แม่ฮ่องสอนเป็นเมืองในฝันของนักท่องเที่ยวหลายๆคน ด้วยความที่มีจุดเด่นทางด้านกายภาพที่เข้าถึงยาก ทุนธรรมชาติที่มีอย่างเหลือเฟือ กลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลายทั้งวิถีชีวิตและวัฒนธรรม
ที่แม่ฮ่องสอน ได้มีกระบวนการพัฒนาการท่องเที่ยวในชุมชนที่ถือได้ว่าเป็นจังหวัดแรกๆของประเทศไทยก็ว่าได้ มีทั้งการพัฒนาจากองค์กรพัฒนาเอกชน จากรัฐ และจากโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่น รวมถึงงานศึกษาของนักศึกษา อาจารย์ที่มาศึกษาในพื้นที่
องค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน ที่เกิดจากการสำรวจความรู้ การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge Identification) มีหลากหลายวิธีการ และมีมากมาย มีการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาชุมชนเป้าหมาย ซึ่งถือได้ว่า กระบวนการพัฒนา และวิจัยที่แม่ฮ่องสอนประสบความสำเร็จที่เห็นชัดเจนคือ "คน" ที่เก่งขึ้น "คน" ในที่นี้คือ "ชาวบ้าน" ที่อยู่ในกระบวนการพัฒนานั่นเอง
ด้วยพัฒนาการที่น่าสนใจ เกิดองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมากมายนี่เอง จึงได้มีการรวบรวมข้อมูลเพื่อการจัดเก็บและเกิดงานสังเคราะห์ข้อมูลองค์ความรู้ เพื่อการจัดความรู้ที่เป็นระบบ(Knowledge Organization) นักวิชาการที่รับผิดชอบร่วมกันประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement) เพื่อจะนำไปสู่การถ่ายทอดให้เกิดประโยชน์สูงสุดอันจะเป็นข้อมูล ในการใช้วางแผนยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัดและเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ ในการพัฒนางานด้านการท่องเที่ยวโดยตรง ตอบสนอง "เครือข่าย" การท่องเที่ยวโดยชุมชนแม่ฮ่องสอนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต(ตอนนี้กำลังก่อร่าง สร้างสายใย) ให้เข้าถึงความรู้มากขึ้น(Knowledge Access) เกิดการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง
ขณะนี้ทาง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานภาค ได้อนุมัติโครงการวิจัย "การสังเคราะห์องค์ความรู้ การท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดแม่ฮ่องสอน" และอยู่ในช่วงเซ็นสัญญา โดยมีผมเป็นหัวหน้าโครงการวิจัย ในครั้งนี้
เป็นหนึ่งของพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน ของแม่ฮ่องสอน เพื่อจะได้ใช้กระบวนการจัดการองค์ความรู้ สร้างสรรค์ปัญญา เพื่อพัฒนาท้องถิ่นบันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร ใน The ultimate leader
เป็นกำลังใจให้พี่ชาย ในการทำงานดีๆเพื่อชาวบ้าน เพื่อท้องถิ่นครับ