การวิจัยเพื่อท้องถิ่นกับการพัฒนาชุมชนเกษตรและการผสานองค์ความรู้บนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยี่ที่เหมาะสม1


การวิจัยเพื่อท้องถิ่นกับการพัฒนาชุมชนเกษตรและการผสานองค์ความรู้บนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยี่ที่เหมาะสม1

การวิจัยเพื่อท้องถิ่นกับการพัฒนาชุมชนเกษตรและการผสานองค์ความรู้บนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยี่ที่เหมาะสม1
โกงกางยี่สาร
• ต้นไม้ที่มีคือ ต้นแสม ต้นตะบูน ต้นลำพู ต้นโกงกางใบเล็ก
• ยี่สารแปลว่าตลาด ที่นี่ทำป่าโกงกางมา 80 ปีแล้วและรัฐบาลโดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งซึ่งดูแลให้ทำได้แค่ที่เดียวที่อื่นต้องมาสวมสิทธิเช่นจังหวัดเพชรบุรี
• พี่ธนูจบการศึกษาจากฟิลิปปินส์ มีพื้นที่ปลูกป่าโกงกาง 56 ไร่
• ป่าโกงกางใช้เวลาในการปลูก  12- 15 ปี
• ที่นี่มี 10 ตระกูลในการทำป่าโกงกาง
o ประชากรที่นี่หมู่ 1 มี 3000 คน
o ประชากรที่นี่หมู่ 2 มี 2000 คน
o ประชากรที่นี่หมู่ 3 มี 7800 คน
• เมื่อก่อนนากุ้งกุลาดำและกุ้งแชบ๊วย มาก่อนหลังจากนั้นนากุ้งล่มสลายชาวบ้านแถวนี้ขาดทุนกันหมดต้องขายที่ให้นายทุนไปเลิกอาชีพทำโกงกางไปโดยปริยาย
• รายได้จากการทำโกงกาง 10,000-20,000 บาท/15 ปี /1ไร่
• ถ่านไม้โกงกางขายส่งได้ 10-15 บาท/Kg ขายปลีก 30 บาท/Kg
• เมื่อก่อนซื้อที่มา 100 บาท/ไร่  ช่วงกุ้งบูมมากๆขายกันไร่ละ 5000 บาท และหลังจากนั้นกุ้งล่มสลายขายให้กับคุณเฉลียว อยู่วิทยา เจ้าของกระทิงแดงซื้อไปครึ่งหนึ่งของพื้นที่ป่าโกงกาง
• ภูมิปัญญาชาวบ้าน ดอกอุตพิศ  และ เห็ดสีแดง กินได้
• ต้นโกงกางใบใหญ่ โตเร็วแต่ไม่นิยมเพราะเผาเป็นถ่านแล้วไม่ดีเหมือนกับถ่านประเทศเขมรซึ่งตะวันออกกลางไม่นิยม
• ต้นโกงกางใบเล็กเป็นที่นิยม ต้นสูง 15-16 เมตร ตัดเป็นท่อนไม่ได้ 10 ท่อน
การเผาถ่าน
• การเผาถ่าน 1 เตาจะได้ถ่าน 6 ตันใช้เวลาเผา 12-15 วัน ประมาณ10000 ท่อน ความยาว 1.4 เมตร
• ชาวบ้านคิดค่าตัดไม้ 1.4 เมตร /ราคา 1.50 บาท
• การดูว่าถ่านใช้ได้หรือยังให้ดูที่สีควันและดมกลิ่น
• เปลือกต้องทุบออก
• การตัดต้นโกงกางต้องรอตอนน้ำขึ้น ซึ่งจะมีประมาณ 5-6วัน/เดือน
• ข้อดีของป่าโกงกางคือ
o ให้ความร้อนสูง
o ติดไฟนาน
o ขี้เถ้าน้อย
o ไม่แตกตัวไฟเป็นสะเก็ตไฟ
o ควันน้อย
• ถ่านส่งออกไปประเทศตะวันออกกลางใช้ในการสูบยาเส้นเรียกว่า บารากุ เป็นจำพวกดอกไม้หอมนำมาทำยาเส้น
• การขนส่งถ่านต้องให้ อบต ออกหนังสืออนุญาตให้นำถ่านออกจากพื้นที่ได้
• การปลูกต้องใช้ฝักปักลงดิน 10000 ฝัก/ไร่ อายุประมาณ 1-2 เดือน
• ในพื้นที่นี้เตาเผาถ่านมีทั้งหมด 40 เตา มีอยู่ 8 แห่ง เฉพาะที่บ้านหลังนี้มี 7 เตา
• ศัตรูของโกงกางคือ ปูก้ามดาบ ปูแสม จะหนีบหรือกัดต้นเล็กกล้าๆขาดและตาย
• อาชีพนี้เหนื่อยมาก มีเงินพอประมาณ แต่รูปไม่หล่อ ตัวดำทั้งวัน เพราะฉะนั้นลูกหลานจึงไม่มีใครสืบทอดต่อไป
เตาเผาถ่าน
• วัดแนวตั้ง 5.30 เมตร เท่ากับ 11ศอก
• การวางฟืนต้องวางแนวตั้งจึงจะเกิดถ่านทั่วถึงทุกอัน
• หลักการคือใช้ความร้อน อบถ่านจึงทำให้ไม้สุกและเปลี่ยนเป็นถ่าน
• ไม้ชิ้นเล็กๆวางข้างบน
• การตลาดขายถ่านแบบเหมารวมทั้งหมด
วิธีการเผา
• เริ่มนำไม้เข้าเตาไปเรียงตามแนวตั้งให้ครบทุกเตาใช้เวลา 15 วัน แล้วก่ออิฐโบกปูนปิดเตาใช้เวลาเผาไฟ 15 วันและปิดต่อไว้อีก 10 วันใช้เวลาเผาเสร็จรวมทั้งสิ้น  45 วัน (อุณหภูมิต่ำกว่า 50 C จึงคอยเปิดเตา)
• ทำงานกับไฟอย่าใจร้อนตามไฟ
• เผาถ่านจะได้ทาซึ่งอยุ่ในน้ำมันดิน เป็นสารก่อมะเร็ง
• เตาเผาแบบญี่ปุ่นเรียกว่า อิวาเตะ จะไม่มีทาและน้ำมันดิน ที่นี่มีอยู่ 1 เตาแต่ไม่ได้ใช้เท่าไรอยู่ด้านหน้า
• ถ่านที่ดีจับแล้วมือต้องไม่ดำ(ทายังไม่หมด)เอาไว้ดูดกลิ่นและกรองน้ำ
วิธีทำถ่านขาว
• นำถ่านออกจากเตาแล้วนำทรายละเอียดมากลบทำเวลากลางคืนเรียกว่าถ่นกัมมันจะไม่เป็นสื่อไฟฟ้า
หลังคาจาก
• ใช้ในโรงเผาถ่านเนื่องจากระบายความร้อนได้ดีมาก
• ควันไฟที่ได้จากการเผาถ่านเป็นกรดเรียกว่าน้ำส้มควันไม้ pH 3
• มอดและปลวกไม่สามารถกินไม้ไผ่หลังคาได้
การสร้างเตา
• แบบก่อสร้างครั้งแรกนำมาจากเมืองจีนโดยใช้ดินเหนียวเป็นตัวประสาน ผสมกับน้ำ
• 1 เตามี 4 ปล่องควัน
• ใช้เหล็กขนาด5หุนรัดรอบเตาไม่ให้เตาแตก
• ใช้เวลา 1 เดือนในการสร้างเตาเสร็จ 1 เดือนค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง  100000 บาท/1เตา
• อิฐมอญที่ใช้ในการก่อสร้างเตาซื้อที่สามโคกและเสนา
• อายุเตาที่ใช่อยู่ทุกวันนี้ประมาณ 30 ปี
น้ำส้มควันไม้
• 1 เตาจะได้ 100 ลิตร
• ใช้เวลารอง 4 วัน
• อุณหภูมิเตาเผาขึ้นสูงประมาณ 120 C จึงจะเริ่มนำกระบอกไม้ไผ่ไปรองรับน้ำส้มควันไม้ทางปากปล่อง
• จะหยุดเก็บน้ำส้มควันไม้เมื่อเห็นน้ำจะมีความเหนียวเพราะสารทาจะออกมามาก
ขี้ถ่าน นำมาทำถ่านอัดแท่ง
หัวถ่าน ถ่านไม่สุก นำมาเผาเพิ่มอีกโดยใช้เตาผีหรือเตาหลุมผีจะใช้เวลาเผา 2 วัน
ถ่านวิทยาศาสตร์  คือถ่านอัดแท่ง
ส่วนประกอบคือ
• น้ำ 20 ลิตร
• แป้งมัน 2.5 Kg (5 %)
• ผงถ่าน 50 Kg
หลังจากอัดแท่งเสร็จแล้วนำไปตากอีก 3 วัน
        ผ้ามัดย้อม
• เปลือกตะบูนนำมาย้อมผ้าได้โดยต้มประมาณ 3 ชม
• มีการส่งเสริมโดยพัฒนาชุมชน(พช)

หมายเลขบันทึก: 395849เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2010 18:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 12:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท