงานของ 8 คนเมื่อปี 48  วันนี้ก็มากันพร้อมหน้า   ผมสังเกตุเหตุการณ์แล้วรอผมอยู่จริง ๆ ครับและอากาศค่อนข้างร้อน  ผมจึงรีบลงมือชี้แจงทำความเข้าใจทันที  โดยพยามกระตุ้นให้สงสัย  เพื่อตอบคำถามเพราะจะได้รู้ไปด้วยเลยว่า
จริง ๆ ผู้ฟังเข้าใจแล้วยัง  บางครั้งผมเป็นฝ่ายถามกลับไปแต่ไม่ถามเขาตรง ๆว่าเข้าใจหรือไม่    แต่จะถามในตัวเนื้องานโดยให้ทดลองคิด  ทดลองทำ  และก็ได้ผลครับเพราะการตั้งโจทย์เหมือนเป็นการให้การบ้านนักเรียน  เพราะจะมีคำถามย้อนกลับมาเรื่อย ๆ  และเราวัดได้เลยว่าเขาเข้าใจแค่ไหน

         เมื่อเริ่มเข้าใจโครงการแล้ว  ก็ถึงการจัดตั้งเป้าหมายการแก้จนของครัวเรือนของตนเอง  ตามบันทึกที่ กศน.เตรียมมาเป็นเล่มสำเร็จ  ซึ่งก็เริ่มงงกับการบันทึก อีก   ผมจึงบอกผู้ใหญ่บ้านให้ยกกระดานมาหน้าเวที  ผมเริ่มวาดแผนผังให้ดูเป็นตัวอย่าง  ว่าที่วาดนี้เป็นผังตามความคิดหรือฝัน  แล้วตั้งคำถามกับตัวเองไปเรื่อย ๆ ผลลับจะเริ่มมองเห็น  คุณกิจก็ตั้งใจดูนะครับ

         มีน้องผู้หญิงคนหนึ่งถามและคำถามนี้ก็สร้างความเข้าใจให้คนอื่นได้เข้าใจเป็นอย่างดีครับ  น้องเขาถามว่า "ความคิดนี้ใช่หรือไม่  คือ ปกติให้ลูกไปกินอาหาร/ขนมที่โรงเรียนวัดละ  20 บาท  เราวางแผนลดรายจ่ายที่เป็นเงินโดยให้ลูกนำข้าวห่อไปโรงเรียนแทน  และให้เงินลดลงเหลือ 10 บาท"  เมื่อผมตอบว่าใช่  ทุกคนในที่ประชุมร้องอ้ออย่างนี้เอง

        วันนี้พยามให้แนวคิดสร้างความเข้าใจเรื่องการลดรายจ่าย และทดแทนการจ่าย   เป็นอันดับแรกและให้ความสำคัญ  โดยให้ครัวเรือนค้นหารายจ่ายออกมา  พิจารณาว่าสิ่งใดที่ไม่ต้องจ่ายได้บ้าง (เป็นเงิน)หรือยังงัยก็ต้องจ่ายก็ให้ลดโดยการทดแทนหรือลดปริมาณให้น้อยสุด  ส่วนการเพิ่มรายได้ไว้วางเป้าหมายหลังจากนี้ เพราะถ้ายังปล่อยให้รั่วก็ไม่มีวันจะเติมเต็มได้

          

คำสำคัญ (Tags): #เรารักในหลวง
หมายเลขบันทึก: 39711เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2006 23:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
สงสารน้องเขานะ..ผมว่าน่าจะลองลดในสิ่งที่ไม่จำเป็นอย่างอื่นไม่ได้หรือ ผมว่ายาหม้อใหญ่มีตัวยาเพียงสามอย่างคือ ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มรายได้ และขยายโอกาสคงไม่เพียงพอสำหรับคนจนภาคเกษตร ต้องเพิมอีกสองตัวคือ หาตลาดรองรับกับปรับวิธีผลิต(เห็นกรมส่งเสริมการเกษตรเน้นจังในการพัฒนามาตรฐานและปลอดภัยสิ่นค้าเกษตร) gotoknow.org/blog/lamae
     คำถามดี ๆ จากเวที เป็นทางสู่ความเข้าใจเสมอ ฉะนั้นคุณอำนวยจึงต้องฟังดี ๆ ไงครับ (ว่ามั้ยครับ)

เรียน ท่าน amatawet

          ที่ผมเล่ามาคำถามที่เขาถามเป็นคำถามสมมตินะครับ  เพื่อความเข้าใจในเวที   ยังไม่ได้ทำจริง ๆ  เพราะในการทำจริงผมได้เรียนไว้แต่ต้นว่า  ครัวเรือนต้องเรียนรู้เพื่อศึกษาตนเองให้รอบด้านก่อน  การจะลดรายจ่ายต้องรู้ว่าตอนนี้ที่จ่ายอยู่เรื่องอะไร  แยกจำเป็นกับฟุ่มเฟือยออกมา  ในส่วนจำเป็นนั้นต้องดูทรัพยากรใกล้ตัว หรือศักยภาพครัวเรือนทดแทนได้หรือไม่  ส่วนฟุ่มเฟือยอาจพิจารณาตัดไปเลยก็ดีเพราะรายจ่ายส่วนใหญ่จะอยู่ตรงนี้

         ส่วนการเพิ่มรายได้  ก็ต้องพิจารณาอย่างละเอียดครับ  เพราะหมายถึงการคิดการใหญ่แล้ว  ถ้าไม่รอบคอบจะเข้าตำรายิ่งดิ้นยิ่งติดครับ  แทนที่จะหายลำบากกลับจนหนักเข้าไปอีก เป็นหนี้เป็นสินเยอะแยะเลยครับ   เพราะปัจจัยหลายอย่างเป็นอุปสรรคต่ออาชีพการเกษตรนั้นมีมากและพื้นที่ไม่เหมือนกันนะครับเราต้องเอาข้อมูลทางกายภาพ ชีวภาพ ให้ชุมชนเรียนรู้ด้วย  หลัก ๆ ต้องให้เขารู้จักคิดก่อนนะครับ  และให้คิดเล็ก ๆ อย่าคิดใหญ่ในเวทีนั้นเราตัดสินใจแทนเขาไม่ได้  ต้องให้เขาคิดเองแต่เรา ชักชวนให้เขาคิดนะครับผม

เรียน คุณชายขอบ

          ขอบคุณครับที่เข้ามาทักทาย

การตั้งโจทย์ ตั้งประเด็นเรียนรู้ การเชื่อมโยงความคิดความรู้ เมื่อผู้เข้าร่วมเวทีงง ไม่เข้าใจอะไรบางอย่าง หรือคำตอบบางอย่างของผู้เข้าร่วมฯที่จะใช่เรียนรู้กับคนอื่นได้ เหล่านี้เป็นประโยชน์กับอำนวยโครงการแก้จนมากนะครับ เป็นประโยชน์ต่อการทบทวนตนเองว่าตนเองมีทักษะ สมรรถนะนี้แล้วหรือยัง มีแค่ไหน ให้กำลังใจในความตั้งใจจริงนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท