food inc&โครงการผักประสานใจ


food inc&โครงการผักประสานใจ

FOOD INC.
1.ภาพยนต์ต้องการสื่ออะไรให้คนดู
• ต่อต้านการทำธุรกิจยักษ์ใหญ่ในประเทศอเมริกา เช่น มอนซานโต้ ไทสัน แมคโดนัล คาร์กิล
• Contact farming แต่ยังเป็นหนี้สิ้นกับบริษัท
• บริษัท ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิต ถั่วเหลือง ข้าวโพด รายใหญ่ที่สุดในโลกและขณะนี้กำลังเริ่มมาทำข้าวแล้ว
• ความไม่รับผิดชอบของผู้ประการขนาดใหญ่
• ระบบเกษตรเป็นระบบการเกษตรขนาดใหญ่ เป็นแบบอุตสาหกรรม intensive
• การเลี้ยงไก่ของบริษัทยักษ์ใหญ่ เร่งการเจริญเติบโตให้เร็ว แต่ระบบโครงสร้างไม่สามารถรองรับน้ำหนักของตัวเองได้จึงทำให้ไก่เดินไม่สะดวกเพราะตัวใหญ่แต่ขาเล็ก
• บริษัทยักษ์ใหญ่ ปกปิดและกีดกันสื่อชนิดต่างๆ และ ข้อมูลทั้งที่เป็นข้อมูลความลับในเชิงวิชาการและข้อมูลที่ไม่ดีของผลิตภัณฑ์ไม่ให้เปิดเผยต่อสาธารณะชนในวงกว้าง โดยมีบทลงโทษต่อเกษตรกรที่ให้ข้อมูลโดยการปลดออกจากระบบของบริษัท ทำให้เกิดภาวะขาดทุด เป็นหนี้เป็นสิน จึงทำให้เกษตรกรกลัวมาก
• บริษัทยักษ์ใหญ่ใช้อำนาจเงินและอำนาจกฎหมายจากสภาคองเกรสบังคับให้ทุกคนต้องยอมรับในสิ่งที่ตัวเองคิดและทำโดยไม่สนใจว่าเกษตรกรจะอยู่ได้หรือไม่ จะมีผลกระทบต่อธรรมชาติและสังคมหรือไม่ จะสร้างปัญหาให้กับใครหรือไม่ เอาผลประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้องเป็นที่ตั้ง
• เมื่อเกิดปัญหากับผู้บริโภคแล้วเช่น บริษัทยักษ์ใหญ่ จำหน่ายแฮมเบอร์เกอร์ที่มีการบนเปื้อนของเชื้อ E coli 0157 H7 และผู้บริโภครับประทานไปแล้วเกิดอาการไตวายและเสียชีวิตในเวลาต่อมา พ่อแม่ของเด็กชายได้ทำการตามฟ้องร้องบริษัท แต่ก็ต่อสู้คดีมาหลายปี ซึ่งทางรัฐบาลไม่ได้ให้ความส่งเท่าที่ควร เพราะเป็นบริษัทยักษ์และมีเงินจำนวนมหาศาลคอยดูแลสภาคองเกรส อยู่ ในทางกลับกันเขาสามารถเข้ามาสั่งการให้ทุกๆคนในรัฐบาลทุกๆคนเงียบ ไม่ต้องพูด และคอยรอรับเงินที่คอยสนับสนุนพรรคอยู่ด้วย
2.เรารู้สึกอย่างไร
• บริษัทยักษ์ใหญ่ รังแกเกษตรกรโดยผู้ที่ไม่ได้ซื้อเมล็ดพันธุ์ของบริษัทแต่เกิดการผสมเกสรโดยธรรมชาติจากการปลิวมาติดของแปรงข้างเคียงที่ไปซื้อเมล็ดพันธุ์ของบริษัทยักษ์ใหญ่มาปลูก ทำให้ถูกเจ้าหน้าที่ของบริษัทแจ้งจับ ทำให้ต้องไปซื้อเมล็ดพันธุ์ของบริษัทมาปลูกจึงจะไม่โดนจับ มันไม่ยุติธรรม
• ปลาใหญ่กินปลาเล็ก และ ปลาเร็วกินปลาช้า บริษัทยักษ์ใหญ่ทำอะไรได้เปรียบกว่าคู่แข่งเสมอและมีอำนาจเงิน และสามารถสั่งอำนาจตุลาการให้แก้กฎหมายเพื่อเข้าข้างตนและได้เปรียบคู่แข่งมากๆ ทำให้ธุรกิจตัวเองไปได้ดีและของผู้อื่นต้องปิดตัวและเลิกกิจการไปเพราะไม่สามารถมาแข่งขันได้
• เกิดความหดหู่เพราะเกษตรกรและผู้บริโภคต้องเป็นผู้รับชะตากรรม เพราะบริษัทยักษ์ใหญ่ต้องการจะให้เกษตรกรมีกำไรเพียงแค่ช่วงแคบๆ และไม่มีปากไม่มีเสียง ไม่มีโอกาสแสดงความเห็น ต้องทำตามนโยบายบริษัทเท่านั้น มิฉะนั้นจะไม่สามารถอยู่รอดได้ในธุรกิจนี้และมิหนำซ้ำอาจโดนฟ้องร้องมีคดีและต้องล้มละลายในที่สุด ส่วนผู้บริโภคก็ต้องถูกบังคบให้รับประทานสิ่งที่บริษัทอยากให้รับประทานเพราะบริษัทต้องการเพียงคำว่ากำไรเท่านั้น ไม่สนใจว่าจะเกิดผลกระทบอย่างไรต่อ สิ่งแวดล้อม ตัวสัตว์และผู้บริโภค
• Dilemma = เกิดสภาวะลำบาก หรือเกิดวิกฤตยิ่งใหญ่ของมวลชน
• ทุกครั้งที่เกิดปัญหากับผลิตภัณฑ์ของบริษัทยักษ์ใหญ่ก็จะใช้อำนาจเงิน และอำนาจตุลาการ มากดดันสื่อไม่ให้เผยแพร่ข้อมูล และกดดันสภาคองเกรสเพื่อให้ออกกฎหมายมาช่วยเหลือบริษัทตัวเอง
• บริษัทยักษ์ใหญ่ จะอยู่ในรูปของนักบุญคนบาป หรือโจรใส่สูท เพราะบริษัทยักษ์ใหญ่จะเข้าไปในประเทศต่างๆในรูปของมูลนิธิเพื่อเข้าไปช่วยเหลือ( CSR) เพื่อให้ดูภาพพจน์ดีแต่เบื้องหลังแอบแฝงไว้ด้วยผลประโยชน์ทั้งสิ้นพร้อมที่จะกอบโกยได้ตลอดเวลาที่มีโอกาส
• ความรู้เป็นพิษ เพราะเนื่องจากสิ่งที่รู้ลึกและรู้จริง รู้มากเกินกว่าคนอื่นทำให้เกิดความได้เปรียบและความโลภเข้ามาครอบงำทำให้จิตใจคิดแต่สิ่งไม่ดี เอาแต่ผลประโยชน์เข้าตัวเท่านั้นไม่สนใจว่าใครจะเป็นอย่างไร่
• เห็นความอยุติธรรมของสังคม ตาชั่งเอียง
• อำนาจอยู่ในมือของนักธุรกิจและนักการเมืองจับมือกัน ระบบทุกอย่างจึงพังพินาศล่มสลาย
• เกษตรกรที่ทำcontact farming กับบริษัทยักษ์ใหญ่ จะเป็นหนี้เป็นสินไปตลอดชีวิต
3. เราอยากวิจัยและพัฒนาการเกษตรเรื่องอะไร
• งานวิจัยที่ทำจะคำนึงถึงเรื่องเกษตรอินทรีย์เป็นหลัก คิดหาปัจจัยทางการผลิตที่มีต้นทุนต่ำๆ ช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลง ช่วยเพิ่มผลผลิตให้เกษตรกรได้จริงๆ สามารถอธิบายได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่ไสยศาสตร์ และมีงานวิจัย และวิชาการรองรับและนักวิชาการทั้งในและต่างประเทศให้การยอมรับ
• ผลิตภัณฑ์นี้ต้องได้รับการรับรองว่าเป็น ออแกนนิค โดยมีหน่วยงานรองรับเช่น IFOAM มกท , Q กระทรวงเกษตร , Organic Thailand ,Gobal GAP,Thailand GAP,ISO,HACCP

การวิเคราะห์พื้นที่และชุมชนแบบมีส่วนร่วม
โดย รศ.ดร. ชัชรี  นฤทุม สำนักงานส่งเสริมและฝึกอบรม กำแพงแสน มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ กำแพงแสน
• ทำงานที่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง( สกย)
• ยางราคา 105-120 บาท/กก
• ปีนี้ 2553 เงาะราคาดีกว่าปีทีแล้วและราคาดีกว่ามังคุดเพราะปีที่แล้วเงาะโดนโค่นไปปลูกยางและปาล์มเป็นจำนวนมาก
• โครงการปลูกผักปลอดสารพิษ โครงการผักประสานใจ โดยการเก็บเงินก่อนแล้วค่อยส่งผักให้ทุกอาทิตย์และ
อยากกินผักจนต้องซื้อเงินผ่อน!
เขียนโดย webmaster เมื่อ พ, 12/16/2009 - 11:58
• เกษตรไร้สาร
 
      แต่ไหนแต่ไร ครอบครัวของเราไม่นิยมของเงินผ่อน จนมาพบของดีที่เราอยากได้มานาน...ในเมื่อไม่มีเงินก้อน แต่เขาให้ผ่อนได้ เกียรติภูมิที่เคยสะสมไว้จึงถึงคราแตกกระจายทันที เพราะประเมินแล้วฟันธงได้ว่า คุ้มเกินคุ้ม...
ของดีที่ว่า ก็คือ ผักสดนานาพันธุ์จาก “โครงการผักประสานใจ ผู้ผลิตเพื่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม” หรือเรียกกันย่อ ๆ ในหมู่สมาชิกว่า CSA โดยปลูกกันใน ฟาร์มเกษตรอินทรีย์ บ้านป่าคู้ล่าง ต.สมเด็จเจริญ อ.หนองปรือ จ.กาญจนบุรี นี่เอง
    
      เอ! แล้ว CSA นี่มันอะไรกัน ...

      ขอไขคำตอบแบบคร่าว ๆ นะคะ CSA ย่อมาจาก Community Supported Agriculture แปลไทยตรง ๆ ก็คือ ชุมชนให้การสนับสนุนการเกษตร ... ส่วนรายละเอียดว่า CSA เริ่มมาจากไหน อย่างไร ในเมืองไทยมีกี่ที่ ฯลฯ ขอยกยอดไปพูดในอนาคตเมื่อมีโอกาสอันควร สำหรับครั้งนี้ขออธิบายถึง CSA บ้านป่าคู้ล่างเท่านั้น เพื่อความกระชับฉับไว (ถ้าสนใจ ค่อยสอบถามกันนอกรอบได้ค่ะ)
      CSA ป่าคู้ล่าง ต่อเนื่องมาจาก CSA ของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี ที่เริ่มขึ้นเมื่อปี 2547 ในยามนั้นมีเกษตรกร ๓-๔ ราย ร่วมกันปลูกผักอินทรีย์ ทุกวันเสาร์จะตัดผักบรรจุถุงขนขึ้นรถขับออกจากหมู่บ้านตั้งแต่ตีสอง วันอาทิตย์ เพื่อส่งให้ผู้บริโภค ๓-๔ คน ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งจ่ายเงินล่วงหน้า ๑ ปี ให้เกษตรกรเพื่อเป็นทุนปลูกผักและมีกำไรเล็กน้อยไว้เป็นรายได้ รวมถึงเป็นกำลังใจให้เกษตรกรก้าวต่อไปบนหนทางเกษตรอินทรีย์
      แต่หนทางนี้ช่างยากลำบาก !!! ... เกษตรกรบางรายหันกลับไปทำเกษตรเคมีเหมือนเดิม ผู้บริโภคบางคนก็ย้ายถิ่นที่อยู่จึงต้องเลิกรับผักไปโดยปริยาย แต่ขณะเดียวกันนั้นก็มีเกษตรกรรายใหม่ ๆ สมัครใจเข้ามาสู่ระบบนี้มากขึ้น เหมือน ๆ กับที่มีผู้บริโภครายใหม่ก้าวเข้ามาเป็นกำลังใจให้กับพวกเขาอย่างต่อเนื่อง
       ตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ มาถึงปัจจุบัน CSA เริ่มมั่นคงมากขึ้น ด้วยจำนวนสมาชิกฝั่งเกษตรกรผู้ผลิตราว ๑๐ ราย ที่อยู่กับระบบไม่หนีหายไปไหน โดยส่วนใหญ่คือเกษตรกรในพื้นที่บ้านป่าคู้ล่างนั่นเอง ขณะที่สมาชิกฝั่งผู้บริโภคราว ๒๐ คนก็เหนียวแน่นมั่นคงอยู่ร่วมกันมากว่า ๓ ปีเข้าไปแล้ว อีกทั้งระหว่างนี้ก็มีผู้บริโภคหน้าใหม่สมัครเข้ามาร่วมประสานใจกันอยู่เรื่อย นับรวมถึงปัจจุบันไม่ต่ำกว่า ๔๕ ราย ... เป็นตัวเลขที่ทำให้เกษตรกรมีกำลังใจทำเกษตรอินทรีย์ต่อไปได้
      คุณนายฯ เองก็เป็นผู้บริโภคหน้าใหม่กับเขาด้วย เพิ่งเริ่มรับผักเมื่อกลางปี ๒๕๕๐ นี้เองค่ะ โดยใช้ระบบจ่ายปีละ ๓ งวด ตามประสาคนมีฐานะ(ยากจน) ^_^ ๕๕๕ เมื่อต่างก็ช่วยเหลือให้กำลังใจ ประสานใจกันขนาดนี้ จึงมีการเยี่ยมเยือนระหว่างกันเสมอ ๆ ปีละ ๒ ครั้ง ครั้งแรกนัดพบกันที่กรุงเทพฯ เกษตรกรจะถือโอกาสแนะนำตัว บอกเล่าความรู้สึก รวมถึงรายงานการใช้จ่ายทุนที่ได้รับไปจากผู้บริโภคให้ฟัง ส่วนผู้บริโภคจะถ่ายทอดปัญหาและคำแนะนำให้เกษตรกรเพื่อให้ระบบมีการพัฒนาและเข้มแข็งมากขึ้น
      ส่วนการพบกันครั้งที่สอง ผู้บริโภคเป็นฝ่ายไปเยี่ยมเยือนเกษตรกรถึงฟาร์ม เพื่อเรียนรู้การผลิตเกษตรอินทรีย์และพักอยู่กับเกษตรกร ๑ คืน เพื่อสร้างความเข้าใจในวิถีชีวิตของเกษตรกรให้มากขึ้น และทำให้การรับผักครั้งต่อ ๆ ไป เกิดความซาบซึ้งถึงความยากลำบากของผู้ปลูก รวมทั้งยังรับประทานผักได้อร่อยขึ้น เพราะคิดถึงคนปลูกอีกด้วย
       การเยี่ยมเยือนเช่นนี้มีมา ๓ ปีแล้ว ระยะหลังเริ่มขยายเป็น ๓ ครั้งต่อปี และเริ่มมีผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกรับผัก CSA สนใจขอร่วมเดินทางไปด้วยหลายราย (ซึ่งส่วนใหญ่จะประทับใจจนต้องเดินทางกลับในฐานะสมาชิก CSA ... นี่ถ่ายทอดจากประสบการณ์ตรงของคุณนายฯ เลยนะคะเนี่ย) จึงกลายเป็นการไปเยี่ยมฟาร์ม ๒ ครั้งต่อปี และเกษตรกรมาเยี่ยมผู้บริโภคปีละครั้ง ... อบอุ่นจริงๆ การเดินทางไปเยี่ยมเยือนเกษตรกรของเหล่าสมาชิกและผู้สนใจระบบ CSA ครั้งล่าสุด ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา และแน่นอนว่า คุณนายฯ ไม่พลาดการติดสอยห้อยตามไปด้วยในฐานะสมาชิกหน้าใหม่
      บ้านป่าคู้ล่างเป็นชุมชนกะเหรี่ยงโป พวกเขายังมีภาษาพูด มีวัฒนธรรม การแต่งกาย อาหารรวมถึงการแสดงและประเพณีแบบกระเหรี่ยงโปอยู่ในชุมชน แต่พวกเขาก็พูดภาษาไทยได้เพราะเป็นคนไทยคนหนึ่งเหมือนกัน
มาถึงปุ๊บก็มีอาหารพื้นบ้านวางรออยู่ กลางวันนี้เราจึงได้ลิ้มรสแกงหยวกไก่ และ เซอเกซาวาย เมนูเด็ดของชาวป่าคู้ล่าง
      สำหรับแกงหยวกไก่ คือแกงที่ใส่หยวกกล้วยกับไก่และเครื่องพริกแกงแบบกะเหรี่ยง ส่วนเซอเกซาวาย คือน้ำพริกกวนนั่นเอง (“เซอเก” หมายถึง “น้ำพริก” ส่วนคำว่า “ซาวาย” แปลว่ า “กวน” ค่ะ) อร่อยมาก ๆ จนหลายคนพุงกางไปตาม ๆ กัน ถึงขั้นต้องนอนฟังชาวบ้านเล่าเรื่องการเพาะปลูกและประวัติชุมชนกันเลยทีเดียว
       งานเยี่ยมเยือนครั้งนี้ ชาวบ้านได้เชิญ “คุณหมอตีนเปล่า” ผู้ไม่มีใบปริญญามาการันตี แต่มีความรู้จากการศึกษาและดำรงชีวิตตามแนวทางศาสตร์การแพทย์แผนโบราณทั้งของไทย จีน อินเดีย มากว่า ๒๐ ปี จนมีสุขภาพแข็งแรง แถมผิวพรรณผุดผ่อง หน้าใสเด้ง อ่อนกว่าอายุจริงหลายปีมาให้ความรู้กับผู้เดินทางมาเยี่ยมเยือนด้วย
คุณนายฯ ขอสรุปความรู้สั้น ๆ มาฝากเป็นของขวัญให้กับคุณผู้อ่านในครั้งนี้นะคะ
   
      เคล็ดลับสุขภาพดี หน้าใส ชีวิตยืนยาว มีอยู่ว่า ...
      ต้องปฏิบัติตามหลัก ๙ อ. อันประกอบไปด้วย อารมณ์ ที่ดีอยู่เป็นนิจ อากาศ ที่บริสุทธ์หายใจเข้าไปให้เต็มปอด อุจจาระ ที่ต้องขับถ่ายก่อน 7 โมงเช้าของทุกวันจะดีเยี่ยม อาโป หรือน้ำ ที่ควรดื่มแต่น้ำอุ่นตลอดวัน ออกกำลังกาย สม่ำเสมอด้วยวิธีการที่ไม่ต้องรุนแรง เช่น ชี่กง โยคะ อาหาร ปลอดสารพิษโดยเฉพาะผัก อาชีพ ที่ห้ามค้าสัตว์ ห้ามค้ามนุษย์ ห้ามค้าอาวุธ ห้ามค้ายาพิษ ห้ามค้าสิ่งมึนเมาและเสพติด เอนกาย พักผ่อนให้เหมาะสมแก่วัยและสภาพของร่างกาย และมี อิทธิบาทสี่ ในการดำรงชีวิตคือ ... เมื่อสิ่งที่ทำอยู่ประสบความสำเร็จ คนเราก็จะไม่ต้องทุกข์ ไม่ต้องเครียด สุขภาพจึงดีขึ้นทันตาเห็น
      ฟังแค่นี้ก็พอจะเห็นเลา ๆ ถึงความเชื่อมโยงระหว่างหลักในการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพกับการทำเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นวิถีที่สอดรับกับองค์ประกอบแห่งความสุขในชีวิตทั้งของฝ่ายผู้ปลูกและผู้ซื้อ
แหม! ยังมีเรื่องราว ณ บ้านป่าคู้ล่าง ที่อยากนำมาเล่าสู่กันฟังอีกมาก โดยเฉพาะเรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับวิถีการทำเกษตรอินทรีย์ในยุคข้าวยากหมากแพงแบบนี้ ... แต่คงต้องขอไปต่อฉบับหน้าแล้วละคะ ตอนนี้คุณนายฯ ขอลาไปปฏิบัติตามหลัก ๙ อ. ก่อนนะคะ
 
 โดย กองบรรณาธิการจดหมายข่าวเพื่อนธรรมชาติ ฉบับที่ 1/2552 วันที่ลงข้อมูล 16 ธันวาคม 2552
• ตอนที่ 12 โครงการผักประสานใจ ไม่ไปไม่ได้แล้ว
เขียนโดย บุณย์ตา วนานนท์
  
จดจ่อรอท่าว่าจะไปเที่ยวโครงการผักประสานใจ โครงการที่พี่น้องชาวเผล่อ* แถบรอยต่อชายแดน 3 จังหวัดสุพรรณบุรี กาญจนบุรี และอุทัยธานี? ซึ่งปลูกผักอินทรีย์และส่งให้คนกรุงเทพฯกินสดๆ ใหม่ๆแบบไม่ธรรมดาฯ ก็ยังไม่ได้ไปสักที
ระลึกได้แต่ความทรงจำเมื่อปี 36 ? 37? ครั้งเคยไปเยี่ยมพี่เจน ระวีวรรณ และพี่พยงค์ นักพัฒนาจากรั้วธรรมศาสตร์ กับลูกๆ ฝังตัวอยู่ที่นั่นซึ่งเป็นบ้านเกิดพี่ พยงค์ ครอบครัวนี้ทำงานการพัฒนาระบบนิเวศน์และอนุรักษ์พืชพันธุ์กับกลุ่มชาวบ้านในแถบนั้นมาตั้งแต่ปี 35 และยังคงทำกิจกรรมดีๆ เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตที่คนที่กินผักอินทรีย์ในโครงการผักประสานใจ และเคยได้ไปเยี่ยมชมพูดคุยซักถามกับพี่น้องชาวเผล่อแถวนั้นมาแล้ว อย่างคุณนฤมล? จิรวราพันธ์ ตัวแทน? ?กลุ่มผู้บริโภคสนับสนุนเกษตรกร? ที่ฉันเคยพบปะเมื่อปี 49 ในเวทีสมัชชาสังคมไทย 2006 ที่มาเสนอชุดประสบการณ์ในเวทีอภิราย ?ทางเลือกการพัฒนาเศรษฐกิจระดับชุมชน? เธอเล่าให้ฟังกันดีกว่า?ฐานะของผู้บริโภคคนหนึ่งซึ่งเป็นแม่บ้านธรรมดา เป็นคนในเมืองที่รักครอบครัว อยากหาสินค้าอินทรีย์ก็ต้องไปห้าง แต่ก็ไม่มั่นใจว่าเป็นอินทรีย์จริงหรือไม่ แถมมีราคาแพงด้วย จนกระทั่งได้พบกับ คุณระวิวรรณ ซึ่งได้ไปส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ให้กับชาวกะเหรี่ยง ที่สุพรรณบุรี
 โครงการผักใจประสานใจเป็นมากกว่าการชื้อขาย เพราะเน้นความสัมพันธ์กัน รู้จักกัน คนปลูกรู้ว่าปลูกให้ใครกิน คนกินก็รู้ว่าใครปลูก มีการเยี่ยมเยียนกันปีละ 1-2 ครั้ง นอกจากนี้ยังเป็นโครงการที่ทำให้เกิดการรับความเสี่ยงร่วมกัน โดยผู้บริโภคจะโอนเงินให้ก่อนครึ่งปีเพื่อให้เกษตรกรนำไปเป็นทุนการผลิต ถ้าปีใดผลผลิตดีผู้บริโภคก็จะได้ผักมาก แต่ถ้าเจอปัญหาการผลผลิตก็ได้น้อยตามไป มีการส่งผักตามจุดนัดหมายต่างๆ ในส่วนผู้บริโภคก็ให้ความร่วมมือเดินทางมารับผักยังจุดนัด บางคนขับรถมาไกลกว่า 25 กิโลเมตร เพื่อมารับผัก?
 

?โครงการนี้เป็นมากกว่าเพียงเพื่อสุขภาพ เนื่องจากผู้บริโภคได้ผักที่ปลอดภัยแก่ตนเองและครอบครัว ถือเป็นการลงทุนระยะยาวให้กับสุขภาพ ได้เป็นส่วนหนึ่งของพลังบุกเบิกเพื่อสังคมใหม่ที่พึ่งพาตนเอง รวมทั้งมีเพื่อนร่วมทางมากมาย เช่น ไข่? ข้าว? อย่างไรก็ตามสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้นั้นผู้บริโภคเองต้องปรับเปลี่ยนมุมมองเรื่องผัก หันมากินผักตามฤดูกาล และสามารถดัดแปลงเมนูตามผักที่มีได้ ซึ่งยังคงเป็นปัญหาสำคัญในการขยายสมาชิกในปัจจุบัน? ซึ่งสิ่งที่ดำเนินโครงการมามีความมุ่งหวังให้กว้างไปถึงการรักษาพลังงานและสิ่งแวดล้อม เน้นการใช้ทรัพยากรภายใน ส่งเสริมวิถีชีวิต เกิดความเกื้อกูลกัน หนุนช่วยเกษตรอินทรีย์ในระยะผ่านนี้ และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเมืองกับชนบท ดังนั้นจะเห็นได้ว่า สังคมใหม่ประชาชนสร้างได้ โดยเริ่มต้นจากที่ตัวเรา?
จำได้ว่าบรรดาผู้คนที่นั่งฟังเธอบรรยายพร้อมสไลด์ภาพที่จัดเตรียมมาต่างมีสีหน้าประหลาดใจระคนยินดี? และทึ่งที่ ?กลุ่มผู้บริโภคสนับสนุนเกษตรกร? กลุ่มนี้มองเห็น คิดไกล และพยายามทำไปเรียนรู้ไป? แถมยังให้กำลังใจคนเมืองอย่างเราๆ ที่ยังไม่เห็นช่องทางการหากินผักดีๆ แต่หาแหล่งที่ไว้ใจได้ยากว่า?เราก็ต้องปรับเปลี่ยนเมนูตามผักที่มีตามฤดูกาล นี่เป็นข้อจำกัดที่ทำให้ผู้บริโภคบางส่วนถอนตัวไป ? มาวันนี้ที่เคยคิดว่าตัวเองเป็นแกะดำก็มีความหวังมากขึ้น คิดว่าสังคมมีทางออก อย่าท้อแท้ ต้องมีเครือข่ายเป็นกัลยาณมิตรกัน เรื่องสังคมเป็นของเรา ทุกอย่างรอบตัวควรเป็นไปด้วยความเกื้อกูลกัน เรามาระดมสมองกันหาทางแก้ไขให้กำลังใจกัน?
 
ฟังคุณรสนา? โตสิตระกูล สว. กทม. อธิบายคอนเซ็ปต์โครงกรผักประสานใจ แทนพี่เจนดีกว่า ในฐานะที่มูลนิธิสุขภาพไทยเคยมีโครงการศูนย์เกษตรกรรม ธรรมชาติที่หนองจอก มีนบุรีและเคยทำกิจกรรมคล้ายๆ กันนี้แต่ปิดโครงการไปเมื่อปี 47 เธอว่าโครงการแบบนี้พัฒนารูปแบบการทำงานมาจากอเมริกาที่เรียกว่า CSA: Community Supported Agriculture??
คำว่า Community นี้ใหญ่และครอบคลุมกว่า Consumer เพราะไม่ใช่เพียงแค่บริโภคอย่างที่สังคมอุตสาหกรรมเสรีนิยมกำหนดให้ผู้คนทำหน้าที่แค่บริโภคเข้าไป? แต่คำนี้พัฒนามาจากแนวคิดของญี่ปุ่น ที่เรียกว่า ?เกเก้? ซึ่งหมายถึงการที่กลุ่มผู้บริโภคเข้ามามีส่วนร่วมคิดต้นทุนการผลิต และร่วมลงทุน เป็นหุ้นส่วนการผลิต เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนผู้ผลิตที่ต้องการรักษาอาหารดีๆให้มีกินมีผลิตโดยเกษตรกรที่ทำการผลิตที่ดีๆ เอาไว้ให้มีกินไปยันรุ่นลูกรุ่นหลาน รวมทั้งผู้บริโภคกลุ่มนี้ยังสร้างสรรค์กิจกรรมดีๆ ได้ดีมากมาย อย่างสหกรณ์ ?เซกัตจึ? ที่ตั้งเมื่อ 30 ปีที่แล้ว และมีกระจยอยู่ทั่วประเทศญี่ปุ่น ซึ่งนอกจากจะรวมตัวกันซื้อสินค้าราคาถูกและกำหนดมาตรฐานได้เองแล้วยังสร้างระบบกระจายสินค้า? รวมไปถึงการนำเงินปันผลมาส่งเสริมกลุ่มสตรีที่ลาออกจางานมาเลี้ยงลูกและหารายได้เพิ่มจากโครงการ ?โอเบนโตะ? (อาหารของแม่ที่ปลอดภัยเพื่อลูก) ขายให้กับคนงานในราคาถูกแต่มีคุณภาพดี

 
ผักที่สมาชิกกลุ่มผู้บริโภคสนับสนุนเกษตรกรนี้กินเข้าไป จึงสร้างทั้งกำลังกายกำลังใจให้กับเกษตรกรซึ่งเมื่อเริ่มปลูกในช่วงแรกๆ จะต้องเรียนรู้และทำงานอย่างหนัก ขณะที่คนกินเองก็ต้องอดทนกินผักที่ผลิตได้ตามสภาพแวดล้อมความเป็นจริง อย่างข้อจำกัดของฤดูกาล และทักษะของคนปลูก ภาพผักสวยๆ ที่เห็นเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ แต่ด้วยน้ำพักน้ำแรง ความอดทนของกลุ่มชาวบ้านจากจุดเริ่มต้นของโครงการผักประสานใจในปี 38 ซึ่งตอนนี้มีอยู่ 10 ราย ที่ได้ใจต่อใจจากกลุ่มผู้บริโภคสนับสนุนเกษตรกร 70 คน จนผ่านปัญหาอุปสรรค์นานามามากมาย? และยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาโครงการร่วมกันต่อไป?  ยังไม่ทันได้เดินทางเลย? ฉันก็สัมผัสได้ถึงบรรยากาศดีๆ อากาศดีๆ และมิตรไมตรีของผู้คน ณ ที่แห่งนั้น?แล้วหลังจากทริปนี้คงจะมีเรื่องดีๆ มาเล่าสู่กันฟังค่ะ??

ผู้ที่สนใจติดต่อพี่เจนได้ที่ 081-9818581 ถ้าโทรไม่ติดยังมีอีกทางคืออีเมลล์นี้ [email protected]

หมายเลขบันทึก: 395844เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2010 17:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท