การวิจัยและพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม2


การวิจัยและพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม2

วิชา: ทัศนมิติทางด้านวิจัยและพัฒนาระบบเกษตร(047593)
เรื่อง: การวิจัยและพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม
เสนอ: รศ.ดร. ประภาศรี สิงห์รัตน์ ภาควิชาวิศวกรรมอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน
โดย : กษิดิ์เดช ธีรนิตยาธาร เลขประจำตัว 5224100704    สาขาวิชา วิจัยและพัฒนาการเกษตร
การสืบค้นภูมิปํญญาโลกจากเอกสารสิทธิบัตร

คำถามที่ 1 เอกสารสิทธิบัตร คืออะไร
คำตอบ  :
เอกสารสิทธิบัตร เป็นเอกสารที่เจ้าของเปิดเผยรายละเอียดข้อมูลความรู้ของการประดิษฐ์ที่ยื่นขอจดสิทธิบัตร ตามที่กฎหมายสิทธิบัตรกำหนดไว้ เพื่อให้บุคคลทั่วไปสามารถใช้ค้นคว้าหาความรู้และนำมาใช้เป็นแนวทางในการวิจัยและพัฒนาการประดิษฐ์ได้โดยไม่ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิ์ ทั้งนี้รายละเอียดที่เปิดเผยนั้นต้องเพียงพอสำหรับผู้ที่มีความรู้ในเรื่องนั้น ๆ สามารถนำไปปฏิบัติให้ได้ผลดังที่ระบุไว้ได้
หรือ       สิทธิบัตร (patent) หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่มีลักษณะตามที่กำหนดในกฎหมาย กฎกระทรวง และระเบียบว่าด้วยสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง ที่เกี่ยวกับการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบ เพื่อให้ได้สิ่งของ,เครื่องใช้หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น การประดิษฐ์รถยนต์, โทรทัศน์, คอมพิวเตอร์, โทรศัพท์ หรือการออกแบบขวดบรรจุน้ำดื่ม, ขวดบรรจุน้ำอัดลม หรือการออกแบบลวดลายบนจานข้าว, ถ้วยกาแฟ ไม่ให้เหมือนของคนอื่น เป็นต้น

คำถามที่ 2 สิทธิบัตรกับลิขสิทธิ์ ต่างกันอย่างไร
คำตอบ 
สิทธิบัตรและลิขสิทธิ์ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองสิทธิแก่เจ้าของความคิดสร้างสรรที่จะใช้ผลงานนั้นให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์แต่ผู้เดียวในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดเหมือนกัน แต่ต่างกันที่สิทธิบัตรให้ความคุ้มครองด้านการประดิษฐ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งคิดค้นขึ้นใหม่ในโลกและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมได้ ทั้งนี้เจ้าของการประดิษฐ์ต้องยื่นขอรับการ
สิทธิบัตร คือหนังสือสัญญา หรือเอกสารที่ได้รับการยินยอมและตรวจสอบแล้วจากหน่วยงานที่รับผิดชอบของประเทศนั้น ๆ ซึ่งมักจะเป็นจะเป็นการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของงานด้านวิทยาศาสตร์ ที่มักเป็นการต่อยอดทางปัญญา จึงคุ้มครองชั่วระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งเพียงพอที่จะเป็นรางวัลแก่ผู้ทรงสิทธิ์คุ้มครองผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธี โดยลิขสิทธิ์จะได้มาอัตโนมัติฟรี ๆ เมื่อแสดงออกต่อสาธารณะ (จดทะเบียนก็ได้ เพื่อให้มีหลักฐานแน่นหนาทางกฎหมาย) และมีผลในทุกประเทศที่ร่วมใน Berne Convention (รวมไทย) ส่วนสิทธิบัตรต้องขวนขวายลงทุนให้ได้มา มีขั้นตอน มีค่าใช้จ่าย มีผลเฉพาะประเทศที่เกี่ยวข้อง เช่น มีสูตรปรุงอาหาร ถ้าเผยแพร่เป็นหนังสือ จะได้ลิขสิทธิ์ คนอื่นไม่มีสิทธิคัดลอกเผยแพร่โดยพลการ แต่จะปรุงอาหารตามนั้นกี่จานก็ได้ แต่ถ้าจะไปขึ้นสิทธิบัตร (ถ้าได้) คนอื่นไม่สามารถปรุงอาหารตามนั้นเลย แม้จะสามารถเข้าไปคัดลอกสูตรดังกล่าวได้ก็ตาม
ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่ผู้เดียวที่กฎหมายรับรองให้ผู้สร้างสรรค์กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ตนได้ทำขึ้น อันได้แก่ สิทธิที่จะทำซ้ำ ดัดแปลง หรือนำออกโฆษณา ไม่ว่าในรูปลักษณะอย่างใดหรือวิธีใด รวมทั้งอนุญาตให้ผู้อื่นนำงานนั้นไปทำเช่นว่านั้นด้วยลิขสิทธิ์ จะเป็นการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญากับงานวรรณกรรม เช่นเพลง โดยคุ้มครองตลอดชีวิตของผู้ทรงสิทธิ์และอีก 50 ปี ภายหลังจากผู้ทรงสิทธิ์เสียชีวิต โดยการดูแลของทายาทหรือผู้ที่ได้รับมอบมรดก

คำถามที่ 3 ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับสิทธิบัตรหาได้ที่ไหนบ้าง
คำตอบ
-เว็บไซต์ที่ให้บริการเอกสารสิทธิบัตรที่จดทะเบียนกับองค์กรทรัพย์สินทางปัญญาโลก  สามารถเข้าถึงที่ URL http://www.wipo.int/pctdb/en/
-องค์การค้าและสิทธิบัตรประเทศสหรัฐอเมริกา (United States Patent and Trademark Office) - USPTO  แหล่งรวมสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าของประเทศสหรัฐอเมริกา สืบค้นได้ที่URL http://www.uspto.gov/
-Google Patent Search เป็นเครื่องมือช่วยค้นเอกสารประเภทสิทธิบัตรที่ทำการลิงค์ไปยังเว็บไซต์ที่ให้บริการเอกสารประเภทสิทธิบัตร มีเอกสารสิทธิบัตรกว่า 7 ล้านฉบับ แหล่งข้อมูลหลักเป็นสิทธิบัตรของประเทศสหรัฐอเมริกา  ระบบการสืบค้นของ Google Patent Search มีรูปแบบการค้นที่ง่าย ไม่ซับซ้อน เข้าสู่ระบบการค้นที่URL  http://www.google.com/patents
-ฐานข้อมูลสิทธิบัตร (สวทช.) เข้าสู่ระบบการค้นที่ http://semantic.nectec.or.th/th-patent
-กรมทรัพย์สินทางปัญญา (Department of Intellectual Property) เข้าสู่ระบบการค้นที่ http://www.ipthailand.go.th
-กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ถนนสนามบินน้ำ จังหวัดนนทบุรี
-สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรมวิทยาศาสตร์บริการ ถนนพระราม 6 ตรงข้าม รพ.รามาธิบดี กทม.
คำถามที่ 4 สิทธิบัตรเป็นเรื่องผูกขาดมิใช่หรือ
คำตอบ
 เจ้าของสิทธิบัตรจะต้องเปิดเผยวิธีทำหรือสูตรของผลิตภัณฑ์ของตนให้บุคคลทั่วไปทราบ เพื่อแลกกับการผูกขาดสิทธิที่จะหาผลประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด รายละเอียดของวิธีทำหรือสูตรนั้นพิมพ์เผยแพร่ในเอกสารสิทธิบัตร ซึ่งผู้สนใจสามารถค้นคว้าหาความรู้และนำมาวิจัยหรือพัฒนาต่อยอดได้โดยไม่ถือว่าละเมิดสิทธิ์ อย่างไรก็ตามวิธีทำหรือสูตรที่จะจดสิทธิบัตรได้ต้องเป็นของใหม่
คำถามที่ 5 เอกสารสิทธิบัตรฉบับเต็มหาได้ที่ไหน
ตอบ
-เว็บไซต์ที่ให้บริการเอกสารสิทธิบัตรที่จดทะเบียนกับองค์กรทรัพย์สินทางปัญญาโลก  สามารถเข้าถึงที่ URL http://www.wipo.int/pctdb/en/
-องค์การค้าและสิทธิบัตรประเทศสหรัฐอเมริกา (United States Patent and Trademark Office) - USPTO  แหล่งรวมสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าของประเทศสหรัฐอเมริกา สืบค้นได้ที่URL http://www.uspto.gov/
-Google Patent Search เป็นเครื่องมือช่วยค้นเอกสารประเภทสิทธิบัตรที่ทำการลิงค์ไปยังเว็บไซต์ที่ให้บริการเอกสารประเภทสิทธิบัตร มีเอกสารสิทธิบัตรกว่า 7 ล้านฉบับ แหล่งข้อมูลหลักเป็นสิทธิบัตรของประเทศสหรัฐอเมริกา  ระบบการสืบค้นของ Google Patent Search มีรูปแบบการค้นที่ง่าย ไม่ซับซ้อน เข้าสู่ระบบการค้นที่ URL  http://www.google.com/patents
-กรมทรัพย์สินทางปัญญา (Department of Intellectual Property) เข้าสู่ระบบการค้นที่ http://www.ipthailand.go.th
-สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรมวิทยาศาสตร์บริการ ถนนพระราม
คำถามที่ 6 หากต้องการป้องกันการละเมิดสิทธิบัตรของผู้อื่นจะทำอย่างไร
คำตอบ  คือตรวจหาข้อมูลจากฐานข้อมูลสิทธิบัตรของสำนักสิทธิบัตรของประเทศนั้น ๆ

คำถามที่ 7 อยากรู้เทคโนโลยีต้องดูที่เอกสารสิทธิบัตรฉบับใหม่เท่านั้นหรือ
คำตอบ    การประดิษฐ์สิ่งใดสิ่งหนึ่งมักจะต้องใช้เทคโนโลยีหลายอย่างประกอบกัน และการพัฒนาเทคโนโลยีแต่ละอย่างมีความก้าวหน้าไม่เท่ากัน จึงทำให้เทคโนโลยีหลายอย่างในเอกสารสิทธิบัตรเก่าที่ยังไม่ได้นำมาใช้ ผลิตผลิตภัณฑ์ เพราะเทคโนโลยีที่จำเป็นต้องใช้ร่วมกับเทคโนโลยีในเอกสารสิทธิบัตรเก่านั้นยังไม่พัฒนาให้ดีพอ เช่น โทรทัศน์สี มีการจดสิทธิบัตรไว้ก่อนที่จะนำมาผลิตขายเป็นเวลานานหลายสิบปี

คำถามที่ 8 ข้อมูลความรู้ทั้งหมดของวิธีทำผลิตภัณฑ์มีรวมอยู่ในเอกสารสิทธิบัตรหนึ่งฉบับหรือ
คำตอบ   ขอบเขตของเนื้อหาทางเทคโนโลยีในเอกสารสิทธิบัตรแต่ละฉบับ จะครอบคลุมเฉพาะจุดใดจุดหนึ่งเท่านั้น เช่น เอกสารสิทธิบัตรเรื่องเครื่องพิมพ์ดีด ในเอกสารสิทธิบัตรฉบับหนึ่งจะกล่าวถึงกลไกการป้อนกระดาษ อีกฉบับหนึ่งจะบรรยายเฉพาะกลไกการบังคับการหมุนของผ้าหมึก ดังนั้น ถ้าจะสร้างเครื่องพิมพ์ดีด ก็จะต้องศึกษาวิธีการทำเครื่องบังคับกลไกต่าง ๆ ของพิมพ์ดีดในเอกสารสิทธิบัตรหลายฉบับ
คำถามที่ 9 วิธีการค้นหาสารนิเทศเทคโนโลยีเอกสารสิทธิบัตรทำได้อย่างไร
ตอบ  
วิธีการค้นหาสารนิเทศเทคโนโลยีในเอกสารสิทธิบัตร สามารถทำได้โดยการใช้คำสำคัญหรือชื่อผู้ประดิษฐิ์หรือออกแบบ ชื่อผลิตภัณฑ์หรือสิ่งประดิษฐิ์ ชื่อผู้ขอจดสิทธิบัตร วิธีการ หมายเลขสิทธิบัตร วันเดือนปีที่ได้สิทธิบัตร ประเทศที่จดสิทธิบัตร ค้นหาได้หลายวิธี คือ

เอกสารสิทธิบัตร / Patent specification
 
เป็นเอกสารประกอบการยื่นขอรับสิทธิบัตรที่ระบุถึง ข้อมูลบรรณานุกรมเทคโนโลยี รายละเอียดของเทคโนโลยีและข้อถือสิทธิ์ของการประดิษฐ์นั้น ซึ่งสำนักงานสิทธิบัตรเป็นผู้พิมพ์เผยแพร่
  วารสารสิทธิบัตร

 
เป็นวารสารที่พิมพ์เผยแพร่สาระสังเขปเทคโนโลยีที่มีผู้ยื่นขอหรือได้รับสิทธิบัตรและรูปวาดหรือแผนภูมิของการประดิษฐ์พร้อมทั้งข้อมูลบรรณานุกรมเทคโนโลยี ผู้พิมพ์เผยแพร่วารสารสิทธิบัตรนี้มีทั้งสำนักงานสิทธิบัตรและเอกชน
  ดรรชนีและคู่มือค้นหาสิทธิบัตร / Manual of patent classification

 
เป็นเอกสารที่ใช้สำหรับค้นหารหัสเทคโนโลยีของระบบสารนิเทศสิทธิบัตร (Patent Classification Symbols) ซึ่งใช้ในการจำแนกเอกสารสิทธิบัตรออกเป็นหมวดหมู่ ทำให้สามารถค้นหาข้อมูลความรู้ทางเทคโนโลยีในเอกสารสิทธิบัตรได้สมบูรณ์มากขึ้น
  หนังสือและชุดเอกสารสิทธิบัตรเฉพาะเรื่อง

 
เป็นหนังสือที่มีเนื้อหารายละเอียดทางเทคนิคของการประดิษฐ์เฉพาะอย่างที่รวบรวมมาจากเอกสารสิทธิบัตรอเมริกันจำนวนหนึ่งที่ได้รับสิทธิบัตรในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งช่วยให้ผู้อ่านได้ทราบถึงการพัฒนาและแนวโน้มของเทคโนโลยีการประดิษฐ์เรื่องนั้น ๆ
  กฎหมายและคู่มือการยื่นขอรับสิทธิบัตร / Patent Laws & Application Guide

 
เป็นหนังสือเกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ และค่าธรรมเนียมพร้อมทั้งตัวอย่างแบบฟอร์มสำหรับยื่นขอรับสิทธิบัตร
  วารสารวิชาการ

 
ในวารสารวิชาการบางรายชื่อ จะมีข่าวเกี่ยวกับสิทธิบัตรในแง่มุมของกฎหมาย การค้า ผลกระทบต่อสังคม และการพัฒนาวิทยาการ บางรายชื่อจะมีคอลัมน์ที่ใช้ติดตามข่าวการยื่นขอจดและหรือการให้สิทธิบัตรของสำนักงานสิทธิบัตรได้ ซึ่งจะระบุหมายเลขของเอกสารสิทธิบัตรพร้อมกับชื่อสิ่งประดิษฐ์และเจ้าของสิ่งประดิษฐ์ และอาจมีสาระสังเขปเทคโนโลยีให้ด้วย
  วารสารสาระสังเขป

 มีวารสารสาระสังเขปหลายรายชื่อที่นำเอาข้อมูลความรู้ในเอกสารสิทธิบัตรมาทำสาระสังเขป เพื่อให้ผู้อ่านใช้ค้นคว้าและติดตามข้อมูลความรู้ทางเทคโนโลยี นอกจากสาระสังเขปเกี่ยวกับการประดิษฐ์ที่จดสิทธิบัตรแล้ว ยังมีข้อมูลบรรณานุกรมที่ใช้สำหรับติดตามเอกสารสิทธิบัตรฉบับเต็มด้วย
  วารสารสารนิเทศสิทธิบัตร

 เป็นวารสารที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับระบบสารนิเทศ สิทธิบัตรในแง่มุมต่าง ๆ เช่นการจัดการระบบสารนิเทศการวิเคราะห์ข้อมูลเอกสารสิทธิบัตร และ สถิติ ต่าง ๆ

คำถามที่ 10 ข้อมูลความรู้ในเอกสารสิทธิบัตรมีประโยชน์อย่างไร สำคัญสำหรับท่านหรือไม่
ตอบ  สำคัญ เพราะ   ผลที่จะได้รับจากสิทธิบัตร มีประโยชน์ 2 ส่วนใหญ่ๆคือ
1. ในด้านของประชาชน
   โดยทั่วๆ ไป สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่มีผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้น หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งก็คือสิทธิบัตรนั่นเอง นอกจากจะก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ที่อำนวยความสะดวกต่าง ๆแล้ว ยังก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่ให้ความปลอดภัยแก่ชีวิตมากขึ้นด้วย เช่นยารักษาโรคต่าง ๆ เป็นต้น ดังจะเห็นได้จากเครื่องกลเติมอากาศ หรือกังหันน้ำชัยพัฒนา ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทางประดิษฐ์คิดค้น เพื่อใช้ในการบำบัดน้ำเสียและใช้เพื่อปรับปรุงคุณภาพของบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นการปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อสุขภาพและอนามัยของประชาชนให้ดีขึ้น การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ จะทำให้ประชาชนได้รับแต่สิ่งที่ดี มีคุณภาพ
สูงขึ้น มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นและให้ความปลอดภัยแก่ชีวิตมากขึ้น
2. ในด้านเจ้าของสิทธิบัตร
ผู้ที่ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ จะได้รับผลตอบแทนจากสังคม คือ การได้รับความคุ้มครองสิทธิบัตร ซึ่งสามารถที่จะนำการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรนั้นไปผลิต จำหน่าย นำเข้ามาในราชอาณาจักรหรืออนุญาตให้บุคคลอื่นใช้สิทธิตามสิทธิบัตรนั้นโดยได้รับค่าตอบแทน

 

หมายเลขบันทึก: 395848เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2010 18:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 12:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท