การวิจัยและพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม1


การวิจัยและพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม1

วิชา: ทัศนมิติทางด้านวิจัยและพัฒนาระบบเกษตร(047593)
เรื่อง: การวิจัยและพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม
เสนอ: รศ.ดร. ประภาศรี สิงห์รัตน์ ภาควิชาวิศวกรรมอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน
โดย : กษิดิ์เดช ธีรนิตยาธาร เลขประจำตัว 5224100704    สาขาวิชา วิจัยและพัฒนาการเกษตร
จากการได้อ่านนิทานอีสปเรื่องกระต่ายกับเต่าฉบับใหม่แล้วพิจารณาว่าหัวข้องานวิจัยเรื่อง ผลของการเติม นิวเคลียร์ - COS(Chitooligosaccharide)  ในสารละลายน้ำเชื้อต่อคุณภาพน้ำเชื้อของพ่อพันธุ์สุกร (Effect of Nuclear- COS (Chitooligosaccharide) Addition in Semen Extender on Boar Semen Quality)ได้อยู่ในขอบเขตทิศทางดังกล่าว โดยมีเหตุผลดังนี้
งานวิจัยชิ้นนี้ได้นำเอาองค์ความรู้เดิมจากต่างประเทศที่มีการ ศึกษา ค้นคว้า วิจัยในเรื่องที่เกี่ยว คน พืช สัตว์และอุตสาหกรรม มาพัฒนาต่อยอด เพื่อให้ได้คำตอบและคำอธิบายที่เป็นวิทยาศาสตร์และนักวิจัยทั่วโลกให้การยอมรับ เนื่องจาก Chitooligosaccharideเป็นสารอินทรีย์ชีวภาพที่ยังมีการศึกษาค้นคว้าอย่างจำกัด ไม่เป็นที่แพร่หลายมากนักหรือมีการใช้กันอย่างไม่เป็นที่กว้างข้าวงมากนักเพราะเมื่อก่อนมีราคาแพง แต่ปัจจุบันนี้ราคาถูกลงเพราะมีการผลิตได้เป็นจำนวนมากๆ เพราะเราสามารถเอาขยะหรือของเหลือใช้เช่น เปลือกกุ้ง เปลือกปู แกนหมึก มาพัฒนาโดยใช้ นาโนเทคโนโลยี่ ไคโตเทคโนโลยี่ ไบโอเทคโนโลยี่ โดยทำงานวิจัยและศึกษาร่วมกันระหว่างภาคเอกชนและ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (สวทช)และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.)  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  จนกลายเป็นChitooligosaccharide ซึ่งแต่เดิมเป็นขยะที่จะต้องหาวิธีกำจัดทิ้งทุกวัน และโรงงานมักง่ายหลายๆโรงก็ปล่อยของเสียเหล่านี้ลงในระบบแม่น้ำ ลำคลอง คูคลองจนทำให้เกิดขยะ เน่าเสีย และเป็นปัญหาสังคม  ทำให้งานวิจัยนี้ได้ช่วยเหลือเกษตรกรให้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นเกษตรอินทรีย์ และทำให้ประหยัดปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลง ทำให้ได้ผลผลิตมากขึ้น มีกำไรมากขึ้น สามารถปลดหนี้สิ้นได้ สุขภาพดีขึ้น ไม่ต้องเจ็บป่วยหรือเป็นมะเร็งโรคร้ายจากการใช้ยาฆ่าแมลง สำหรับประเทศชาติและสังคมจะได้รับคือลดการนำเข้า ลดการเสียดุลการค้ากับต่างประเทศ สภาวะแวดล้อมไม่เสียหาย
เราได้อาศัยข้อมูลที่มีการศึกษาค้นคว้ามาจากต่างประเทศเช่น ญี่ปุ่น อิสลาเอล อเมริกา เยอรมัน มาทำการปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมและพื้นที่ในประเทศไทย โดยตั้งสมมติฐานและทำการทดลอง เก็บข้อมูลจากสิ่งที่เราต้องการจะรู้เพื่อมาปรับใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยเราได้ต่อยอดจากสิ่งที่มีอยู่เดิมที่มีการใช้อย่างแพร่หลายคือไคโตซาน แต่ขณะนี้เราสามารถพัฒนาไปเป็น Chitooligosaccharide เพื่อให้อนุภาคมันเล็กลงกว่าเดิม 1000เท่า โดยใช้ นาโนเทคโนโลยี่ ไคโตเทคโนโลยี่ ไบโอเทคโนโลยี่ จึงทำให้สามารถดูดซึมและเข้าทางปากใบพืชได้ง่ายขึ้นจึงทำให้ประหยัดในการใช้และทำให้การออกฤทธิ์ได้ดีและนานขึ้น โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้นี้เราเรียกว่า นิวเคลียร์ COS เราสามารถทำตลาดได้ทั้งในประเทศ และต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านเช่น ลาว กัมพูชา พม่า โดยทั่วโลกทราบดีว่าประเทศไทยผลิตกุ้งส่งออกเป็นอันดับต้นๆของโลกจึงทำให้มีเปลือกกุ้ง เปลือกปู แกนหมึก เป็นจำนวนมากๆจึงทำให้มีความสามารถในการผลิต Chitooligosaccharide ในราคาไม่แพงพร้อมกับมีเทคโนโลยี่ที่ทันสมัย สามารถทัดเทียมกับต่างประเทศได้ จึงสามารถแข่งขันกับตลาดสากลโลกได้
ทั้งยังมีการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น มีการใช้ที่สะดวก ประหยัด เช่นนำไปทำการ Chelate แร่ธาตุต่างๆให้กลายเป็น Multimineral Amino acid Organic Chelate เพื่อนำมาใช้ในคน พืชและสัตว์ จะทำให้อาหารต่างที่เราบริโภคปลอดภัยและปลอดสารพิษ ( Food safety) ซึ่งทุกวันนี้มีการนำเข้าแร่ธาตุที่อยู่ในรูปของเคมี และ รูปของ  Chelate จำนวนมหาศาล เราจึงช่วยลดการนำเข้า และในอนาคตสามารถส่งไปขายยังต่างประเทศเพื่อนำเงินตราเข้าประเทศ และลดการขาดดุลการค้ากับอารยประเทศ


 

หมายเลขบันทึก: 395847เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2010 18:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 09:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท